ร้านข้าวสตูเกียดฟั่ง จังหวัดสงขลา

ที่ตั้ง เลขที่ ๔๗ ถนนนางงามอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
๑. ร้านข้าวสตูเกียดฟั่ง เป็นร้านข้าวสตูเจ้าแรกของจังหวัดสงขลา ที่มีอายุ (เกือบ) ๑๐๐ ปี จำหน่ายข้าวสตูอาหารพื้นถิ่นของจังหวัดสงขลา และซาลาเปาลูกใหญ่ ข้าวสตูเป็นอาหารพื้นถิ่นดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสงขลา ที่ได้รับการสืบทอดมา เป็นรุ่นที่ ๓ จากก๋งมาจากเมืองจีน มณฑลไหหลำโดยนำสูตรของอินโดนีเซียมาผสมผสานให้เข้ากับสูตรที่คนไทยชอบ และนำมาขายที่สงขลาก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ สตูของทางร้านจะเป็นสตูหมู โดยการนำหมูนุ่ม เครื่องในหมู ตุ๋นด้วยสมุนไพรหลายชนิดประกอบกับมันหางกะทิจนได้รสกลมกล่อม และจะรับประทานกับข้าว หมูกรอบ หมูแดง กุนเชียง และน้ำจิ้มสูตรเฉพาะ ราคา จะเริ่มตั้งแต่ ๖๐ บาท / ๘๐ บาท /๑๐๐ บาท และ ๑๕๐ บาท ส่วนซาลาเปาจะมีตามขนาด เช่น ลูกใหญ่ ๓๕ บาท ขนาดกลาง ๒๕ บาท และขนาดเล็ก ๒๐ บาท
๒. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
๒.๑ ข้าวสตู
๒.๒ ซาลาเปาลูกใหญ่
๓. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
(ถ้าหมดก่อนก็จะปิดก่อน) ส่วนซาลาเปาจะเริ่มตั้งแต่ ๑๐.๓๐ น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๗๔๓๑ ๑๙๙๘
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook : ร้านข้าวสตูเกียดฟั่ง ซาลาเปาลูกใหญ่

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา

ที่ตั้ง เลขที่ ๑๓ ถนนวิเชียรชม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
๑. เป็นสถานที่จัดแสดงศิลปวัตถุที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ตอนล่าง ภายในอาคารจัดแสดงมี ๒ ชั้นชั้นล่าง แบ่งการจัดแสดงเป็น ๘ ส่วน ได้แก่ วิถีชีวิตสงขลาภูมิลักษณ์คาบสมุทรสงขลาสงขลายุคก่อนประวัติศาสตร์สงขลาสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เมืองสงขลาหัวเขาแดงเมืองสงขลาแหลมสนเมืองสงขลาบ่อยางสงขลาย้อนยุค ชั้นที่ ๒ มีห้องจัดแสดง ๕ ห้อง ได้แก่ความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศ บันทึกสงขลาศิลปกรรมสงขลา ประวัติศาสตร์โบราณคดีภาคใต้ตอนล่างสุนทรียภาพในวิถีชีวิตของชาวภาคใต้ตอนล่าง อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา เป็นโบราณสถานของชาติ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมตะวันตก อายุกว่า ๑๐๐ ปีเดิมเป็นคฤหาสน์ของผู้ช่วยเจ้าเมืองสงขลา พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) และเป็นที่พำนักและว่าราชการของพระยาวิจิตรวรศาสตร์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลาซึ่งต่อมาก็คือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) หลังจากนั้นได้ใช้เป็นศาลาว่าการมณฑล นครศรีธรรมราช และเป็นศาลากลางจังหวัดตามลำดับ ต่อมากรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑสถานของชาติสงขลา
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
– เปิดให้เข้าชมวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
ชาวไทย ๓๐ บาท
ชาวต่างประเทศ ๑๕๐ บาท
นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : ๐ ๗๔๓๑ ๑๗๒๘
โทรสาร : ๐ ๗๔๓๑ ๑๘๘๑
๕.ช่องทางออนไลน์
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/songkhlamuseum/
อีเมล : songkhlamuseum@gmail.com
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ ศูนย์บริการ
นักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา

ที่ตั้งตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
๑. จัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมท้องถิ่น ศิลปหัตถกรรม ตลอดจนประวัติศาสตร์ โบราณคดี อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ
การจัดแสดงใช้วัตถุของจริงประมาณ ๕๐,๐๐ ชิ้น นอกจากนี้ยังมี การผสมผสานกับสื่อหลากชนิด อาทิ หุ่นจำลอง เสียง ภาพ วิดีทัศน์ โดยแบ่งเป็นห้องต่างๆ ในอาคาร ๔ กลุ่ม คือ กลุ่มอาคารนวมินทร์ ประกอบด้วย ห้องประวัติศาสตร์และชาติพันธุ,ห้องลูกปัดและเครื่องประดับ ,ห้องมีดและศาสตราวุธ ,ห้องอาชีพหลัก , ห้องเครื่องมือจับสัตว์, ห้องเครื่องปั้นดินเผา ,ห้องผ้าทอพื้นเมือง, กลุ่มอาคารหลังคาบลานอ ห้องกระต่ายขูดมะพร้าว ,ห้อง ศิลปหัตถกรรม ,ห้องจัดการศึกษา, ห้องนันทนาการ, ห้องวัฒนธรรมเครื่องประทีป, ห้องวัฒนธรรมเครื่องแก้ว, กลุ่มอาคารหลังคาปั้นหยา ห้องวัฒนธรรมโลหะและโลหัช , ห้องการละเล่นพื้นบ้าน ,ห้องมุสลิมศึกษา ,ห้องเหรียญและเงินตรากลุ่มอาคารหลังคาจั่ว จัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวใต้,ห้องสามสมเด็จฯ เพื่อนเกลอและประเพณีการเกิดแบบโบราณ ,ห้องการเล่นของเด็กภาคใต้ ,ห้องการฝากตัวเข้าเรียนกับพระ การผูกเกลอ ห้องประเพณีการบวช ,ห้องความเชื่อโชคชะตาราศีและวัฒนธรรมการรักษาพยาบาล,ห้องประเพณีออกปากกินวาน ,ห้องประเพณีขึ้นเบญจา อาคารนวภูมินทร์ ห้องสงขลาศึกษา ,ห้องเอกสารท้องถิ่น ,ห้องวรรณกรรมท้องถิ่น ,ห้องพิพิธภัณฑ์ภาพ ,ห้องพิพิธภัณฑ์เสียง เป็นต้น
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้เข้าชมทุกวัน (ยกเว้นวันอังคาร) เวลา ๐๘.๓๐.-๑๗.๐๐ น.
*เฉพาะห้องเอกสารท้องถิ่น/ ห้องวรรณกรรมท้องถิ่น ห้องพิพิธภัณฑ์ภาพ และห้องพิพิธภัณฑ์เสียง เปิดให้บริการเฉพาะในวันและเวลาราชการ
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
นักเรียน ๑๐ บาท
นักศึกษา ๒๐ บาท
ผู้ใหญ่ ๕๐ บาท
ต่างชาติ ๑๐๐ บาท
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : ๐ ๗๔๕๙ ๑๖๑๑, ๐๙ ๔๗๓๕ ๘๗๔๖
โทรสาร : ๐ ๗๔๕๙ ๑๖๑๙
๕. ช่องทางออนไลน์
เว็บไซต์ : http://www2.tsu.ac.th/org/ists/
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ /ทางลาด /ที่จอดรถ /ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว /ร้านอาหาร

เกาะใหญ่แกรนแคนย่อน จังหวัดสงขลา

ที่ตั้ง ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
๑. เกาะใหญ่ แกรนด์แคนย่อน เป็นแลนมาร์คแห่งใหม่ที่มีหน้าผาเหมือนแกรนด์แคนย่อน ของรัฐแอริโซนา ในประเทศสหรัฐเมริกา สถานที่แห่งนี้เดิมเป็นบ่อดินลูกรัง ซึ่งเจ้าของขุดขายเพื่อเอาไปทำถนน ต่อมาเริ่มขุดเริ่มเจอน้ำ จึงหยุดขุดและปิดให้ร้างเป็นเวลา ๑๐ ปี และต่อมาวันหนึ่งมีนักท่องเที่ยวขับรถผ่าน ได้เห็นความสวยงามของหน้าผาที่เหมือนแกรนด์แคนย่อนก็เลยเช็คอินว่าเป็น “แกรนด์แคนย่อน” เจ้าของก็เลยหันมาพัฒนาปรับปรุง เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เรียกว่า “เกาะใหญ่แกรนด์แคนย่อน” ทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวกันอย่างเป็นจำนวนมาก และไม่ขาดสาย ความโดดเด่นของที่นี่ก็คือ ร้านกาแฟเกาะใหญ่แกรนด์แคนย่อนจำหน่ายกาแฟที่มีรสชาติอร่อย ร้านจำหน่ายของที่ระลึก/มุมถ่ายรูปสวย ๆ หลายมุม และมีบริการปั่นเรือถีบสำหรับเด็ก ๆ และครอบครัว
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่เปิดให้เข้าเที่ยวทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว
เปิดให้ท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง –
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
มีบริการปั่นเรือถีบพร้อมชูชีพ ค่าบริการ ๓๐ บาท : ๓๐ นาที 
๖. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๖ ๓๖๐๙ ๐๓๓๕
๗. ช่องทางออนไลน์
Facebook : เกาะใหญ่แกรนด์แคนย่อน
๘. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ /ทางลาด /ที่จอดรถ /จุดบริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนด (กลุ่มดาวราย)(สถานที่สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม)

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๔ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
๑. ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ ดาวราย
๒. ชื่อผู้ประกอบการ
นางดำ คล้ายสีนวล
๓. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ น้ำตาลแว่น
น้ำตาลแว่น หรือน้ำผึ้งแว่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากน้ำตาลโตนด ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวชุมชนวัดพะโคะ ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน หลายชั่วอายุคน และยังได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสาย จนเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวชุมชนวัดพะโคะ ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการของตลาด สามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้เกิดขึ้นในชุมชนรองลงมาจากอาชีพหลักคือการทำนา
๓.๒ ชื่อผลิตภัณฑ์
น้ำตาลผง หรือน้ำตาลผงชงกาแฟ เป็นผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากน้ำตาลโตนดเช่นเดียวกับน้ำตาลแว่น มีวิธีการทำคล้ายกับการทำตาลแว่น แต่เปลี่ยนจากการหยอดเป็นแว่นหลังจากที่น้ำตาลเหนียวและข้นได้ที่แล้ว มายีเป็นผง ใช้สำหรับชงกับกาแฟแทนน้ำตาลทราย เป็นการนำไปใช้แทนน้ำตาลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ชงกาแฟ ทำขนม และ และสำหรับปรุงอาหารคาวหวานได้เช่นเดียวกับน้ำตาลแว่น
ข้อดีของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำตาลโตนด พบว่าในน้ำตาลโตนดนั้นมีน้ำตาลที่ให้ความหวานที่เรียกว่า “ฟรุ๊คโตส (fructose)” เป็นน้ำตาลที่มักพบตามธรรมชาติในผลไม้ ให้พลังงานเหมือนสารอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตอื่นๆ แม้จะให้พลังงานเท่ากันแต่น้ำตาลฟรุ๊คโตสให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย ดังนั้นจึงสามารถใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าเพื่อให้ได้ความหวานที่เท่ากัน ฟรุ๊คโตสดูดซึมได้ช้ากว่ากลูโคส ดังนั้นการหลั่งของอินซูลินหลังการรับประทานน้ำตาลฟรุ๊คโต๊สจะไม่เพิ่มสูงเหมือนในกรณีของน้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำตาลโตนดทั้งสองชนิดนี้ จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค
๔. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
สาธิตและจำหน่ายทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๖๒๘๙ ๐๓๗๗
๖. ช่องทางออนไลน์
Facebook : ดำ คล้ายสีนวล

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

กลุ่มหัตถกรรมใยตาลสทิงพระ (กลุ่มโหนดทิ้ง) จังหวัดสงขลา

ที่ตั้ง เลขที่ ๑๕ หมู่ที่ ๔ ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
๑. ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ โหนดทิ้ง
๒. ชื่อผู้ประกอบการ :โหนดทิ้ง
นางเสริญศิริ หนูเพชร
นายพีระศักดิ์ หนูเพชร
๓. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
กระเป๋าใยตาล
กระเป๋าใยตาลทำมาจากกาบตาลโตนด โดยการนำกาบตาลสดมาทุบด้วยเครื่องตีใยตาลแล้วนำมาแยกเศษกาบตาลออกให้เหลือแต่เส้นใย จากนั้นก็นำมาขูดด้วยด้วยบล็อกตะปูเพื่อให้ได้เส้นใยที่สวยงาม เมื่อเสร็จแล้วก็นำใยไปทำความสะอาดย้อมสี แล้วนำมาทอด้วยเครื่องทอคล้ายกับการทอผ้าปกติแต่ต้องทำให้เส้นใยแน่นติดกันเพื่อที่จะได้ง่ายต่อการนำไปตัดตามแบบที่ได้ออกแบบไว้ มี ๓ รูปแบบ ตามโครงของกระเป๋า คือ รูปแบบที่ ๑ โครงของกระเป๋าที่ทำมาจากไม้ตาลจะให้ความรู้สึกของความเป็นวิถีชีวิตที่มีการดีไซน์ได้อย่างสวยงามน่าใช้ รูปแบบที่ ๒ โครงของกระเป๋าที่ทำมาจากโลหะที่มีความเรียบหรู มีราคา เหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญสำหรับผู้หลักผู้ใหญ่ รูปแบบที่ ๓ โครงของกระเป๋าที่ทำด้วยหนังสีสันต่างๆ ที่มาพร้อมกับดีไซน์ที่ทันสมัยเหมาะกับวัยรุ่น
จากการเริ่มต้นจากการถักด้วยมือ พัฒนามาเป็นการทอด้วยเครื่องทอภูมิปัญญาพื้นบ้าน สู่การพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่งส่งเสริม ต่อยอดภูมิปัญญาชุมชนผลิตภัณฑ์จากตาลโตนด (โหนดทิ้ง) “หนึ่งเดียวในโลก” ยกระดับให้อีกหนึ่งแบรนด์ไทยก้าวไกลสู่สากล ผลิตภัณฑ์จากใยตาล โหมดเครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย แบรนด์ “โหนดทิ้ง”
๔. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
จำหน่ายทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๙ ๓๙๔๒ ๒๖๕๘ ,๐๘ ๑๖๐๙ ๒๘๖๓
๖. ช่องทางออนไลน์
Facebook : โหนดทิ้ง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา จังหวัดสงขลา

ที่ตั้งตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
๑. จัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมท้องถิ่น ศิลปหัตถกรรม ตลอดจนประวัติศาสตร์ โบราณคดี อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ การจัดแสดงใช้วัตถุของจริงประมาณ ๕๐,๐๐ ชิ้น นอกจากนี้ยังมี การผสมผสานกับสื่อหลากชนิด อาทิ หุ่นจำลอง เสียง ภาพ วิดีทัศน์ โดยแบ่งเป็นห้องต่างๆ ในอาคาร ๔ กลุ่ม คือ กลุ่มอาคารนวมินทร์ ประกอบด้วย ห้องประวัติศาสตร์และชาติพันธุ,ห้องลูกปัดและเครื่องประดับ ,ห้องมีดและศาสตราวุธ ,ห้องอาชีพหลัก , ห้องเครื่องมือจับสัตว์, ห้องเครื่องปั้นดินเผา ,ห้องผ้าทอพื้นเมือง, กลุ่มอาคารหลังคาบลานอ ห้องกระต่ายขูดมะพร้าว ,ห้อง ศิลปหัตถกรรม ,ห้องจัดการศึกษา, ห้องนันทนาการ, ห้องวัฒนธรรมเครื่องประทีป, ห้องวัฒนธรรมเครื่องแก้ว, กลุ่มอาคารหลังคาปั้นหยา ห้องวัฒนธรรมโลหะและโลหัช , ห้องการละเล่นพื้นบ้าน ,ห้องมุสลิมศึกษา ,ห้องเหรียญและเงินตรากลุ่มอาคารหลังคาจั่ว จัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวใต้,ห้องสามสมเด็จฯ เพื่อนเกลอและประเพณีการเกิดแบบโบราณ ,ห้องการเล่นของเด็กภาคใต้ ,ห้องการฝากตัวเข้าเรียนกับพระ การผูกเกลอ ห้องประเพณีการบวช ,ห้องความเชื่อโชคชะตาราศีและวัฒนธรรมการรักษาพยาบาล,ห้องประเพณีออกปากกินวาน ,ห้องประเพณีขึ้นเบญจา อาคารนวภูมินทร์ ห้องสงขลาศึกษา ,ห้องเอกสารท้องถิ่น ,ห้องวรรณกรรมท้องถิ่น ,ห้องพิพิธภัณฑ์ภาพ ,ห้องพิพิธภัณฑ์เสียง เป็นต้น
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้เข้าชมทุกวัน (ยกเว้นวันอังคาร) เวลา ๐๘.๓๐.-๑๗.๐๐ น.
*เฉพาะห้องเอกสารท้องถิ่น/ ห้องวรรณกรรมท้องถิ่น ห้องพิพิธภัณฑ์ภาพ และห้องพิพิธภัณฑ์เสียง เปิดให้บริการเฉพาะในวันและเวลาราชการ
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
นักเรียน ๑๐ บาท
นักศึกษา ๒๐ บาท
ผู้ใหญ่ ๕๐ บาท
ต่างชาติ ๑๐๐ บาท
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : ๐ ๗๔๕๙ ๑๖๑๑, ๐๙ ๔๗๓๕ ๘๗๔๖
โทรสาร : ๐ ๗๔๕๙ ๑๖๑๙
๕. ช่องทางออนไลน์
เว็บไซต์ : http://www2.tsu.ac.th/org/ists/
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดนาทวี จังหวัด สงขลา

ชุมชนคุณธรรมวัดนาทวี มีวัดนาทวีเป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชน เป็นศูนย์รวมจิตใจ  ส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรมให้แกเด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไป และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ การรวมกลุ่มต่าง ๆ  ในชุมชน เช่น กลุ่มอาชีพ / กลุ่มออมทรัพย์ / โดยเฉพาะกลุ่มจิตอาสาที่เกิดขึ้นตามพระราชปณิธานแห่งพระมหากษัตริย์รัชกาล ที่ ๑๐ เจตนารมณ์ของผู้นำชุมชน ต้องการให้ลูกบ้าน  ยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนาโดยมีการประกาศชุมชนปลอดเหล้า/ปลอดการพนัน /ปลอดสิ่งเสพติด/ปลอดการลักขโมย/ปลอดการทะเลาะวิวาท 

ชุมชุมคุณธรรมวัดนาทวี มีผู้นำพลัง “บวร” ที่มีวิธีคิดในการบริหารจัดการท่องเที่ยวที่เน้นการสืบทอดประเพณีตามที่เคยปฏิบัติมาอย่างเหนียวแน่น สามารถร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยว ทั้งในด้านพระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี วันสำคัญทางศาสนา การรวมกลุ่มอาชีพต่าง ๆ   มีแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมสองศาสตร์ ที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขบนพื้นฐานความเข้าใจมีความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์กัน ที่สะท้อนให้เห็นความร่วมมือและการแบ่งหน้าที่กันในชุมชนอย่างชัดเจน  

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดนาทวี วัดนาทวีเป็นศาสนสถานที่เป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นกลไกลสําคัญในการ ส่งเสริมด้านคุณธรรม  จริยธรรมให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไป ในการอบรมกล่อมเกลาสมาชิกในชุมชน และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และเป็นสถานที่   จัดกิจกรรม  ให้ความรู้ด้านศีลธรรมด้านประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามแก่เยาวชนและประชาชน

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ท่าน้ำสีรุ้งวัดนาทวี เป็นสถานที่สวย ๆ ภายในวัดนาทวี สำหรับให้นักท่องเที่ยว ได้ถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก จึงทำให้วัดนาทวีทุกวันนี้ มีทั้งเด็ก ๆ เยาวชน และครอบครัวต่าง ๆ พากันมาเดินเล่น  ดูคำคม บทกลอน และสุภาษิต สอนใจ ทำแต่สิ่งดี ๆ โดยจะติดตามต้นไม้ตามริมถนนสายรุ้ง

สะพานสามสี ชลประทาน ปลัก-ปลิง เป็นที่ทำการชลประทาน ปลักปลิง ได้บำรุงรักษาโดยการทาสี เพื่อให้เป็นจุดเด่นเป็นอีกหนึ่งสถานที่เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ และเหมาะแก่การออกกำลังกาย วิ่ง ปั่นจักรยานและกิจกรรมอื่น ๆ

ร้านอาหารพื้นเมือง “ร้านป้าเหวียน” เป็นร้านเก่าแก่อายุกว่า 50 ปี ขายอาหารพื้นบ้านข้าวราดแกง ขนมจีน เถ้าคั่ว และขนมหวานพื้นบ้าน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้ พระอาจารย์ภัตร (อริโย) ศูนย์เรียนรู้เป็นศูนย์รวมแห่งพหุวัฒนธรรม ตั้งเป็นพหุวัฒนธรรม นวัตกรรมชุมชน เรียกว่าชุมชนต้นแบบ เพราะว่าที่ตรงนี้เป็นชุมชนที่หลากหลายทางศาสนาที่อยู่กันมาเนิ่นนานแล้ว ตรงนี้เป็นตัวต้นแบบตั้งแต่พี่น้องชาวพุทธ พี่น้องชาวอิสลาม ที่ได้มาเที่ยวกันที่มาช่วยเหลือกัน ในการทำนาข้าวที่ครบวงจร 

หมู่บ้านชุมชนคุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านนาทวี คนในชุมชนเคารพเทิดทูน สถาบันชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์ อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความ เป็นเครือญาติ เอื้ออาทรแบ่งปัน ไม่มีการทะเลาะวิวาท ไม่มีการลักขโมย ลด ละ เลิกอบายมุข ปลอดยาเสพติด และอาชญากรรม 

ที่ทำการชุมชนนาทวี หมู่ที่ 4 ภายในชุมชน มีการรวมกลุ่มต่าง ๆ เกิดขึ้นในชุมชน เช่น กลุ่มอาชีพ / กลุ่มออมทรัพย์ / โดยเฉพาะกลุ่มจิตอาสาที่เกิดขึ้นตามพระราชปณิธานแห่งพระมหากษัตริย์        รัชกาล ที่ ๑๐

กิจกรรมการท่องเที่ยว

สัมผัสแลนด์มารคท่าน้ำสีรุ้ง วัดนาทวี ท่าน้ำสีรุ้ง วัดนาทวี นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสแลนด์มารคท่าน้ำสีรุ้งวัดนาทวีร่วมถ่ายรูป ได้ตลอดทั้งปี

กิจกรรมดำนาแบบโบราณในฤดูการทำนา ศูนย์การเรียนรู้พระอาจารย์ภัตร (อริโย) นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสวิถีชีวิตการทำนาโดยร่วมกิจกรรมดำนากับชุนได้ ประมาณเดือนธันวาคม – มกราคม

กิจกรรมเก็บเกี่ยวข้าวด้วยแกะแบบโบราณในฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ศูนย์การเรียนรู้ พระอาจารย์ภัตร  (อริโย) นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสวิถีชีวิตการทำนาโดยร่วมกิจกรรมเก็บเกี่ยวข้าวด้วยแกะแบบโบราณ ร่วมกับชุมชนได้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม