Warning: Constant WP_DEBUG already defined in /home2/cp962929/public_html/jk.tours/wp-config.php on line 41
นครราชสีมา Archives - JK.TOURS

ศูนย์เครื่องปั้นด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา

ที่ตั้ง ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
๑. หมู่บ้านด่านเกวียน ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ต้นแบบ ในปี พ.ศ. 2547 เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เน้นให้ความสำคัญด้านการพัฒนาคนในชุมชน และยึดชุมชนเป็นศูนย์กลางให้ชุมชนเป็นต้นแบบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวสินค้าควบคู่กับการให้บริการด้านต่างๆในชุมชนหมู่บ้านที่มีศักยภาพ และกาบริหารจัดการที่แข็งแรงมีผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ผ่านการคัดสรรตามโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จะได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการพัฒนาให้เป็นสถานที่ศึกษา และขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นๆ โดยหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนได้รับเกียรติให้เป็นหมู่บ้านOTOP ต้นแบบ (KnowledgeBased Village Cluster) แห่งแรกในภาคอีสาน และเป็นหนึ่งในสี่ของประเทศจากผลการดำเนินการผ่านมาทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ รวมทั้งคณะศึกษาดูงานจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ เดินทางมาเยี่ยมชมหมู่บ้าน OTOP ต้นแบบเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนเป็นจำนวนมาก
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 08.30 -18.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 1977 0980 , 0 4433 8105
๕.ช่องทางออนไลน์ –
รายละเอียดของสถานที่
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ( ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว )

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

โรงแรมพิมายพาราไดซ์

100 หมู่ 2 ถนนสมัยรุจี ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย ในเมืองพิมาย นครราชสีมา
๑.ประเภทของที่พัก (โรงแรม)
๒.จำนวนห้อง ๔๒ ห้อง
๓.ประเภทห้องพัก/ราคา
ห้องพัก Standard Double Room 450บาท/Superior 550 บาท/ Deluxe 650 บาท /Standard Triple Room 750 บาท
๔.สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ
– รูมเซอร์วิส 24 ชั่วโมง
– ฟรี Wi-Fi ทุกห้อง
– แผนกต้อนรับ 24 ชั่วโมง
– Wi-Fi ในพื้นที่สาธารณะ
– ที่จอดรถ
– สระว่ายน้ำ
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : 0 4428 7565, 0 4447 1575
มือถือ : 08 646 88402
๖.ช่องทางออนไลน์
อีเมล์ : phimaiparadise2555@gmail.com
http://www.phimaiparadisehotel.com/th/

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

อนุสาวรีท้าวสุรนารี จ.นครราชสีมา

ที่ตั้ง ถนน ราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา นครราชสีมา
๑. อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2477 เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของท้าวสุรนารี หรือ “ย่าโม” วีรสตรีไทยผู้อยู่ในหัวใจของชาวโคราชทุกคน และถือเป็นอนุสาวรีย์ที่ยกย่องความดีของวีรสตรีสามัญชนคนแรกของประเทศ อนุสาวรีย์นี้หล่อด้วยทองแดงรมดำสูง 185 เซนติเมตร หนัก 325 กิโลกรัม ประดิษฐานอยู่บนฐานไพที สี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองสูง 250 เซนติเมตร แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทานในท่ายืนมือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร ภายในบรรจุอัฐิของท้าวสุรนารี หรือย่าโมของชาวโคราช ท้าวสุรนารีมีนามเดิมว่า คุณหญิงโม เป็นภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ยกทัพเข้ายึดเมืองโคราช คุณหญิงโมได้รวบรวมชาวบ้านเข้าสู้รบและต่อต้านกองทัพเจ้าอนุวงศ์ไม่ให้ยกมาตีกรุงเทพฯ ได้เป็นผลสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโมเป็น “ท้าวสุรนารี” และเพราะย่าโมกลายเป็นสัญลักษณ์ของชาวโคราช จึงเป็นที่มาของอีกชื่อที่เรียกขานนครราชสีมาว่า “เมืองย่าโม” นั่นเอง ทุกปีในวันที่ 23 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน จะมีการจัดงานวันฉลองชัยชนะของท้าวสุรนารี ณ บริเวณหน้าศาลากลาง
จังหวัด นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาร่วมงานอันยิ่งใหญ่ได้ ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ระหว่างถนนราชดำเนินกับถนนชุมพล อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครราชสีมา
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ๒๔ ชั่วโมง
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 4424 3798
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ( ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร )

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

มูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เมตตาบารมี

ที่ตั้ง ถนนมิตรภาพ ตำบลมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
๑. มูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือวัดหลวงพ่อโต ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ ริมถนนมิตรภาพ พื้นที่อำเภอสีคิ้ว เรียกว่าเป็นวัดสวยอีกแห่งในจังหวัดนครราชสีมา ผู้ที่ก่อสร้างวัดคือคุณสรพงษ์ ชาตรี ดาราชื่อดังของประเทศไทย พุทธมามกะผู้ยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง และคุณดวงเดือน จิไธสงค์ ภายใต้การดำเนินการของมูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ชาวบ้านจึงนิยมเรียกวัดแห่งนี้ในอีกชื่อว่า “วัดสรพงษ์” ซึ่งสร้างด้วยเงินบริจาคจากแรงศรัทธาของผู้คนรวมกว่า 9 ล้านบาท ภายในมูลนิธิสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ประกอบด้วย มหาวิหารเป็นแบบกุฎาคาร (เรือนยอดเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป) เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี), อาคารกองอำนวยการ และประชาสัมพันธ์ และวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช รายละเอียดของสถานที่
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของวัดนี้ก็คือวิหารที่ภายในเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อ หลวงพ่อโต (สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี) ถือเป็นรูปหล่อทองเหลืองรมดำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยหน้าตักกว้าง 8 เมตร 1 นิ้ว ความสูง 13 เมตร และหนักถึง 61 ตัน ซึ่งนอกจากผู้ที่มาเที่ยวชมมูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งนี้จะได้สักการะขอพรจากหลวงพ่อโตแล้ว ยังได้สัมผัสกับสถาปัตยกรรมที่งดงาม และสวนหย่อมเขียวขจีที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย รวมถึงยังมีโรงทานที่มีไว้บริการให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมได้ทานฟรีอีกด้วย โดยในแต่ละวันนั้นมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมอย่างไม่ขาด จนอาจเรียกได้ว่าที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา ๐6.00 – 18.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 1640 1281, 08 1911 0622
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก (ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/โรงทาน)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดโคกประดู่ จังหวัดนครราชสีมา

ภูมิทัศน์ของชุมชนฯ เป็นพื้นราบบริเวณกว้างอยู่ทางทิศใต้ติดเขตเทศบาลนครราชสีมา มีถนนคอนกรีตเสริมเหล็กตัดผ่านเข้าตำบล พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลเป็นที่ราบลุ่มเหมาะสำหรับการทำนาและปลูกพืชผักสวนครัว เนื่องจากมีคลองบริบูรณ์และคลองชลประทานผ่านหลายสาย    

คำขวัญของชุมชนประจำชุมชนบ้านโพนสูง “โพนสูงล้ำค่า ศาลตาปู่ช้าง ลำน้ำบริบูรณ์ ดินมูลตะกอนสองจุดห้าล้านปี วิถีเกษตรขอบเมือง” จุดเด่นที่สำคัญของชุมชน คือ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีเกษตรขอบเมือง เป็นศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริ

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดโคกประดู่
ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2522 สังกัดมหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2526 ที่มาของชื่อ สันนิษฐานว่าในอดีตบริเวณนี้ต้นประดู่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า โคกประดู่ แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว เนื่องจากชาวบ้านได้ตัดต้นไม้ไปสร้างบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย วัดโคกประดู่ เป็นศูนย์รวมจิตใจ และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนบ้านโพนสูง

โบสถ์กลางน้ำ ๓๐๐ ปี หมื่นไวย
อุโบสถกลางน้ำ อายุ 300 ปี สร้างตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่บนบริเวณที่เป็นที่ลุ่ม มีคูน้ำล้อมรอบ ก่อด้วยอิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปักใบเสมาหิน (อุโบสถน้ำไม่จำเป็นต้องปักเสมา) ภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิเยก์ (ปางเลไลยก์) ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ขนาด 3 ห้อง เจาะช่องหน้าต่างขนาดใหญ่ข้างละ 2 ช่อง ด้านหน้าและหลังก่อเป็นมุขลดชั้นยื่นออกมาทั้ง 2 ด้าน มุขด้านหน้า ด้านทิศตะวันออกก่อผนังทึบเจาะช่องประตูทางเข้า 2 ช่อง และช่องหน้าต่างที่ผนังด้านข้างละ 1 ช่อง ผนังกั้นระหว่างมุขหน้ากับห้องโถงกลางเจาะช่องประตูทางเข้า 2 ช่อง และช่องหน้าต่างขนาดใหญ่ที่ผนังด้านข้างอีกข้างละ 1 ช่อง ที่ผนังกั้นโถงกลางเจาะเป็นช่องประตูเข้าสู่ห้องโถงกลาง 2 ช่องตรงกลางทำซุ้มปราสาทประดิษฐานเจดีย์ขนาดเล็ก (พระธาตุจุฬามณี) ไว้ภายใน หน้าบันมุขทั้ง 2 ด้าน สลักเป็นลายเครือเถาประดับกระจก ตอนล่างสุดเป็นแนวลายกระจังคั้นระหว่างหน้าบันและขอบผนัง ภายในห้องโถงกลางที่ผนังกั้นมุขตะวันตก ก่อเป็นแท่นชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิเลยก์ (ปางเลไลย์) ปูนปั้นลงรักปิดทอง ฐานอุโบสถ ก่อเป็นแนวโค้ง หย่อนท้องช้าง หรือ หย่อนท้องสำเภา ซุ้มหน้าต่างและซุ้มประตูเป็นซุ้มรูปสามเหลี่ยม ลักษณะคล้ายคลึงกับสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย และได้รับการบูรณะสืบเนื่องมาในชั้นหลัง บางส่วนผุพังไปตามกาลเวลา ส่วนอิฐที่ใช้ก่อสร้างฐานที่เป็นฐานโค้งสำเภาเรือ และผนังโบสถ์ เป็นอิฐก้อนใหญ่ แบบเดียวกับอิฐที่ใช้ก่อสร้างกำแพงเมืองเก่าโคราช

ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมืองนครราชสีมา
บ้านโพนสูง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เดิมเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน ในโครงการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจแบบพอเพียง โดยเรียนรู้ผ่านสื่อวีดิทัศน์ และได้รับคำปรึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิ ราช ในการบริหารจัดการความเป็นอยู่ การอยู่ร่วมกัน วิถีชีวิต การอยู่โดยปราศจากโรค การหารายได้ ทำเอง กินเอง ใช้เอง เหลือก็นำไปจำหน่าย จึงเกิดความคิดในการ รวมกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ร่วมกันพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้น และหาวิธีแก้ไข เช่น หากพบว่าราคาผลผลิตตกต่ำ  ก็ มาค้นหาสาเหตุ เมื่อทราบสาเหตุว่าราคาตกต่ำเพราะผลผลิตล้นตลาด จึงหาวิธีแก้ไขโดยการแปรรูปผลผลิต เพื่อให้สามารถเก็บได้นานขึ้น มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และก่อให้เกิดมูลค่าที่สูงขึ้น ต่อมาในปี ๒๕๕๘ บ้านโพนสูงได้รับการคัดเลือกจากอำเภอเมืองนครราชสีมา ให้เป็นศูนย์ เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อปรับปรุง สถานที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อให้ประชาชนมาศึกษาดูงานได้จากนั้นได้ดำเนินกิจกรรมตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมาโดยตลอด และในปี ๒๕๖๓ มีการรวมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน ซึ่งสมาชิกในกลุ่มได้ดำเนินการอยู่แล้ว แต่ต้องการขยายการผลิตให้เพิ่มมากขึ้นและมีความต่อเนื่องเพียงพอต่อ ความต้องการของตลาด และต้องการให้สมาชิกกลุ่มมีรายได้จากการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังสามารถต่อยอดอาชีพให้แก่คนในชุมชนเพื่อที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพในการประกอบอาชีพให้เกิดผลสำเร็จและมีความ มั่นคง อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

พิพิธภัณฑ์ของเก่าเล่าอดีต
ร่วมรื้อฟื้นความทรงจำ ย้อนอดีตวันวานและประวัติศาสตร์ที่น่าศึกษาของบ้านโพนสูง เป็นที่ศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของหมู่บ้าน โดยชุมชนร่วมเก็บรวบรวมสะสมของเก่าโบราณเพื่อศึกษาและย้อนความทรงจำในอดีตที่อาจไม่มีโอกาสได้เห็นแล้วในปัจจุบัน มีของเก่าของโบราณหลากหลาย วัตถุและความรู้สึกอาจประเมินค่าไม่ได้

ศูนย์เรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ขนมจีนบ้านประโดก
เรียนรู้การทำเส้นขนมจีนประโดก ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของคนชุมชนประโดกตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยชาวบ้านเลือกนำข้าวเจ้าซึ่งเป็นข้าวที่ปลูกในพื้นที่มาทำขนมจีน ปราชญ์ชาวบ้านเรียนรู้การทำเส้นขนมจีนมาจากบรรพบุรุษเดิมชุมชนประโดกทำขนมจีนกันทั้งหมู่บ้าน นิยมหาบขนมจีนไปขายในตัวเมือง และมีน้ำยาขนมจีนที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

บ้านต้นไม้
เรียนรู้การใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายแต่มีความสุข ลองมาเรียนรู้การใช้ชีวิตโดยการพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด ใช้เงินให้น้อยที่สุด เน้นการผลิตเพื่อบริโภคเองและแจกจ่ายเพื่อนบ้าน อยู่อย่างเรียบง่ายแต่มีคุณค่าเข้าถึงวิถีชีวิตธรรมชาติ ชมการใช้ชีวิตที่บ้านต้นไม้ โดยเป็นต้นแบบการดำเนินชีวิตจริง พร้อมให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้การปลูกพืชสวนครัว การหาปลา การทำกระถางต้นไม้เพื่อเป็นงานศิลปะจากกะลามะพร้าว

สะพานนาบัว
บรรยากาศนาบัวละลานตา มีจุดเช็คอิน จุดถ่ายรูปหลากหลาย อากาศเย็นสบาย นั่งพักดื่มชาเย็นๆ จากเกสรบัวหลวงชั้นเลิศ หรืออร่อยฟินที่ไม่เหมือนใครกับชุดขันโตกเมี่ยงคำ ให้คุณนั่งแคร่ผ่อนคลายชมสะพานนาบัวได้อย่างเพลิดเพลินใจ หรือจะนึกสนุกไปเก็บดอกบัวด้วยตนเอง มีบริการสอนนักท่องเที่ยวพันบัวเป็นดอกกุหลาบที่ง่ายและสวยงาม เพื่อนำไปไหว้พระ หรือ ศาลตายาย สิ่งเคารพประจำหมู่บ้าน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนมะพร้าว เจ้ามุ้ย
สวนมะพร้าว เจ้ามุ้ย กับบรรยากาศที่แสนสบาย ร่มรื่นร่มเย็น เหมาะกับการพักผ่อน ให้นักท่องเที่ยวได้เลือกลูกมะพร้าวจากต้น พร้อมปอกผ่าให้ดื่มน้ำมะพร้าวกันแบบสดถึงใจ นั่งพักให้หายเหนื่อย เพลิดเพลินกับการเรียนพับปลาตะเพียนจากทางมะพร้าว สำหรับให้เป็นของที่ระลึกแบบคลาสสิคด้วยตัวคุณเอง 

สวนฝรั่ง
เป็นสวนฝรั่งที่เกิดจากความร่วมมือของคนในชุมชน ตั้งเป็นกลุ่มขึ้นมาแล้วเช่าพื้นที่เพาะปลูก โดยดินที่แห่งนี้เป็นดินตะกอนน้ำ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ทำให้ฝรั่งกิมจูแบบยกร่อง รสชาติดี หวานกรอบไม่แพ้ใคร นักท่องเที่ยวสามารถเรียนการตอนกิ่ง หรือซื้อกิ่งพันธุ์กลับบ้านได้หรือลองทานฝรั่งแบบบุฟเฟ่ต์ ๑ อิ่มแบบไม่อั้น หรือซื้อเป็นของฝากกลับบ้าน มีศูนย์เรียนรู้ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษารูปแบบโคก หนอง นา โมเดล

อุโมงค์หม่อน (มัลเบอร์รี่)
เป็นอโมงค์หม่อนมัลเบอร์รี่ที่มีการดัดต้นหม่อนมัลเบอร์รี่ ให้เป็นรูปโค้งรับเข้าหากัน เป็นอุโมงค์ที่มีความสูงพอดีสวยงามเป็นร่มเงาที่แปลกตา เพื่อให้นักท่องเที่ยวเดินเข้าไปเก็บลูกหม่อนมัลเบอร์รี่ได้สะดวก สามารถเก็บลูกหม่อนและซื้อกลับบ้านได้ ถ่ายภาพกดชัตเตอร์กันได้สนุกมือ พร้อมได้เรียนรู้ขั้นตอนการแปรรูปน้ำหม่อนมัลเบอร์รี่ และชิมน้ำหม่อนมัลเบอร์รี่รสชาติเปรี้ยวหวานที่มีคุณค่าทางอาหาร

ฟาร์มจิ้งหรีด
เป็นแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงจิ้งหรีดแบบครบวงจร ศึกษาได้ตั้งแต่การขยายพันธุ์จนถึงการแปรรูปพร้อมศึกษาธุรกิจการเลี้ยงจิ้งหรีดที่แสนน่าทึ่ง นักท่องเที่ยวจะได้ประสบการณ์ใหม่ ที่ได้เห็นตั้งแต่การฟักไข่ การเจริญเติบโตจากตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัย ในบรรยากาศเสียงร้องของจิ้งหรีดที่เกิดจากตัวผู้ถูปีกจนทำให้เกิดเสียงดัง เพื่อเรียกร้องความสนใจจากจิ้งหรีดตัวเมีย หรือลองชิมเมนูใหม่ “จิ้งหรีดทอดโรยเกลือ” อร่อยง่าย ๆ กับข้าวสวยร้อ ๆ ที่คุณจะติดใจอย่างแน่นอน

โรงเพาะเห็ดปลอดสาร
ชมโรงเรือนเพาะเห็ดปลอดสารพิษ อาหารเกษตรเมนูยอดฮิตสำหรับผู้รักสุขภาพ ที่ให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวแบบเชิงเกษตรเก็บเด็ดเห็ดที่บานขาวสะพรั่งละลานตา เลือกซื้อนำกลับบ้านได้ด้วยตนเอง พร้อมเรียนรู้การเพาะเห็ด การทำโรงเรือนเห็ดแบบง่าย ๆ ไปถึงการนำไปแปรรูปสินค้า ที่อาจต่อยอดไปสู่การเพาะเห็ดแบบมืออาชีพ

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

พิธีบายศรีสู่ขวัญ
ศูนย์เรียนรู้ฯ บ้านโพนสูง บายศรีสู่ขวัญนักท่องเที่ยว เพื่อเป็นสิริมงคลแก่นักท่องเที่ยว

การแสดงต้อนรับ
ศูนย์เรียนรู้ฯ  บ้านโพนสูง การแสดงของบ้านโพนสูงเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว

ปั่นจักรยาน
รอบ ๆ บ้านโพนสูง ปั่นจักรยานชมสถานที่ต่างๆ จุดเรียนรู้ จุดชมวิว ต่าง ๆ ของบ้านโพนสูง

ชมวิวสะพาน นาบัว
สะพานนาบัว บ้านโพนสูง ชมความงามของธรรมชาติ ณ สะพานนาบัว ถ่ายรูป ชมธรรมชาติ

กิจกรรมเก็บ ลูกหม่อน
สวนหม่อน  บ้านโพนสูง ชมสวนหม่อนและเก็บลูกหม่อน 

กิจกรรมการดำนา
นาแปลงรวม  บ้านโพนสูง นักท่องเที่ยวร่วมเรียนรู้การดำนา  ฝึกดำนา นาแปลงรวมของชุมชน

ชมศูนย์เรียนรู้ฯ สวนเศรษฐกิจพอเพียง และพิพิธภัณฑ์ บ้านโพนสูง
บ้านโพนสูง นักท่องเที่ยวชมศูนย์เรียนรู้ฯต่าง ๆ ของชุมชนบ้านโพนสูง

ชมการสาธิตและทดลองทำเส้นขนมจีนประโดก
ศูนย์เรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นขนมจีนบ้านประโดก เรียนรู้การทำเส้นขนมจีนประโดก    ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของคนในชุมชนประโดกตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา

ชุมชนคุณธรรมวัดด่านเกวียน เป็นชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งของที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล เป็นเมืองหน้าด่าน เรียกว่า ด่านกระโทก และเคยเป็นที่พักกองคาราวานเกวียนสินค้าที่ขึ้นล่องระหว่างโคราช-เขมร จึงทำให้หมู่บ้านนี้ได้มีชื่อเรียกขานกันมาว่า “ด่านเกวียน”

“สืบสานตำนานดิน อนุรักษ์ถิ่นวัฒนธรรม เลิศล้ำหัตถศิลป์ คู่ดินด่านเกวียน” จุดเด่นที่สำคัญของชุมชนได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านด่านเกวียนที่มีความโดดเด่น และเป็นที่รู้จักกันดี เป็นงานฝีมือของชาวบ้านที่สามารถปั้นดินให้เป็นเงินได้ และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน                         

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดด่านเกวียน
เป็นวัดที่อยู่คู่กับตำบลด่านเกวียนมาอย่างยาวนาน โดยคาดว่าสร้างขึ้นในสมัยราชการที่ 4 เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวตำบลด่านเกวียน ที่ได้รับทั้งความศรัทธาและเลื่อมใสมาโดยตลอด

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ในพระอุโบสถวัดด่านเกวียน
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ในพระอุโบสถวัดด่านเกวียน ที่ประชาชนกราบสักการะบูชา และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ

หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผา ณ บ้านผู้ใหญ่เมี้ยน สิงห์ทะเล
เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านด่านเกวียนที่มีความโดดเด่น และเป็นที่รู้จักกันดีในด้านเครื่องปั้นดินเผาเป็นงานฝีมือของชาวบ้านที่สามารถปั้นดินให้เป็นเงินได้ และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สะพานไม้ ๑๐๐ ปี
เป็นสะพานไม้ที่ตั้งอยู่ภายในวัดด่านเกวียน สร้างขึ้นเพื่อใช้ข้ามแม่น้ำมูล โดยในอดีตนั้น ชาวด่านเกวียนได้ใช้สะพานแห่งนี้ในการเดินทางเพื่อเข้ามายังวัดด่านเกวียน และใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางภายในตำบลด่านเกวียน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ชมพิพิธภัณฑ์ความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
ศูนย์การเรียนรู้เครื่องปั้น ดินเผาด่านเกวียน ชมพิพิธภัณฑ์ความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน

กราบสักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ในพระอุโบสถวัดด่านเกวียน ถ่ายรูป ณ จุดเช็คอินหน้าอุโบสถ และเดินชมสะพานไม้โบราณ ข้ามแม่น้ำมูล ไปยังสวนเกษตรพอเพียง ที่อยู่บริเวณทุ่งนาของวัดและถ่ายภาพประทับใจ

เยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
บ้านผู้ใหญ่เมี้ยน สิงห์ทะเล และเครือข่ายภูมิปัญญา เยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ของชุมชนซึ่งจะทำให้เห็นถึงบรรยากาศการสร้างสรรค์ศิลปะงานปั้นจากภูมิปัญญาที่พร้อมให้ความรู้ได้โดยตรง ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ได้รับความรู้เท่านั้นนักท่องเที่ยวสามารถลงมือประดิษฐ์ครื่องปั้นดินเผาได้ด้วยตนเอง

ชมและช้อป
แหล่งจำหน่ายสินค้าของคนภายในพื้นที่ เช่น ร้านมดแดง โค้งพันล้านด่านเกวียน สมานเครื่องปั้น มดแดงดินเผา ลานจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน

รับประทานอาหารพื้นบ้าน

ร้านโชว์ลาย , ครัวเครื่องปั้น, ตำถาดดานเกวียนส้มตำ ไก่ทอด by ป้าปุ, เจ๊แหวดก๋วยเตี๋ยวเป็ดยกซดก๋วยเตี๋ยวเป็ด สูตรโบราณ, ก๋วยเตี๋ยวกลางไร่, ขนมจีนแม่ทองดี, ข้าวกะเตี๋ยวอิ่มบุญตามสั่งร้านอาหารเหล่านี้มีจุดเด่นที่ส่วนประกอบในการประกอบอาหารมักเป็นไปตามฤดูกาล

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม