ฐานเรียนรู้ DIY “ทำด้วยมือ แล้วถือกลับบ้าน” ของฝากผลิตภัณฑ์ชุมชน ศูนย์บริการการท่องเที่ยว สหัสขันธ์ไดโนโรด

ที่ตั้ง : ศูนย์บริการการท่องเที่ยวสหัสขันธ์ไดโนโรด บ้านโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ @ m’amdinoshop
๒.ชื่อผู้ประกอบการ
นางสาวจิดาภา ขูรูรักษ์, นางสาวเพียรศิลป์ เถื่อนศร และนางทิยาภัทร เกษมโสภา                                                            ๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
1) DIY ที่นักท่องเที่ยวได้ร่วมทำผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง
2) ถุงไดโนหอม พวงกุญแจไดโนเสาร์
3) ผ้าสไบแพรวาลายไดโนเสาร์
4) อาหารแปรรูปจากปลาน้ำจืดเขื่อนลำปาว
รายละเอียดความโดดเด่น สินค้าของชุมชนประเภทของที่ระลึก สินค้าแปรรูป หรืองานหัตถกรรม งานแฮนด์เมด เพื่อนำมาจำหน่ายให้ทั้งนักท่องเที่ยวหรือคนในชุมชนเองรวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องการของฝาก/งานเกษียณอายุราชการหรือต้องการสนับสนุนให้ชุมชนมีรายได้ สามารถมาหาซื้อหรือสั่งทำที่นี่ได้ ตามความต้องการของลูกค้า เช่นสินค้าประเภทงานแฮนด์เมด งานจากผ้า การแปรรูปผ้า ตุ๊กตาดินเผา พวงกุญแจ ธุง กิจกรรม diy จากชุมชน เสื้อยืด ฯลฯ
๔. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิดทุกวัน
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
นางสาวจิดาภา ขูรูรักษ์ โทร. 08 1769 1620
๖.ช่องทางออนไลน์
สหัสขันธ์ไดโนโรดhttps://www.facebook.com/Siamotyran nus
ไดโนโรดโฮมสเตย์ https://www.facebook.com/SilakaewHomestay/
สหัสขันธ์ไดโนโรดโฮมสเตย์ https://www.facebook.com/homestay.dino/
ทางไลน์. @ m’am
เฟสบุ๊ค peemam kurooruk

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์ของดีจังหวัดกาฬสินธุ์ (หอศิลป์)

ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ (หลังเก่า) ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
๑.พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ (หอศิลป์) (Kalasin art gallery) เป็นแหล่งข้อมูลที่บูรณาการความรู้สมัยเก่ากับสมัยใหม่เป็นแหล่งเรียนรู้และรวบรวมข้อมูลของดีจังหวัดกาฬสินธุ์ บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนจังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้ง ๑๘ อำเภอ เป็นศูนย์กลางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชื่อมโยงข้อมูลศูนย์ศิลปวัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวภายในจังหวัดกาฬสินธุ์ ถ่ายทอดและสร้างสรรค์งานด้านศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรม
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ เปิดให้บริการวันอังคาร-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น.๑๖.๐๐ น. หยุดทำการทุกวันจันทร์ของสัปดาห์
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 4384 0163
๕.ช่องทางออนไลน์ เพจหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดกลาง พระอารามหลวง จังหวัดกาฬสินธุ์

ที่ตั้ง 47 ถนนกาฬสินธุ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

๑.เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง และเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธ สัมฤทธิ์นิรโรคันตราย หรือหลวงพ่อองค์ดำ ที่เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวกาฬสินธุ์ โดยมีความเป็นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ กวาดต้อนประชาชนชาวผู้ไทมาจากลาว ประเทศลาวมีบ่อคำแดงมากบริเวณสะหวันนะเขต มีคณะที่อพยพมาจากประเทศลาวไปอยู่ที่เมืองภูแล่นช้าง ซึ่งปัจจุบันคือตำบลนาขาม อำเภอนาดู จังหวัดกาพสินธุ์ และญาคูกิวซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ ได้นำทองแดงและทองคำที่ได้มาจากประเทศลาวเพื่อประกอบพิธีหล่อองค์พระพุทธรูปเมื่อ พ.ศ. 2353 โดยมีช่างจากล้านนาโบราณที่เชี่ยวชาญมาช่วยในการหล่อ แต่ว่าทองแดงไม่พอจึงกลับไปเอาทองแดงอีกครั้ง เมื่อหล่อองค์พระพุทธรูปเสร็จปรากฏว่าทองแดง ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของพระพุทธรูปนั้นทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศทำให้เกิดปฏิกิริยาออกชิเดชั่น เกิดเป็นสนิมสีดำ เกาะติดรอบพระพุทธรูป เมื่อชัดสนิมออกแล้วก็จะเห็นสีของทองแดงแต่เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ก็กลับมาเป็นสีดำเช่นเดิม ชาวบ้านจึงเรียกพระพุทธรูปนี้ว่า หลวงพ่อองค์ดำต่อมาได้มีการนำไปประดิบฐานที่วัดนาขาม และในสมัยพระยาชัยสุนทร(เก) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ องค์ที่ 11 ได้เดินทางไปตรวจราชการที่บ้านนาขาม แล้วได้พบเห็นหลวงพ่อองค์ดำที่วัดนาขาม เป็นพระที่มีลักษณะงดงาม จึงมีความต้องการที่จะนำไปประดิษฐานไว้ที่โฮงผู้ว่าฯ (จวนผู้ว่าฯ)และก็ได้เกิดเหตุอาเพศต่างๆมากมาย จึงได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดกลาง ปาฏิหาริย์ต่างๆ
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๕.๓๐-๒๑.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม พระครูปัญญามัชฌิมานุกูล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกลาง เบอร์ 09 8654 5789
๕.ช่องทางออนไลน์ มีเพจ:วัดกลางพระอารามหลวง, พระครูปัญญามัชฌิมานุกูล
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดโพธิ์ชัยเสมาราม จังหวัดกาฬสินธุ์

บ้านเสมา เดิมชื่อเมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นเมืองโบราณ ตามประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้าฟ้างุ้มแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต อาศัยภายในเมืองมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว เมืองมีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นในสมัยทวาราวดี หรือราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 โดยมีซากศาสนสถานกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป 

เป็นชุมชนที่ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินงานชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่เริ่มต้น โดยชุมชนร่วมกันสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ อาทิ งานทะเลธุงที่มีแห่งเดียวในโลก งานมาฆปูรมี ทวารวดีมิ่งหล้าฟ้าแดดสงยาง งานวิสาขปุณณมี ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

อุทยานประวัติศาสตร์พระธาตุยาคู
เมืองฟ้าแดดสงยางแห่งนี้เป็นเมืองโบราณมีการค้นพบใบเสมาจำนวนมาก เป็นรูปแบบใบเสมาหินทรายสีแดงทั้งลักษณะแท่ง หินกลม เหลี่ยม แผ่นศิลา แผ่นหินทรายเกลี้ยง แผ่นหินทรายสลักลวดลายจารึกตัวอักษร และเป็นที่ตั้งของพระธาตุยาคูจนถือได้ว่าเป็นอัตลักษณ์และเป็นที่มาของชื่อบ้านเสมาในปัจจุบัน  

ศูนย์เรียนรู้พระธาตุยาคู และพิพิธภัณฑ์เมืองฟ้าแดด
วัดโพธิ์ชัยเสมารามหรือวัดบ้านก้อม ตั้งอยู่ที่บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสยจังหวัดกาฬสินธุ์ สร้างในปี พ.ศ. 2330 อยู่เยื้องกับเส้นทางไปพระธาตุยาคู และห่างจากอำเภอกมลาไสยไปทางตะวันตกประมาณ 7 กิโลเมตร วัดโพธิ์ชัยเสมารามเป็นวัดสำคัญในเมืองฟ้าแดดสงยาง ปัจจุบันเป็นสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุที่พบในเมืองฟ้าแดดสงยาง โบราณวัตถุที่สำคัญ คือ กลุ่มใบเสมาบ้านมะก้อม บ้านเสมา และบ้านหนองแปน สร้างขึ้นในสมัยทวารวดีและมีภาพจำหลักเรื่องราวพุทธประวัติและมหานิบาตชาดกที่งดงามมากทำให้ทราบถึงความเชื่อความนิยมรวมถึงการแต่งกายและสถาปัตยกรรมเครื่องไม้ในสมัยนั้น

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

คูเมืองฟ้าแดดสงยาง
แผนผังของเมืองมีรูปร่างคล้ายใบเสมา ล้อมรอบด้วยธรรมชาติ มีคันดินล้อมรอบ 2 ชั้น ความยาวของคันดินยาวโดยรอบประมาณ 5 กิโลเมตร คูน้ำจะอยู่ตรงกลางระหว่างคันดินทั้งสอง เป็นเมืองโบราณที่มีการขุดพบใบเสมาโบราณจำนวนมากทั้งภายในและภายนอกเมือง บางส่วนเก็บไว้ที่วัดโพธิ์ชัยเสมารามซึ่งอยู่ภายในเมือง และบางส่วนยังคงอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งเดิมซึ่งพบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปทั้งภายในและภายนอกเมือง 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนคำพันธ์ คำม่วงไทย
สวนเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การทำธุงใย
บ้านเสมา ตั้งอยู่ที่ ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย  จังหวัดกาฬสินธุ์

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม