แพะเมืองผี จังหวัดแพร่

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ระหว่างตำบลทุ่งโฮ้ง และตำบลน้ำชำ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ห่างจากตัวเมืองราว 15 กิโลเมตร บนเส้นทางสายแพร่ – ร้องกวาง
๑.แพะเมืองผี สถานที่ตั้งของแพะเมืองผี มีลำธารสายเล็กๆ ไหลผ่าน ในสมัยโบราณเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านตำบลทุ่งโฮ้งและใกล้เคียงให้ความนับถือมากเพราะมีประวัติลึกลับ เล่าสืบต่อกันมาว่า มียายแก่เข้าไปหาของป่าได้หลงไปในที่แห่งนี้ แล้วพบหลุมเงินหลุมทอง จึงเอาเงินเอาทองใส่หาบจนเต็มแล้วยกใส่บ่าเพื่อจะหาบกลับบ้าน แต่ก็หลงในป่าแห่งนั้น เพราะเทวดาเจ้าถิ่นนั้นไม่ให้เอาไปเพียงแต่เอามาอวดให้เห็น ยายแก่จึงวางหาบไว้ที่นั่นแล้วรีบไปบอกชาวบ้านให้มาดูหาบเงินหาบทองนั้นพอชาวบ้าน หลั่งไหลไปเป็นจำนวนมากครั้นเมื่อไปถึงเงินทองนั้นกลับหายไปตามป่านั้นเมื่อพบรอยเท้าจึงสะกดจามรอยเท้าไปจนถึงเสาเมโรและไม่มีรอยปรากฏไปทางอื่นเลยยายแก่กับชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อสถานที่นี้ว่า “แพะเมืองผี” แพะ หมายถึง ป่าละเมาะ เมืองผี หมายถึง ความเงียบเหงาวังเวงเหมือนเมืองผี เสาเมโร หมายถึง เสารูปเหมือนปราสาทศพผู้ตายทางภาคเหนือ แพะเมืองผี เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่าง ๆ เช่น ดอกเห็ด หน้าผา ดูแล้วแปลกตา บรรยากาศเร้นลับ น่ากลัว สถานที่แห่งนี้ประกาศเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน8.30-16.30 น
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ตลอดปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ –
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 7795 3593
๗.ช่องทางออนไลน์
Facebook “วนอุทยานแพะเมืองผี จังหวัดแพร่ – Phae Muang Phi Forest Park”
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

คุ้มเจ้าหลวง จ.แพร่

ที่ตั้ง ถนน คุ้มเดิม ตำบล ในเวียง อำเภอเมืองแพร่ แพร่ 54000
๑.คุ้มเจ้าหลวง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2435 โดยเจ้าพิริยเทพวงษ์ เป็นอาคารโอ่โถง มีประตู หน้าต่างทั้งหมด 72 บาน งดงามด้วยลวดลายฉลุไม้อยู่ด้านบนปั้นลม และชายคาน้ำ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ยุคต้น เป็นอาคารทรงขนมปังขิง สถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป ในปี พ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ทำให้เจ้าพิริยเทพวงษ์ได้ลี้ภัยการเมืองไปอยู่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และจนถึงแก่พิราลัย รัฐสยามจึงได้ยึดราชสมบัติและคุ้มของเจ้าหลวง ใช้เป็นที่ตั้งของกองทหารม้าจากกรุงเทพฯ ที่ส่งมารักษาความสงบเรียบร้อยในเมืองแพร่อยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาใช้เป็นจวนหรือบ้านพักของผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ จนเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้มอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ดูแล มีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าชมเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา โดยไม่เสียค่าเข้าชม นอกจากนี้ ยังมีบริการรถรางนำเทียวสถานที่สำคัญในตัวเมืองจังหวัดแพร่ ทั้งหมด 2 รอบ แบ่งเป็นรอบเช้า เวลา 10.00 น. และ รอบบ่าย เวลา 14.00 น.
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30 ถึง 16.30 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 5452 4158
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.phraepao.go.th
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง จังหวัดแพร่

ที่ตั้ง 1 หมู่ 11 ถนนช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
๑.วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ตั้งอยู่ในตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดแพร่และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล บุคคลใดที่มา เที่ยวจังหวัดแพร่แล้วจะต้องมานมัสการพระธาตุช่อแฮ เพื่อเป็นศิริมงคลกับตนเอง จนมีคำกล่าวว่า ถ้ามาเที่ยวจังหวัดแพร่ แต่ไม่ได้มานมัสการพระธาตุช่อแฮเหมือนไม่ได้มาจังหวัดแพร่ เป็นวัดที่ตั้งอยู่เนินเขาเตี้ยสูงประมาณ 28 เมตร องค์พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ ศิลปะเชียงแสน แบบแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองบุด้วยทองดอกบวบหรือทองจังโก องค์พระธาตุสูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร ลักษณะองค์พระธาตุตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม 1 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม3 ชั้นรองรับ ถัดไปเป็น ฐานบัวคว่ำ และชุดท้องไม้แปดเหลี่ยมซ้อนลดชั้นกันขึ้นไป 7 ชั้น จากนั้นเป็นบัวระฆัง 1 ชั้น และหน้ากระดานหนึ่งชั้นจนถึงองค์ระฆัง แปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังค์ย่อมุมไม้สิบสองและปล้องไฉน ส่วนยอดฉัตรประดับตกแต่งด้วยเครื่องบนแบบล้านนามี รั้วเหล็ก รอบองค์พระธาตุ 4 ทิศ มีประตูเข้าออก 4 ประตู แต่ละประตูได้สร้างซุ้มแบบปราสาทล้านนาไว้อย่างสวยงาม
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 06.30-19.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
09 0759 7012, 08 7180 6779
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebok Fanpage “วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง”https://www.facebook.com/Watphrathatchohae
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม