ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านค่าย จังหวัดระยอง

วัดบ้านค่าย สร้างขึ้นในสมัยยุค รศ. มีอายุ 700 กว่าปี เดิมมีชื่อว่า “วัดชัยชมพูพล” ที่มีความหมายว่า ชัยชนะศึกในแผ่นดิน เนื่องจากวัดบ้านค่ายเคยเป็น ป้อมปราการพ่ายพล ช้าง ม้าศึกขององค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งได้กอบกู้เอกราช และตั้งค่ายพลนี้ขึ้นก่อนจะเข้าตีเมืองระยอง จนมีชัยชนะ

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านค่าย มีโฮมสเตย์ไว้บริการนักท่องเที่ยวและผู้มาศึกษาดูงานในชุมชน มีอาหารพื้นบ้านและของฝากจากชุมชน ได้แก่ ขนมปั้นสิบ ส้มตำมะพร้าวอ่อนเผา ผลิตภัณฑ์จากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของวัดบ้านค่าย (พริกไทย ดีปลี และผักสวนครัว) เป็นต้น มีการทำไม้กวาดของโรงเรียนผู้สูงอายุ และมีสถานีวิทยุชุมชนของคณะสงฆ์บ้านค่ายตั้งอยู่ในวัดด้วย

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์
มณฑป วัดบ้านค่าย
มณฑปวัดบ้านค่ายสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2454 และได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากร
ศูนย์การเรียนรู้
ศูนย์การเรียนตามรอยของเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบ้านค่าย (มีการปลูกพริกไทย ดีปลี และผักสวนครัว)
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของเอกชนสามารถเข้าเยี่ยมชมได้

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวภายในชุมชน ชมวิถีชีวิตการทำนา การเก็บหมากที่ปลูกบนคันนา
สระน้ำให้อาหารปลา
เป็นสระที่อยู่ภายในวัดบ้านค่าย มีปลาชุกชุมนักท่องเที่ยวสามารถให้อาหารและถ่ายภาพได้

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนหมาก
เป็นการทำเกษตรแบบสวนผสมมีทั้งหมากและมังคุด
แปลงผักสวนครัว
เป็นการปลูกผักสวนครัวโดยใช้เกษตรอินทรีย์ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบ้านค่าย

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การปลูกข้าว
เป็นการทำนาโดยใช้น้ำของกรมชลประทาน 
การชมความงดงามทางธรรมชาติ
ชมการปลูกผลไม้แบบสวนผสม และการเก็บหมาก
ร่วมประกอบอาหารพื้นบ้าน (คาว/หวาน)

ชมสาธิตการทำอาหารพื้นบ้านและฝึกทำขนมไทย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านเก่าริมน้ำประแส จังหวัดระยอง

ชุมชนคุณธรรมบ้านเก่าริมน้ำประแส เป็นชุมชนริมแม่น้ำตั้งแต่สมัยอยุธยา มีแม่น้ำประแสกั้นเขตตำบล มีลำคลองไหลลงสู่ทะเล มีการเลี้ยงปลาน้ำกร่อยริมฝั่งแม่น้ำประแส มีท่าเรือประมงขนาดใหญ่ บริเวณปากแม่น้ำเป็นชุมชนหนาแน่น เป็นแหล่งการค้าชุมชนประแสเป็นชุมชนบ้านเก่าโบราณอยู่ติดริมแม่น้ำ

ประแสเรือนโบราณ สืบสานประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำ ดื่มด่ำแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เลิศล้ำอาหารพื้นบ้าน ชื่นตระการป่าชายเลน เที่ยวเล่นสามล้อพ่วง

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดสมมติเทพฐาปนาราม
เมื่อเดือน 3 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันอาทิตย์ ปีวอก พ.ศ. 2427 ในหลวงรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก ขึ้นประทับที่ตำบลปากน้ำประแส ฝั่งแหลมสนเมืองแกลง เสด็จมาใกล้เจดีย์สถาน (ปัจจุบันเจดีย์นี้ยังอยู่) ทรงพระราชดำริว่า “ตำบลปากน้ำแหลมสนนี้สมควรเป็นที่สร้างอารามได้” จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระแกลงแกล้วกล้า (มั่ง) ผู้ว่าราชการเมืองแกลงสร้างอารามขึ้น ณ ที่ใกล้เจดีย์ และพระราชทานนามว่า “วัดสมมติเทพฐาปนาราม” พร้อมพระราชทานที่ดินสร้างวัดจำนวน 10 ไร่ 2 งาน
วัดตะเคียนงาม
เป็นวัดที่ร่มรื่น มีต้นไม้ให้ร่มเงา และเป็นที่ตั้งของต้นตะเคียน ซึ่งเป็นต้นไม้อันทรงคุณค่า เป็น “รุกขมรดกของแผ่นดิน” วัดแห่งนี้มีต้นตะเคียนใหญ่ 2 ต้น ชาวบ้านเรียกว่าต้นตะเคียนเจ้าแม่และต้นตะเคียนเจ้าพ่อ ต้นตะเคียนมีอายุกว่า 400 ปี ในอดีตต้นตะเคียนเป็นหมุดหมายสำคัญในการนำเรือเข้าฝั่งของชาวประมง และจากจดหมายเหตุเมืองจันทบูรบันทึกไว้ว่า ในหลวงรัชกาลที่ 4 มีรับสั่งให้นำไม้ตะเคียนไปสร้างเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ต่อมาในปี พ.ศ. 2409 ชาวบ้านได้สร้างวัดขึ้นและใช้ชื่อว่า “วัดตะเคียนงาม”
อนุสรณ์เรือหลวงประแส
เรือหลวงประแสลำที่ 1 ถูกทำลายลงเพราะเกยตื้นที่แหลมคิชามุน (Kisamun) คราวเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจในสงครามเกาหลี และเมื่อสั่งซื้อเรือใหม่มาทดแทนก็ให้ใช้ชื่อ “ประแส” เช่นเดิม โดยเรือหลวงประแสลำนี้มีเวลาประจำการเกือบ 5 ทศวรรษ ในปี พ.ศ. 2537 เรือรบหลวงประแสมีสภาพเก่าทรุดโทรม ทางกองทัพเรือจึงปลดประจำการและนำไปใช้ฝึกภาคทางเรือของนักเรียนนายเรือแทน จากนั้นเทศบาลตำบลปากน้ำประแสได้เสนอโครงการก่อสร้างอนุสรณ์เรือรบหลวงประแสขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ เรือรบดังกล่าวจึงถูกเคลื่อนย้ายมาตั้งอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน
ชุมชนบ้านเก่าปากน้ำประแส
พื้นที่ชุมชนประแสมีทั้งส่วนที่ติดริมน้ำและด้านในที่ไม่ติดริมน้ำ ประชากรเกือบครึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำประกอบอาชีพประมง ขณะที่ประชากรที่ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ด้านในไม่ติดริมน้ำประกอบอาชีพทำนา และทำสวน ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำประมงมีการแปรรูปให้เป็นสินค้าที่โดดเด่นของชุมชน ในชุมชนมีร้านอาหารที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก
บ้านพิพิธภัณฑ์ปากน้ำประแส

อาคารหลังนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณวิเชียร ทรัพย์เจริญ (นายก อบจ.ตราด) อนุญาตให้ใช้บ้านเดิมของท่านแก่เทศบาลตำบลปากน้ำประแส เพื่อใช้ประโยชน์เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงภาพเก่าและเรื่องราวของปากน้ำประแส ความสวยงามและสมบูรณ์ของบ้านหลังนี้เป็นภาพสะท้อนได้ดีถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมของชุมชนปากน้ำประแสในอดีต
ศาลกรมหลวงชุมพร
ศาลสมเด็จกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ศาลตั้งอยู่ริมปากแม่น้ำประแส ภายในศาลประดิษฐานรูปหล่อเท่าองค์จริงของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย และเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองระยอง

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ทุ่งโปรงทอง และป่าชายเลน
จุดเด่น คือ ต้นโปรงที่ขึ้นหนาแน่นอยู่เต็มพื้นที่สะท้อนสีเขียวอ่อน จนกลายเป็นทุ่งโปรงทองที่สวยงามแปลกตาแต่เดิมเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านทำการประมง เลี้ยงกุ้ง ทำการเกษตร ทำสวนผลไม้ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณนี้ถูกทำลายและป่าชายเลนเสื่อมโทรมลง เทศบาลตำบลปากน้ำประแสจึงได้ร่วมกับชาวบ้านพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลนแห่งนี้ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และศึกษาเรียนรู้ โดยสร้างสะพานเดินศึกษาธรรมชาติเป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร
หาดประแส
บนอนุสรณ์เรือหลวงประแส สามารถมองเห็นวิวทะเลของชายหาดประแสและวิวทะเลแบบไกลสุดตา สวยงามมาก เดินชมเรือรบหลวงแล้ว สามารถมาเดินเล่นชมวิวอันสงบของบริเวณชายหาดประแสได้ บรรยากาศร่มรื่นเป็นธรรมชาติมาก
จุดชมวิวแหลมสน
จุดชมวิวแหลมสน
มีที่จอดรถขนาดใหญ่บริการนักท่องเที่ยว มีศาลสำหรับให้นักเดินทางได้พักผ่อน จำนวน 4 หลัง โดยแบ่งเป็นหลังใหญ่ 1 หลัง และหลังเล็ก ๓ หลัง บริเวณรอบ ๆ รายล้อมด้วยต้นสนที่ให้ความร่มรื่น
มีร้านขายอาหารจำนวนมาก เป็นจุดที่สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้น – ตก เดินชมบรรยากาศริมชายหาดได้
เป็นสถานที่ที่เหมาะกับการถ่ายรูป
จุดชมวิวสะพานประแสสิน

“สะพานประแสสิน” จุดชมวิวแห่งใหม่ ของจังหวัดระยอง มองเห็นทัศนียภาพ 2 ฝั่ง ทั้งฝั่งทะเลและฝั่งชุมชนประแส เป็นสะพานข้ามแม่น้ำประแส ที่มีความยาว 2,090 เมตร หรือ 2.09 กิโลเมตร เป็นการเปลี่ยนแปลงการสัญจรทางน้ำระหว่างบ้านแหลมสน ตำบลเนินฆ้อ และตำบลปากน้ำประแสร์ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง สู่การสัญจรทางบกเพื่อลดระยะเวลาในการเดินทาง 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ โรงเรียนชุมชนวัดตะเคียนงาม
โรงเรียนชุมชนวัดตะเคียนงาม เลขที่ 223 หมู่ 2 ตำบลปากน้ำกระแส
อำเภอแกลงจังหวัดระยอง
โทร 06 3866 1918
Website: www.takien.ac.th

กิจกรรมการท่องเที่ยว

กิจกรรมท่องเที่ยว ในชุมชนคุณธรรม บ้านเก่าริมน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

ปากน้ำประแส

  • เรียนรู้การทำอาหารพื้นบ้าน
  • คาดหอย
  • ล่องเรือกินลมชมเหยี่ยวแดง
  • เดินสะพานชมทุ่งโปรงทอง
  • นั่งเรือชมคลองแสมผู้
  • นั่งสามล้อชมเมือง
  • ปลูกป่าชายเลน
  • ปั่นจักรยาน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม จังหวัดระยอง

ชุมชนคุณธรรมวัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม ตั้งอยู่ในหมู่บ้านทะเลน้อย ในสมัยก่อนหมู่บ้านทะเลน้อย มีชื่อว่า บ้านเนินสระ เพราะมีสภาพพื้นที่เป็นเนิน ติดทะเลและสระน้ำ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้าน เนื่องจากในอดีตหน้าแล้งบางปีน้ำทะเลหนุนเอ่อขึ้นมาท่วมพื้นที่ในบริเวณนี้ ทำให้มีลักษณะคล้ายทะเลเล็ก ๆ จึงเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น “บ้านทะเลน้อย”

คำขวัญบ้านทะเลน้อย “กล้วยน้ำว้าขึ้นชื่อ เลื่องลือผักกระชับ ถิ่นพักทัพเจ้าตาก ของฝากกะปิน้ำปลา ร่องธาราลำน้ำประแสร์”

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ไหว้ “ศาลสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช” สถานที่นี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ช่วงที่รวบรวมกำลังพล ก่อนที่จะเข้ายึดเมืองจันทบุรี
เจดีย์ ๑๐๐ ปี
วัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม เป็นวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด คาดว่าสร้างราวปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือก่อนนั้น หากนำมาเทียบกับประวัติศาสตร์ชาติไทยก่อนกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าล้อมกรุงและเสียกรุงเมื่อปี พ.ศ. 2310 จึงคำนวณได้ว่า วัดนี้สร้างมาเป็นเวลาประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ
อุโบสถ ๓๐๐ ปี
เป็นสิ่งก่อสร้างที่ยังคงเหลือคือ พระอุโบสถหลังเก่า ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี โครงสร้างก่ออิฐถือปูน ซุ้มประตูหน้าต่างแบบปูนปั้นประดับด้วยกระเบื้องถ้วยลายคราม กล่าวว่าเป็นผลงานสถาปัตยกรรมวัดไทยกึ่งจีนที่วิจิตรงดงามมากแห่งหนึ่งในยุคนั้น

พระพุทธรูปองค์หวาย

นมัสการ “พระพุทธรูปองค์หวาย” เป็นพระพุทธรูปหนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่ทำจากหวาย (ต้นหวาย) นามว่า “หลวงพ่อโครงหวาย” ปางมารวิชัย
ทำด้วยโครงหวายฉาบปูน
ตู้ลายรดน้ำ
“ตู้ลายรดน้ำ” เป็นของโบราณหายาก ที่มีการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี เพื่อให้คนรุ่นหลังได้มาชื่นชม

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุด Check In บ้านทะเลน้อย
เป็นสถานที่สำหรับให้นักท่องเที่ยวไปถ่ายภาพ ตั้งอยู่ห่างจากชุมชน ประมาณ ๒ กิโลเมตร ติดกับริมแม่น้ำประแสร์
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ชุมชนบ้านทะเลน้อยจะมีบริการให้นักท่องเที่ยวได้ล่องเรือเพื่อชมวิว  ๒ ชายฝั่งแม่น้ำประแสร์ ในยามเย็น และชมเหยี่ยวแดง
ล่องแพแม่น้ำ ประแสร์
ชุมชนบ้านทะเลน้อยมีบริการให้นักท่องเที่ยวล่องแพ เพื่อชมธรรมชาติทั้งสองฝั่งแม่น้ำประแสร์ เมื่อยามค่ำคืน โดยมีการชมหิ่งห้อยและตกหมึก

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านทะเลน้อย
เป็นสถานที่เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เช่น ด้านการเกษตร (เพาะผักกระชับ) การปลูกกล้วยน้ำหว้า เป็นต้น
ศูนย์การเรียนรู้เพาะผักกระชับ
ชุมชนบ้านทะเลน้อย มีการเพาะปลูกผักกระชับ ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจของชุมชน โดยนายวิสูตร ช่างเหล็ก ประธานกลุ่มเพาะปลูกผักกระชับ จะมีรายได้ต่อครัวเรือนวันละ ๗๐๐-๘๐๐ บาท และจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้าชม การเพาะผักกระชับใช้เวลาในการแช่เมล็ด 3 เดือน แต่ถ้าเมล็ดมีการงอกแล้วจะใช้เวลาปลูกประมาณ 7 – 8 วันก็สามารถนำมารับประทานได้
การเพาะปลูกกล้วยน้ำว้า
บ้านทะเลน้อย เป็นชุมชนติดแม่น้ำประแสร์ และทะเลน้อย เป็นจุดบรรจบของน้ำทะเล น้ำจืด และน้ำกร่อย กล้วยน้ำว้า บ้านทะเลน้อย ได้ฉายา “กล้วย 3 น้ำ” ซึ่งมีรสชาติเฉพาะ มีความหวาน เป็นที่ต้องการของตลาด “กล้วยน้ำว้าที่บ้านทะเลน้อยอร่อยที่สุดในโลก”

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ฟังการบรรยาย
ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้บ้านทะเลน้อย วิทยากรประจำชุมชนบรรยายภาพรวมของชุมชน ความเป็นมาของวัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม อุโบสถเก่า ๓๐๐ ปี และพระพุทธรูปโครงหวาย
สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, อุโบสถ ๓๐๐ ปี, พระพุทธรูปโครงหวายไหว้ศาลสมเด็พระเจ้าตากสินมหาราช ชมอุโบสถเก่า ๓๐๐ ปี และไหว้พระพุทธรูปโครงหวาย
เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านทะเลน้อย
ภายในชุมชนบ้านทะเลน้อย การทำปลาเค็ม เพาะปลูกผักกระชับ การสาธิตการทำหมวกใบจาก
ล่องเรือ หรือแพ
ณ ท่ากระบัก ริมแม่น้ำประแสร์ ชมธรรมชาติป่าชายเลน ปลูกป่าชายเลน และชมเหยี่ยวแดง
ซื้อของฝาก
ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้บ้านทะเลน้อย จำหน่ายของฝากจากชุมชน เช่น ปลาเค็มแดดเดียว กะปิ-น้ำปลา กล้วยตาก หมวกใบจาก เป็นต้น

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม