เคียงโขงโฮมสเตย์

ที่ตั้ง ๘๙ หมู่ ๑๑ บ้านหนองวิไล ถนนวิศิษฐ์ศรี ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ อุบลราชธานี ๑.ประเภทของที่พัก โฮมสเตย์
๒.จำนวนห้อง ๘ ห้อง
๓.ประเภทห้องพัก/ราคา Standard ๓๕๐ บาท
๔.สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ จักรยาน
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๗๙๖๕ ๔๑๑๔
๖.ช่องทางออนไลน์
https://www.google.co.th/maps/place (นางจรรยง ขงรัมย์)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

โรงแรมแลโขง

ที่ตั้ง 6/3 บ้านหนองวิไล ถ.วิศิษฐ์ศรี ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จ.อุบลราชธานี
๑. ประเภทของที่พัก โรงแรม
๒. ประเภทห้องพัก/ราคา เริ่มต้น ๖๙๐ – ๒,๕๐๐ บาท(ราคาขึ้นอยู่กับประเภทห้องและช่วงเวลาเข้าพัก)
๓. สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ ร้านกาแฟ จักรยาน
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๗๑๑๑ ๒๘๓๖
๕. ช่องทางออนไลน์
https://www.google.co.th/maps/place

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านเจียวกี่ จ.อุบลราชธานี

ที่ตั้ง ๓๑๕ ถนนเขื่อนธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง ตั้งอยู่ใกล้ พิพิธภัณพ์สถานแห่งชาติ และเทศบาลนครอุบลราชธานี
๑. ร้านอาหารเก่าแก่แบบคลาสสิค อายุ ๑๐๐ ปี เจ้าของเป็นชาวจีน ดำเนินกิจการจนมาถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ปัจจุบัน ทายาทปัจจุบันคือ นายสาทิส หาญสกุล อาหารเป็นอาหารเช้า มีทั้ง ไทย จีน แบบตะวันตก มีห้องจัดเลี้ยง มีห้องปรับอากาศ และรับจัดเลี้ยงโต๊ะจีน
2. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 โจ๊กหมูใส่ไข่
2.2 บักกุเต๋
2.3 ไข่กระทะ ขนมปังสอดไส้
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
๐๖.๓๐ – ๑๕.๐๐ น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๔๕๒๕ ๔๐๑๗

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี

ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๖ ถนนเขื่อนธานี ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
๑. วัดเลียบ อุบลฯ เดิมเป็นสำนักสงฆ์สายวิปัสสนา สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๑ ตรงกับปลายรัชกาลที่ ๓ ชื่อของวัดเลียบน่าจะมาจากการที่เป็นวัดที่สร้างขึ้นเลียบคูเมือง ในแนวกั้นแม่น้ำมูล ซึ่งต่อมาคือถนนเขื่อนธานี วัดเลียบเป็น ๑ ใน ๕ ของวัดธรรมยุตินิกาย เป็นสถานศึกษาและเป็นแหล่งประสิทธิประสาทวิชาความรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลฯ โดยเฉพาะยุคต้นของการสร้างวัดเลียบ ที่มีพระครูวิเวกพุทธกิจ(หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล) เป็นเจ้าอาวาสและเป็นผู้ฝึกอบรมการปฏิบัติธรรมในสายวิปัสสนากรรมฐาน ต่อมายังมีลูกศิษย์ที่มาอบรมศึกษากับพระครูวิเวกพุทธกิจ(หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล) อีกจำนวนมาก
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๕..๐๐ น.
ปิดเวลา ๒๐.๐๐ น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๙ ๒๑๔๓ ๙๗๗๗
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook วัดเลียบ อุบลราชธานี
http://www.watliabubon
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ / ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดสุปัฏนารามวรวิหาร จ.อุบลราชธานี

ที่ตั้ง ถนนวัดสุปัฏ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
 ๑. เป็นวัดธรรมยุตนิกายแห่งแรกของจังหวัดอุบลราชธานี และเป็นแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ และทรงตั้งชื่อวัดให้ ซึ่งหมายถึงวัดที่มีสถานที่ตั้งเหมาะสมเป็นท่าเรือที่ดีพระอุโบสถหลังปัจจุบันเป็นรูปทรงพระนิยม มีความกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๓๔ เมตร สูง ๒๒ เมตร ผู้อำนวยการสร้างในสมัยนั้นคือ สมเด็จพระมหาวีระวงศ์(ติส โส อ้วน) เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ สถานปนิกผู้ออกแบบคือ หลวงสถิตนิมานกาล นายช่างหลวงแผ่นดินภายในพระอุโบสถ มีพระสัพพัญญูเจ้าเป็นองค์พระประธาน และ ยังมีพระองค์อื่นอีก ได้แก่ พระแก้วขาวเพชนน้ำค้าง พระนาคปรกศิลาทราย พระพุทธสิหิงค์จำลอง นอกจากนี้ยังมีรูปหล่อพระอุบาลีคุณูปมาจารย์และรูปหล่อสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ โดยมีนายคำหมา แสงงาม ศิลปินแห่งชาติประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นช่างหล่อและปั้น มีหอศิลปวัฒนธรรม ใช้เป็นที่เก็บ รวบรวมศิลปะ โบราณวัตถุต่างๆ และสิ่งของ เครื่องใช้ของคนสมัยก่อนที่ญาติโยมนำมาถวาย จะเปิดให้ชมเฉพาะเทศกาลสำคัญเท่านั้น พระอุโบสถใช้ประกอบศาสนพิธีและพิธีกรรมทางศาสนา
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
วัดเปิดตลอดเวลา ยกเว้นหอศิลปวัฒนธรรมจะเปิดให้เข้าชมเฉพาะเทศกาลสำคัญเท่านั้น
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๙ ๑๗๗๒ ๖๔๑๖
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ / ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดเกษมสำราญ จังหวัดอุบลราชธานี

ชุมชนเกษมสำราญ  ชุมชนแห่งนี้ เคยมีฐานะเป็น เมืองเกษมสีมา ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๒๕ – ๒๔๕๒ ต่อมาเมืองเกษมสีมารวมกันกับเมืองอุตรูปลนิคม เรียกชื่อใหม่ว่า อำเภออุดรอุบล มีการปรับปรุงการปกครองจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๕ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 พระยาวิเศษสิงหนาท เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชกาลมณฑลอุบลราชธานีได้เปลี่ยนอำเภออุดรอุบลกลับคืนมาเป็นอำเภอเกษมสีมาอีกครั้งหนึ่ง 

พิพิธภัณฑ์เกษมสีมา  เป็นอัตลักษณ์และความโดดเด่นของชุมชน  เนื่องจากมีชุมชนแห่งนี้แห่งเดียวที่ยังคงรักษาประเพณีการทำนกหัสดีลิงค์  และเป็นสถานที่เก็บรักษาวัตถุโบราณและเรื่องราวความเป็นมาของเมืองเกษมสีในอดีตมาหรือเมืองตระการพืชผลในปัจจุบัน 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พิพิธภัณฑ์เกษมสีมา
ตั้งอยู่ภายในวัดเกษมสำราญ  เป็นที่รวบรวมประวัติศาสตร์การสร้างเมืองเกษมสีมา  รวมทั้งโบราณวัตถุ  ที่สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองเกษมสีมาในอดีต

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชเกษมสีมา
ตั้งอยู่ภายในวัดเกษมสำราญ  และอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์เกษมสีมา

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

หนองขุหลุ เป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติ มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม และยังมีบรรยากาศที่ร่มรื่น เพราะเต็มไปด้วยไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับนานาชนิด

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนเกษตรนายสุทธิศักดิ์ สุขนนท์ เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สวนเกษตรแบบผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรียกว่า  ครัวชุมชน  

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ข้ามสะพานแขวน วัดเกษม เดินข้ามห้วยลำชี ริมห้วยข้างวัดเกษมสำราญ โดยมีสะพานแขวนทำด้วยไม้ กว้างประมาณ ๒ เมตร ยาวประมาณ ๕๐ เมตร

ใส่บาตรถนนสายวัฒนธรรม บ้านเกษม ประชาชนร่วมกันใส่บาตรถนนสายวัฒนธรรมทุกวัน ๑๕ ค่ำ เดือนละ ๒ ครั้ง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม