พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา

ที่ตั้ง เลขที่ ๑๓ ถนนวิเชียรชม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
๑. เป็นสถานที่จัดแสดงศิลปวัตถุที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ตอนล่าง ภายในอาคารจัดแสดงมี ๒ ชั้นชั้นล่าง แบ่งการจัดแสดงเป็น ๘ ส่วน ได้แก่ วิถีชีวิตสงขลาภูมิลักษณ์คาบสมุทรสงขลาสงขลายุคก่อนประวัติศาสตร์สงขลาสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เมืองสงขลาหัวเขาแดงเมืองสงขลาแหลมสนเมืองสงขลาบ่อยางสงขลาย้อนยุค ชั้นที่ ๒ มีห้องจัดแสดง ๕ ห้อง ได้แก่ความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศ บันทึกสงขลาศิลปกรรมสงขลา ประวัติศาสตร์โบราณคดีภาคใต้ตอนล่างสุนทรียภาพในวิถีชีวิตของชาวภาคใต้ตอนล่าง อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา เป็นโบราณสถานของชาติ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมตะวันตก อายุกว่า ๑๐๐ ปีเดิมเป็นคฤหาสน์ของผู้ช่วยเจ้าเมืองสงขลา พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) และเป็นที่พำนักและว่าราชการของพระยาวิจิตรวรศาสตร์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลาซึ่งต่อมาก็คือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) หลังจากนั้นได้ใช้เป็นศาลาว่าการมณฑล นครศรีธรรมราช และเป็นศาลากลางจังหวัดตามลำดับ ต่อมากรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑสถานของชาติสงขลา
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
– เปิดให้เข้าชมวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
ชาวไทย ๓๐ บาท
ชาวต่างประเทศ ๑๕๐ บาท
นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : ๐ ๗๔๓๑ ๑๗๒๘
โทรสาร : ๐ ๗๔๓๑ ๑๘๘๑
๕.ช่องทางออนไลน์
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/songkhlamuseum/
อีเมล : songkhlamuseum@gmail.com
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ ศูนย์บริการ
นักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน

ที่ตั้ง ถนนอินยงยศ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
๑.เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่ได้มาจากวัดสำคัญและแหล่งโบราณคดีในจังหวัดลำพูน จำนวนกว่า ๓,๐๐๐ ชิ้น ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นที่รวบรวมและจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่มีอยู่มากมาย ในภาคเหนือของประเทศไทยอีกแห่งหนึ่ง โดยมหาอำมาตย์โท พระยาราชนกุลวิบูลย์ภักดี (อวบ เปาโรหิต) สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ เป็นผู้ริเริ่มการนี้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๐
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดเปิดวันพุธ – อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึง ๑๖.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
1. ชาวไทย คนละ ๒๐ บาท
2. ชาวต่างชาติ คนละ ๑๐๐ บาท
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 0 5351 1186 ฝ่ายประชาสัมพันธ์
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ จังหวัดนครราชสีมา

ที่ตั้ง 750 ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ เป็นสถานที่ได้จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่มีคุณค่าทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี สมัยลพบุรี สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นโบราณวัตถุที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) กรุณามอบไว้ให้ นอกจากนั้นยังจัดแสดงโบราณวัตถุ ที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี การขุดแต่ง บูรณะ โบราณสถาน รวมถึงสิ่งของที่ประชาชนได้มอบไว้ให้
2.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
วันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
3.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
คนไทย 20 บาท
ชาวต่างประเทศ 50 บาท
4.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 4424 2958
5.ช่องทางออนไลน์
http://www.finearts.go.th/mahavirawongmuseum/
อีเมล : mahaviravong_mu@yahoo.com
6.สิ่งอำนวยความสะดวก ( ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ /ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์เมือง เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตาก

ที่ตั้ง ถนนตากสิน ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
๑.จังหวัดตากได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์เมืองจังหวัดตาก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา โดยปรับปรุงอาคารจวนผู้ว่าราชการจังหวัดตาก(หลังเก่า) มาเป็นพิพิธภัณฑ์ เนื่องจากอดีตสถานที่ดังกล่าวเคยเป็น “เรือนประทับ” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จเมืองตาก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑ พิพิธภัณฑ์ฯ จัดแสดงและรวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ทรัพย์สินทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดตากที่มีอยู่จำนวนมากและเก็บรักษาไว้กระจัดกระจายในสถานที่ต่างๆ ให้มาอยู่ในที่เดียวกัน เนื้อหาการจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี และงานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม แบ่งเป็น ๒ ชั้น คือ ชั้นบนจัดเป็นห้องแสดงพระราชกรณียกิจที่เป็นภาพถ่ายและโบราณวัตถุและศิลปวัตถุต่างๆ อาทิ ถ้วยชามกระเบื้อง พระพุทธรูป เป็นต้น ชั้นล่างจัดเป็นห้องแสดงสิ่งของมีค่าของจังหวัดตาก
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๕๕๕๐ ๘๗๓๓
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : พิพิธภัณฑ์เมืองเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตาก
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนี จังหวัดชัยนาท

ที่ตั้ง หมู่ 6 ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท

1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี ตั้งขึ้นด้วยความสนใจของพระชัยนาทมุนี (นวม สุทัศโต) อดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยนาทและอดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ วรวิหาร ซึ่งได้รวบรวมศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ที่พบในเขตจังหวัดชัยนาทและบริเวณใกล้เคียงมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานของวัดเป็นจำนวนมาก ต่อมาพระชัยนาทมุนีได้ยินดีมอบศิลปวัตถุ โบราณวัตถุดังกล่าวให้เป็นสมบัติของชาติ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทย ในพุทธศักราช 2509 กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานขึ้นในบริเวณใกล้กับวัดพระบรมธาตุ วรวิหาร ตั้งชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เพื่อเป็นที่ระลึกแด่พระชัยนาทมุนี เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2512 เป็นต้นมา
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ เปิดให้เข้าชมในวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00 น. – 16.00 น.
ปิดวันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ ชาวไทย 10 บาท/ชาวต่างประเทศ 50 บาท
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม โทร. 0 5640 5621
๕. ช่องทางออนไลน์ Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนี
E-mail : chainatmuni@hotmail.com
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ที่ตั้ง ๑๒๐ ถนนปิ่นดำริห์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
๑.กรมศิลปากรจัดตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑสถานประจำแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี เพื่อรวบรวม สงวนรักษา และจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชร เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปกรรมท้องถิ่นของจังหวัดกำแพงเพชรซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกำแพงเพชรตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และเน้นสื่อจัดแสดงให้มีรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ วีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์สัมผัสหน้าจอ หุ่นจำลอง เป็นต้น การจัดแสดงแบ่งเป็น ๓ อาคาร โดย อาคารนิทรรศการ

-จัดแสดงเรื่องราวเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคประวัติศาสตร์ โดยแบ่งยุคสมัยเป็น ทวารวดี ลพบุรี ศรีวิชัย อาคารนิทรรศการ

-จัดแสดงยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ อยุธยา และ รัตนโกสินทร์ อาคารนิทรรศการ
-จัดแสดงกำแพงเพชรในปัจจุบัน และชนกลุ่มน้อย
๒.วันเวลา เปิด/ปิด วันพุธ- วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
ปิด วันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่
ชาวไทย ๒๐ บาท
ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท
นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ นักบวชคนพิการ ผู้สูงอายุ (เข้าชมฟรี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๑๙๗๓ ๘๐๑๓
๕.ช่องทางออนไลน์
www.//finearts.go.th/kamphaengphetmuseum
Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ /ทางลาด /ลานจอดรถ /ร้านอาหาร /ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม