วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ที่ตั้ง ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑. ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 24 ( พ.ศ. 2173-2198) โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2173 ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่งในกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 24 ( พ.ศ. 2173-2198) โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2173 ได้ชื่อว่าเป็นโบราณสถานที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่ง ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ วัดนี้เป็นที่ฝังพระศพของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์(เจ้าฟ้ากุ้ง) กวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลายกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ซึ่งต้องพระราชอาญาโบยจนสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สิ่งที่น่าชมภายในวัดได้แก่ พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ เป็นปรางค์ประธานของวัดตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสและที่มุมฐานมีปรางค์ทิศประจำอยู่ทั้งสี่มุม การที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองซึ่งเป็นกษัตริย์สมัยอยุธยาตอนปลายทรงสร้างปรางค์ขนาดใหญ่เป็นประธานของวัด เท่ากับเป็นการรื้อฟื้นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นที่นิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัด เช่น การสร้างปรางค์ที่วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ เนื่องจากพระองค์ทรงได้เขมรมาอยู่ใต้อำนาจจึงมีการนำรูปแบบสถาปัตยกรรมเขมรเข้ามาใช้ในการก่อสร้างปรางค์อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีพระระเบียงรอบปรางค์ประธาน ภายในพระระเบียงมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ผนังระเบียงก่อด้วยอิฐถือปูน มีลูกกรงหลอกเป็นรูปลายกุดั่น พระอุโบสถ อยู่ด้านหน้าของวัดภายในมีซากพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างด้วยหินทราย ใบเสมาของพระอุโบสถทำด้วยหินสีค่อนข้างเขียว จำหลักเป็นลายประจำยามและลายก้านขด และเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ทางด้านหน้าพระอุโบสถมีเจดีย์ 2 องค์ ฐานกว้าง 12 เมตร สูง 12 เมตร ซึ่งถือเป็นศิลปะที่เริ่มมีแพร่หลายตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง วัดไชยวัฒนารามได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 หมายเหตุ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30- 21.00 น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยามีบริการเครื่องโสตทัศนาจร สามารถฟังข้อมูลการบรรยายวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดไชยวัฒนาราม และวัดมหาธาตุ เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านอาหารอยุธยารีทรีต

ที่ตั้ง ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
1. คาเฟ่เรือนไทย ริมสระบัว ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นตามแบบฉบับของบ้านทรงไทยสไตล์อยุธยากรุงเก่าแท้ๆ มานั่งนอนชิวนึกถึงวันเวลาเก่าให้รอยยิ้มในวันวานกลับมาอีกครั้ง ณ ที่แสนสบายแห่งนี้
2. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 กุ้งเผา
2.2 น้ำพริกถาด
2.3 เค้กมะพร้าว
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดทุกวัน เวลา 08:00 น. – 20:00 น.
4. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 06 2760 6262
5. ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/ayutthayaretreat

วัดพระงาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ที่ตั้ง ๒๔ หมู่ ๔ ตำบลคลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
1. วัดพระงาม แห่งนี้ สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น และถูกทิ้งร้างหลังเสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2310 ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยา ทางด้านทิศเหนือ ตัววัดหันไปทางทิศตะวันออก มีเจดีย์แปดเหลี่ยมเป็นประธานของวัด ด้านหน้าเป็นอุโบสถ มีกำแพงแก้วและคูน้ำล้อมรอบวัด สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัดมีร่องรอยการบูรณปฏิสังขรณ์มาแล้วหลายครั้ง
จุดเด่นของที่นี่ ก็คือ ซุ้มประตู ที่ถูกรากของต้นโพธิ์ปกคลุมมาเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี ได้รับการขนานว่า ‘ประตูแห่งกาลเวลา’ ถือเป็น Unseen Thailand ที่ดูลึกลับน่าค้นหา สวยงามและแฝงด้วยมนต์เสน่ห์อย่างหาคำอธิบายไม่ได้ ช่วงเวลาของการถ่ายภาพซุ้มประตู แนะนำให้ไปตอน พระอาทิตย์ตกดิน ประมาณ 18.00 น. ดวงอาทิตย์จะตกและสาดแสงสีส้มทองผ่านซุ้มประตู อีกเวลาหนึ่งคือตอนเช้า 06.00 น. แสงอาทิตย์จะส่องผ่านซุ้มประตูเข้ามาภายในพระอุโบสถ ถึงเจดีย์แปดเหลี่ยม ถ้าอยากได้ภาพที่สวยกว่านั้น ต้องไปช่วงระหว่างเดือนกันยายน-พฤศจิกายน เพราะเป็นปลายฝนต้นหนาว ได้แสงสวยไม่พอ ได้ภาพที่มีหมอกคลุมไปทั่วบริเวณด้วย
2. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน 07:00 – 17:00 น.
3. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
4. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. –
5. ช่องทางออนไลน์

6. สิ่งอำนวยความสะดวก (ที่จอดรถ)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

แหล่งเรียนรู้การทำขนมไทยมงคล ณ โฮมสเตย์ไทรน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ที่ตั้ง หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โฮมสเตย์ไทรน้อย 46 หมู่ 6 ตำบลไทรน้อย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑. เรียนรู้การทำขนมไทยมงคล อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน จ่ามงกุฎ ทองเอก เสน่ห์จันทร์ ขนมชั้น
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ เปิดทุกวัน
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว เที่ยวได้ทั้งปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
โปรแกรมพักค้างคืน (รวมค่ารถ/
ที่พัก/อาหาร ๗ มื้อ)
-3 วัน ๒ คืน จำนวน ๒ คน
ราคา ๒๒,๐๐๐ บาท/คน
-๓ วัน ๒ คืน จำนวน ๔ คน
ราคา 12,900 บาท/คน
รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามโดยตรงกับทางโฮมสเตย์
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 08 1946 5457
๖. ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/homestaysainoy
๗. สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม 

โฮมสเตย์ไทรน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ที่ตั้ง หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โฮมสเตย์ไทรน้อย 46 หมู่ 6 ตำบลไทรน้อย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑. ประเภทของที่พัก (โฮมสเตย์)
๒. จำนวนห้อง ๔ ห้อง
๓. ประเภทห้องพัก/ราคา
ห้องพัก Standard
ราคา(บาท) ๓๕๐/คน หรืออื่น ๆ
บ้านอาจารย์มยุรี ๔ ห้อง ๒๐ คน
บ้านอาจารย์นิพนธ์ เป็นโถงยาว นอนได้ ๑๒ คน
บ้านพี่จำลอง เป็นโถงยาว นอนได้ ๑๒ คน
บ้านลุงเปรม เป็นโถงยาว นอนได้ ๑๒ คน
๔. สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ
มีอาหารเช้า (กาแฟ โอวัลติน)
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 08 1946 5457
๖. ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/homestaysainoy

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดไทรน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ที่ตั้ง ไทรน้อย ซอย 3 ตำบลไทรน้อย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑. วัดไทรน้อยเป็นวัดเก่าแก่ประจําชุมชน ก่อตั้งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง “โบสถ์มหาอุตม์ ” เป็นโบสถ์แบบโบราณ มีทางเข้าและทางออกทาง เดียวซึ่งไม่คอยพบเห็นกันมากแล้วในปัจจุบันโดยตําราการสร้างโบสถ์ลักษณะนี้สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสถานที่ถ่ายทอด หรือกระทําการด้านเวทย์มนต์คาถา เหมาะที่จะปลุกเสกเครื่องรางของขลัง เชื่อกันว่าจะมีอานุภาพเพิ่มขึ้นในโบสถ์ ประดิษฐาน“หลวงพ่อใหญ่”พระพุทธรูปสักสิทธิของอําเภอบางบาล เสาอุโบสถทำจากไม้ตะเคียน(เชื่อกันว่ามีนางตะเคียนอยู่อาศัย) จํานวน ๑๐ ต้น และบริเวณโดยรอบจะมีเจดีย์ลังกาองค์ใหญ่ ซึ่งถือว่าสวยงามมากๆ จะมีชาวบ้านและคนนอกพื้นที่ที่ศรัทธาเดินทางมากราบไหว้บูชา ขอโชคลาภ และบนสิ่งตางๆ เป็นประจำโดยเฉพาะช่วงหวยออกจะได้ยินเสียงกลองยาวของคนที่มาแก้บนทุกเดือน
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 08.30-16.30
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม โทร. –
๕. ช่องทางออนไลน์
www.bangban.go.th
facebook : เทศบาลตําบลบางบาล พระนครศรีอยธยา
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอด

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ปลาตะเพียนใบลาน

ที่ตั้ง ๑๓ หมู่ ๑ ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ –
๒.ชื่อผู้ประกอบการ นางพีรยา เนตรทิพย์
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ปลาตะเพียนใบลาน
รายละเอียดความโดดเด่น สั้นๆ
เป็นกิจการที่สืบทอดมาจากคุณแม่ประพาส เรืองกิจ ผู้ประกอบการ otop ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งสมัยที่คุณแม่มีชีวิตอยู่ ถือเป็นปลาตะเพียนใบลานที่โด่งดังและมีฝีมือโดดเด่น
รูปแบบของปลาตะเพียนที่แตกต่างกันออกไป ทั้งขนาด และลวดลาย สีสัน มีหลายขนาด ปลาลูกเก้า ปลาลูกหก ปลาสี่ ปลาระย้า ปลาจิ๋ว และปลาแผง (โมบาย)
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ไม่มีหน้าร้าน สามารถติดต่อได้ที่บ้าน
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร.08 9809 9532
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook : Peeraya Netthip

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านของพ่อ

ที่ตั้งตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑. เป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่เรียนรู้เชิงเกษตรที่จัดสรรพื้นที่ตามทฤษฎีเกษตรทฤษฎีใหม่และเป็นแหล่งให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เด็ก และเยาวชน รวมทั้งประชาชนได้มาศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตแบบพอเพียง ภายในมีการสาธิตพื้นที่นา พื้นที่เพาะปลูก พื้นที่เลี้ยงสัตว์ พื้นที่กักเก็บน้ำ และพื้นที่พักอาศัย นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับสัตว์เลี้ยงต่างๆ อาทิ ไก่ เป็ด แพะ เป็นต้น โดยภายในศูนย์ฯมีร้านกาแฟไว้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักผ่อน ผู้ที่สนใจเข้าดูงานและทำกิจกรรมเป็นหมู่คณะสามารถติดต่อทางศูนย์ฯได้
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
วันอังคาร-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.30-17.00 น.
(หยุดวันจันทร์)
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เที่ยวได้ทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 06 4932 1838, 06 3587 9963,
08 1817 6037
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านของพ่อ
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ร้านอาหาร 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ก๋วยเตี๋ยวเรือลุงเล็ก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ที่ตั้ง ถนนชีกุน ตรงข้ามวัดราชบูรณะ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑. ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือที่มีทั้งเนื้อและหมู ก๋วยเตี๋ยวเรือลุงเล็กน้ำตกไม่ใส่เลือดสูตรเฉพาะคนกรุงเก่า บรรยากาศร้านจะดูบ้านๆ แต่รสชาดขึ้นห้างได้เลย ลุงเล็กทำขายมา 30 กว่าปีด้วยสูตรก๋วยเตี๋ยวน้ำตกไม่ใส่เลือด ใช้เพียงน้ำหมักเนื้อและน้ำหมักหมูต้มแยกหม้อ เติมกะทิเล็กน้อยแล้วเคี่ยวให้เข้มข้นค่อยปรุงรส รับประกันอร่อยไม่เหมือนใคร แถมไม่มีกลิ่นคาวมากวนให้เสียรสชาติด้วย ใครที่เป็นสาวกก๋วยเตี๋ยวเนื้อไม่ผิดหวังแน่นอน เพราะลุงเล็กใช้เนื้อวัวส่วนลูกมะพร้าว คือส่วนโคนขาหลังถึงสะโพก ก้อนใหญ่เนื้อนุ่ม ไม่ติดมัน ต้มครั้งละเป็นสิบๆ ก้อน จากนั้นนำมาตุ๋นบนเตาถ่านอีกที เวลาปรุงก๋วยเตี๋ยวจึงนำขึ้นหั่นเป็นชิ้นๆ เรียงใส่ชาม ส่วนก๋วยเตี๋ยวหมูใช้เนื้อสันติดมันนิดๆ ต้มแล้วตุ๋นด้วยเตาถ่าน ได้เนื้อหมูนุ่มมากๆ ก๋วยเตี๋ยวแต่ละชามลุงเล็กใส่เครื่องเคราทั้งเนื้อสด เนื้อตุ๋น ลูกชิ้น และตับ แล้วใส่น้ำมาพอขลุกขลิก ให้อร่อยเข้มข้นถึงเครื่อง เสิร์ฟพร้อมถั่วงอกดิบและใบโหระพาสดๆ ให้กินเคียง
2. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 บะหมี่ต้มยำแห้ง
๒.๒ หมูสะเต๊ะ
๓. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.00 น.
เสาร์-อาทิตย์ 08.30-16.30 น.
หยุดวันพุธ-พฤหัสฯ ที่ 3 ของเดือน
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 08 4086 3442, 08 9523 3384
๕. ช่องทางออนไลน์ –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ที่ตั้ง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑. วัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นวัดประจำพระราชวังหลวงและเป็นวัดซึ่งไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา มีเฉพาะเขตพุทธาวาสเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา ตามหลักฐานประวัติศาสตร์อ้างอิงว่าสมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงใช้พื้นที่บริเวณวัดพระศรีสรรเพชญ์สร้างพระราชวังและใช้เป็นที่ประทับ กระทั่งถึงสมัยพระบรมไตรโลกนาถ จึงทรงสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ทางตอนเหนือ แล้วโปรดยกให้บริเวณวัดพระศรีสรรเพชญ์เป็นเขตพุทธาวาส ใช้ประกอบพิธีสำคัญของบ้านเมืองจุดเด่นของวัดพระศรีสรรเพชญ์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวคือเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาสามองค์ ซึ่งทั้งสามองค์ได้รับการสร้างขึ้นต่างวาระกัน เจดีย์องค์ตะวันออกสร้างขึ้นสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๐๓๕ เพื่อบรรจุพระอัฐิของพระราชบิดา คือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จากนั้นทรงให้สร้างพระเจดีย์องค์ (องค์กลาง) เพื่อบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ ผู้เป็นพระบรมเชษฐา ครั้นถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ จึงทรงให้สร้างพระเจดีย์องค์ที่สาม เพื่อบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ผู้เป็นพระราชบิดา
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 08.30-16.30

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม