วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) จังหวัดภูเก็ต

ที่ตั้ง ตำบลฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
๑.วัดไชยธารารามหรือวัดฉลอง จากประวัติสืบเนื่องมานานเพียงใด ไม่มีหลักฐานอ้างอิงที่แน่นอนมาใครเป็นผู้สร้าง แต่มีชื่อปรากฏวัดฉลองในบันทึกของรัชกาลที่ ๓ และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงเปลี่ยนชื่อวัดฉลองเป็น “วัดไชยธาราราม” วัดไชยธาราราม หรือวัดฉลอง แต่ตามทางสันนิษฐานนั้นเข้าใจกันว่าหลังจาก เมืองถลาง ต้องพ่ายแพ้ศึกพม่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๒ ต้นสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ราษฎรส่วนใหญ่หนีไปตามลำน้ำ กระโสม แขวงเมืองตะกั่วทุ่ง เข้าสู่เมืองพังงาตอนเหนือแถบลุ่มแม่น้ำพังงา ตั้งบ้านเมืองอยู่ในที่ราบล้อมรอบด้วยหุบเขาที่มีชื่อเรียกมาจนถึงปัจจุบันนี้ว่า “บ้านถลาง” หรือ “บางหลาม” อีกส่วนหนึ่งหนีกระเจิงลงมาทางเมืองมานิก (มานิคคาม) ทะลุออกเมืองภูเก็ต (ที่บ้านกะทู้) แล้วหนีเรื่อยลงมาจนพบที่ราบกว้างริมลำน้ำใหญ่ (คลองบางใหญ่ ตำบลฉลอง) เป็นชัยภูมิเหมาะที่จะตั้งรกสร้างชีวิตและชุมชนใหม่ จึงได้ยับยั้งอยู่ที่ทุ่งราบกว้างแห่งนี้ ขนานนามชุมชนของตนเองว่า “ชาวถลาง” (แล้วเพี้ยนผันไปเป็น “ชาวฉลอง” ในภายหลังตามความเปลี่ยนแปลงของภาษา) ชุมชนชาวถลางที่บ้านใหม่แห่งนี้เป็นเพียงชุมชนย่อยมีผู้นำชุมชนที่สืบเชื้อสายเจ้าพญาถลาง (เทียน) เป็นแกน นำอยู่ (ซึ่งสืบทอดทายาทมาเป็น “ประทีป ณ ถลาง” อยู่ที่ฉลองจนถึงปัจจุบันนี้) และต่อมาได้มีการประดิษฐานรูปหล่อของหลวงพ่อแช่มหรือพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุณี”
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๐8.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๗๕38 ๑226
๕.ช่องทางออนไลน์
เฟสบุ๊ค วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง)
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์ บริการนักท่อง เที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น