พิพิธภัณฑ์เมือง เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตาก

ที่ตั้ง ถนนตากสิน ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
๑.จังหวัดตากได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์เมืองจังหวัดตาก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา โดยปรับปรุงอาคารจวนผู้ว่าราชการจังหวัดตาก(หลังเก่า) มาเป็นพิพิธภัณฑ์ เนื่องจากอดีตสถานที่ดังกล่าวเคยเป็น “เรือนประทับ” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จเมืองตาก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑ พิพิธภัณฑ์ฯ จัดแสดงและรวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ทรัพย์สินทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดตากที่มีอยู่จำนวนมากและเก็บรักษาไว้กระจัดกระจายในสถานที่ต่างๆ ให้มาอยู่ในที่เดียวกัน เนื้อหาการจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี และงานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม แบ่งเป็น ๒ ชั้น คือ ชั้นบนจัดเป็นห้องแสดงพระราชกรณียกิจที่เป็นภาพถ่ายและโบราณวัตถุและศิลปวัตถุต่างๆ อาทิ ถ้วยชามกระเบื้อง พระพุทธรูป เป็นต้น ชั้นล่างจัดเป็นห้องแสดงสิ่งของมีค่าของจังหวัดตาก
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๕๕๕๐ ๘๗๓๓
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : พิพิธภัณฑ์เมืองเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตาก
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์วัดพระบรมธาตุสวี จังหวัดชุมพร

ที่ตั้ง หมู่ที่ 15 ตำบลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
 ๑. พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุสวี เป็นสถานที่จัดแสดงพระบรมธาตุสวีมีลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมเลียนแบบพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2539 ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบโอคว่ำ เหนือขึ้นไปเป็นเสาหารก้านฉัตรบัวเถาปล้องไฉน 7 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นปลียอด และเม็ดน้ำค้าง เจดีย์หรือสถูป มีความหมายถึงสถาปัตยกรรมสำหรับบรรจุอัฐิหรือพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า มีต้นกำเนิดมาจากเนินดินฝังศพในประเทศอินเดีย ก่อนจะพัฒนากลายมาเป็นสัญลักษณ์แทนถึงพระพุทธเจ้าในพุทธศาสนา แต่ละภูมิภาคที่นับถือพุทธศาสนาล้วนมีศิลปกรรมของสร้างสรรค์เจดีย์ที่แตกต่างกันออกไปอย่างหลากหลาย มีอาคารพิพิธภัณฑ์โดยมีการจัดแสดงพระพุทธรูปโบราณที่ขุดค้นพบในบริเวณพระธาตุถูกนำมาเก็บไว้ยังอาคารแห่งนี้ ภายในจะเป็นห้องอาคารชั้นเดียว
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 08.00 – 17.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 1087 6539 พระครูจันทปัญโญภาส
๕. ช่องทางออนไลน์
sawi-mc.org
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ( ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร )

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พระธาตุหนองสามหมื่น จังหวัดชัยภูมิ

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1๕ บ้านแก้ง ตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

๑. พระธาตุหนองสามหมื่น เป็นพระธาตุที่มีลักษณะสวยงามและสมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากลักษณะสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ผสมผสานกันระหว่างล้านนา ล้านช้างและอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้าง ขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ในสมัยพระไชยเชษฐาธิ-ราชแห่งอาณาจักรลาว พระธาตุหนองสามหมื่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองตั้งอยู่บนฐานเขียงเป็นฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณ ๓๒.๗๐ เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้ง ๔ ด้าน ซึ่งทางขึ้นเป็นทางขึ้นให้คนเดินไป เดินทักษิณาวรรตบนฐานเขียงนี้ได้ ปัจจุบันเหลือบันไดทางขึ้น ๓ ด้าน เหนือฐานเขียงเป็นฐานปัทม์ หรือที่เรียกว่าฐานเอวบันตามแบบศิลปะลาว รับเรือนธาตุซึ่งมีซุ้มจรนัมยอดสูงทั้ง ๔ ทิศ ภายในซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทับยืน ซุ้มด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกประดิษฐาน พระพุทธรูปปางรำพึง ซุ้มด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลา ความสูงขององค์พระธาตุ ประมาณ ๕๕.๓๐ เมตร ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระอรหันสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดตลอด
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม –
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดไชยศรี จังหวัดขอนแก่น

ที่ตั้ง : บ้านสาวะถี หมู่ที่ ๘ ตำบลสาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

๑. วัดไชยศรี เป็นวัดเก่าแก่ที่มีโบสถ์หรือสิม ที่มีอายุกว่าร้อยปีเศษ เดิมมุงหลังคาด้วยแผ่นไม้ ซึ่งมีเอกลักษณ์คือ หลังคามีปีกยื่นทั้งสองข้างแบบสถาปัตยกรรมอีสานดั้งเดิม ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 หลังคาทรุดโทรมจึงมีการรื้อและทำหลังคาขึ้นใหม่ เป็นแบบสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น ส่วนฝาผนังทั้งด้านในและด้านนอกยังคงมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โดยเฉพาะจิตรกรรมฝาผนัง หรือ “ฮูปแต้ม” ที่ยังคงมีความเด่นชัด โดยฝีมือช่างแต้มพื้นบ้านแท้ ๆ เป็นภาพเรื่องราวอดีตพระพุทธเจ้า พระเวสสันดรชาดก เรื่องราววรรณกรรมชิ้นเอกของอีสานเรื่อง “สินไซ” (สังข์ศิลป์ชัย) ภาพเทพ บุคคลและสัตว์ต่างๆ ถึงแม้เวลาจะผ่านมากว่าร้อยปีแล้วก็ตาม และแม้จะมีบางส่วนเลือนหายไปตามกาลเวลาบ้าง แต่ถือว่าฮูปแต้มของที่นี่ยังคงมีความชัดเจนและสวยงามอยู่มาก สิ่งที่น่าสนใจ : สิมอีสาน , ฮูปแต้ม , พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 0๖.00 – 1๘.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๔๓๔๔ ๘๓๕๐ , ๐๘ ๙๒๗๖ ๔๒๐๒
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook : วัดไชยศรี สาวะถี
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ( ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว )