ชุมชนคุณธรรมบ้านเกาะแก้วพัฒนา จังหวัดสุรินทร์

เป็นชุมชนที่มี 3 ชาติพันธุ์ ลาว กูย(ส่วย) เขมร มาอยู่ร่วมกัน  อย่างสันติ และยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม และมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ทั้ง 3 ชาติพันธุ์ไว้อย่างเหนียวแน่น มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ลำห้วยทับทันที่เชื่อมต่อจากจังหวัดศรีสะเกษ ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของชุมชนบ้านเกาะแก้วพัฒนา 

มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น รำแกลมอ หรือการรำผีฟ้าของชาวลาว การรำแม่มดของชาวเขมร และรำสามเผ่า ประกอบด้วย เขมร กูย (ส่วย) ลาว  และรำสาวไหมชุมชนคุณธรรมบ้านเกาะแก้วพัฒนา  มีผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์โดดเด่นคือ ผลิตภัณฑ์แปรรูปเสื่อกก และมีอาหารพื้นถิ่นรองรับการบริการนักท่องเที่ยว อาทิ แปรรูปน้ำพริก ข้าวต้มใบมะพร้าว  ขนมเทียนสมุนไพร ไข่เค็มผู้พัน 

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดเกาะแก้ว
วัดเกาะแก้ว เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๑ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งวัดเกาะแก้วเป็นศูนย์รวมจิตใจ รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้ว
อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้ว สร้างโดยกรมชลประทาน เมื่อปี พ.ศ. 2530 มีเนื้อที่ทั้งหมด 6.50 ตารางกิโลเมตร (246.15 ไร่) พื้นที่การจัดเก็บน้ำ 5,000,000 ลูกบาศก์เมตร มีน้ำตลอดทั้งปี อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้วถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและเงียบสงบ มีภูมิทัศน์สวยงาม มีความสมบูรณ์ของธรรมชาติ เหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจ

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

โครงการ ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน
เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมา จากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

ฐานการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์
เป็นการทำการเกษตรแบบอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี และนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลของสินค้า

กิจกรรมการท่องเที่ยว

อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้ว
อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้ว สร้างโดยกรมชลประทาน เมื่อปี พ.ศ. 2530 มีเนื้อที่ทั้งหมด 6.50 ตารางกิโลเมตร (246.15 ไร่) มีน้ำตลอดทั้งปี อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้วถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและเงียบสงบ มีภูมิทัศน์สวยงาม มีความสมบูรณ์ของธรรมชาติ เหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจ

โครงการ ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน
เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมา จากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

ฐานการเรียนรู้การทอเสื่อกก
ได้เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่รอบตัว และ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย มีการนำเส้นกกมาทอเป็นของใช้ในครัวเรือน 

ฐานการเรียนรู้ข้าวต้มมัดใบมะพร้าว
เรียนรู้การห่อขนมต้มด้วยใบมะพร้าว ซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของชุมชน

ฐานการเรียนรู้การทำไข่เค็มสมุนไพร, ดินสอพอง
เรียนรู้การทำไข่เค็มสมุนไพร และชมเกษตรอินทรีย์

ล่องเรือชมป่าชุมชน ลำห้วยทับทัน
ล่องเรือชมป่าชุมชน ลำห้วยทับทัน ชมอีกาบินกลับรัง

ปั่นจักรยานในป่าชุมชน 182 ไร่
ปั่นจักรยานในป่าชุมชน 182 ไร่ ประกอบไปด้วย
– ป่าเห็ด
– ป่าต้นพยูง
– ป่าต้นพะยอม
– ป่าต้นมะดัน
– ป่าต้นกันเกรา

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านนายม จังหวัดเพชรบูรณ์

ชุมชนโบราณบ้านนายม ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของตัวเมืองเพชรบูรณ์ อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ ประมาณ 20 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศโดยรอบประกอบด้วยป่าและภูเขาสูงทอดยาวในแนวเหนือ-ใต้     มีคลองวังชมภูไหลผ่านมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมโบราณที่สำคัญ ปรากฏหลักฐานประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 บ้านนายม มีความสำคัญทางการค้าขายในท้องถิ่นเมืองเพชรบูรณ์ มีโบราณสถานที่สำคัญ งานศิลปกรรมอยุธยาตอนปลายหลายแห่ง โบสถ์ วิหาร 

ชุมชนโบราณบ้านนายม เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชน เป็นชุมชนเก่าแก่และมีขนาดใหญ่ มีโบราณสถานที่สำคัญ งานศิลปกรรมอยุธยาตอนปลายหลายแห่ง โบสถ์ วิหาร พระพุทธรูป พระเจดีย์ เช่น โบสถ์ขวางตะวัน วัดโบสถ์โพธิ์ทอง กลุ่มพระเจดีย์ย่อมุมขนาดเล็กศิลปะอยุธยาตอนปลาย7 องค์ วัดเกาะแก้ว เป็นต้น ตลอดจนการพบโบราณวัตถุที่เป็นภาชนะดินเผาและโลหะ 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดเสาธงทอง
พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรนายม
-องค์หลวงปู่ทบ เทพเจ้าลุ่มน้ำป่าสัก

วัดเกาะแก้ว
-พระประธานในโบสถ์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย
-กลุ่มพระเจดีย์ย่อมุมขนาดเล็กศิลปะอยุธยาตอนปลาย 7 องค์
-เสมาหินชนวน ศิลปะอยุธยาตอนกลาง

วัดพระนอน
เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปหลวงพ่อนอน เป็นพระพุทธรูปปางไสยยาสน์ปูนปั้นยาวประมาณ 9 เมตร คาดว่าจะเป็นพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาตอนกลาง
-พระพุทธรูปหลวงพ่อนั่ง พระประธานในโบสถ์ ปางมารวิชัยลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 1.5 เมตร 

วัดโบสถ์โพธิ์ทอง
มีโบสถ์ขวางตะวัน อาคารก่อด้วยอิฐภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะอยุธยาตอนปลาย จำนวน 8 องค์ด้านหลังโบสถ์มีปูนปั้นราหูอมจันทร์ศิลปะที่เป็น Unseen และพบร่องรอยของพระเจดีย์ก่ออิฐจำนวน 2 องค์ 

วัดถ้ำน้ำบัง
วัดถ้ำน้ำบัง ตั้งอยู่บริเวณเนินเขา ภายในมีถ้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เช่น ถ้ำระฆัง ถ้ำปลา ถ้ำชี ถ้ำพระ ฯลฯ แต่ละถ้ำมีความสวยงามแตกต่างกัน

วัดสะอาด
ตั้งอยู่ริมคลองวังชมภู เป็นวัดร้าง พบซากฐานพระเจดีย์ก่อด้วยอิฐในผังสี่เหลี่ยม ขนาดประมาณ 3 X 3 เมตร และพบบ่อน้ำโบราณมีลักษณะเด่นในการก่อสร้างอายุมากกว่า 100 ปี

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ถ้ำน้ำบัง
ถ้ำธรรมชาติ ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 บ้านถ้ำน้ำบัง ภายในถ้ำมีเล็กประกอบด้วย ถ้ำพระ ถ้ำค้างคาว ถ้ำปลา ถ้ำระฆัง

ต้นไทรรุกขมรดก
ต้นไทรเก่าแก่ มีลวดลายของรากไม้ที่สวยงาม

หนองจำปัง
หนองน้ำขนาดใหญ่ เป็นแหล่งสัตว์น้ำ ปลา กุ้ง ของตำบล และมีวิวทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม  

คลองวังชมภู
คลองวังชมภูเป็นคลองเก่าแก่ของชุมชนนายมไหลผ่านชุมชน มาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก เป็นเส้นทางคมนาคมโบราณที่สำคัญ สำหรับการขนถ่ายสินค้าจากถนนไปสู่ภายนอก

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสินเจิมศิริ
สวนอินทผาลัม ตั้งอยู่หมู่ที่ 2  สวนเกษตรผสมผสาน อินทผาลัม ปาล์ม  ยางพารา 

โรงเรียนถ้ำน้ำบัง
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

– เลี้ยงไก่ไข่
  – เลี้ยงกบคอนโด
  – เพาะเห็ด , ผักสวนครัว
  – เลี้ยงปลาดุก
  – แปลงสมุนไพร

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ดื่มกาแฟ และเที่ยวชมโบราณสถาน
ป่าช้าคาเฟ่ ณ วัดเสาธงทอง  จุดพักผ่อนสไตล์ รื่นรมย์ชมธรรมชาติ ชมโบราณสถาน ไหว้พระ  พร้อมจุดบริการกาแฟสดและอาหารพื้นบ้าน ปั่นจักรยานชมวัด 4 วัด ได้แก่ วัดเสาธงทอง วัดเกาะแก้ว วัดโบสถ์โพธิ์ทอง วัดพระนอน 

ท่องเที่ยววิถีเกษตรกรรมธรรมชาติ
วิสาหกิจชุมชนหนองผักบุ้ง
– ศูนย์สาธิตการปลูกพันธุ์ข้าวคุณภาพพันธุ์พิษณุโลก 2 /ถั่วเขียว
– ถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกพันธุ์ข้าว/ถั่วเขียว
-ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล

ตลาดนัดเกินร้อย
สี่แยกถนนนายม
-กิจกรรมตักบาตรเช้า
-เดินตลาดนัดเช้า เลือกซื้ออาหารพื้นบ้านตำบลนายม  เวลา 04.00-07.00 น.

กิจกรรมสานแกะใส่ดอกไม้ไหว้พระนอน
วัดพระนอน
-สานแกะดอกไม้ไหว้พระนอน 
-กิจกรรมชมการแสดงศิลปะพื้นบ้าน เพลงนายม
-รับประทานก๋วยเตี๋ยวเตาฟืนโบราณ 
-กิจกรรมจักสานและปรุหยวก

กิจกรรมทำขนมโก๊ย ๆ นายม
วัดเกาะแก้วทำขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมข้าวโป่ง ขนมข้าวแดกงา ขนมโก๊ย เป็นต้น

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม