ชุมชนคุณธรรมบ้านนายม จังหวัดเพชรบูรณ์

ชุมชนโบราณบ้านนายม ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของตัวเมืองเพชรบูรณ์ อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ ประมาณ 20 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศโดยรอบประกอบด้วยป่าและภูเขาสูงทอดยาวในแนวเหนือ-ใต้     มีคลองวังชมภูไหลผ่านมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมโบราณที่สำคัญ ปรากฏหลักฐานประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 บ้านนายม มีความสำคัญทางการค้าขายในท้องถิ่นเมืองเพชรบูรณ์ มีโบราณสถานที่สำคัญ งานศิลปกรรมอยุธยาตอนปลายหลายแห่ง โบสถ์ วิหาร 

ชุมชนโบราณบ้านนายม เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชน เป็นชุมชนเก่าแก่และมีขนาดใหญ่ มีโบราณสถานที่สำคัญ งานศิลปกรรมอยุธยาตอนปลายหลายแห่ง โบสถ์ วิหาร พระพุทธรูป พระเจดีย์ เช่น โบสถ์ขวางตะวัน วัดโบสถ์โพธิ์ทอง กลุ่มพระเจดีย์ย่อมุมขนาดเล็กศิลปะอยุธยาตอนปลาย7 องค์ วัดเกาะแก้ว เป็นต้น ตลอดจนการพบโบราณวัตถุที่เป็นภาชนะดินเผาและโลหะ 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดเสาธงทอง
พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรนายม
-องค์หลวงปู่ทบ เทพเจ้าลุ่มน้ำป่าสัก

วัดเกาะแก้ว
-พระประธานในโบสถ์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย
-กลุ่มพระเจดีย์ย่อมุมขนาดเล็กศิลปะอยุธยาตอนปลาย 7 องค์
-เสมาหินชนวน ศิลปะอยุธยาตอนกลาง

วัดพระนอน
เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปหลวงพ่อนอน เป็นพระพุทธรูปปางไสยยาสน์ปูนปั้นยาวประมาณ 9 เมตร คาดว่าจะเป็นพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาตอนกลาง
-พระพุทธรูปหลวงพ่อนั่ง พระประธานในโบสถ์ ปางมารวิชัยลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 1.5 เมตร 

วัดโบสถ์โพธิ์ทอง
มีโบสถ์ขวางตะวัน อาคารก่อด้วยอิฐภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะอยุธยาตอนปลาย จำนวน 8 องค์ด้านหลังโบสถ์มีปูนปั้นราหูอมจันทร์ศิลปะที่เป็น Unseen และพบร่องรอยของพระเจดีย์ก่ออิฐจำนวน 2 องค์ 

วัดถ้ำน้ำบัง
วัดถ้ำน้ำบัง ตั้งอยู่บริเวณเนินเขา ภายในมีถ้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เช่น ถ้ำระฆัง ถ้ำปลา ถ้ำชี ถ้ำพระ ฯลฯ แต่ละถ้ำมีความสวยงามแตกต่างกัน

วัดสะอาด
ตั้งอยู่ริมคลองวังชมภู เป็นวัดร้าง พบซากฐานพระเจดีย์ก่อด้วยอิฐในผังสี่เหลี่ยม ขนาดประมาณ 3 X 3 เมตร และพบบ่อน้ำโบราณมีลักษณะเด่นในการก่อสร้างอายุมากกว่า 100 ปี

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ถ้ำน้ำบัง
ถ้ำธรรมชาติ ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 บ้านถ้ำน้ำบัง ภายในถ้ำมีเล็กประกอบด้วย ถ้ำพระ ถ้ำค้างคาว ถ้ำปลา ถ้ำระฆัง

ต้นไทรรุกขมรดก
ต้นไทรเก่าแก่ มีลวดลายของรากไม้ที่สวยงาม

หนองจำปัง
หนองน้ำขนาดใหญ่ เป็นแหล่งสัตว์น้ำ ปลา กุ้ง ของตำบล และมีวิวทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม  

คลองวังชมภู
คลองวังชมภูเป็นคลองเก่าแก่ของชุมชนนายมไหลผ่านชุมชน มาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก เป็นเส้นทางคมนาคมโบราณที่สำคัญ สำหรับการขนถ่ายสินค้าจากถนนไปสู่ภายนอก

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสินเจิมศิริ
สวนอินทผาลัม ตั้งอยู่หมู่ที่ 2  สวนเกษตรผสมผสาน อินทผาลัม ปาล์ม  ยางพารา 

โรงเรียนถ้ำน้ำบัง
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

– เลี้ยงไก่ไข่
  – เลี้ยงกบคอนโด
  – เพาะเห็ด , ผักสวนครัว
  – เลี้ยงปลาดุก
  – แปลงสมุนไพร

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ดื่มกาแฟ และเที่ยวชมโบราณสถาน
ป่าช้าคาเฟ่ ณ วัดเสาธงทอง  จุดพักผ่อนสไตล์ รื่นรมย์ชมธรรมชาติ ชมโบราณสถาน ไหว้พระ  พร้อมจุดบริการกาแฟสดและอาหารพื้นบ้าน ปั่นจักรยานชมวัด 4 วัด ได้แก่ วัดเสาธงทอง วัดเกาะแก้ว วัดโบสถ์โพธิ์ทอง วัดพระนอน 

ท่องเที่ยววิถีเกษตรกรรมธรรมชาติ
วิสาหกิจชุมชนหนองผักบุ้ง
– ศูนย์สาธิตการปลูกพันธุ์ข้าวคุณภาพพันธุ์พิษณุโลก 2 /ถั่วเขียว
– ถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกพันธุ์ข้าว/ถั่วเขียว
-ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล

ตลาดนัดเกินร้อย
สี่แยกถนนนายม
-กิจกรรมตักบาตรเช้า
-เดินตลาดนัดเช้า เลือกซื้ออาหารพื้นบ้านตำบลนายม  เวลา 04.00-07.00 น.

กิจกรรมสานแกะใส่ดอกไม้ไหว้พระนอน
วัดพระนอน
-สานแกะดอกไม้ไหว้พระนอน 
-กิจกรรมชมการแสดงศิลปะพื้นบ้าน เพลงนายม
-รับประทานก๋วยเตี๋ยวเตาฟืนโบราณ 
-กิจกรรมจักสานและปรุหยวก

กิจกรรมทำขนมโก๊ย ๆ นายม
วัดเกาะแก้วทำขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมข้าวโป่ง ขนมข้าวแดกงา ขนมโก๊ย เป็นต้น

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดสัปรสเทศ จังหวัดสุพรรณบุรี

ชุมชนคุณธรรมวัดสัปรสเทศ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ ริมแม่น้ำท่าจีน ตรงบริเวณส่วนโค้งของแม่น้ำ มีวัดสัปรสเทศเป็นศูนย์รวมในการจัดกิจกรรมของชุมชน โดยมีท่านพระครูภัทรกิตติสาร เป็นเจ้าอาวาสวัดสัปรสเทศ เป็นผู้นำพลังบวรที่เข้มแข็ง

ชุมชนคุณธรรมวัดสัปรสเทศ เป็นชุมชนที่โดดเด่นด้านศาสนา ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี มีแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนา โดยมีวัดสัปรสเทศ ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่โดยผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเป็นชุมชนโบราณ มีมาตั้งแต่ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในวัดมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีการสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ญาติโยม เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดสัปรสเทศ
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ติดริมแม่น้ำท่าจีน วัดสับปะรดเทศ มีมณฑปซึ่งภายในประดิษฐาน พระแท่นดงรังจำลอง รอยพระพุทธบาทจำลองและพระพุทธรูปปางถวายพระเพลิง ซึ่งหาชมได้ยาก

วัดไก่เตี้ย
สภาพเดิมเป็นวัดร้าง จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๒๘    มีภิกษุสงฆ์จากวัดเสาธงทองได้เข้ามาจำพรรษาและฟื้นฟู จนมีฐานะเป็นวัดราษฎร์ในปัจจุบัน     อีกทั้งยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ พลวงพ่อเพชร ให้เคารพกราบไหว้ขอพร
วัดเสาธงทอง
วัดเสาธงทองตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน เป็นวัดโบราณไม่ทราบประวัติแน่นอนว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนในอดีตเพราะปรากฏว่ามี ปูชนียวัตถุโบราณที่ขึ้นทะเบียนกรมศิลปากร 2 อย่าง คือ

  1. พระพุทธบาทหินแดง
  2. พระพุทธรูปศิลาและเขตพุทธาวาส ก่อนที่จะมีการบูรณะสร้างขึ้นใหม่

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สะพานชนะใจ
“สะพานชนะใจ” จุดชมวิวที่ชาวบ้านวังยางสร้างทอดลงไปในนาแห้ว นาข้าว ให้นักท่องเที่ยวได้ชมชีวิตวิถีเกษตรกรอย่างใกล้ชิด พร้อมวิวถ่ายภาพที่สวยงาม

จุดให้อาหารปลาวัดสัปรสเทศ
จุดให้อาหารปลาอยู่ภายในบริเวณวัดสัปรสเทศ ติดริมแม่น้ำท่าจีน โดยจะมีอาหารปลาทั้งแบบเม็ดและขนมปัง ให้ประชาชนได้ร่วมทำบุญ

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนมัลเบอรี่ บ้านสวนมุมเพลิน
สวนมัลเบอรี่ บนเนื้อที่กว่า ๕ ไร่ พร้อมด้วยสวนแคคตัสกับบรรยากาศบ้านสวนมุมเพลินบริการด้วยเครื่องดื่มและเบเกอรี่ ชมวิวท้องทุ่งนาและปลาหลากหลายสายพันธุ์ พร้อมชิมมัลเบอรี่สด ๆ จากต้น 

สวนเกษตรลุงใหญ่
สวนเกษตรลุงใหญ่ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดไก่เตี้ยเป็นสวนเกษตรที่ดำเนินการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ภายในสวน มีมุมถ่ายรูปสวย ๆ ที่ทางชาวบ้านได้จัดเอาไว้ให้กับนักท่องเที่ยว

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การเก็บหัวแห้ว
นาแห้ว ตำบลวังยาง ก่อนที่จะลงนาไปงมแห้วนั้น เราจะต้องเตรียมพร้อมด้วยการใส่รองเท้าบูทยาง และใส่ถุงมือยาง เพื่อป้องกันการเลอะเทอะเปรอะเปื้อน ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวก็เริ่มจากเดินลุยน้ำลงไปที่กลางนาแห้ว จากนั้นก็ใช้มือจ้วงลงไปในดินเพื่อควานหาหัวแห้วที่ฝังอยู่ในใต้ดิน เมื่อหาเจอแล้วก็โกยขึ้นมาใส่ในตะกร้าเล็ก ๆ แล้วนำไปล้างดินโคลนให้หลุดออกจากหัวแห้ว 

การทำทับทิมกรอบ
ร้านแห้วมีคุณอนันต์ นำแห้วที่เก็บมาสด ๆ ล้างให้สะอาด จากนั้นปอกเปลือกสีดำออกให้หมด แล้วหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า ตักใส่ถ้วยราดด้วยน้ำหวานเฮลซ์บลูบอยสีแดง ตักช้อนขึ้นให้เสด็จน้ำมาคลุกเคล้ากับแป้งมันสำปะหลัง จากนั้นร่อนแป้งออกเหลือเพียงที่ติดอยู่กับแห้ว นำไปต้มจนแป้งสุกได้ที่ และใช้ตะแกรงช้อนขึ้นมาน๊อคน้ำแข็งก่อนนำไปใส่ถ้วย จากนั้นราดด้วยน้ำกะทิแล้วโปะด้วยน้ำแข็ง เพียงเท่านี้ก็ได้ขนมหวานชามโปรด จากแห้วที่เก็บด้วยมือของเรา

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมเกาะเกร็ด จ.นนทบุรี

เกาะเกร็ด เป็นพื้นที่ที่ชาวมอญส่วนใหญ่อพยพมาอาศัยอยู่ตั้งแต่ต้น โดยใช้เครื่องปั้นดินเผามาเป็นเครื่องมือในการทำมาหากิน ผสานกับเรื่องราวศิลปะของชาวมอญที่ค่อย ๆ ผสมไปในวิถีชีวิตของคนไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นพื้นที่ที่ชาวมอญอาศัยอยู่ร่วมกับชาวไทยและชาวอิสลามในพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งมีวัฒนธรรมลมหายใจแห่งชีวิต ศิลปะ และประวัติศาสตร์มอญอายุกว่า 200 ปี 

การแต่งกาย และภาษาที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวมอญ แต่ปัจจุบันการใช้ภาษาชาวมอญเริ่มน้อยลง เนื่องจากผู้สูงเริ่มเสียชีวิตลง แต่การแต่งกายยังคงเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่มชุมชน ไทย มอญ และมุสลิม ซึ่งการแต่งกายเป็นสิ่งที่สะท้อนวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละชุมชนได้เป็นอย่างดี

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร
เดิมชื่อ “วัดปากอ่าว” พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตน์ราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์ มาแต่ทรงพระเยาว์ และพระราชทานวัดว่า “วัดปรมัยยิกาวาส” และประดิษฐ์ “พระนนทมุนินท์” พระประจำจังหวัดนนทบุรี
วัดฉิมพลี
ชื่อเดิม “วัดป่าฝ้าย” ได้ถูกทิ้งร้างพร้อมกับวัดป่าเลไลย์ที่อยู่ติดกัน รัชกาลที่ ๒ประมาณ พ.ศ. ๒๓๕๘ ได้บูรณะวัดครั้งใหญ่ และเปลี่ยนชื่อเป็น ”วัดฉิมพลีสุทธาวาส” มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ อุโบสถขนาดเล็ก มีความงดงามเป็นเลิศ มีเจดีย์มุมสิบสอง และเจดีย์องค์เล็ก ๔ องค์ ล้อมเจดีย์องค์ใหญ่ วัดฉิมพลีสุทธาวาส ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำลัดเกร็ด
วัดไผ่ล้อม
วัดที่สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย พระอุโบสถสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๑๘ โดยพระยาเจ่ง ต้นตระกูลคชเสนีย์ ผู้คุมไพร่พลกองมอญที่เข้ามาอาศัยพึ่งพระบรมโพธิสมภารและให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดนนทบุรีขึ้นไปถึงอำเภอสามโคกจังหวัดปทุมธานี โบราณสถานที่สำคัญ คือ อุโบสถ วัดไผ่ล้อม เป็นอาคารขนาดทรงโรงขนาด ๕ ชั้น ก่ออิฐถือปูน หน้าบันไดไม้จำหลักลายดอกพุดตานใบเทศปิดทองประดับกระจกทั้งหมด 

วัดเสาธงทอง
เดิมชื่อว่า วัดสวนหมาก เพราะมีต้นหมากขึ้นอยู่โดยรอบ (ภายหลังต้นหมากถูกตัดออกจนหมดแล้ว) วัดนี้สร้างขึ้นโดยชาวมอญที่เข้ามาอาศัยอยู่ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเรียกวัดนี้ว่า    เพ๊ยะอาล๊าต ต่อมาวัดนี้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดเสาธงทอง ในช่วงปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากได้สร้างเสาหงส์หลายต้นปักเรียงรายอยู่หน้าวัด ปัจจุบันไม่มีเสาเหล่านี้ตั้งอยู่แล้ว เพราะชำรุดทรุดโทรมมาก พระอุดมญาณมุนี อดีตเจ้าอาวาสจึงให้รื้อถอนออก
หอไทยนิทัศน์ฯ
ตั้งอยู่ภายในวัดปรมัยยิกาวาส โดยมีอาคารสองชั้น ซึ่งแต่เดิมเป็นกุฏิของอดีตเจ้าอาวาส สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นอาคารจัดแสดง ชั้นล่าง หรือ หอไทยนิทัศน์เครื่องปั้นดินเผา ได้รับการสนับสนุนจาก สวทช. จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาเป็นหลัก โดยได้จำลองเตาเผาและหุ่นจำลองของช่างทำเครื่องปั้นดินเผาไว้ มีมุมฉายวีดิทัศน์เรื่องราวต่าง ๆ อาทิ ขนมไทยที่มีชื่อเสียงของเกาะเกร็ด พื้นที่ส่วนใหญ่ในอาคาร ได้จัดแสดงวิวัฒนาการของเครื่องปั้น ดินเผาที่พบในประเทศไทย และมีตัวอย่างของเครื่องปั้นดินเผาในภาคต่าง ๆ จัดแสดงด้วย  
พิพิธภัณฑ์ ร.๕
วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร เดิมชื่อวัดปากอ่าว เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ถูกทิ้งร้างหลังจากเสียกรุงครั้งที่ ๒ จนถึง พ.ศ. ๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญอพยพมาตั้งบ้านเรือนที่เกาะเกร็ด พระสุเมธาจารย์ (เถ้า) พระเถระผู้ใหญ่ฝ่ายรามัญได้รวบรวมผู้มีจิตศรัทธาสร้างเจดีย์ทรงรามัญ ชื่อเจดีย์ร่างกุ้ง รวมทั้งพระพุทธไสยาสน์ขึ้น ต่อมาท่านได้เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดนี้ พ.ศ. ๒๔๑๗ 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

บ้านดินมอญ
จากศิลปะภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า ๒๐๐ ปี เครื่องปั้นดินเผา ชาวมอญ เกาะเกร็ด จากรุ่นคุณย่า คุณปู่ มาจนถึง รุ่นหลาน สามารถผสมงานศิลปะไทย ทำให้เครื่องปั้นดินเผา กลายเป็นสินค้าที่มีมูลค่า มีความงดงาม และผลิตเพียงชิ้นเดียวในโลกเท่านั้น
บ้านศิลป์สยาม
หัวหนุมาน สำหรับบ้านศิลป์สยามสร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธา และเป็นแรงบันดาลใจในการศึกษาและอนุรักษ์ไว้ให้คนไทยและชาวต่างชาติได้ชม เป็นแหล่งเรียนรู้ สร้าง สรรค์ แบ่งปัน งานศิลป์แบ่งเป็น ๒ ชั้น คือ บริเวณใต้ถุนบ้านจำลองเป็นถ้ำ มีมุมนิทรรศการให้เราเรียนรู้เรื่องราวของโขนด้วยตัวเอง ส่วนชั้นบนมีงานศิลปะไทยที่แสดงถึงความปราณีตของงานศิลป์ของไทย เพื่อจะได้ตระหนักถึงคุณค่าที่บรรพบุรุษเราได้สร้างให้พวกเราจนถึงปัจจุบัน รวมถึงจำหน่ายงานศิลปะสวย ๆ ด้วย ส่วนด้านข้างเป็นลานสานศิลป์ สำหรับจัดกิจกรรมงานฝีมือ

ลุงติดินเปอะ
งานปั้นเครื่องปั้นดินเผาที่เคยรุ่งเรืองในอดีต บ่งบอกถึงความเจริญของยุคสมัย มาบัดนี้ความงามและความรุ่งโรจน์ที่เคยมีให้เห็น กำลังจะเลือนหายไปตามกาลเวลา ทว่าก็มีคนกลุ่มหนึ่งที่ยังคงอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมนี้ไว้ 
หมู่บ้านโอ่งอ่าง
บ้านโอ่งอ่างของเกาะเกร็ด เป็นสถานที่ขึ้นชื่อเรื่องของการปั้นเครื่องปั้นดินเผาของชาวมอญเมืองนนท์ หมู่บ้านโอ่งอ่างตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะเกร็ด ระหว่างวัดไผ่ล้อมและวัดปรมัยยิกาวาส ตั้งอยู่ในชุมชนหมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๖ และหมู่ที่ ๗ ชาวมอญเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “กวานอาม่าน” ที่แปลว่าหมู่บ้านเครื่องปั้นเพราะแต่เดิมคนในหมู่บ้านแห่งนี้เป็นชาวมอญที่เคยทำเครื่องปั้นดินเผาจากหมู่บ้านกวานอาม่านในเมืองมอญ ได้มาทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นแห่งแรกที่หมู่บ้านนี้ในสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งคนไทยในชุมชนจะเรียก ๓ หมู่บ้านในเกาะเกร็ดนี้ว่า “บ้านมอญ”
หัตถกรรมเครื่องปั้นหมู่ ๑
แหล่งข้อมูลสินค้าโอทอปหนึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากดินเหนียวท้องนา การทำเครื่องปั้นดินเผาสืบทอดมาจากบรรพบุรุษชนชาติมอญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ในปัจจุบันเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ดได้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยมากขึ้น ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่ม เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นด้วย

สหกรณ์จักสาน
ก่อตั้งเมื่อ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ในความอนุเคราะห์จากผู้อำนวยการสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ ได้สนับสนุนให้กลุ่มดำเนินการฝึกหัดทำตะกร้าและภาชนะต่าง ๆ จากเส้นพลาสติกและทางมะพร้าวซึ่งเป็นวัสดุที่มีในพื้นที่ เพื่อให้สตรีที่เป็นแม่บ้านที่มีเวลาว่างได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์และก่อให้เกิดรายได้เป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัวได้ ส่วนหนึ่งเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสังคมไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้อื่น โดยสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ ได้เข้ามาสอบถามปัญหาและความต้องการของกลุ่มแม่บ้าน และได้จัดอบรมจักสานพลาสติกให้แก่กลุ่มแม่บ้านให้ไปอบรมจักสานพลาสติกเป็นระยะ เวลา ๑ ปี
ครูอุ้มนาฎศิลป์
นาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปะการแสดงประจำชาติ เป็นสมบัติของชาติที่มีคุณค่าสูง เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้ และได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นแบบแผนที่ยึดถือปฏิบัติแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ สืบทอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การแสดงนาฏศิลป์เป็นการแสดงที่ใช้ท่ารำประกอบ เพื่อสื่อให้ผู้ชมเข้าใจเรื่องราวของการแสดง ทำให้ได้รับความเพลิดเพลิน มีความสุขที่ได้ชม ได้ฟัง 
ลัดดาบาติก
ได้ไปเรียนรู้วิธีการทำ และนำมาเผยแพร่แก่ชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มขึ้นและเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้มีการสาธิต การทำผ้าบาติก การทำดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยบัวและการทำจักสาน ซึ่งเป็นงานฝีมือ ศิลปหัตถกรรมประจำชุมชนเกาะเกร็ด ผ้าบาติกเกาะเกร็ด มีลวดลายที่สวยงาม
บ้านธาตุดิน
มุมเล็ก ๆ ที่ยังคงตั้งใจผลิตผลงานหัตถศิลป์จากดิน ที่สร้างสรรค์ลวดลายได้อย่างวิจิตรงดงาม จนเป็นลายเอกลักษณ์และยากยิ่งที่ใครจะเลียนแบบ เช่น ลายดอกพุดตาน ลายเครือเถาว์ ฯลฯ ที่มีรายละเอียดความตื้น ลึก ชัด สร้างมิติให้กับชิ้นงานได้อย่างงดงามและลงตัว ยังมีผลงานอีกหลายรูปแบบของบ้านธาตุดินที่ไม่ได้ทำเพื่อการค้า แต่ทำเพื่อเลี้ยงชีพและหล่อเลี้ยงให้งานศิลปะนี้ยั่งยืนอยู่คู่เกาะเกร็ดต่อไป

โรงสีสตูดิโอ
เป็นโรงสีข้าวได้นำมาดัดแปลงเป็นคาเฟ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เจ้าของได้ดัดแปลงโรงสีเก่าแก่ที่มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี มาเป็นคาเฟ่เก๋ ๆภายในคาเฟ่แบ่งออกเป็น ๔ โซนด้วยกัน โดยโซนแรกจะเป็นห้องแอร์ ตกแต่งได้สวยงามและคลาสสิค เหมาะสำหรับใครที่ชอบนั่งชิลล์ ซึมซับบรรยากาศเก่า ๆ ท่ามกลางอากาศเย็นสบายตลอดทั้งวัน โซนที่สองจะเป็นโซนเอาท์ดอร์ ที่เต็มไปด้วยต้นไม้หลากหลายพันธุ์ ถือเป็นอีกหนึ่งโซนที่สดชื่นโซนที่สาม จะเป็นโซนริมน้ำ ซึ่งโซนนี้ถือเป็นไฮไลท์ ของที่นี่เลยก็ว่าได้ เพราะเราจะได้เห็นวิวโค้งน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาแบบพาโนรามา ยิ่งถ้าได้มาช่วงแดดร่มลมตก เย็นถึงค่ำ ลมพัดเอื่อย วิวสวย “ฟิน” ปิดท้ายกันที่โซนที่พัก จะเปิดเป็นโฮมสเตย์เล็ก ๆ บรรยากาศอบอุ่น ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่อยากพักผ่อนริมน้ำแบบ Slow Life  
เรือนไทย ๑๐๐ ปี
คาเฟ่เรือนไทยอายุเก่าแก่กว่า ๑๐๐ ปี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหมาะสำหรับนั่งชิว ๆ พักผ่อน สัมผัสกับธรรมชาติ และมีมุมถ่ายรูปเก๋ ๆ

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนเกร็ดพุทธ
ตำบล เกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทร. 09 3218 8056
สวนเมล่อน
สมุนไพรชารางแดง

สมุนไพรบ้านย่าสา
สวนทุเรียนนายกสมชาย
สวนเกร็ดแก้ว
ศูนย์นวดแผนไทย

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

ปั้นดิน
บ้านดินมอญ ใช้ดิน ปั้นดินขึ้นรูปทรงต่าง ๆ
ปั้นโอ่งดินเผา
ลุงติดินเปอะ เป็นการปั้นโอ่งหรือกระถาง
เขียนโขน
บ้านศิลป์สยาม ใช้หัวโขนเล็กฝึกหัดเขียนหัวโขน

รดน้ำปิดทอง
บ้านศิลป์สยาม การใช้สีเหลืองเขียนแล้วติดแผ่นทอง
หมักดินเขียนไทย
บ้านศิลป์สยาม การใช้เสื้อผ้าสีขาวมาหมักดิน และเขียนลายไทย
กระดาษเกร็ดชวา
บ้านศิลป์สยาม ให้รู้กระบวนการรีดผักตบชวาเป็นแผ่นกระดาษ
ปั่นจักรยาน
จักรยาน เป็นการเช่าจักรยานเพื่อปั่นรอบเกาะเกร็ด

เขียนบาติก
ลัดดาบาติก เป็นงานเขียนด้วยเทียนลงบนผ้าและลงสี
ปั้นแต่งโอ่ง
บ้านศิลป์สยาม การใช้โอ่งจากชุมชนแล้วนำดินมาปั้นแต่งบนโอ่งตามจินตนาการ
ทำขนมหวาน
ขนมหวานป้าเล็ก ให้รู้เทคนิคการทำขนมไทย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม