เมืองโบราณดงละคร จังหวัดนครนายก

ที่ตั้ง หมู่ 5 ตำบลดงละคร อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
๑. เมืองดงละคร เคยเป็นเมืองท่าที่สำคัญในสมัยโบราณช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-เมืองโบราณดงละคร เดิมเรียกว่า “เมืองลับแล” เป็นสถานที่ตั้งเมืองโบราณสมัยทวาราวดีและขอม เนินดินดงละครหรือดงใหญ่มีพื้นที่ 6 ตารางกิโลเมตร ภายในมีเมืองโบราณหรือดงเล็ก ลักษณะเป็นรูปไข่ อยู่ค่อนไปทางทิศตะวันตกของเนินดิน มีคันดินเป็นกำแพง 2 ชั้นเรียกว่า “สันคูเมือง” และมีคูน้ำล้อมรอบภายในเมืองน่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของชนชั้นปกครอง ส่วนประชาชนตั้งบ้านเรือนเรียงรายอยู่ในบริเวณที่ลุ่มรอบเมืองความรุ่งเรืองแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกเริ่มพุทธศตวรรษที่ 14-16 เป็นวัฒนธรรมแบบทวาราวดี ช่วงที่สองพุทธศตวรรษที่ 17-19 เป็นวัฒนธรรมขอม และวัฒนธรรมก่อนอยุธยาพุทธศตวรรษที่ 19 ชาวบ้านดงละครคงจะอพยพไปตั้งถิ่นฐานตามลำน้ำสายหลักในจังหวัดนครนายก สันนิษฐานว่าน่าจะมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเมืองศรีมโหสถที่จังหวัดปราจีนบุรีเพราะเมืองทั้งสองอยู่ห่างกันเพียง 55 กิโลเมตร โบราณวัตถุที่ค้นพบ ได้แก่ เศษภาชนะดินเผา ภาชนะเคลือบสีฟ้า ลูกปัด แก้วลูกปัดหิน เบี้ยดินเผาแผ่นตะกั่วตุ้มหูแหวนและกำไลสัมฤทธิ์แผ่นทองคำ เศียรพระพุทธรูปกะไหล่ทอง และสถูปศิลาแลง ตามตำนานกล่าวว่า “เมืองโบราณดงละคร” เคยเป็นเมืองของราชินีขอมซึ่งเป็นที่รโหฐาน และบริเวณเมืองมีต้นไม้สูงขึ้นอยู่ทั่วไปหากคนนอกเข้าไปแล้วจะหาทางออกไม่ได้ในวันโกน และวันพระจะได้ยินเสียงกระจับปี่ ซอ ปี่พาทย์มโหรีขับกล่อมคล้ายกับมีการเล่นละครในวังจึงเรียกกันว่า “ดงละคร” หรือคำว่า “ดงละคร” อาจเพี้ยนมาจาก “ดงนคร” ก็ได้ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เมืองโบราณดงละครเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น.

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมไทยพวน จังหวัดนครนายก

ที่ตั้ง 204 หมู่ที่ 1 หมู่บ้านเกาะหวาย, ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก

๑.เรียนรู้วิถีการดำรงชีวิตแบบวัฒนธรรมไทยพวน และสามารถพักค้างคืนที่ได้
๒.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
นางสุรีย์ สะเภาทอง โทร. 08 5435 9632
๓.ช่องทางออนไลน์
Facebook ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมไทยพวยตำบลเกาะหวาย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านแม่ประนอมขาหมูหมั่นโถว นครนายก

232 ถนนสุวรรณศร ตำบล เกาะหวาย อำเภอปากพลี นครนายก

๑. ที่มาของชื่อร้านประนอม ขาหมู หมั่นโถว เจ้าของร้านคือป้าประนอมเล่าว่า อยากให้ร้านมีเมนูอะไรสักอย่างที่เป็นเมนูพิเศษประจำร้าน ก็เลยคิดถึงขาหมูกินกับหมั่นโถว เพราะเป็นอาหารหากินยากในแถวนี้ และถ้าเป็นขาหมูธรรมดาๆ คนส่วนใหญ่กินแล้วก็จะกลัวอ้วน ก็เลยคิดทำสูตรขาหมูไร้มัน ปรากฏว่ามันขายดีมาก ลูกค้าบอกต่อ มีนักท่องเที่ยวมาจากทั่วประเทศ รวมถึงชาวต่างชาติเดินทางมาชิม จากแรกๆ ทำวันละ 7-8 ขา ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันวันธรรมดาขายกว่า 100 ขา และสุดสัปดาห์กว่า 200 ขา ลูกค้าที่เข้าร้าน 9 ใน 10 รายต้องสั่ง” วิธีทำขาหมูสูตรไร้มัน ต้องเลือก “ขาหน้าหมู” เพราะมีมันน้อยกว่าขาหลัง ขั้นตอนเริ่มจากนำไปเผาบนเตาถ่าน เพื่อรีดน้ำมันให้ไหลออก ตามด้วยทอดจนหนังหมูกรอบแทบจะไม่เหลือมันติดอยู่เลย จากนั้นนำไปต้มและเคี่ยวในหม้อเตาถ่านจนไฟมอด กว่าจะครบเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลากว่า 12 ชั่วโมง
2.เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1ขาหมูไร้มัน หมั่นโถว
2.2 ตำถั่วหมูกรอบ
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิด-ปิด 08.00-22.00 น.ของทุกวัน
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 3739 9550, 08 1907 4358, 08 9036 3966
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook ร้านขาหมูหมั่นโถว ป้าประนอมนครนายก

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดฝั่งคลอง จังหวัดนครนายก

ชุมชนคุณธรรมวัดฝั่งคลองเป็นชุมชนที่มีความเป็นอยู่เรียบง่ายแบบสังคมชนบท คนในชุมชนพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความภาคภูมิใจในวิถีแห่งชาติพันธุ์ไทยพวน ร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การเป็นเจ้าบ้านที่ดีพร้อมต้อนรับผู้มาเยือน และมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของชุมชน

ชุมชนคุณธรรมวัดฝั่งคลอง เป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิต อันเป็นเอกลักษณ์ ทั้งด้านภาษา การแต่งกาย รวมถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ชุมชน ซึ่งถูกรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนวัดฝั่งคลอง ตลอดจนมีความโดดเด่น เข้มแข็ง ในเรื่องการธำรงรักษาวิถีไทยพวน ประเพณีฮีต ๑๒ คอง ๑๔

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดฝั่งคลอง ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช วัดฝั่งคลอง ตั้งอยู่ในวัดฝั่งคลอง เป็นแหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชน ภายในมีการจัดแสดงเพื่อให้เยี่ยมชมและศึกษาเรียนรู้ ประกอบด้วย พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวไทยพวน นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชน

มิวเซียมปะพวนที่ปากพลี มิวเซียมปะพวนที่ปากพลี เกิดจากความร่วมมือของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) และศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดฝั่งคลองเป็นพิพิธภัณฑ์ ในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ การเรียนรู้ โดยจัดแสดงนิทรรศการชื่อว่า “ชาติพันธุ์ตำนานพวน : ตำนานรักเจ้าจอมกับนางกอย” ภายใต้แนวคิด “วิถีไทยพื้นบ้านในวิถีสากล” เพื่อบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวไทยพวน

กลุ่มสตรีสหกรณ์หัตถกรรมผ้าทอไทยพวนบ้านใหม่ กลุ่มสตรีสหกรณ์หัตถกรรมผ้าทอไทยพวนบ้านใหม่ เป็นกลุ่มที่เกิดจากรวมกลุ่มกันของชาวไทยพวนในพื้นที่ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากเครื่องมือเครื่องใช้เก่า ๆ เช่น กี่ทอผ้า ที่ปั้นด้าย ที่ยังหลงเหลืออยู่ อันแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาการทอผ้า ของชาวไทยพวนในพื้นที่อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก จึงอยากที่จะฟื้นฟูภูมิปัญญาการทอผ้าให้กลับมาอีกครั้ง

พระธาตุกุสาวดี วัดปทุมวงษาวาส (บ้านใหม่) พระธาตุกุสาวดีหรือสถูป กุสาวดี ตั้งอยู่ภายในวัดปทุมวงษาวาส (บ้านใหม่) โดยจำลองแบบมาจากประเทศอินเดีย ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รวมทั้งเสาอโศกที่สลักจากหินหยกอินเดีย ให้ชาวพุทธได้เข้ามาสักการะ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

อ่างเก็บน้ำวังบอน อ่างเก็บน้ำวังบอน ตั้งอยู่ภายในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตำบลนาหินลาด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก เป็นอ่างเก็บน้ำ ที่เงียบสงบ บริเวณรอบ ๆ เป็นเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ บรรยากาศร่มรื่นเต็มไปด้วยต้นไม้ขนาดน้อยใหญ่อันอุดมสมบูรณ์ เล่นน้ำ และตกปลา

จุดชมนกเหยี่ยวดำ ทุ่งใหญ่ปากพลี ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี เป็นช่วงที่นกล่าเหยื่ออย่าง “เหยี่ยวดำ” ได้บินอพยพจากความหนาวในพื้นที่แถบไซบีเรียมายังประเทศไทยบริเวณทุ่งใหญ่สาธารณประโยชน์ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ซึ่งมีพื้นที่กว้างถึง 1,500 ไร่ ถือเป็นจุดชมนกเหยี่ยวดำอีกแห่งหนึ่ง ที่นักท่องเที่ยวสามารถมาส่องดูเหยี่ยวดำจำนวนมาก ที่มาหากินอยู่กันเป็นฝูงบริเวณทุ่งนา

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนเกษตรเปรมปรี สวนเกษตรเปรมปรี เป็นสวนผลไม้กึ่งผสมผสาน โดยมีไม้ผลหลักคือ มะยงชิด มะปรางหวาน ซึ่งเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดนครนายก และสร้างรายได้หลักให้กับสวนเกษตรเปรมปรี นอกจากนี้ยังมีผลไม้อื่น ๆ ที่ปลูกผสมผสานในสวน รวมทั้งมีการจำหน่ายกิ่งพันธุ์สำหรับผู้ที่สนใจอีกด้วย

สวนสุขภาพสุริยภรต สวนสุขภาพสุริยภรตเกิดจากแนวความคิดของคุณนิพพิทา เรืองรักษ์ลิขิต เจ้าของพื้นที่ ที่มองเห็นปัญหาด้านสุขภาพ ของผู้คนในสังคมปัจจุบัน และอยากนำพื้นที่ว่างเปล่าของตนเองมาใช้ประโยชน์ จึงดำเนินการจัดสร้างสวนสุขภาพสุริยภรตขึ้นภายในประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การปลูกผักปลอดสารพิษ เพาะเห็ดนางฟ้า นอกจากนี้ยังมีการให้บริการด้านที่พัก และห้องสำหรับ จัดเลี้ยงอีกด้วย

ศูนย์การเรียนรู้วิถีเชิงเกษตรชุมชนไทยพวน โครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชนหนองแสง “นิทรรศการไทยพวนชวนเอ๊ดนา ศูนย์ การเรียนรู้วิถีเชิงเกษตร” เป็นโครงการของสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงสีข้าวชุมชน บ้านเนินหินแร่ ตำบลหนอง-แสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นโครงการ ที่เกิดจากการนำงานวิจัยเรื่อง “เรื่องเล่าประวัติชีวิต : การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน” มาเป็นแนวทาง ในการพัฒนารูปแบบส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน ภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม วิถีไทยพวน

ชุมชนคุณธรรมวัดคีรีวัน จังหวัดนครนายก

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๑ ตำบลศรีนาวาอำเภอ เมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ผู้นำชุมชน พระครูอุดมกิจจานุกูล ชุมชน ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเชิงเขาอันอุดมสมบูรณ์ มีป่าไม้หนาทึบ มีแม่น้ำนครนายกไหลผ่าน เหมาะสมกับการทำการเกษตรกรรมและปลูกพืช ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น

ชุมชนมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นทางด้านภาษา อาหาร และการแต่งกาย พื้นถิ่นลาวเวียง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีวิถีชีวิตเรียบง่าย สงบสุข มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันอยู่ร่วมกันแบบเครือญาติ มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ เปิดพื้นที่ทำกิจกรรมทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ร่วมกัน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พิพิธภัณฑ์รัตนจัน จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในอดีต

วิหารพระแก้วมรกต เป็นวิหารที่ตั้งอยู่บนเขาคีรีวัน ประดิษฐานพระแก้วมรกต
องค์จำลองเรซิ่นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนไทยเวียง เป็นสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ ของฝาก/สินค้าของชุมชน

ปราสาทขอมองค์ใหญ่ แสดงถึงสถาปัตยกรรมแบบขอมองค์ใหญ่ ด้านในประดิษฐานหลวงพ่อโพธิ์พันปี

ตลาดลาวเวียงวัดคีรีวัน เป็นลานวัฒนธรรมและตลาดวัฒนธรรมลาวเวียง (เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

เขื่อนขุนด่านปราการชล เป็นเขื่อนคอนกรีตอัดบดที่ใหญ่ที่สุดประเทศไทย

น้ำตกวังตระไคร้ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ มีธารน้ำตกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

น้ำตกนางรอง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ มีธารน้ำตกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้ภูกะเหรี่ยง

1. ฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำนา
2. ฐานการเรียนรู้ทำสวนเกษตรผสมผสาน
3. ฐานการถ่ายทอดภูมิปัญญาต่าง ๆ อาทิ การสีข้าวแบบโบราณ/การทำขนมข้าวกระยาคู
4. สวนสัตว์ปล่อย และสะพานพราวฟ้าที่ทอดยาวตามทุ่งนา

สวนไม้หอมกฤษณา

1. ชมสวนไม้หอมกฤษณากว่า 5,000 ต้น เรียนรู้การทำสวนไม้หอมกฤษณา การทำปุ๋ยอินทรีย์
2. เรียนรู้การทำกระยาสารท การทำน้ำพริกต่าง ๆ และการทำผลไม้แปรรูป

ชุมชนคุณธรรมตำบลชุมพล จังหวัดนครนายก

          บริบทของชุมชนด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมโดยมีรูปแบบของความเป็น สามเชื้อชาติ สองวัฒนธรรม สามเชื้อชาติ คือ ไทยพุทธ ไทยมุสลิม และไทยมอญ สองวัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมแบบศาสนาพุทธ และวัฒนธรรมแบบศาสนาอิสลาม จำนวน 5 แห่ง มีวัด 1 แห่ง ชุมชนตำบลชุมพล มีประเพณีวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีทั้ง ไทยพุทธ ไทยมุสลิม และไทยมอญ

          ชุมชนคุณธรรมตำบลชุมพล มี 3 เชื้อชาติ ไทยพุทธไทยมอญ ไทยมุสลิม และมีมุสลิมมากถึง 87.13% จึงกำหนดให้การแสดงลิเกฮูลู เป็นอัตลักษณ์ของตำบลชุมพล และการแสดงชุดนี้ได้รับรางวัลโครงการต้นแบบระดับประเทศ

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

มัสยิดกลางจังหวัดนครนายก (ฮากีมุดดีน) เฉลิมพระเกียรติ เป็นมัสยิดที่สร้างด้วยหินอ่อน บริเวณด้านหน้ามุขมีการฉลุ พระนามของพระเจ้า ๙๙ พระองค์ ที่หินอ่อนไว้อย่างสวยงาม และมีการฉลุพระนามของพระเจ้าด้วยไม้สักที่บริเวณหน้าต่างของมัสยิด

วัดราษฏร์ศรัทธาธรรม เป็นวัดของชาวศาสนาพุทธ เป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน ชาวพุทธในตำบลชุมพลมีการจัดกิจกรรมประเพณีการแข่งเรือยาว ในช่วงเทศกาลสารทไทย และในช่วงประเพณีสงกรานต์ มีกิจกรรมการละเล่นทอย

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

บึงพระอาจารย์ หลายปีก่อน จ.นครนายก เคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์เพราะเป็นแหล่งน้ำที่ทางราชการใช้ใช้ในการประกอบพิธีกรรม อาทิ พิธีสรงมูรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อคราวฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ได้นำดินในที่แห่งนี้ไปเข้าพิธีปลุกเสกด้วย อีกทั้งเมื่อปี 2542 จ.นครนายกได้ทำพิธีตักน้ำจากบึงพระอาจารย์เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แหล่งเรียนรู้เห็ดเศรษฐกิจเพื่อชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้การเพาะเห็ดเพื่อเศรษฐกิจในชุมชน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาท่องเที่ยวและเรียนรู้เรื่องการเพาะเห็ด เพื่อนำมาสร้างอาชีพ และรายได้ให้แก่ชุมชน

แหล่งเรียนรู้บ้านเพิ่มพูน (แม่จำนงค์) เป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อมาเรียนรู้ผลิตภัณฑ์ของชุมชน เช่น การทำไม้กวาด การทำพรมเช็ดเท้า การตัดผ้าขาวม้าเพื่อทำเป็นเสื้อผ้าเอนกประสงค์

ศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธ์ข้าวชุมชน เป็นศูนย์ที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่เกษตรกรในชุมชน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม