ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์ จังหวัดมหาสารคาม

ที่ตั้ง ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัว หมู่ที่ 4 ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์ ตั้งอยู่ที่ ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัว หมู่ที่ 4 ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม เป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรอินทรีย์ ให้แก่คนในชุมชน และผู้ที่สนใจ ทั้งนี้มีการปลูกผัก พืชอายุสั้น ผักปลอดสารพิษ เพื่อให้ชุมชนได้บริโภค ผลิตผลการเกษตร มีความปลอดภัย มีการแปรรูปอาหาร อีกทั้งมีการจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวชมสะพานไม้แกดำ เป็นการสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยของจังหวัดอีกด้วย ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวและผู้สนใจมาศึกษาดูงานศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง ของชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัว เพื่อศึกษาข้อมูลในการทำการเกษตร เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาการทำการเกษตรของชุมชนตนเองต่อไป
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.00 – 18.00 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ธันวาคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
ติดต่อสอบถามได้ที่ ๐๘ ๓๓๓๙ ๓๔๗๐
๖.ช่องทางออนไลน์ –
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก (ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

สะพานไม้แกดำ จังหวัดมหาสารคาม

ที่ตั้ง ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัว หมู่ที่ 4 ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
๑.สะพานไม้แกดำ เป็นสะพานไม้ที่ทอดยาวไปยังอ่างเก็บน้ำหนองแกดำซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติของอำเภอแกดำ มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ครอบคลุม 3 หมู่บ้าน เป็นสะพานไม้เก่า อายุราวกว่า 100 ปี ที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางข้ามอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ โดยเชื่อมระหว่างบ้านหัวขัวกับหมู่บ้านแกดำ แต่ก่อนสะพานไม้นี่ทรุดโทรมาก ชาวอำเภอแกดำพร้อมด้วยกำลังทหาร ช่วยกันซ่อมแซมสะพานไม้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่มีความโดดเด่น มีความสวยงาม มีจุดชมวิว ถ่ายภาพ จุดเช็คอิน สำหรับนักท่องเที่ยวได้ถ่ายภาพ มีสิ่งอำนวยความสะดวกบริการนักท่องเที่ยว อีกทั้งบริเวณใกล้เคียงมีร้านอาหาร และร้านกาแฟ บริการนักท่องเที่ยว ด้วย สะพานไม้แกดำ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม ที่เป็นสถานที่จัดกิจกรรมสำคัญของจังหวัดเป็นประจำทุกปี และกิจกรรมงานประเพณีต่าง ๆ ของชุมชน เช่น ลอยกระทง บุญบั้งไฟ ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวตลอดตั้งปี
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดบริการทุกวัน 05.00 – 22.00 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ธันวาคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ ไม่มี
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
กิจกรรมเซิ้งกระโจม กิจกรรมพาแลง บายศรีสู่ขวัญ
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
ติดต่อสอบถามได้ที่ ๐๘ ๓๓๓๙ ๓๔๗๐
๗.ช่องทางออนไลน์
เพจ หมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบบ้านหัวขัว
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัว จังหวัดมหาสารคาม

ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัว ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ  มีสะพานไม้แกดำ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอแกดำ  ซึ่งเป็นสะพานไม้เก่าแก่ที่มีอายุราว ๖๐ – ๗๐ ปี เชื่อมระหว่างชุมชน บ้านหัวขัว และบ้านแกดำอาชีพหลักทำนาและอาชีพเกษตรกรรม มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่ายตามวิถี    ชนบทอีสาน ตามฮีตสิบสองคองสิบสี่

ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัวมีความโดดเด่นในเรื่องของวิถีชีวิตที่เรียบง่าย วิถีของผู้คนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ     ติดกับอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ วิถีชีวิตการประกอบอาชีพจะมีอาชีพทำนาและการเกษตรเป็นหลัก ปลูกพืชผัก     ปลอดสารพิษ  โดยได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน และจากศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน  สะพานไม้แกดำ  เป็นสะพานไม้เก่าแก่อายุราว ๖๐-๗๐ ปี 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

จุด check in บริเวณสะพานไม้แกดำ
เป็นสะพานไม้เก่าแก่ที่มีอายุราว ๖๐ – ๗๐ ปี เชื่อมระหว่างชุมชน บ้านหัวขัว และบ้านแกดำ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ร่วมวิถีชุมชน พิธีถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ณ วัดบ้านหัวขัว
การเดินบิณฑบาตของพระสงฆ์ สถานที่พักผ่อนและออกกำลังกาย

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การปลูกผักปลอดสาร
ถ่ายทอดองค์ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน และจากศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ลงแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ เก็บผักมาปรุงอาหาร

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การแสดงเซิ้งกระโจม สืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่งดงาม
กระโจมต้อนรับนักท่องเที่ยว มีการละเล่นเซิ้งกระโจม เป็นการละเล่นที่สืบทอดกันมาจนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน การละเล่นเซิ้งกระโจม นิยมเล่นกันในงานบุญประเพณี บุญบั้งไฟ (ฮีตเดือนหก) โดยจะแต่งกายด้วยชุดพื้นบ้าน บนศรีษะสวมหมวกคล้ายรูปกระโจม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม