วิหารมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ที่ตั้งอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑. วิหารพระมงคลบพิตร สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นราวแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เดิมประดิษฐานอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง ในปี พ.ศ. ๒๑๔๖ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดให้ชะลอมาไว้ทางด้านทิศตะวันตก แล้วให้สร้างมณฑปขึ้นครอบไว้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๒๔๖ สมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ ยอดมณฑปต้องอสนีบาต (ฟ้าผ่า) ไฟไหม้ เครื่องบนมณฑปหักพังลงมาต้องพระเศียรหัก สมเด็จพระเจ้าเสือ จึงโปรดให้แปลงมณฑปเป็นวิหารแต่ยังคงส่วนยอดของมณฑปไว้ แล้วซ่อมพระเศียรพระพุทธรูปใหม่ กระทั่งในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่หมด เปลี่ยนหลังคาคล้ายในปัจจุบัน เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้าย วิหารและพระพุทธรูปถูกไฟไหม้ ชำรุดทรุดโทรม เครื่องบนวิหารหักลงมาต้องพระเมาฬี และพระกรข้างขวาหักในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ พระยาโบราณราชธานินทร์ สุมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้ขอซ่อมแซมวิหาร แต่รัฐบาลไม่อนุญาตเนื่องจากต้องการที่จะรักษาตามแบบอย่างทางโบราณคดี โดยจะออกแบบให้ปูชนียสถานกลางแจ้งเหมือนไดบุซึของญี่ปุ่น แต่ด้วยเวลานั้นรัฐบาลยังไม่มีงบประมาณพร้อมในการดำเนินการ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ รัฐบาลสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงได้เริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารและองค์พระพุทธเสียใหม่ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ในคราวบูรณะพระมงคลบพิตรในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ กรมศิลปากรได้พบพระพุทธรูปบรรจุไว้ในพระอุระด้านขวา เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ เปิดทุกวัน เวลา 08.30-16.30
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม โทร.0 3532 1797 , 0 3524 3172
๕.ช่องทางออนไลน์ http://www.mongkolbp.com/ E-mail : mongkolbopit035@gmail.com
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วังช้างอยุธยา แลเพนียด

ที่ตั้ง ถนนป่าโทร ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑. วังช้างอยุธยา แล เพนียด เป็นหนึ่งในสถานที่ดูแลและจัดแสดงช้างของมูลนิธิพระคชบาล บริเวณเพนียดภายในวังช้างแห่งนี้แต่เดิมเป็นที่ตั้งของกรมพระคชบาลสำหรับฝึกช้างหลวงที่ใช้ออกศึกในช่วงอยุธยาจวบจนกลางรัตโนโกสินทร์ ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระเพทราชา ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลูหลวงก็เคยดำรงตำแหน่งเจ้ากรมพระคชบาลอยู่ที่นี่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 กรมพระคชบาลแห่งนี้เคยมีช้างจำนวน 40,000 เชือก และในสมัยรัชกาลที่ 6 กรมพระคชบาลเคยส่งช้างไปช่วยรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากนั้นกรมพระคชบาลได้ถูกยุบลง แต่ที่นี่ยังมีช้างบ้านที่ควานช้างจัดการดูแลกันเอง ปางช้างแห่งนี้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นกิจะลักษณะเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมศิลปากรและกรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภายใต้ชื่อ “ปางช้างอยุธยา แล เพนียด” แต่เนื่องจากกรมศิลปากรเห็นว่าสถานที่แห่งนี้อยู่ในเกาะเมืองอยุธยาซึ่งเป็นพื้นที่มรดกโลก จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “วังช้างอยุธยา แล เพนียด”พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เคยเสด็จวังช้างแห่งนี้และทรงมีพระราชปฏิสันถารกับนายลายทองเหรียญ มีพันธุ์ เจ้าของวังช้างว่าขอให้ดูแลและฟื้นฟูสถานที่แห่งนี้ให้ดี จากนั้นให้นำความรู้ทางช้างเลี้ยงไปหยุดปัญหาช้างเร่ในกรุง โดยไม่ทรงต้องการให้ทำร้ายทำลายควานหรือช้าง นายลายทองเหรียญได้เปิดมูลนิธิพระคชบาลขึ้นโดยมีภารกิจหลักในการฟื้นฟูวิธีฝึกช้างและการอยู่ร่วมกับช้างตามตำราหลวง ตลอดจนติดต่อควานช้างเร่ให้นำช้างมาอยู่ที่นี่เป็นหลักแหล่ง หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สวรรคต ทางวังช้างอยุธยาได้นำช้าง 11 เชือกไปกราบพระบรมศพ โดยนายลายทองเหรียญกล่าวไว้ว่าการนำช้างไปกราบพระบรมศพก็เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อช้าง และแสดงให้สาธารณชนเห็นว่าแม้แต่ช้างเร่ก็กลายเป็นพญาคชสารที่แสนงดงามได้ หากได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
อังคาร-อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ปิดทุกวันจันทร์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ที่ตั้ง ถนนโรจนะ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๐ ทรงมีพระราชปรารภกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้นว่า “โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ สมควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษา และตั้งแสดงให้ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรนำไปเก็บรักษาและตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่” กรมศิลปากร จึงได้สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขึ้นเพื่อเก็บรักษา จัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ รวมถึงโบราณวัตถุที่พบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาคารก่อสร้างด้วยเงินบริจาคจากประชาชน ซึ่งผู้บริจาคจะได้รับพระพิมพ์ที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นการสมนาคุณ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงสร้างพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นนามพิพิธภัณฑ์
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
อังคาร-อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.ปิดทุกวันจันทร์
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
ชาวไทย 30 บาท
ชาวต่างประเทศ 150 บาท
นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ / ภิกษุสามเณรและนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม**
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. ๐ 3524 4570
๕. ช่องทางออนไลน์
http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/chaosamphraya
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ที่ตั้ง ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑. วัดใหญ่ชัยมงคลสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดป่าแก้ว ก่อนได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระเจดีย์ใหญ่ก็สร้างขึ้นใน คราวนั้น พงศาวดารระบุว่าคราวทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชแห่งหงสาวดี สมเด็จ พระนเรศวรทรงพระพิโรธต่อนายกองแม่ทัพของพระองค์ที่ล่าช้าเดินทัพตามไม่ทัน ซึ่งตามกฎแล้วมีโทษถึงประหารชีวิต ทว่าได้รับการทูลขอพระราชทานชีวิตจากสมเด็จพระพันรัตน (พระสังฆราช) เปลี่ยนเป็นการสร้างพระเจดีย์ใหญ่เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ เชื่อกันว่าเป็นที่มาของการเปลี่ยนชื่อวัดป่าแก้วเป็นวัดใหญ่ชัยมงคล นอกจากเจดีย์ใหญ่ชัยมงคลซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญของวัดแล้ว ยังมีพระพุทธไสยาสน์ที่สร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระนเรศวร ประดิษฐานอยู่กลางแจ้งเพราะพระวิหารพังทลายลง หลังจากสงครามการเสียกรุงศรีอยุธยา วัดใหญ่ชัยมงคลก็กลายเป็นวัดร้าง กระทั่งได้รับการบูรณะเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และยกฐานะจากวัดร้างมาเป็นวัดราษฎร์มีพระภิกษุจำพรรษา และจากนั้นก็ได้รับการพัฒนาเรื่อยมา
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ๐๗.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 0 3524 2640
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook: วัดใหญ่ชัยมงคล
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ร้านอาหาร 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านสามเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ชุมชนบ้านสามเรือนมีที่พักเชิงนิเวศบ้านสามเรือน เกิดจากการรวมกลุ่มของชาวชุมชนสามเรือนเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้ที่ต้องการสัมผัสแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เห็ดตับเต่า และสัมผัสวัฒนธรรม ประเพณีอันเก่าแก่ของชุมชน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญไหลผ่านกลางหมู่บ้าน ได้แก่คลองโพ มีความอุดมสมบูรณ์ ลักษณะของดินมีสภาพเหมาะสมกับการเกิด เห็ดตับเต่า 

อัตลักษณ์โดดเด่นและสร้างชื่อให้กับชุมชนบ้านสามเรือน คือ “เห็ดตับเต่า” พืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนในตำบลสามเรือนร่วมหลักล้าน ทำให้ชื่อเสียงของชุมชนสามเรือนเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและผู้ที่ชื่นชอบในรสชาติของเห็ดตับเต่าทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่สั่งซื้อเห็ดตับเต่าสดจากชุมชนแห่งนี้

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดสามเรือน
เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมสวยงาม ทั้งนี้นอกจากจะเปิดให้ผู้คนเดินทางมาไหว้พระให้มีจิตใจสงบร่มเย็นเพื่อให้พักผ่อนหย่อนใจด้วยความสงบและสบายใจ
วัดใหม่กลางเกาะระกำ
เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมสวยงาม ทั้งนี้นอกจากจะเปิดให้ผู้คนเดินทางมาไหว้พระให้มีจิตใจสงบร่มเย็นเพื่อให้พักผ่อนหย่อนใจด้วยความสงบและสบายใจ

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเทโพ
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเทโพเป็นแหล่งเพาะปลูกเห็ดตับเต่า ซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พิพิธภัณฑ์ บ้านลุงหอม
พิพิธภัณฑ์บ้านลุงหอม ผู้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเทโพ
จุดชมรังนกกระจาบ เหมาะสำหรับกิจกรรมรังนกกระจาบ ในบริเวณจะมีวิวสองข้างทางที่มีความสวยงาม

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเทโพ
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเทโพเป็นแหล่งเพาะปลูกเห็ดตับเต่า ซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ล่องเรือ/ นั่งรถราง/ ปั่นจักรยาน ชมนิเวศสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ รังนกกระจาบ อุทยานหุ่นไล่กา
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเทโพ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเทโพเป็นแหล่งเพาะปลูกเห็ดตับเต่า ซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สาธิตการทำแร้วดักปลา
พิพิธภัณฑ์บ้านลุงหอม ผู้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน 
เยี่ยมชมสวนกล้วยไม้
สวนกล้วยไม้ร่มวลี จุดนี้เหมาะสำหรับการเรียนรู้การเพาะเลี้ยงกล้วยไม้
ไหว้พระขอพรพระวัดสามเรือน
วัดสามเรือน เป็นจุดรวมจิตใจของชาวสามเรือน และเป็นสถานที่สำคัญในการจัดกิจกรรมของชุมชน ได้แก่ ประเพณีอาบน้ำคืนเพ็ญในวันลอยกระทง

ที่มา กระทรวงวัฒธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านไทรน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ชุมชนคุณธรรมบ้านไทรน้อยเป็นชุมชนบ้านมอญในอดีต ชาวบ้านส่วนใหญ่จะทำการเกษตร ทำนา ปลูกข้าวโพด ที่นี่ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่บริหารจัดการโดยชุมชนที่ยังคงอนุรักษ์วิถีถิ่น ศิลปะ งานฝีมือ ภูมิปัญญา อาหาร การแสดง ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงภูมินิเวศน์ที่เป็นแหล่งบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติได้อย่างดี
ชุมชนแห่งนี้ดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย ยังคงรักษาวิถีวัฒนธรรมชาวมอญที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมภาคกลางเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชน และสืบทอดประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาแฝงอยู่ในทุกเทศกาลสำคัญของชุมชน รวมทั้งนำความสมบูรณ์ทางธรรมชาติมาเป็นจุดเด่นในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดไทรน้อย
หลวงพ่อใหญ่ พระประธานในโบสถ์เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ตั้งแต่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ราวปีพ.ศ. 2313 เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านในท้องถิ่น เสาในโบสถ์ทำด้วยไม้ตะเคียนทุกต้น

วัดท่าสุทธาวาส
เดิมเรียกว่า “วัดผีมด” สร้างสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ.๒๓๑๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ.๒๓๒๐ มีประธานในพระอุโบสถคือ หลวงพ่อเศียรและหลวงพ่อเฒ่า มีคำขวัญของวัดคือ”หลวงพ่อเศียรคุ้มเกล้า หลวงพ่อเฒ่าคุ้มภัย”
วัดบุญกันนาวาส
วัดบุญกันนาวาส สร้างเมื่อปีพ.ศ.๒๓๕๖ โดยมีนางบุญมี และนายแจ่ม บริจาคที่ดินสร้างวัด มีหลวงพ่อเพชร ที่พบใต้ฐานโบถส์ เมื่อคราวดีดโบสถ์ขึ้น ประชาชนทั่วไปนิยมไปกราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคล
วัดปราสาททอง
วัดปราสาททอง สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวปีพ.ศ. ๒๒๐๐ ต่อมากลายเป็นวัดร้าง มีซากฐานเจดีย์ใหญ่ปรากฎอยู่ และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ประมาณ พ.ศ.๒๔๕๒ เดิมชาวบ้านเรียกชื่อวัดหลายชื่อ เช่น ชาวบ้านทางเหนือ เรียก “วัดใต้” ชาวบ้านทางใต้ เรียก”วัดเหนือ” ชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่รอบวัด เรียก “วัดเจดีย์” เมื่อคราวมีผู้ดูแลวัด ชื่อ”ตาบูน” ก็เรียก”วัดตาบูน” มีหลวงพ่อศิลานาเวงประดิษฐานอยู่ในวิหาร สร้างด้วยศิลาแลงปางสมาธิ ผู้คนทั่วไปจะไปกราบไหว้ขอให้ช่วยเหลือต่าง ๆ ตามแต่ปรารถนา หากสำเร็จจะจุดพลุถวายท่าน
วัดเก้าห้อง
เดิมชื่อวัดท้ายตลาด ตั้งอยู่บ้านเก้าห้อง สร้างเป็นวัดตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๓๘๐ พระประธานในโบสถ์สร้างด้วยหินทรายปิดทองทั้งองค์ ใบเสมาคู่ทำด้วยศิลาแลงสลักลวดลายเครือเถาวัลย์เป็นของเก่าแก่ มีวัตถุมงคล คือเหรียญ , แหวนหลวงพ่อพระครูสุมนเมธากร (หลวงพ่อโก๊ะ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเก้าห้อง ซึ่งเป็นเหรียญที่แปลก นั่นคือ หลวงพ่อนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ลูกศิษย์เมื่อยามได้รับนิมนต์ไปในงานต่าง ๆ

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

บึงบัว
บึงบัวใกล้โฮมสเตย์ไทรน้อย ที่ตั้งใจปลูกบัวไว้เพื่อให้คนในชุมชนได้เก็บดอกบัวไปใช้ในวันพระและวันสำคัญทางศาสนา ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถลงไปพายเรือและเก็บบัวในบึงได้

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ศูนย์การเรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้มงคล และ การขยายพันธุ์มะนาวหลากหลายสายพันธุ์พร้อมชมการทำไร่ข้าวโพดและสวนกล้วยหอมทอง การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
เมื่อมาที่ศูนย์ จะได้เรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้มงคล และ การขยายพันธุ์มะนาวหลากหลายสายพันธุ์ พร้อมชมการทำไร่ข้าวโพด และสวนกล้วยหอมทองที่สวยงามและมีรสชาติดี ตั้งแต่การเพาะเลี้ยงต้นกล้า การดูแล การปลูก ตลอดจนเก็บเกี่ยวผลผลิต และยังมีกิจกรรมการปั่นจักรยานชมบ้านเรือนไทย ทุ่งนา และสวนเกษตรของชาวบ้านในชุมชนตามแนววิถีเกษตรแบบพอเพียง ให้นักท่องเที่ยวได้เพลินเพลินกับบรรยากาศวิถีเกษตรของชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยว
เรียนรู้การทำขนมไทยมงคล

หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โฮมสเตย์ไทรน้อย เรียนรู้การทำขนมไทยมงคล อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน จ่ามงกุฎ ทองเอก เสน่ห์จันทร์ ขนมชั้น
เรียนรู้การทำอิฐมอญโบราณ
หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โฮมสเตย์ไทรน้อย เรียนรู้การทำอิฐมอญโบราณที่ทำด้วยมือทั้งหมด ตั้งแต่กระบวนการเตรียมดิน การขึ้นรูปอิฐ ตากอิฐ ไปจนถึงขั้นตอนการเผา
เรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้มงคล การขยายพันธุ์มะนาวหลากหลายสายพันธุ์พร้อมชมการทำไร่ข้าวโพดและสวนกล้วยหอมทอง การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โฮมสเตย์ไทรน้อย เมื่อมาที่ศูนย์ จะได้เรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้มงคล และ การขยายพันธุ์มะนาวหลากหลายสายพันธุ์ พร้อมชมการทำไร่ข้าวโพด และสวนกล้วยหอมทองที่สวยงามและมีรสชาติดี ตั้งแต่การเพาะเลี้ยงต้นกล้า การดูแล การปลูก ตลอดจนเก็บเกี่ยวผลผลิต และยังมีกิจกรรมการปั่นจักรยานชมบ้านเรือนไทย ทุ่งนา และสวนเกษตรของชาวบ้านในชุมชนตามแนววิถีเกษตรแบบพอเพียง ให้นักท่องเที่ยวได้เพลินเพลินกับบรรยากาศวิถีเกษตรของชุมชน
เรียนรู้การทำ ยาหม่องสมุนไพร
หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โฮมสเตย์ไทรน้อย นักท่องเที่ยวจะได้ทดลองทำยาหม่องสมุนไพรจากต้นตำรับของ “แม่อบเชย” สินค้าโอทอปขายดีประจำหมู่บ้าน เริ่มตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ ไพร อบเชย กานพลู พิมเสน การบูร วาสลีน พาราฟิน น้ำมันระกำ เมนทอล ไปจนถึงการเคี่ยวสมุนไพรรวมกันจนได้ยาหม่อง ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถนำยาหม่องที่ทำด้วยตัวเองกลับไปเป็นของที่ระลึกได้

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านเกาะเรียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ชุมชนคุณธรรมบ้านเกาะเรียน ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศตะวันออก โดยมีคลองธรรมชาติหรือคนในชุมชนเรียกว่า “คลองเกาะเรียน” ไหลผ่านภายในชุมชน บอกเล่าเรื่องราวและวิถีชีวิตของชุมชนได้เป็นอย่างดี ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ภายในบริเวณชุมชนมีวัดช่างทอง   ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน 
ชุมชนแห่งนี้ดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย มีความผูกพันกับสายน้ำ ได้แก่ คลองเกาะเรียน คลองธรรมชาติที่อยู่คู่กับคนในชุมชนมายาวนาน เป็นวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ยังคงรักษาไว้เป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชนมาจนถึงปัจจุบัน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดช่างทอง
วัดช่างทอง เป็นศาสนสถานใน การจัดกิจกรรมทางศาสนาของคนในชุมชน บ่มเพาะเด็ก เยาวชน และประชาชนให้ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม
วัดทรงกุศล
ศาสนสถานในชุมชนอีกแห่งหนึ่งที่มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนและคนในชุมชนให้ความเคารพนับถือ ได้แก่ หลวงพ่อขาวและหลวงพ่อดำ
ศาลเจ้าพ่อ เกาะเรียน
ศาลเจ้าพ่อเกาะเรียน สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในมีภาพจิตรกรรมเหล่าเซียนจีน ซึ่งชุมชนบ้านเกาะเรียนให้ความเคารพนับถือและจัดงานไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่เกาะเรียนเป็นประจำทุกปี
ศูนย์การเรียนรู้ การทำขนมไทย บ้านป้ามะลิ
กลุ่มขนมไทยของคุณป้ามะลิ ภาคาพร เป็นหนึ่งในผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทำขนมไทยต้นตำรับท้าวทองกีบม้า ซึ่งการทำขนมไทยนี้ได้รับการสืบทอดมาจากรุ่นบรรพบุรุษ และต่อมาได้จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนขนมไทยป้ามะลิขึ้นเพื่อสร้างรายได้และกระจายรายได้ให้สู่ชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

คลองเกาะเรียนและจุดชมวิวสะพานไม้ไผ่
ชุมชนคุณธรรมบ้านเกาะเรียนมีคลองเกาะเรียน เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยมีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ มีสะพานไม้ไผ่ทอดยาวกว่า ๓๐๐ เมตร สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้เดินชมธรรมชาติสองฝั่งคลองและถ่ายภาพสวย ๆ ไว้เป็นที่ระลึก

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ชุมชนคุณธรรมบ้านเกาะเรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ในครัวเรือน อยู่กันแบบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ชุมชนอยู่ดี กินดี เหลือกิน สามารถนำไปขาย สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ใส่บาตรยามเช้า
คลองเกาะเรียน วิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งคลองเกาะเรียนทุกเช้าตื่นมาจะเตรียมอาหารคาวหวานสำหรับใส่บาตร เป็นวัฒนธรรมที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาครั้งบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน สำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยือนในชุมชนแห่งนี้ จะได้สัมผัสกับวัฒนธรรมท้องถิ่น และบรรยากาศแบบธรรมชาติที่ประทับใจกลับไปอย่างแน่นอน
ล่องเรือชมธรรมชาติริมคลองเกาะเรียน
คลองเกาะเรียน คลองธรรมชาติที่แยกออกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านทิศเหนือฝั่งตะวันออก นั่งเรือชมวิถีชีวิตริมสองฝั่งคลอง สัมผัสระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ณ คลองเกาะเรียนแห่งนี้
สาธิตการทำขนมไทย (ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน)
ศูนย์การเรียนรู้การทำขนมไทยบ้านป้ามะลิ แหล่งเรียนรู้ขนมไทย ต้นตำรับท้าวทองจีบม้า เปิดให้ผู้สนใจ นักท่องเที่ยว ได้เข้ามาเรียนรู้และซื้อกลับบ้านเป็นของฝาก รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนในชุมชน เป็นการสืบสาน ภูมิปัญญาของชุมชนให้คงอยู่

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม