สวนวิมานดิน จังหวัดอำนาจเจริญ

ที่ตั้งบ้านปลาค้าว เลขที่ 28 หมู่ที่ 3 ถนน ตำบลปลาค้าว อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
๑.สวนวิมานดินเกษตรอินทรีย์ เป็นแหล่งรวบรวมพืชผลเกษตรอินทรีย์ และภูมิปัญญาด้านการเพาะเมล็ดพันธ์พืชและพืชเกษตรอินทรีย์
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.30 – 17.00น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม –
นายสมาน ต้นจันทน์ ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลปลาค้าว
09 4307 9152
๖.ช่องทางออนไลน์-
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

สวนสามแสน จังหวัดลำพูน

ที่ตั้ง บ้านกลาง ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
๑.สวนสามแสน เป็นสวนเกษตรที่เกิดจากความคิดที่ต้องการหาวิธีทำเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย โดยยึดแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นหลักปฏิบัติ โดยมีการนำเอาโรงเรียนบ้านกลาง ที่ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามาเป็นพื้นที่ให้คนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอินทรีย์ โดยสวนสามแสนมีชื่อมาจาก แสนพอดี แสนคุ้ม แสนภูมิใจ
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 8.00 – 16.30 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เดือนพฤศจิกายน – มีนาคม ของทุกปี (ฤดูหนาว)
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
นายสมคิด ธีระสิงห์ ผู้ใหญ่บ้าน 09 3212 9090
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook : สวนสามแสน บ้านกลาง
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์ฝึกอบรมวัดป่าดอนดู่ธรรมาราม จ.ร้อยเอ็ด

๑.ศูนย์ฝึกอบรมวัดป่าดอนดู่ธรรมาราม อ.จตุรพักรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด “พัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล จังหวัดร้อยเอ็ด” เป็นการจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ โคก-หนอง-นา โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบโคก-หนอง-นา โมเดล ซึ่งเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ ทุกวัน
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน) ตลอดปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
การทำนา เพาะปลูกพืชผักสวนคัว ไม้ผล การเลี้ยงปลา
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม –
๗.ช่องทางออนไลน์ –
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์ จังหวัดมหาสารคาม

ที่ตั้ง ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัว หมู่ที่ 4 ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์ ตั้งอยู่ที่ ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัว หมู่ที่ 4 ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม เป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรอินทรีย์ ให้แก่คนในชุมชน และผู้ที่สนใจ ทั้งนี้มีการปลูกผัก พืชอายุสั้น ผักปลอดสารพิษ เพื่อให้ชุมชนได้บริโภค ผลิตผลการเกษตร มีความปลอดภัย มีการแปรรูปอาหาร อีกทั้งมีการจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวชมสะพานไม้แกดำ เป็นการสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยของจังหวัดอีกด้วย ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวและผู้สนใจมาศึกษาดูงานศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง ของชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัว เพื่อศึกษาข้อมูลในการทำการเกษตร เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาการทำการเกษตรของชุมชนตนเองต่อไป
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.00 – 18.00 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ธันวาคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
ติดต่อสอบถามได้ที่ ๐๘ ๓๓๓๙ ๓๔๗๐
๖.ช่องทางออนไลน์ –
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก (ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมเทศบาลเมืองไร่ขิง (เกาะลัดอีแท่น) จังหวัดนครปฐม

สภาพภูมิประเทศ เป็นรูปกระเพาะหมู ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน มีการดำเนินชีวิตและวัฒนธรรมของชาวไทยและชาวจีน จึงก่อให้เกิดการดำเนินชีวิตในรูปแบบผสมผสานที่ลงตัว ทั้งในด้านศาสนา วัฒนธรรมและภูมิปัญญา ที่เป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าของเกาะลัดอีแท่น 

ชุมชนคุณธรรมเทศบาลเมืองไร่ขิง (เกาะลัดอีแท่น) เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งของพลังบวร ที่คนในชุมชนรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ โดยต้องการผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวิถีชีวิตชุมชนเกาะลัดอีแท่น ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มากมาย และสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดไร่ขิง พระอารามหลวง
กราบหลวงพ่อวัดไร่ขิงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวนครปฐม ชมแหล่งเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา และป้อนนมปลาคาร์ฟ

พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชุมชนคลองผีเสื้อ
แหล่งเรียนรู้ที่รวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้สมัยโบราณ ชมระหัดวิดน้ำที่ยังคงสภาพใช้งานได้ อยู่ในบรรยากาศบ้านสวน

วัดทรงคนอง
กราบพระประธานในอุโบสถ และหลวงพ่อโป๋หลุยในวิหารชมสถาปัตยกรรมล้ำค่า ซากเรือสำเภาและโพธิ์สามสีที่หาชมได้ยาก

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

แม่น้ำท่าจีน
แม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชาวบ้านในชุมชนทั้งวิถีชีวิตความเป็น การประกอบอาชีพ การคมนาคม ที่ต้องอาศัยแม่น้ำในการดำรงชีวิต

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ไร่แสนรักษ์ (ศูนย์เรียนรู้การปลูกพืชในระบบอินทรีย์)
แหล่งผลิตอาหารปลอดสารพิษ สัมผัส วิถีชีวิตชาวนาไทย ชมแปลงนา สวนเกษตร

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ไหว้พระทำบุญ
วัดไร่ขิง พระอารามหลวงกราบหลวงพ่อวัดไร่ขิงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวนครปฐม ชมแหล่งเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา และป้อนนมปลาคาร์ฟ
ไหว้พระขอพร
วัดทรงคนอง กราบพระประธานในอุโบสถ และหลวงพ่อโป๋หลุยในวิหาร ชมสถาปัตยกรรมล้ำค่า ซากเรือสำเภาและโพธิ์สามสีที่หาชมได้ยาก
ชมการสาธิตการทำเกษตรอินทรีย์
ไร่แสนรักษ์ (ศูนย์เรียนรู้การปลูกพืชในระบบอินทรีย์) เรียนรู้วิถีชีวิตชาวนาไทย ชมแปลงนา สวนเกษตร
กิจกรรมล่องเรือแม่น้ำท่าจีน
บ้านสวนบางเตย โฮมสเตย์ ล่องเรือรับฟังการบรรยาย พร้อมชมวิถีชีวิตริมแม่น้ำท่าจีน 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม