ชุมชนคุณธรรมบ้านนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง

“หมู่บ้านนาหมื่นศรี” สมัยก่อนการปกครองยังใช้การปกครองแบบแยกเป็นหัวเมืองต่าง ๆ ท่านพระยาและท่านหมื่น มีหน้าที่ปกครองท่าน “หมื่น” มีภรรยาชื่อ “ศรี” ต่อมาท่านหมื่นได้มีคำสั่งให้ชาวหัวเขา แปลงผืนป่าให้เป็นนาเพื่อปลูกข้าวส่งทางการ เรียกพื้นที่นี้ว่า “นาหลวง” และสร้างยุ้งฉางเก็บข้าวขนาดใหญ่ เพื่อเก็บข้าวที่เหลือจากส่งทางการ แบ่งให้ชาวบ้านตามสมควร ซึ่งเรียกพื้นที่ที่สร้างยุ้งฉางว่า “บ้านฉาง” 

ชุมชนคุณธรรมบ้านนาหมื่นศรี มีจุดเด่นและเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นตน มีศักยภาพเข้มแข็ง มีผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่ขึ้นชื่อ คือ ผ้าทอนาหมื่นศรี เป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยว และมีการจัดงานประเพณีแข่งขันลูกลม ระหว่างเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ เป็นประจำทุกปี

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดหัวเขา วัดหัวเขา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ต.นาหมื่นศรี   อ.นาโยง เป็นวัดที่สร้างมาหลายร้อยปี ชาวบ้านหรือนักท่องเที่ยวมักจะเดินทางมาที่นี่เพื่อเคารพสักการะหลวงพ่อจังโหลน 

วัดควนสวรรค์ วัดควนสวรรค์ สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  ด้านการศึกษาทางวัดได้ให้ทางราชการจัดตั้งศูนย์พัฒนาขึ้นในวัด เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๒ มีหลวงพ่อขุนสัจจา เป็นอดีตเจ้าอาวาสรูปแรกวัดควนสวรรค์ ปัจจุบัน พระครูศรัทธาวรวัฒ เป็นเจ้าอาวาสวัดควนสวรรค์องค์ปัจจุบัน

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชพิพิธภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรี จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นการเปิดพื้นที่แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเฉพาะด้านที่โดดเด่นและมีศักยภาพ คือ ผ้าทอของภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชาวบ้านนาหมื่นศรี โดยได้มีการเปิดสอนวิชาชีพการทอผ้าลวด ลายต่าง ๆ จัดอบรมให้ความรู้เรื่องผ้าและนิทรรศการผ้าทอนาหมื่นศรี ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องผ้าทอ และนิทรรศการพระราชกรณียกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน นาหมื่นศรี ตั้งอยู่เลขที่ ๘๑/๑ หมู่ที่ ๒ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง เป็นสถานที่เก็บรวบรวมและจัดแสดงทางวัฒนธรรม เปิดให้สาธารณชนเข้าใช้บริการโดยมีการจัดสถานที่ให้สามารถสื่อความเข้าใจถึงเรื่องที่จัดแสดง

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ถ้ำเขาช้างหาย ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ ๖ ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง  จ.ตรัง ในยุคที่นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช จะสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระสารีริกธาตุ จึงประกาศไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ก็มีเจ้าเมืองหนึ่งที่นำขบวนช้างมา เดินทางมาถึงเขาลูกนี้ ได้มีลูกช้างวิ่งหายไป ในถ้ำ แม้ควาญช้าง ตามคนมาหาก็ไม่พบ เนื่องจากมีพื้นต่างระดับ มืด และมีหินงอก หินย้อย จำนวนมาก ถ้ำนี้จึงได้ชื่อว่า  

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้ผลิตภัณฑ์ลูกหยีแปรรูป ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ ๔ ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรังศูนย์เรียนรู้ที่มีการผลิตลูกหยีแปรรูปในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ลูกหยีฉาบน้ำตาล ลูกหยีกวน น้ำลูกหยี เป็นต้น เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศซื้อผลิตภัณฑ์ลูกหยีเป็นของฝาก

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ ๘ ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง (พันธุ์ข้าวประเภทต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนบ้านนาหมื่นศรี)
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่มุ่งเน้นให้ผู้สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้เรื่องพันธุ์ข้าว ประเภทต่าง ๆ และคุณประโยชน์ของข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ มาจำหน่ายให้ผู้เข้าศึกษาเรียนรู้ในศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงได้ซื้อไปเป็นของฝากและนำไปบริโภคในครัวเรือน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การประดิษฐ์ลูกลม นักท่องเที่ยวทั้งใน ประเทศและ ต่างประเทศ เมื่อเข้ามาแวะศูนย์เรียนรู้ลูกลม ทางศูนย์เรียนรู้ฯ มีอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ลูกลมให้นักท่องเที่ยวสามารถฝึกการประดิษฐ์ลูกลมและสามารถนำกลับไปบ้านได้

พายเรือคายัค ชมบรรยากาศธรรมชาติลุ่มน้ำคลองนางน้อย

ลุ่มน้ำคลองนางน้อย ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ ๖ ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง นักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ เมื่อเข้ามาท่องเที่ยวชุมชนบ้านนาหมื่นศรีมีความประทับใจและสนุกสนานกับการล่องเรือชมบรรยากาศ ภูมิทัศน์และธรรมชาติอันสวยงามของลุ่มน้ำคลองนางน้อย

การทำมีดกริช ศูนย์เรียนรู้การทำมีดกริช ณ บ้านนายสถิตย์  ทองแก้ว หมู่ที่ ๓ ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง การทำมีดกริช เป็นฝีมือช่างอย่าง หนึ่งที่ต้องใช้ศิลปะ ความละเอียดในการแกะสลักบนด้ามมีด กริช มีดกริชเป็นวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการนำไปประกอบ พิธีกรรมต่าง ๆ ก่อนเริ่มต้นการแสดง เช่น มโนราห์ หนังตะลุง เป็นต้น

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น