พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ที่ตั้ง ถนนสายกะทู้-นาเกาะ ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
๑.พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต เกิดขึ้นภายใต้แนวคิด เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและประวัติศาสตร์ชุมชน โดยเฉพาะตำบลกะทู้ในอดีตมีการทำเหมืองแร่ดีบุกเกือบทั่วพื้นที่ ร่องรอยที่เหลืออยู่ของขุมเหมืองล้วนมีจิตวิญญาณที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่า แห่งภูมิปัญญาของบรรพชน ที่ควรแก่การอนุรักษ์ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่คนรุ่นหลังสืบไป จากเหตุดังกล่าว นายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล อดีตนายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ ในสมัยที่ดำรงตำแหน่ง จึงได้เสนอแผนแม่บทการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนเป็นรูปธรรมเมื่อปี พ.ศ. 2549 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2551 อาคารพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ได้มีการออกแบบโดย สถาปนิกกองช่าง เทศบาลเมืองกะทู้ เป็นอาคารแบบชิโนโปรตุกีส 1 ชั้นครึ่ง มีจิ่มแจ้ (ลาน) อยู่ตรงกลาง มีการตกแต่งหน้าต่างด้วยลายปูนปั้นซุ้มโค้งแบน สะท้อนให้เห็นถึงความงดงามแห่งการผสมผสาน จึงเรียกอาคารนี้ว่า “อังมอหลาว” ที่หมายถึง บ้านเรือนแบบฝรั่งของบรรดาเศรษฐีหรือนายเหมืองในอดีตสำหรับการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จัดแสดงในแนวคิด “เปิดลับแลม่านฟ้า เกาะพญามังกรทอง” โดย แบ่งส่วนจัดแสดงหลักออกเป็นภายนอกและภายใน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ วันอังคาร – อาทิตย์ เวลา ๐9.0๐ น. – ๑6.0๐ น. ปิดวันจันทร์
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
คนไทย ผู้ใหญ่ 50 บาท
 เด็ก 20 บาท
ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท
เด็ก 50 บาท
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๗632 1500
๕.ช่องทางออนไลน์
เฟสบุ๊ค พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต

ที่ตั้ง ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
๑.พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดภูเก็ต เป็นท้องถิ่นที่มีเกียรติประวัติในการปกป้องเอกราชของชาติในสงครามเก้าทัพ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์นาม “ถลาง” ได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อ ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ได้ประกอบวีรกรรมขับไล่อริราชศัตรูให้พ้นจากแผ่นดินไทย ในปี พ.ศ.2328 ในวาระครบรอบ 200 ปี ศึกถลาง คือในปี พ.ศ.2528 ชาวจังหวัดภูเก็ตจึงได้ร่วมมือกับกรมศิลปากร ดำเนินการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลางขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเชิดชูเกียรติของสองวีรสตรี และเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมการจัดการแสดงให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ของจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ใกล้เคียงแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน รวมทั้งเป็นสถานที่อนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมและสนับสนุนกิจการด้านการท่องเที่ยวของภูเก็ต อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2528 แล้วดำเนินการเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2532 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2532
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ วันอังคาร – อาทิตย์ เวลา ๐9.0๐ น. – ๑6.0๐ น. ปิดวันจันทร์
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
คนไทย 20 บาท
ชาวต่างชาติ 100 บาท
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๗631 1426
๕.ช่องทางออนไลน์
เฟสบุ๊ค พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ที่ตั้ง ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
๑.สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ตยังเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นผู้นำถึงการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเล โดยเฉพาะสัตว์ทะเลหายาก เช่น วาฬ โลมา พะยูนและเต่าทะเล ซึ่งปัจจุบันได้มีจำนวนที่ลดลงจากท้องทะเลไทยเป็นอย่างมาก สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของน้องๆนักเรียนเกือบทุกวัยที่เข้ามาเยี่ยมชม ทัศนศึกษาและเข้ามาศึกษาดูงานในการเพาะเลี้ยงหรือศึกษาวงจรชีวิตของสัตว์น้ำ ซึ่งความรู้เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะเกิดการกระตุ้นให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้มีหัวใจรักสิ่งแวดล้อมและท้องทะเลไทย นอกจากการจัดแสดงภายในตัวอาคารแล้ว ภายนอกอาคารยังมีจุดน่าสนใจอีก ด้านข้างของสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ตอยู่ติดกับทะเลซึ่งเรียกกันว่าแหลมพันวา มีแนวหาดทรายและระบบนิเวศเล็กๆจึงจัดให้มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติที่มีทั้งพรรณไม้ที่ขึ้นตามริมหาดทราย ป่าโกงกางและสัตว์ทะเลแนวริมชายฝั่งให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างแท้จริง พอเดินมาอีกหน่อยเราก็จะเจอกับโรงเพาะฟักเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นสถานที่ ที่ใช้วิจัยสัตว์น้ำและเลี้ยงสัตว์น้ำสำรองเพื่อรอนำไปแสดงที่สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ โรงเพาะเลี้ยงยังใช้ในการศึกษาวงจรชีวิตของสัตว์น้ำ การดำรงชีวิตและการผสมพันธุ์ของสัตว์น้ำด้วย


๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๐8.3๐ น. – ๑6.3๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
คนไทย ผู้ใหญ่ 50 บาท
เด็ก 20 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท
เด็ก 50 บาท
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๗639 1126
๕.ช่องทางออนไลน์
เฟสบุ๊ค พิพิธภัณฑ์สถานแสดงสัตว์น้ำภูเก็ต
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศาลเจ้ากะทู้ จังหวัดภูเก็ต

ที่ตั้ง 37/1 หมู่ที่ 4 ถนนวิชิตสงคราม ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
๑.ศาลเจ้ากะทู้ นับว่าเป็นศาลเจ้าที่มีความสำคัญมาก เพราะนับได้ว่าศาลเจ้าแห่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของประเพณีถือศีลกินผักของชาวภูเก็ตที่สืบต่อมากระทั่งปัจจุบัน ศาลเจ้าแห่งนี้ตั้งอยู่ในชุมชนบ้านกะทู้ อำเภอเมืองกะทู้ ตามประวัตินั้นในสมัยที่มีชาวจีนเป็นจำนวนมากเข้ามาเป็นกรรมกรเหมืองแร่ในภูเก็ตได้เกิดโรคระบาดขึ้น คณะงิ้วจากเมืองจีนที่มาทำการแสดงที่บ้านกะทู้เกรงว่าอาจเป็นเพราะพวกตนไม่ได้ถือศีลกินผักตามที่เคยปฏิบัติกันมาที่ประเทศจีน พวกเขาจึงได้จัดพิธีถือศีลกินผักขึ้น 9 วัน 9 คืน ตามความเชื่อที่มีมารวมทั้งช่วยกันสร้างศาลเจ้าแห่งนี้ด้วย หลังจากนั้นโรคร้ายก็หายไป ชาวบ้านกะทู้เกิดความเลื่อมใสจึงศรัทธาจัดให้มีพิธีถือศีลกินผักต่อเนื่องกันมา จากนั้นไม่นานประเพณีถือศีลกินผักก็แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาหลวงอำนาจนรารักษ์ (ต้นตระกูลตัณฑเวทย์) ซึ่งเป็นนายเหมืองใหญ่ และเป็นผู้นำชุมชนบ้านกะทู้ได้ส่งคนไปนำเอา “เหี่ยวเอี้ยน” หรือขี้เถ้าธูปและกระถางธูปจากมณฑลกังใส ประเทศจีน มาไว้ที่ศาลเจ้ากะทู้ เพื่อให้พิธีถือศีลกินผักมีความถูกต้องสมบูรณ์ ศาลเจ้ากะทู้จึงได้ชื่อว่าเป็นจุดกำเนิดของประเพณีถือศีลกินผักบนเกาะภูเก็ตในปัจจุบัน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๐8.0๐ น. – ๑๗.0๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๗620 2245
๕.ช่องทางออนไลน์
เฟสบุ๊ค ศาลเจ้ากะทู้
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่อง เที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) จังหวัดภูเก็ต

ที่ตั้ง ตำบลฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
๑.วัดไชยธารารามหรือวัดฉลอง จากประวัติสืบเนื่องมานานเพียงใด ไม่มีหลักฐานอ้างอิงที่แน่นอนมาใครเป็นผู้สร้าง แต่มีชื่อปรากฏวัดฉลองในบันทึกของรัชกาลที่ ๓ และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงเปลี่ยนชื่อวัดฉลองเป็น “วัดไชยธาราราม” วัดไชยธาราราม หรือวัดฉลอง แต่ตามทางสันนิษฐานนั้นเข้าใจกันว่าหลังจาก เมืองถลาง ต้องพ่ายแพ้ศึกพม่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๒ ต้นสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ราษฎรส่วนใหญ่หนีไปตามลำน้ำ กระโสม แขวงเมืองตะกั่วทุ่ง เข้าสู่เมืองพังงาตอนเหนือแถบลุ่มแม่น้ำพังงา ตั้งบ้านเมืองอยู่ในที่ราบล้อมรอบด้วยหุบเขาที่มีชื่อเรียกมาจนถึงปัจจุบันนี้ว่า “บ้านถลาง” หรือ “บางหลาม” อีกส่วนหนึ่งหนีกระเจิงลงมาทางเมืองมานิก (มานิคคาม) ทะลุออกเมืองภูเก็ต (ที่บ้านกะทู้) แล้วหนีเรื่อยลงมาจนพบที่ราบกว้างริมลำน้ำใหญ่ (คลองบางใหญ่ ตำบลฉลอง) เป็นชัยภูมิเหมาะที่จะตั้งรกสร้างชีวิตและชุมชนใหม่ จึงได้ยับยั้งอยู่ที่ทุ่งราบกว้างแห่งนี้ ขนานนามชุมชนของตนเองว่า “ชาวถลาง” (แล้วเพี้ยนผันไปเป็น “ชาวฉลอง” ในภายหลังตามความเปลี่ยนแปลงของภาษา) ชุมชนชาวถลางที่บ้านใหม่แห่งนี้เป็นเพียงชุมชนย่อยมีผู้นำชุมชนที่สืบเชื้อสายเจ้าพญาถลาง (เทียน) เป็นแกน นำอยู่ (ซึ่งสืบทอดทายาทมาเป็น “ประทีป ณ ถลาง” อยู่ที่ฉลองจนถึงปัจจุบันนี้) และต่อมาได้มีการประดิษฐานรูปหล่อของหลวงพ่อแช่มหรือพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุณี”
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๐8.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๗๕38 ๑226
๕.ช่องทางออนไลน์
เฟสบุ๊ค วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง)
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์ บริการนักท่อง เที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว จังหวัดภูเก็ต

ที่ตั้ง 28 ถนนกระบี่ ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต228
๑.ภูเก็ตไทยหัว เดิมที่นี่เป็นโรงเรียนสอนภาษาจีนแห่งแรกในจังหวัดภูเก็ต ตั้งอยู่ที่ถนนกระบี่ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ตัวอาคารแบบชิโนโปรตุกีสที่ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑแสดงเรื่องราวของชาวจีน เช่น ประเพณี อาชีพแลภูมิปัญญาและประวัติของปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญของเมืองภูเก็ตตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัวสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477 ซึ่งชาวจีน “ฮกเกี้ยน” บรรพบุรุษชาวจีนรุ่นแรกที่อพยพมาอยู่ที่ ภูเก็ต ได้ร่วมกันตั้งขึ้น หลังจากนั้นกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ “ภูเก็ตไทยหัว”ในปี 2553 ภายในอาคารจัดแสดงสิ่งของ หนังสือ ภาพถ่ายและเรื่องราวต่าง ๆ ของโรงเรียนภูเก็ตไทยหัวแล้ว ยังจัดเป็นห้องนิทรรศการภาพแสดงความเป็นมาของชาวจีนที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ภูเก็ต บุคคลสำคัญของภูเก็ต ชุดแต่งกายประจำถิ่น อาหารพื้นเมือง เทศกาลงานประเพณี อาคารแบบชิโนโปรตุกีส และภาพถ่ายเก่าแก่ที่แสดงความเป็นมาด้านเศรษฐกิจของภูเก็ตตั้งแต่ยุคเหมืองแร่ และการท่องเที่ยวภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงรูปแบบนิทรรศการทั้งหมด 14 ห้อง ซึ่งจัดแสดงวิถีชีวิตชาวจีนภูเก็ตตั้งแต่แดนดินถิ่นกำเนิดการเดินทางมา การก่อร่างสร้างตัว ความสัมพันธ์ภูเก็ตจีน แบบอย่างของผู้ประสบความสำเร็จ ประวัติโรงเรียน ครูใหญ่คนสำคัญ อาชีพภูมิปัญญา ประเพณีพิธีกรรม ตึกเก่าชิโน-โปรตุกีส การแต่งกาย และอาหารชาวบาบ๋าภูเก็ต
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๐๙.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
ผู้ใหญ่ 50บาท
เด็กนักเรียน 25 บาท
ต่างชาติผู้ใหญ่ 200 บาท/นักเรียน 120 บาท
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ 7621 1224
๕.ช่องทางออนไลน์
http://www.thaihuamuseum.com/
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดมงคลนิมิตร จังหวัดภูเก็ต

ชุมชนฯ เป็นชุมชนเมือง ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจการค้าใจกลางเมืองภูเก็ต สองข้างทางเป็นอาคารรูปทรงสถาปัตยกรรมซึ่งได้รับความร่วมมือในการอนุรักษ์ ให้คงรูปแบบของศิลปกรรมดั้งเดิมไว้ เป็นที่อยู่อาศัยของคนพื้นเมืองและเปิดเป็นร้านค้าจำหน่ายสินค้า สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

วัดมงคลนิมิตร พระอารามหลวง ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองภูเก็ต ในเขตความรับผิดชอบของเทศบาลนครภูเก็ต เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน มีแหล่งโบราณสถานตั้งอยู่ภายในวัด ได้แก่ อาคารชิโนยูโรเปี่ยน หรือชิโนโปรตุกิส โดยจัดกิจกรรมสำคัญของจังหวัดเสมอ อาทิ พิธีทำน้ำพิพัฒสัตยา การถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ตึกชิโนโปรตุกิส เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานของชาวตะวันตกและตะวันออกที่ทรงคุณค่า ตั้งอยู่ภายในวัดมงคลนิมิตร พระอารามหลวง

พิพิธภัณฑ์ภูเก็ต ไทยหัว พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว เป็นโรงเรียนจีนฮกเกี้ยน ซึ่งปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์เชิงวัฒนธรรมของชาวภูเก็ต สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2447 ตั้งอยู่ที่ถนนกระบี่ ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าภูเก็ต ชุมชนย่านเมืองเก่าที่หล่อหลอมวัฒนธรรมหลากหลายรูปมารวมกัน จนเป็นชุมชนย่านเมืองเก่า ตึกแถวแบบโบราณเรียงราย สองฝั่งถนน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สวนสาธารณะสะพานหิน สะพานหิน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจภายในตัวเมืองภูเก็ต
มีลักษณะเป็นชายหาดอยู่สุดถนนภูเก็ตซึ่งยื่นลงไปในทะเลเล็กน้อย

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ป่าชายเลน เส้นทางสำหรับศึกษาธรรมชาติระบบนิเวศ ป่าชายเลนที่มีการปรับปรุงขึ้นใหม่ หากมาในตอนกลางวันก็จะพบกับความร่มรื่นของป่าโกงกาง พร้อมกับสัตว์ต่าง ๆ ในระบบนิเวศป่าโกงกาง ส่วนกลางคืนมีแสงไฟส่องสว่างเรียงรายสองข้างทางเดินตลอดเส้นทาง

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ชิม ช้อป สินค้าและอาหารพื้นเมือง ถนนคนเดินภูเก็ต หลาดใหญ่ ถนนคนเดินภูเก็ต หลาดใหญ่ Phuket Walking Street จะมีเฉพาะวันอาทิตย์ครับ เวลาตั้งแต่ 16.00 – 22.00 น. บริเวณถนนถลางหรือ เมืองเก่าภูเก็ต

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม