Warning: Constant WP_DEBUG already defined in /home2/cp962929/public_html/jk.tours/wp-config.php on line 41
จังหวัดตรัง Archives - JK.TOURS

เกาะลิบง จังหวัดตรัง

ที่ตั้ง ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
 ๑.เกาะลิบง เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดตรัง เป็นแหล่งหญ้าทะเลแหล่งใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งเป็นอาหารของเหล่าพะยูน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งดูนกทะเลชนิดต่าง ๆ มีชายหาดที่สวยงาม ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง สวนยางพารา และสวนผลไม้เป็นหลัก วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชาวบ้านที่เรียบง่าย เหล่านี้จึงเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ประจำเกาะลิบงที่ชวนหลงใหล เกาะลิบง เป็นแหล่งพบฝูงพะยูนมากที่สุดในประเทศไทย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งชาวลิบงเองร่วมกันอนุรักษ์ด้วยหัวใจ เกาะลิบงถือเป็นสวรรค์ของนักดูนกอีกแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะบริเวณหาดตูบ เป็นถิ่นอาศัยของนกทะเลและนกชายเลนที่หนีหนาวเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะปรากฏช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ ทุกวันเวลา 0๖.00 – 1๘.๐0 น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน) เดือนธันวาคม ถึงเดือนมีนาคม
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ -ค่าเรือโดยสาร คนละ ๔๐ บาท
– ค่าเหมาเรือ ลำละ 560 บาท ต่อเที่ยว
– ค่าเหมารถซาเล้ง คิดตามระยะทาง
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ :ชมพะยูน ชมสะพานหิน การตกหมึก การนั่งเรือไปยังเกาะใกล้เคียง ชมฝูงนกอพยพจากไซบีเรีย ลิ้มรสอาหารทะเลสดๆ
๖. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม โทร. ๐๙ ๓๒๒๗ ๖๐๓๖
๗. ช่องทางออนไลน์ Facebook : Jeerasak Pangta
๘. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ / ทางลาด/ที่จอดรถ /จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

สถานีรถไฟกันตัง จังหวัดตรัง

ที่ตั้ง : ถนนหน้าค่าย ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
๑.สถานีรถไฟกันตัง เป็นสถานีรถไฟสุดทาง ของทางรถไฟสายใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน สถานีรถไฟกันตัง เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2456 ในอดีตใช้เป็นที่รับส่งสินค้ากับต่างประเทศ ทั้งสิงคโปร์มาเลเซียอินโดนีเซียมีรางรถไฟต่อไปเป็นระยะทางประมาณ 500 เมตร ตัวสถานีรถไฟกันตัง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยา ทาสีเหลืองมัสตาร์ดสลับน้ำตาล อันเป็นคู่สีหลักที่คุ้นตาของอาคารรถไฟ ทั่วไป ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนตัวอาคารและชานชาลา ด้านหน้าของอาคารมีมุขยื่น มีการตกแต่งประดับมุมเสาด้วย ลวดลาย ไม้ฉลุคงเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากร ส่วนตัวอาคารที่ทำ เป็นห้อง มีผนังไม้ตีตามตั้งโชว์แนวเคร่า พร้อมช่องลมระแนงไม้ บานประตูหน้าต่างไม้แบบเก่า ส่วนที่เป็นโถงมีรั้วลูกกรงไม้ พร้อมบานประตูขนาดเล็กน่ารักกั้นพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน ส่วนด้านหลังอาคารเป็นชานชาลามีหลังคาจั่วคลุมแยกต่างหาก โดยเสารับ หลังคาชาน ชาลานี้มีค้ำยันไม้ฉลุตกแต่งให้กลมกลืนกับตัวอาคาร
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิด วันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 08.00 – 1๖.๓0 น.
๓. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๕๘๖๗
๔. ช่องทางออนไลน์
facebook : สถานีรถไฟกันตัง
๕.สิ่งอำนวยความสะดวก / ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

โฮมสเตย์นางยุพา นุ่นดำ จังหวัดตรัง

ที่ตั้ง ๑๔๐ หมู่ที่ ๗ ตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
๑.จำนวนห้อง ๓ ห้อง
๒.ราคา ๑๕๐ บาท/ห้อง
๓.ลักษณะของที่พัก /โฮมสเตย์
– ธรรมชาติที่สวยงาม เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
๔.กิจกรรมพิเศษ รับประทานอาหารกลางวันกับชุมชนร่วมกิจกรรมทำขนมพื้นบ้านกับชุมชน
๕.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
นางยุพา สกุล นุ่นดำ
นางเสาวนีย์ ศรีหมอก
เบอร์โทร. ๐๘ ๙๖๔ ๙๐๐๙

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

กลุ่มทอผ้านาหมื่นศรี จังหวัดตรัง

ที่ตั้ง 119 หมูที่ 8 ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
๑. ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ ผ้าทอนาหมื่นศรี
๒. ชื่อผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี
๓. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าทอนาหมื่นศรี
ผ้าทอนาหมื่นศรี เป็นผ้าทอยกดอกที่มีลวดลายและสีสันที่สวยงาม มีทั้งแบบลวดลายโบราณที่สืบทอดต่อกันมายาวนาน และลวดลายที่ผลิตขึ้นมาใหม่เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย
๓.๒ ชื่อผลิตภัณฑ์ ร่มหมื่นศรี
ร่มหมื่นศรี เป็นร่มที่ผลิตจากผ้าขาวม้า ที่มีลวดลายสดใส สวยงาม สามารถกันแดดได้เป็นอย่างดี
๔. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิด วันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 08.00 – 17.00 น.
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 08 1476 4318
๖. ช่องทางออนไลน์
E – mail.com : nameunsri.trang@hotmail.com
Facebook : วิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี
Line id : 0814764318

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ ๒ จังหวัดตรัง

ที่ตั้ง : ๙ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
๑.ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จังหวัดตรัง เป็นศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิต และการขยายพันธุ์พืช ภายในเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ และส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เช่น ชมการปลูกมะเขือเทศ และเมล่อน ปลอดสารพิษหลากหลายสายพันธุ์ภายในโรงเรือน โดยเฉพาะแปลงมะเขือเทศแบบกินสด ที่มีจำนวนประมาณ 200 ต้น ซึ่งออกผลสีแดงสวยอร่าม เที่ยวชมอุโมงค์น้ำเต้า ซึ่งบางลูกมีขนาดใหญ่มาก และมีน้ำหนักหลายกิโลกรัม ชมกล้วยไม้เพชรหึง หรือว่านหางช้าง กล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งปลูกมากที่สุดในประเทศไทย ชมกล้วยไม้ป่าประจำถิ่นภาคใต้ และกล้วยไม้รองเท้านารีหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งจะหมุนเวียนกันออกดอกให้ยลโฉมตลอดทั้งปี ชมการปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เช่น พริกขี้หนูพันธุ์เดือยไก่ ซึ่งมีเฉพาะที่ จ.ตรัง นอกจากนั้น ยังมีการเปิดให้ชมเทคโนโลยีการผลิต และการขยายพันธุ์พืช เช่น ปาล์มน้ำมัน พริกไทย รวมทั้งพืชผัก ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับอีกมากมาย ที่ชวนให้เที่ยวชมได้อย่างเพลิดเพลินตลอดทั้งวัน
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิด วันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 08.๓0 น. – 1๖.๓0 น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว เข้าชมได้ตลอดทั้งปี
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม โทร. 0 7558 2312 – 3
๖. ช่องทางออนไลน์
Facebook : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่สองจังหวัดตรัง
www.aopdt08.doae.go.th
๗. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พงษ์โอชา 2 จังหวัดตรัง

ที่ตั้ง 67/17 ถนนเพลินพิทักษ์ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
๑.ร้านพงษ์โอชา ๒ เป็นร้านอาหารเช้าที่มีเอกลักษณ์ตามแบบฉบับของคนตรัง ซึ่งเป็นวิถีการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวันของคนไทยเชื้อสายจีน มีอาหารให้เลือกทานมากกว่า ๕๐ ชนิด เมนูเด่น ได้แก่ หมูย่างเมืองตรัง ที่สืบทอดกรรมวิธีในการทำตามแบบฉบับของชาวจีนมาแต่โบราณ และบักกุ๊ดเต๋ ที่มีส่วนผสมของเครื่องสมุนไพรยาจีน มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และอาหารติ่มซำที่มีให้เลือกมากมาย เป็นที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก
2. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 หมูย่างเมืองตรัง
๒.๑ บักกุ๊ดเต๋
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดวันจันทร์ – วันอาทิตย์
เวลา ๐๕.๓๐ – ๑๑.๓๐ น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๗๗๘๙
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook : ร้านพงษ์โอชา ๒
E-mail : pongocha2@gmail.com

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมมัสยิดบ้านทรายแก้ว จังหวัดตรัง

ชุมชนมัสยิดบ้านทรายแก้ว ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ชุมชนเป็นชุมชนมุสลิมที่ตั้งอยู่ชายทะเล ผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง สวนยางพารา มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในแบบดั้งเดิมที่เรียบง่ายและเป็นเอกลักษณ์

ชุมชนคุณธรรมมัสยิดบ้านทรายแก้ว เป็นชุมชนวิถีชาวเล ที่คนรักทะเลต้องมาสัมผัส มีทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ชายหาดที่สวยงาม แหล่งชมพยูนฝูงใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แหล่งชมฝูงนกอพยพจากไซบีเรีย วิถีชีวิตชาวเล และอาหารทะเลสด ๆ จากท้องทะเล

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

มัสยิดบ้านทรายแก้ว มัสยิดบ้านทรายแก้ว ตั้งอยู่ ม.๗ ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จังหวัดตรัง เป็นศาสนสถานประจำหมู่บ้าน เป็นสถานที่รวมจิตใจของชาวมุสลิมบ้านทรายแก้ว

แหล่งเรียนรู้การต่อเรือ นายอ่ามัด ชัยฤทธิ์ที่อยู่ 87/5 ม.๗ บ้านทรายแก้ว  ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรังเป็นแหล่งเรียนรู้การต่อเรือประมงพื้นบ้าน (เรือหัวโทง) ที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ขายให้กับชาวประมงในพื้นที่

แหล่งเรียนรู้การทำขนมพื้นบ้าน นางสอระ ปังตา ที่อยู่  87/5 ม.7 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง แหล่งเรียนรู้การทำขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมหม้อแกงเตาถ่าน ขนมโกสุ้ย ขนมเหนียวหน้า ใช้วัตถุดิบภายในชุมชนในการผลิต และใช้เตาถ่าน เพื่อเพิ่มความหอมให้กับขนม และใช้สีจากธรรมชาติ ส่งขายภายในชุมชน

แหล่งเรียนรู้การแกะปู นางวันดี  แด่หวา กลุ่มแปรรูปแกะปูพื้นบ้าน ที่อยู่ 89/1 ม.7 บ้านทรายแก้ว เป็นกลุ่มอาชีพของแม่บ้าน เมื่อเสร็จงานจากการกรีดยาง ก็แกะปูเป็นอาชีพเสริม รับซื้อปูจากชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ ส่งขายไปยังร้านอาหารต่าง ๆ ในจังหวัดตรัง

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สะพานหอชมวิถีสัตว์น้ำ เกาะลิบง (สะพานหลีกภัย) ตั้งอยู่ม.4 บ้านบาตูปูเต๊ะ สะพานหลีกภัยมีความยาว ๖๙๙ เมตร ปลายสะพานหลีกภัยมีจุดชมวิว ๓๖๐ องศา สามารถมองเห็นพยูนที่มากินหญ้าทะเล ชาวบ้านใช้เป็นท่าเรือหาปลา

หาดบ้านทรายแก้ว หาดบ้านทรายแก้ว ตั้งอยู่ ม.7 บ้านทรายแก้ว เป็นชายหาดชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าที่สวยงาม และเป็นเส้นทางไปแหลมมุตา เพื่อหาหอยติเตบ 

แหลมมุตา แหลมมุตา ตั้งอยู่ ม.7 บ้านทรายแก้ว เป็นจุดหาหอยติเตบ และแหล่งเรียนรู้พันธุ์ไม้ป่าชายเลนชนิดต่าง ๆ 

บ่อน้ำจืดในป่าโกงกาง บ่อน้ำจืดในป่าโกงกาง ตั้งอยู่ ม.7 บ้านทรายแก้ว ชาวบ้านค้นพบเมื่อครั้งที่น้ำจืดในเกาะแห้ง ชาวบ้านสังเกตเห็นนกไปกินน้ำบริเวณดังกล่าว จึงรู้ว่าเป็นบ่อน้ำจืด สามารถนำน้ำมาใช้ได้เวลาขาดแคลน ซึ่งอยู่ในป่าโกงกางที่มีน้ำเค็มขึ้นถึง ปัจจุบันยังใช้น้ำในบ่อนี้อยู่ในฤดูแล้ง

หาดบ้านหลังเขา หาดบ้านหลังเขา ตั้งอยู่ ม.5 บ้านหลังเขา เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม เมื่อน้ำลงจะมีทะเลแหวก เป็นเส้นทางเดินลงไปยังเกาะกวาง บริเวณนี้มีการขุดหอยหวาน และสามารถดำน้ำดูปะการังได้

หาดแหลมปันหยัง ตั้งอยู่ ม.4 บ้านบาตูปูเต๊ะ มีลักษณะเป็นแหลมยื่นออกสู่ทะเล มีหินซ้อนที่สวยงามเป็นชั้น ๆ 

หาดทุ่งหญ้าคา ตั้งอยู่ ม.5 บ้านหลังเขา เป็นชายหาดที่มีหินเรียงรายกันตลอดหาด ซึ่งมีความยาวชายหาดประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม หาดทรายกลายเป็นสีทองเมื่อต้องแสงพระอาทิตย์  เมื่อก่อนมีหญ้าคาเยอะ ตอนนี้มีมะพร้าวมาปลูกแทนที่หญ้าคา ความสวยงามยังเหมือนเดิม เป็นที่ตั้งของสะพานหิน

สะพานหิน ตั้งอยู่ ม.5 บ้านหลังเขา เป็นความสวยงามของหินที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนเป็นรูปร่างคล้ายสะพาน เป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม เป็น Landmark ของเกาะ ถ้าไม่มาสะพานหินก็เหมือนมาไม่ถึงเกาะลิบง

แหลมจูโหย แหลมจูโหย ตั้งอยู่ ม.1 เป็นแหลมที่อยู่ทิศตะวันออกสุดของเกาะลิบง มีชายหาดสวยซึ่งเมื่อน้ำลง สามารถเดินไปถึงเกาะตูบ ซึ่งเป็นจุดชมฝูงนกจากไซบีเรีย ประมาณเดือนธันวาคมถึงมีนาคมของทุกปี และยังเป็นที่ตั้งของเขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเกาะลิบง

หาดแหลมโต๊ะชัย หาดแหลมโต๊ะชัย ตั้งอยู่ ม.1 เมื่อน้ำลดจะได้ชมกองทัพปูก้ามโต นับหมื่น ๆ ตัวที่ออกมาอาบแดด  สามารถมาชมได้ตลอดทั้งปี

เขาบาตูปูเต๊ะ เขาบาตูปูเต๊ะ ตั้งอยู่ ม.4 บ้านบาตูปูเต๊ะ เป็นจุดชมพยูนตามธรรมชาติ สามารถมองวิวทะเลและรอบเกาะได้ 360 องศา ใช้เวลาเดินขึ้นเขาประมาณ 2 ชั่วโมง

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงปลากระชัง หอยนางรม นายสะปิอี เทศนำ ประธานกลุ่มรักษ์ดูหยง เป็นอาชีพเสริม เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ไว้ในการเรียนรู้และขายในพาณิชย์ ปลากะพง หอยนางรม เป็นต้น

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ล่องเรือคายัค หาดบ้านทรายแก้ว พายเรือชมป่าชายเลน พยูน ลำละ ๒ คน เป็นเวลา ๓ ชั่วโมง

การตกหมึก ดำน้ำดูปะการังที่เกาะหลาวเหลียง หน้าทะเลเกาะลิบง เดินทางไปตกหมึก เล่นน้ำ ดูปะการัง พร้อมอาหาร ๑ มื้อ ระยะเวลา ๔ ชั่วโมง ท่านละ ๔๐๐ บาท

โล๊ะกุ้ง หน้าชายฝั่งเกาะลิบง แนวหญ้าทะเล การโล๊ะกุ้ง หรือจับกุ้ง ฟรีอุปกรณ์ ใช้เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง ท่านละ 100 บาท

การดูฝูงนกไซบีเรีย แหลมจูโหย การชมฝูงนกไซบีเรีย เล่นน้ำ ใช้ระยะเวลา 3 ชั่วโมง นั่งเรือเหมาลำ 1,200 บาท 6 คน

การหาหอยติเตบ แหลมปันหยัง กิจกรรมเล่นน้ำ หาหอยติเตบ ที่แหลมปันหยัง

การปล่อยปูม้า หาดบ้านทรายแก้ว กิจกรรมปล่อยปูม้าสู่ธรรมชาติ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง

“หมู่บ้านนาหมื่นศรี” สมัยก่อนการปกครองยังใช้การปกครองแบบแยกเป็นหัวเมืองต่าง ๆ ท่านพระยาและท่านหมื่น มีหน้าที่ปกครองท่าน “หมื่น” มีภรรยาชื่อ “ศรี” ต่อมาท่านหมื่นได้มีคำสั่งให้ชาวหัวเขา แปลงผืนป่าให้เป็นนาเพื่อปลูกข้าวส่งทางการ เรียกพื้นที่นี้ว่า “นาหลวง” และสร้างยุ้งฉางเก็บข้าวขนาดใหญ่ เพื่อเก็บข้าวที่เหลือจากส่งทางการ แบ่งให้ชาวบ้านตามสมควร ซึ่งเรียกพื้นที่ที่สร้างยุ้งฉางว่า “บ้านฉาง” 

ชุมชนคุณธรรมบ้านนาหมื่นศรี มีจุดเด่นและเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นตน มีศักยภาพเข้มแข็ง มีผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่ขึ้นชื่อ คือ ผ้าทอนาหมื่นศรี เป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยว และมีการจัดงานประเพณีแข่งขันลูกลม ระหว่างเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ เป็นประจำทุกปี

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดหัวเขา วัดหัวเขา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ต.นาหมื่นศรี   อ.นาโยง เป็นวัดที่สร้างมาหลายร้อยปี ชาวบ้านหรือนักท่องเที่ยวมักจะเดินทางมาที่นี่เพื่อเคารพสักการะหลวงพ่อจังโหลน 

วัดควนสวรรค์ วัดควนสวรรค์ สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  ด้านการศึกษาทางวัดได้ให้ทางราชการจัดตั้งศูนย์พัฒนาขึ้นในวัด เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๒ มีหลวงพ่อขุนสัจจา เป็นอดีตเจ้าอาวาสรูปแรกวัดควนสวรรค์ ปัจจุบัน พระครูศรัทธาวรวัฒ เป็นเจ้าอาวาสวัดควนสวรรค์องค์ปัจจุบัน

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชพิพิธภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรี จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นการเปิดพื้นที่แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเฉพาะด้านที่โดดเด่นและมีศักยภาพ คือ ผ้าทอของภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชาวบ้านนาหมื่นศรี โดยได้มีการเปิดสอนวิชาชีพการทอผ้าลวด ลายต่าง ๆ จัดอบรมให้ความรู้เรื่องผ้าและนิทรรศการผ้าทอนาหมื่นศรี ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องผ้าทอ และนิทรรศการพระราชกรณียกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน นาหมื่นศรี ตั้งอยู่เลขที่ ๘๑/๑ หมู่ที่ ๒ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง เป็นสถานที่เก็บรวบรวมและจัดแสดงทางวัฒนธรรม เปิดให้สาธารณชนเข้าใช้บริการโดยมีการจัดสถานที่ให้สามารถสื่อความเข้าใจถึงเรื่องที่จัดแสดง

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ถ้ำเขาช้างหาย ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ ๖ ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง  จ.ตรัง ในยุคที่นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช จะสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระสารีริกธาตุ จึงประกาศไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ก็มีเจ้าเมืองหนึ่งที่นำขบวนช้างมา เดินทางมาถึงเขาลูกนี้ ได้มีลูกช้างวิ่งหายไป ในถ้ำ แม้ควาญช้าง ตามคนมาหาก็ไม่พบ เนื่องจากมีพื้นต่างระดับ มืด และมีหินงอก หินย้อย จำนวนมาก ถ้ำนี้จึงได้ชื่อว่า  

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้ผลิตภัณฑ์ลูกหยีแปรรูป ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ ๔ ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรังศูนย์เรียนรู้ที่มีการผลิตลูกหยีแปรรูปในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ลูกหยีฉาบน้ำตาล ลูกหยีกวน น้ำลูกหยี เป็นต้น เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศซื้อผลิตภัณฑ์ลูกหยีเป็นของฝาก

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ ๘ ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง (พันธุ์ข้าวประเภทต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนบ้านนาหมื่นศรี)
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่มุ่งเน้นให้ผู้สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้เรื่องพันธุ์ข้าว ประเภทต่าง ๆ และคุณประโยชน์ของข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ มาจำหน่ายให้ผู้เข้าศึกษาเรียนรู้ในศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงได้ซื้อไปเป็นของฝากและนำไปบริโภคในครัวเรือน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การประดิษฐ์ลูกลม นักท่องเที่ยวทั้งใน ประเทศและ ต่างประเทศ เมื่อเข้ามาแวะศูนย์เรียนรู้ลูกลม ทางศูนย์เรียนรู้ฯ มีอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ลูกลมให้นักท่องเที่ยวสามารถฝึกการประดิษฐ์ลูกลมและสามารถนำกลับไปบ้านได้

พายเรือคายัค ชมบรรยากาศธรรมชาติลุ่มน้ำคลองนางน้อย

ลุ่มน้ำคลองนางน้อย ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ ๖ ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง นักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ เมื่อเข้ามาท่องเที่ยวชุมชนบ้านนาหมื่นศรีมีความประทับใจและสนุกสนานกับการล่องเรือชมบรรยากาศ ภูมิทัศน์และธรรมชาติอันสวยงามของลุ่มน้ำคลองนางน้อย

การทำมีดกริช ศูนย์เรียนรู้การทำมีดกริช ณ บ้านนายสถิตย์  ทองแก้ว หมู่ที่ ๓ ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง การทำมีดกริช เป็นฝีมือช่างอย่าง หนึ่งที่ต้องใช้ศิลปะ ความละเอียดในการแกะสลักบนด้ามมีด กริช มีดกริชเป็นวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการนำไปประกอบ พิธีกรรมต่าง ๆ ก่อนเริ่มต้นการแสดง เช่น มโนราห์ หนังตะลุง เป็นต้น

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านเขาหลัก จังหวัดตรัง

บ้านเขาหลักตั้งอยู่ในหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบหมู่บ้าน แต่เดิมนั้นมีผู้คนอพยพเข้ามาทำไร่ ทำสวน และปลูกกระท่อมอาศัยอยู่เพียงไม่กี่ครัวเรือน  มีกิจกรรมสนุกมากมาย อาทิ พายเรือคายัค ล่องแก่ง เรียนรู้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนดูวิธีการเลี้ยงไก่ดำชมและเล่นกับแพะของชุมชนที่โรงเลี้ยงแพะ ชมวิธีการทำกล้วยหินฉาบ แวะสักการะไหว้พระนอนทรงเครื่องมโนราห์ ชมโบราณสถานและโบราณวัตถุที่วัดภูเขาทอง

คำขวัญชุมชน อนุรักษ์ธรรมชาติ สะอาดสิ่งแวดล้อม เพียบพร้อมคุณธรรม นำพาเศรษฐกิจพอเพียงอัตลักษณ์ชุมชน หมู่บ้านสะอาด  บรรยากาศดี  สามัคคีเป็นหลัก  คำนึงถึงความพอเพียง  จุดเด่น ทรัพยากรธรรมชาติมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้คนในชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นชุมชนที่มีความรัก  ความสามัคคีและมีความสมบูรณ์ของธรรมชาติ

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดภูเขาทอง วัดภูเขาทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง ประชาชน เดินทางไปกราบไหว้พระพุทธไสยาสน์ปางปรินิพพานหรือพระนอนทรงเทริดมโนราห์อายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี เป็นที่นับถือ กราบไหว้ของชาวบ้านชุมชนบ้านเขาหลักและนักท่องเที่ยว

แหล่งโบราณคดีภูเขาหลักจัน แหล่งโบราณคดีภูเขาหลักจัน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๒ ต.น้ำผุด อ.เมืองตรังจ.ตรัง ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘  เป็นสถานที่ค้นพบเครื่องปั้นดินเผาเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเยาวชน ประชาชนและนักท่องเที่ยว 

แหล่งเรียนรู้การทำขนมพื้นบ้าน นางเสาวนีย์  ศรีหมอก ๑๓๘ หมู่ที่ ๗  ต.น้ำผุด อ.เมืองตรัง จ.ตรัง เป็นแหล่งเรียนรู้การทำขนมพื้นบ้านของชุมชนบ้านเขาหลัก  เช่น ขนมขี้มอด  ขนมเค้ก ขนมบ้า ส่งขายภายในชุมชน และเป็นของฝากนักท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

น้ำตก บ้านเขาหลัก น้ำตกบ้านเขาหลัก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ ต.น้ำผุด อ.เมืองตรัง จ.ตรัง ห่างจากที่ทำการอำเภอประมาณ ๑๘ กม.  มีน้ำไหลตลอดทั้งปี สภาพธรรมชาติอุดมสมบูรณ์

ถ้ำน้ำทะลุ หรือถ้ำลุ ถ้ำน้ำทะลุหรือถ้ำลุ ตั้งอยู่ที่บ้านเขาหลัก หมู่ที่ ๗ ต.น้ำผุดอ.เมืองตรัง จ.ตรัง ถ้ำลุเป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยที่สวยงามมาก จุดเด่น มานลิเก ห่างจากตัวเมืองตรัง ประมาณ ๒๕ กม. ภายในถ้ำอากาศเย็น สบาย สวยงามมาก

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ภูผาฟาร์ม ฟาร์มแพะบ้านเขาหลัก ภูผาฟาร์ม บ้านเขาหลัก หมู่ที่ ๗ บ้านเขาหลัก ต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง เป็นแหล่งเรียนรู้ แก่เด็ก/ประชาชนและนักท่องเที่ยว

ศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงไก่ดำ บ้านเขาหลัก ศูนย์เรียนรู้ การเลี้ยงไก่ดำ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ บ้านเขาหลัก ต.น้ำผุด  อ.เมืองตรัง จ.ตรัง เป็นแหล่งเรียนรู้ แก่เด็ก/ประชาชน และนักท่องเที่ยว

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ของ นางเสาวนีย์ศรีหมอก ศูนย์เรียนรู้การพืชผักสวนครัว การเกษตรตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งอยู่  หมู่ที่ ๗ บ้านเขาหลักต.น้ำผุด อ.เมืองตรังจ.ตรัง สร้างรายได้และเป็นศูนย์เรียนรู้ให้แก่ชุมชนและนักท่องเที่ยว

กิจกรรมการท่องเที่ยว

พายเรือคายักล่องแก่ง บ้านเขาหลัก ล่องเรือชมธรรมชาติ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ ต.น้ำผุด อ.เมืองตรัง จ.ตรังใช้เส้นทาง ตรัง-น้ำผุด ระยะทาง ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ความสนุกสนานล่องแก่งบ้านเขาหลัก ตื่นเต้น เย็นฉ่ำ ด้วยการล่องเรือคายัก ผ่านแก่งหินต่าง ๆ และชมความสวยงามของธรรมชาติสองข้างทางตลอดระยะทาง ๔ กิโลเมตร

งานประดิษฐ์ และงานฝีมือ ชุมชนบ้านเขาหลัก งานประดิษฐ์ และงานฝีมือ ของที่ระลึกฝีมือของสมาชิกในชุมชนบ้านเขาหลักเป็นผลิตภัณฑ์ ของที่ระลึกเพื่อบริการนักท่องเที่ยว

กิจกรรมบวชป่าบ้านเขาหลัก ชุมชนคุณธรรมฯ บ้าน เขาหลัก การบวชป่าเป็นประเพณีพื้นบ้านของชุมชนบ้านเขาหลักได้ปลูกจิตสำนึกถึงการอนุรักษ์ป่าและแหล่งต้นน้ำลำธาร เพื่อตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม