ชุมชนคุณธรรมวัดบางหลวง จังหวัดปทุมธานี

ชุมชนคุณธรรมวัดบางหลวง (บ้านคลองบางหลวง) เดิมเป็นชุมชนชาวมอญหรือรามัญ ซึ่งอพยพเข้ามาทางเรือในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สร้างถิ่นฐานอาศัยตามริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากคลองบางหลวง เดิมมีอาชีพเกษตรกรรมและประมง และตั้งชื่อว่า บ้านคลองบางหลวง ตามชื่อคลองที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชน ต่อมาเมื่อชุมชนมีความเจริญขึ้นจึงได้ยกฐานะเป็นตำบลบางหลวงในปัจจุบัน

ชุมชนวัดบางหลวง ยังรักษาความเป็นอัตลักษณ์ชาวมอญได้เป็นอย่างดี และสืบสานวัฒนธรรมของชาวมอญ ไว้อย่างเหนียวแน่น รวมทั้งยังถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น เช่น ผ้าปักสไบมอญ น้ำพริกมะตาด ข้าวพม่า ดอกไม้ประดิษฐ์จากดินไทย/จากผ้าใยบัว เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พระปทุมธรรมราช
พระประจำจังหวัดปทุมธานี สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร หล่อด้วยโลหะผสม หน้าตักกว้าง ๔๐ นิ้ว สูง ๕๐ นิ้ว ห่มจีวรสังฆาฏิพาด ตั้งอยู่บนฐานบัวสูง ๘ นิ้ว ยาว ๔๗ นิ้ว วัดความสูงถึงยอดพระเกตุมาลาได้ ๖๕ นิ้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามพระพุทธรูปประจำจังหวัดปทุมธานี ว่า “พระปทุมธรรมราช” แล้วทรงมีพระรับสั่งให้นำมาประดิษฐานไว้ ณ วิหารวัดบางหลวง

หลวงพ่อเพชร
พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร มีพุทธลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากพระพุทธรูปทั่วไป คือ พระหัตถ์ซ้ายบิดไปมาได้ เป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

อุโบสถวัดบางหลวง
อุโบสถวัดบางหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีรูปแบบการก่อสร้างพิเศษ คือ ไม่มีเสา ภายในประดิษฐานพระประธานนามว่าหลวงพ่อใหญ่ เป็นพระประธานในอุโบสถที่ใหญ่ที่สุด ในจังหวัดปทุมธานี ผนังภายในเป็นจิตกรรมศิลปะสมัยอยุธยา

ชมสะพานมอญ (สะพานโค้ง ๑๐๐ ปี)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

คลองหลวงบาง
อยู่ติดกับวัดบางหลวง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แปลงผักพอเพียง วัดบางหลวง

กิจกรรมการท่องเที่ยว

งานประดิษฐ์ งานฝีมือ
ร้านค้าชุมชน เทศบาลตำบลบางหลวง(ศูนย์เรียนรู้ฯ)
– กิจกรรมดอกไม้ประดิษฐ์จากดิน
– กิจกรรมปักผ้าสไบมอญ

ประกอบอาหารพื้นบ้าน (คาว/หวาน)

  • การทำข้าวพม่า
  • การทำน้ำพริกมะตาด

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น