ตลาดอิงน้ำสามโคก

ที่ตั้ง ตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
๑. ตลาดอิงน้ำสามโคก เป็นตลาดน้ำที่ชาวบ้านยังดำเนินชีวิตควบคู่ไปกับแม่น้ำลำคลอง เสน่ห์ของตลาดอิงน้ำสามโคกนอกจากจะมีสินค้าและอาหารที่หลากหลายแล้ว ยังเป็นพื้นที่ชุมชนที่รวมกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย ทั้งชาวไทยรามัญ ไทยจีน รวมถึงไทยมุสลิม ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบระแวกนั้น ทำให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้และสัมผัสความหลากหลายทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีบริการเรือจ้างที่สามารถพานักท่องเที่ยวล่องเรือไปยังสถานที่ต่าง ๆ ชมบรรยากาศริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และวิถีชีวิตของผู้คนริมน้ำ นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวตลาดอิงน้ำสามโคก นอกจากจะได้ซื้อทานอาหารอร่อย และซื้อสินค้าหลากหลายแล้ว ยังมีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สามโคก เช่น ที่ว่าการอำเภอเก่าสามโคก โรงหนังเก่าที่มีอายุมากกว่า ๕๐ ปี เป็นต้น
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
วันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา ๐๗.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 08 0960 7401
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ตลาดอิงน้ำสามโคก ชุมชนตลาดเก่าบางเตย
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

กลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน (ศูนย์การเรียนรู้ผ้าใยกล้วยบัวหลวงชุมชนวัดไก่เตี้ย) จังหวัดปทุมธานี

ที่ตั้ง ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ ผ้าใยกล้วยบัวหลวง
๒.ชื่อผู้ประกอบการ นางสาวบุญนภา บัวหลวง ชุมชน วัดไก่เตี้ย
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าใยกล้วยบัวหลวง ผลิตภัณฑ์ผ้าใยกล้วย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากใยกล้วย นำมาทอเป็นผืนผ้า โดยลวดลายผ้าที่ดำเนินการผลิตเป็นตาหมากรุก ผ้าใยกล้วยบัวหลวงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคนิคการผลิตเป็นการนำเส้นใยกล้วยมาทอเป็นผืนผ้า โดยมีหลากหลายสีสัน
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๐๘.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๙ ๔๔๓๘ ๖๕๘๗
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook ผ้าใยกล้วยบัวหลวงที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ทุ่งนามอญ บ้านบ่อทอง (ชช.คธ.วัดบ่อทอง)

ที่ตั้ง หมู่ ๒ ตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
๑. เป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และวิถีชีวิตชาวไทยเชื้อสายรามัญ มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย ทั้งชมโรงเรือนปลูกเมลอน แปลงผักสวนครัว ชมการเลี้ยงไก่สวรรค์ พายเรือชมสวนมะม่วงและสวนมะพร้าว ถีบเรือเป็ด เช่าชุดมอญชุดละ 50 บาท ถ่ายรูปตามจุดต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารไว้บริการหลายร้านเลยทีเดียว ซึ่งทำเลก็ดีมาก เพราะด้านหน้าเป็นบึงบัว มีทั้งที่นั่งแบบห้อยขา และโต๊ะญี่ปุ่น เมนูแนะนำ เช่น หอยทอด ขนมเบื้องมอญ ขนมจีนน้ำยาปลาช่อน ก๋วยเตี๋ยวต้มยำสูตรโบราณ ไก่ย่างบางตาล รวมไปถึงของหวานและเครื่องดื่มหลากหลายชนิด
มาเที่ยวแล้วอย่ากลับบ้านมือเปล่า แวะอุดหนุนผลิตภัณฑ์ ของชุมชน อย่าง หางหงษ์ธงตะขาบ สไบมอญ ดอกไม้ประดิษฐ์ โอ่ง ขนมต่างๆ เป็นของฝากของที่ระลึก
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.00-18.00 น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เที่ยวได้ตลอดทั้งปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 6773 3856
๖. ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/thungnamon45/
๗. สิ่งอำนวยความสะดวก ( ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดชินวราราม จังหวัดปทุมธานี

ชุมชนคุณธรรมวัดชินวราราม เป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายรามัญดั้งเดิมอาศัยอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีวิถีชีวิตผูกพันกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ชาวบ้านเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับสายน้ำ อาชีพหลักดั้งเดิมของชุมชน คือ อาชีพทำนา ทำสวนผลไม้

ชุมชนชาวไทยเชื้อสายรามัญที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำเจ้าพระยา และสืบทอดวัฒนธรรมของชาวมอญผ่านวัดและวิถีประเพณีวัฒนธรรม เป็นชุมชนพึ่งพาตนเอง และประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง ในการรักษา สืบทอดประเพณีรามัญไว้อย่างแนบแน่นกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดชินวรารามวรวิหาร
เดิมชื่อ วัดมะขามใต้ เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ. 2358 ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังที่งดงาม นอกจากนี้ยังมีพระพุทธชินวร (หลวงพ่อทองคำ) พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย และพระตำหนักชินวรสิริวัฒน์

วัดเจตวงศ์ (วัดร้าง)
อยู่ในซอยเดียวกับวัดชิน วรารามวรวิหาร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น   พระอุโบสถก่ออิฐถือปูนขนาดเล็ก มีช่องประตูเดียวแบบโบสถ์มหาอุต ภายในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย มีภาพจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติตั้งแต่ครั้งอดีตที่มีความสวยงาม

พระตำหนักชินวรสิริวัฒน์
พระตำหนักชินวรสิริวัฒน์ เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า องค์ที่ 11 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2465 อยู่ในบริเวณวัดชินวรารามวรวิหาร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมทัศนียภาพริมแม่น้ำเจ้าพระยา
อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตะวันตก ในบริเวณวัดชินวรารามวรวิหาร มีพื้นที่กว้างขวางซึ่งสามารถชมธรรมชาติของสายน้ำ พระอาทิตย์ตก และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย ปั่นจักรยาน และให้อาหารปลาได้ 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านต้นโพธิ์
เรียนรู้การทำยาหม่องสมุนไพร และการฝึกอาชีพต่าง ๆ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ปั่นจักรยาน
เส้นทางปั่นจักรยานถนนปทุมธานีสายใน ผ่านวัดบางหลวง-วัดชินวรารามวรวิหาร

ทำบุญตักบาตร
ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตักบาตรริมน้ำเจ้าพระยา พระสงฆ์จะพายเรือมารับบิณฑบาตช่างเช้ามืด
ให้อาหารปลา
วังมัจฉา ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในวัดชินวรารามวรวิหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดบ่อทอง จังหวัดปทุมธานี

ชุมชนคุณธรรมวัดบ่อทอง ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เป็นชุมชนเมือง ที่มีบ้าน วัด โรงเรียน อยู่ในบริเวณเดียว มีอัตลักษณ์ของชุมชนที่โดดเด่น คือ วิถีวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายรามัญ (มอญ) ที่ยังคงมีปรากฏชัดในปัจจุบันนี้

ชุมชนคุณธรรมวัดบ่อทอง เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมชาวไทย เชื้อสายรามัญ (มอญ) ซึ่งสามารถเห็นได้จากสถาปัตยกรรมของวัดบ่อทองที่มีศิลปะของชาวมอญมาผสมผสานด้วย นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยววิถีเกษตรพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ ทุ่งนามอญ

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดบ่อทอง
วัดบ่อทอง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ในสมัยนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลคูขวาง อำเภอเชียงราก แขวงเมืองประทุมธานี ต่อมาพระอริยะธัชชะ เจ้าคณะเมืองกับพระครูนันทมุณีเจ้าคณะแขวงได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา โดยมีพื้นที่กว้าง ๒ เส้น ยาว ๒ เส้น ๕ วา และได้รับพระราชทานวิสุงคาม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๙

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

คลองบางหลวงไหว้พระ เป็นคลองตัดผ่านชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ทุ่งนามอญบ้าน บ่อทอง
ทุ่งนามอญบ้านบ่อทอง ตั้งอยู่ที่ บ้านบ่อทองตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยเกิดจากความตั้งใจของป้าต้อย ธัณย์จิรา อาจอุดมรัตน์ ที่อยากจะให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วิถีชีวิตเรียบง่ายและความน่ารักของคนมอญจึงได้พัฒนาที่ดินของตัวเอง ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนและศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ไหว้พระ
วัดบ่อทอง ไหว้พระ และไหว้พระบรมสารีริกธาตุ

ไหว้หลวงปู่ สรวง ทุ่งนามอญ บ้านบ่อทอง ไหว้หลวงปู่สรวง

พายเรือ
ทุ่งนามอญ บ้านบ่อทอง มีร่องน้ำให้สามารถพายเรือเล่นได้
ชมวิถีเกษตร
ทุ่งนามอญ บ้านบ่อทอง มีไก่หลายสายพันธุ์ สามารถให้อาหารได้

เยี่ยมชมวิถี มอญ
ทุ่งนามอญบ้านบ่อทองจำลองสถานที่ไหว้ผีบ้านผีเรือนของชาวมอญ

ถ่ายภาพ
ทุ่งนามอญ บ้านบ่อทอง สามารถถ่ายภาพสวย ๆ ในจุดต่าง ๆ ได้

รับประทานอาหาร
ทุ่งนามอญ บ้านบ่อทอง สามารถรับประทานอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่มได้
ซื้อของฝาก ของที่ระลึก
ทุ่งนามอญบ้านบ่อทอง สามารถซื้ออาหาร ผลผลิตทางการเกษตร เครื่องดื่ม และของที่ระลึกไปฝากคนที่บ้านได้

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดบางหลวง จังหวัดปทุมธานี

ชุมชนคุณธรรมวัดบางหลวง (บ้านคลองบางหลวง) เดิมเป็นชุมชนชาวมอญหรือรามัญ ซึ่งอพยพเข้ามาทางเรือในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สร้างถิ่นฐานอาศัยตามริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากคลองบางหลวง เดิมมีอาชีพเกษตรกรรมและประมง และตั้งชื่อว่า บ้านคลองบางหลวง ตามชื่อคลองที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชน ต่อมาเมื่อชุมชนมีความเจริญขึ้นจึงได้ยกฐานะเป็นตำบลบางหลวงในปัจจุบัน

ชุมชนวัดบางหลวง ยังรักษาความเป็นอัตลักษณ์ชาวมอญได้เป็นอย่างดี และสืบสานวัฒนธรรมของชาวมอญ ไว้อย่างเหนียวแน่น รวมทั้งยังถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น เช่น ผ้าปักสไบมอญ น้ำพริกมะตาด ข้าวพม่า ดอกไม้ประดิษฐ์จากดินไทย/จากผ้าใยบัว เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พระปทุมธรรมราช
พระประจำจังหวัดปทุมธานี สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร หล่อด้วยโลหะผสม หน้าตักกว้าง ๔๐ นิ้ว สูง ๕๐ นิ้ว ห่มจีวรสังฆาฏิพาด ตั้งอยู่บนฐานบัวสูง ๘ นิ้ว ยาว ๔๗ นิ้ว วัดความสูงถึงยอดพระเกตุมาลาได้ ๖๕ นิ้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามพระพุทธรูปประจำจังหวัดปทุมธานี ว่า “พระปทุมธรรมราช” แล้วทรงมีพระรับสั่งให้นำมาประดิษฐานไว้ ณ วิหารวัดบางหลวง

หลวงพ่อเพชร
พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร มีพุทธลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากพระพุทธรูปทั่วไป คือ พระหัตถ์ซ้ายบิดไปมาได้ เป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

อุโบสถวัดบางหลวง
อุโบสถวัดบางหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีรูปแบบการก่อสร้างพิเศษ คือ ไม่มีเสา ภายในประดิษฐานพระประธานนามว่าหลวงพ่อใหญ่ เป็นพระประธานในอุโบสถที่ใหญ่ที่สุด ในจังหวัดปทุมธานี ผนังภายในเป็นจิตกรรมศิลปะสมัยอยุธยา

ชมสะพานมอญ (สะพานโค้ง ๑๐๐ ปี)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

คลองหลวงบาง
อยู่ติดกับวัดบางหลวง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แปลงผักพอเพียง วัดบางหลวง

กิจกรรมการท่องเที่ยว

งานประดิษฐ์ งานฝีมือ
ร้านค้าชุมชน เทศบาลตำบลบางหลวง(ศูนย์เรียนรู้ฯ)
– กิจกรรมดอกไม้ประดิษฐ์จากดิน
– กิจกรรมปักผ้าสไบมอญ

ประกอบอาหารพื้นบ้าน (คาว/หวาน)

  • การทำข้าวพม่า
  • การทำน้ำพริกมะตาด

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม