เขื่อนพระปรง จังหวัดสระแก้ว

ที่ตั้ง ตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
๑. เขื่อนพระปรงเป็นเขื่อนชลประทานที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดสระแก้ว โดยเป็นหนึ่งในโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่สร้างขึ้นเพื่อกั้นต้นน้ำห้วยพระปรง อันเป็นลำน้ำที่ไหลมาจากอุทยานแห่งชาติปางสีดา ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติรายรอบ เขื่อนพระปรงจึงเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่มาพร้อมกับ กิจกรรมความสุขหลากหลายอย่างการนั่งเรือหรือล่องแพชมความงามบนผืนทะเลสาบเหนือเขื่อน ชมนกน้ำนานาชนิด โดยเฉพาะนกอ้ายงั่วหรือนกงูที่พากันออกมาหากินในช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกรกฎาคม หรือเลือกทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ เช่น เดินป่าศึกษาธรรมชาติ การเย่อกับปลาริมเขื่อน
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลา ๐๘.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. .
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
– ท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี แต่หากอยากชมนกอ้ายงั่วหรือนกงูต้องมาในช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
กิจกรรมนั่งเรือหรือล่องแพชมความงามบนผืนทะเลสาบเหนือเขื่อน ชมนกน้ำนานาชนิด เดินป่าศึกษาธรรมชาติ การเย่อกับปลาริมเขื่อน 
๖. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 3726 1667, 0 3724 2667
๗. ช่องทางออนไลน์ –
๘. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

บ้านสวนขวัญโฮมสเตย์ จังหวัดลพบุรี

ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
๑.ประเภทของที่พัก โฮมสเตย์
๒.จำนวนห้อง 1 หลัง/ห้อง
๓.ประเภทห้องพัก/ราคา
ห้องพัก Standard Superior Deluxe Suit Family Room ราคา 350-750 บาท
๔.สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ
– ล่องแพชมวิวแม่น้ำบางขาม
– ดำนาเกี่ยวข้าว
– ชมบ้านไทยหลบโจร
– ทำพิซซ่าเตาถ่าน
– ปั้นขนมลูกชุบ
– ทำกระถางจากผักตบ
– ทำสบู่สมุนไพร
– ทำยาหม่องสมุนไพร
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
คุณอิงณภัสร์ วงษ์สิทธิชัย
ประธาน วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว วิถีชุมชนเชิงเกษตร เบอร์โทร 08 4775 1435
๖.ช่องทางออนไลน์
– Facebook : บ้านสวนขวัญ / อิงณภัสร์ วงษ์สิทธิชัย
– line id : hi_kwan

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก

ที่ตั้ง ตำบลสามเงา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
๑.เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เขื่อนยันฮี เป็นเขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรกในประเทศไทยสร้างเป็นเขื่อนคอนกรีตรูปโค้งขนาดใหญ่ที่สูงที่สุดในประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์ จัดอยู่ในอันดับ ๘ ของโลก มีความสูงจากฐานถึงสันเขื่อน ๑๕๔ เมตร เขื่อนภูมิพลเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งแห่งเดียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นอันดับ ๘ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกทั้งยังเป็นเขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย เดิมทีเขื่อนแห่งนี้มีชื่อว่าเขื่อนยันฮี ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๐๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อเขื่อนว่าเขื่อนภูมิพล และต่อมาพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๑๕๐๔ ทั้งนี้ การสร้างเขื่อนแห่งนี้ขึ้นมานั้น เพื่อปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง ๒๕๐ เมตร สูง ๑๕๔ เมตร ยาว ๔๘๖ เมตร ความกว้างของสันเขื่อน ๖ เมตร โดยอ่างเก็บน้ำของเขื่อนนับว่ามีความจุสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดที่สำคัญของเมืองไทย

กิจกรรมน่าสนใจ

– พักผ่อนหย่อนใจชมวิวริมสันเขื่อน
– เดินป่าศึกษาธรรมชาติสองฝั่งลำน้ำปิงเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ตื่น โดยเป็นเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติสภาพป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ความหลากหลายของเขาหิน ลำห้วย และน้ำตก
– ล่องแพและเรือในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล โดยเป็นการล่องแพที่ใช้เรือลากจูง หรือเดินทางด้วยเรือสำราญ เพื่อสัมผัสกับธรรมชาติและภูมิประเทศป่าเขา ผ่านแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้แก่ พระพุทธบาทเขาหนาม เกาะวาเลนไทน์ ดอยเจ้าพ่อหลวง เขาพระพุทธบาท ถ้ำอาบนาง โบราณสถานแก่งสร้อย จนถึงดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ รวมระยะทาง ๒๐๔ กิโลเมตร
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดดำเนินการทุกวัน เวลา ๐๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
สามารถเที่ยวได้ตลอดทุกช่วงเวลา
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
เที่ยวชมทัศนียภาพที่สันเขื่อนภูมิพล ล่องแพแม่น้ำปิง
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐ ๕๕๘๑ ๑๒๓๘
๗.ช่องทางออนไลน์
Facebook : เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

สะพานเทพสุดา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ที่ตั้งเลขที่ 200 หมู่ที่ 11 ตำบล โนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

๑.สะพานเทพสุดา เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 2 ช่องจราจร ข้ามเขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ จากบริเวณแหลมโนนวิเศษ ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ ถึงบริเวณเกาะมหาราช ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรีเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 498,850,000 บาท ความยาว 2,040 เมตร ถนนต่อเชื่อมโครงการผิวจราจรกว้าง 7 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.50 เมตร ภายใต้การกำกับดูแลของกรมทางหลวงชนบท สร้างเสร็จในเดือนธันวาคม 2553 ถือเป็นสะพานข้ามน้ำจืดที่ยาวที่สุดในประเทศไทย โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553 และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานเทพสุดาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ออกแบบประติมากรรมรูปหล่อไดโนเสาร์ ติดตั้งบริเวณราวสะพานทั้ง 2 ข้าง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ บนสะพานเทพสุดา สามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามบริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำลำปาวได้อย่างชัดเจน สนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดกาฬสินธุ์ และการท่องเที่ยวในภูมิภาค
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ เปิดบริการทุกวัน
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (เดือนเมษายนในห้วงเทศกาล สงกรานต์)
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕.กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
– ล่องแพ ชมทิวทัศน์แม่น้ำปาว ชมพระอาทิตย์ยามสนธยา
– ตกปลา /ชมวิถีชีวิตชาวประมง
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 6162 8755,08 1953 6804
๗.ช่องทางออนไลน์ เพจ:การท่องเที่ยวอำเภอสหัสขันธ์ ,
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ /จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านบุ่ง จังหวัดมุกดาหาร

บ้านบุ่งเป็นหมู่บ้านตั้งอยู่พื้นราบท่ามกลางภูเข้าล้อมรอบที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม กลางทุ่งนาเขียวขจีในช่วงฤดูฝนและสีเหลืองทองอร่ามในช่วงฤดูหนาว มีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับมีวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสานที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น 

ชุมชนคุณธรรมบ้านบุ่งเป็นชุมชนเล็กๆ ตั้งอยู่ทางกลางหุบเขา มีความเป็นอยู่ตามแบบวัฒนธรรมชาวไทยอีสานชาวบ้านมีความสุขตามวิถีและมีความพร้อมในการเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการต้อนรับนักท่องเที่ยวโดยวิถีวัฒนธรรมและธรรมชาติอย่างกลมกลืนสร้างความประทับใจให้กับแขกผู้มาเยือนดุจญาติมิตรโดยความร่วมมือร่วมพลังความสามัคคีช่วยเหลือกันของคนในชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดธรรมรังษี
เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางชุมชนระหว่างหมู่ ๔ และหมู่ ๕ เป็นจุดศูนย์กลางของชุมชน โดยมีกุฏิโบราณตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าศาลาการเปรียญ เป็นแหล่งข้อมูลทางวัฒนธรรมของชุมชนที่มีความสำคัญและคุณค่าต่อชุมชน

วัดถ้ำต่องแต่ง
ตั้งอยู่บนไหล่เขาภูผาขามทางด้านทิศใต้ของหมู่บ้าน ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 2 กม. เป็นสถานที่สวยงาม ลักษณะเป็นถ้ำลึกเข้าไป ภายในถ้ำจะมีน้ำหยดติ๋ง ๆ อยู่ตลอดปี ตอนที่น้ำหยดลงภายในถ้ำจะเกิดเสียง ต่องแต่ง ๆ ตลอดเวลา
ชาวบ้านจึงเรียกถ้ำนี่ว่า “ถ้ำต่องแต่ง” ถ้ำแห่งนี้ยังเคยเป็นสถานที่ที่เกจิอาจารย์ชื่อดังเคยธุดงค์ผ่านมา แวะเข้ามาบำเพ็ญเพียรภาวนา เป็นต้นว่า “หลวงปู่สมชาย” แห่งวัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิววัดถ้ำต่องแต่ง
ตั้งอยู่บนไหล่เขาภูผาขามทางด้านทิศใต้ของหมู่บ้าน ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 2 กม. 

เส้นทางเดินป่าชุมชนบ้านบุ่ง
ถัดจากวัดถ้ำต่องแต่งไปจะเป็นเส้นทางเดินป่า เพื่อศึกษาธรรมชาติของชุมชน โดยเป็นป่าสมุนไพรที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยจะมีไกด์ชุมชนเป็นผู้นำทาง ซึ่งระหว่างทางเดินจะได้เจอกับความอุดมสมบูรณ์ของป่า พรรณไม้ต่าง ๆ ที่สวยงามและมีสรรคุณทางการรักษามากมาย

กิจกรรมล่องแพลำห้วยแม่น้ำบังอี่
บ้านบุ่งเป็นชุมชนที่มีลักษณะยาวไปตามลำห้วยบังอี่ เป็นแหล่งน้ำที่มาจากภูเขาของชุมชน จึงมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งทำมาหากินของคนในชุมชน ชาวบ้านจึงได้จัดทำแพเพื่อไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวได้ชมวิถีธรรมชาติและวิถีของชาวบ้านตามลำน้ำห้วยบังอี่

กิจกรรมเรียนรู้วิถีชุมชน
เป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นตามวิถีของชุมชนหรือตามฤดูกาล อาทิ การดำนา การเกี่ยวข้าว การปลูกพืชผักหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว หรือวิถีการทำมาหากินของชุมชน เป็นต้น โดยนักท่องเที่ยวสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนลงพื้นที่ ซึ่งจะได้สัมผัสวิถีของชุมชนอย่างแท้จริง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนดินน์มูน
เป็นสวนเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของชุมชน โดยนางดาลินน์   ผาลิวงค์ ตั้งอยู่บริเวณเส้นทางหลวงชนบท 3002 มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ โดยสามารถบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้วิธีการดำเนินการในวิถีเกษตรได้

กิจกรรมการท่องเที่ยว

กิจกรรมต้อนรับนักท่องเที่ยว
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว  บ้านบุ่ง เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงบ้านบุ่ง ชาวบ้านจะมีการต้อนรับนักท่องเที่ยวโดยให้นักท่องเที่ยวได้พักผ่อนตามอัธยาศัย ดื่มน้ำสมุนไพรเย็น ๆ หลังจากนั้น ก็ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม รำต้อนรับโดยกลุ่มเด็กเยาวชนของชุมชน และเข้าสู่การบรรยายข้อมูลและโปรแกรมการท่องเที่ยวต่อไป

กิจกรรมปั่นจักรยานรอบ ๆ ชุมชน
รอบ ๆ บ้านบุ่ง นั่งท่องเที่ยวสามารถปั่นจักรยานชมวิถีชีวิตชาวบ้านบุ่งชมวิวพร้อมเช็คอินสะพานอุปคุต ชมเขื่อนกั้นน้ำลำห้วยบังอี่

นั่งรถอีแต๋นชมวิว
รอบๆบ้านบุ่ง นั่งรถอีแต๋นชมวิว เป็นกิจกรรมที่จะนำพานักท่องเที่ยวชมถนนที่สวยที่สุดในมุกดาหาร เพราะเป็นถนนที่มีภูเขาล้อมรอบ 360 องศา และรายล้อมไปด้วยทุ่งนาอันเขียวขจีในฤดูฝนและสีเหลืองอร่ามเป็นทุ่งรวงทองในฤดูหนาว

กิจกรรมเดินป่าและสำรวจป่าสมุนไพร
พื้นที่ภูเขาภูผากูดและภูผาขาม ด้วยบ้านบุ่งเป็นพื้นที่เต็มไปด้วยทรัพยากรด้วยธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นพื้นที่มีสมุนไพรที่มีความหลากหลายเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ กิจกรรมเดินป่าและสำรวจป่าสมุนไพรจึงเป็นการท่องเที่ยว  เชิงอนุรักษ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนที่ต้องห้ามพลาด

กิจกรรมประกอบอาหารพื้นถิ่น
ศูนย์การเรียนรู้โฮมสเตย์บ้านภู เป็นการให้นักท่องเที่ยวร่วมประกอบอาหารกับชุมชน โดยส่วนใหญ่จะเป็นอาหารพื้นถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบจากพืชผักสวนครัว  การประกอบอาหารและร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน

กิจกรรมพาแลง
ศูนย์การเรียนรู้โฮมสเตย์บ้านภู กิจกรรมพาแลง จะประกอบไปด้วย การชมแสดงศิลปวัฒนธรรมของชุมชน กิจกรรมการบายศรีสู่ขวัญ ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าบ้านและนักท่องเที่ยวโดยมีการทำพิธีตามฉบับของชาวอีสาน การผูกข้อมืออวยพร  ซึ่งกันและกันและการรับประทานอาหารพื้นบ้านที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรซึ่งเป็นอาหารพื้นถิ่นที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาเที่ยวบ้านบุ่ง  

กิจกรรมศึกษาเรียนรู้การทอผ้าและการย้อมสีธรรมชาติ
กลุ่มทอผ้าบ้านบุ่ง นักท่องเที่ยวจะได้ศึกษาวิธีการย้อมสีผ้าจากสีเปลือกไม้ธรรมชาติ   โดยสามารถลงมือทำเองและมีผลิตภัณฑ์ที่ติดมือกลับบ้านด้วยเป็นการเก็บความประทับใจในการที่ได้  ลงมือทำเอง รวมถึงได้เรียนรู้วิธีการทอผ้าของชาวอีสานให้ออกมาเป็นผืนผ้าที่มีความประณีตสวยงาม

กิจกรรมเรียนรู้เรื่องยาสมุนไพรพื้นบ้าน
กลุ่มยาสมุนไพร นักท่องเที่ยวจะได้ศึกษาตัวยาสมุนไพรและวิธีการรักษาโรคต่าง ๆ แบบพื้นบ้านจากปราชญ์ด้านสมุนไพรของชุมชน และได้ชมและชิมรสชาติของยาสมุนไพร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม จังหวัดระยอง

ชุมชนคุณธรรมวัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม ตั้งอยู่ในหมู่บ้านทะเลน้อย ในสมัยก่อนหมู่บ้านทะเลน้อย มีชื่อว่า บ้านเนินสระ เพราะมีสภาพพื้นที่เป็นเนิน ติดทะเลและสระน้ำ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้าน เนื่องจากในอดีตหน้าแล้งบางปีน้ำทะเลหนุนเอ่อขึ้นมาท่วมพื้นที่ในบริเวณนี้ ทำให้มีลักษณะคล้ายทะเลเล็ก ๆ จึงเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น “บ้านทะเลน้อย”

คำขวัญบ้านทะเลน้อย “กล้วยน้ำว้าขึ้นชื่อ เลื่องลือผักกระชับ ถิ่นพักทัพเจ้าตาก ของฝากกะปิน้ำปลา ร่องธาราลำน้ำประแสร์”

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ไหว้ “ศาลสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช” สถานที่นี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ช่วงที่รวบรวมกำลังพล ก่อนที่จะเข้ายึดเมืองจันทบุรี
เจดีย์ ๑๐๐ ปี
วัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม เป็นวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด คาดว่าสร้างราวปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือก่อนนั้น หากนำมาเทียบกับประวัติศาสตร์ชาติไทยก่อนกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าล้อมกรุงและเสียกรุงเมื่อปี พ.ศ. 2310 จึงคำนวณได้ว่า วัดนี้สร้างมาเป็นเวลาประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ
อุโบสถ ๓๐๐ ปี
เป็นสิ่งก่อสร้างที่ยังคงเหลือคือ พระอุโบสถหลังเก่า ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี โครงสร้างก่ออิฐถือปูน ซุ้มประตูหน้าต่างแบบปูนปั้นประดับด้วยกระเบื้องถ้วยลายคราม กล่าวว่าเป็นผลงานสถาปัตยกรรมวัดไทยกึ่งจีนที่วิจิตรงดงามมากแห่งหนึ่งในยุคนั้น

พระพุทธรูปองค์หวาย

นมัสการ “พระพุทธรูปองค์หวาย” เป็นพระพุทธรูปหนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่ทำจากหวาย (ต้นหวาย) นามว่า “หลวงพ่อโครงหวาย” ปางมารวิชัย
ทำด้วยโครงหวายฉาบปูน
ตู้ลายรดน้ำ
“ตู้ลายรดน้ำ” เป็นของโบราณหายาก ที่มีการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี เพื่อให้คนรุ่นหลังได้มาชื่นชม

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุด Check In บ้านทะเลน้อย
เป็นสถานที่สำหรับให้นักท่องเที่ยวไปถ่ายภาพ ตั้งอยู่ห่างจากชุมชน ประมาณ ๒ กิโลเมตร ติดกับริมแม่น้ำประแสร์
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ชุมชนบ้านทะเลน้อยจะมีบริการให้นักท่องเที่ยวได้ล่องเรือเพื่อชมวิว  ๒ ชายฝั่งแม่น้ำประแสร์ ในยามเย็น และชมเหยี่ยวแดง
ล่องแพแม่น้ำ ประแสร์
ชุมชนบ้านทะเลน้อยมีบริการให้นักท่องเที่ยวล่องแพ เพื่อชมธรรมชาติทั้งสองฝั่งแม่น้ำประแสร์ เมื่อยามค่ำคืน โดยมีการชมหิ่งห้อยและตกหมึก

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านทะเลน้อย
เป็นสถานที่เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เช่น ด้านการเกษตร (เพาะผักกระชับ) การปลูกกล้วยน้ำหว้า เป็นต้น
ศูนย์การเรียนรู้เพาะผักกระชับ
ชุมชนบ้านทะเลน้อย มีการเพาะปลูกผักกระชับ ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจของชุมชน โดยนายวิสูตร ช่างเหล็ก ประธานกลุ่มเพาะปลูกผักกระชับ จะมีรายได้ต่อครัวเรือนวันละ ๗๐๐-๘๐๐ บาท และจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้าชม การเพาะผักกระชับใช้เวลาในการแช่เมล็ด 3 เดือน แต่ถ้าเมล็ดมีการงอกแล้วจะใช้เวลาปลูกประมาณ 7 – 8 วันก็สามารถนำมารับประทานได้
การเพาะปลูกกล้วยน้ำว้า
บ้านทะเลน้อย เป็นชุมชนติดแม่น้ำประแสร์ และทะเลน้อย เป็นจุดบรรจบของน้ำทะเล น้ำจืด และน้ำกร่อย กล้วยน้ำว้า บ้านทะเลน้อย ได้ฉายา “กล้วย 3 น้ำ” ซึ่งมีรสชาติเฉพาะ มีความหวาน เป็นที่ต้องการของตลาด “กล้วยน้ำว้าที่บ้านทะเลน้อยอร่อยที่สุดในโลก”

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ฟังการบรรยาย
ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้บ้านทะเลน้อย วิทยากรประจำชุมชนบรรยายภาพรวมของชุมชน ความเป็นมาของวัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม อุโบสถเก่า ๓๐๐ ปี และพระพุทธรูปโครงหวาย
สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, อุโบสถ ๓๐๐ ปี, พระพุทธรูปโครงหวายไหว้ศาลสมเด็พระเจ้าตากสินมหาราช ชมอุโบสถเก่า ๓๐๐ ปี และไหว้พระพุทธรูปโครงหวาย
เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านทะเลน้อย
ภายในชุมชนบ้านทะเลน้อย การทำปลาเค็ม เพาะปลูกผักกระชับ การสาธิตการทำหมวกใบจาก
ล่องเรือ หรือแพ
ณ ท่ากระบัก ริมแม่น้ำประแสร์ ชมธรรมชาติป่าชายเลน ปลูกป่าชายเลน และชมเหยี่ยวแดง
ซื้อของฝาก
ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้บ้านทะเลน้อย จำหน่ายของฝากจากชุมชน เช่น ปลาเค็มแดดเดียว กะปิ-น้ำปลา กล้วยตาก หมวกใบจาก เป็นต้น

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

JK เที่ยวแพชัยมารีน จังหวัดกาญจนบุรี

นานๆ ทีจะได้มีโอกาสออกไปขี่รถเล่นต่างจังหวัด เพราะติดโควิด-19 มานานหลายเดือน พอออกไปเที่ยวได้ ทริปแรกของเราก็คือจังหวัดกาญจนบุรี กับการนอนบนแพเป็นครั้งแรกในชีวิต

นัดพบกันที่ปั๊ม ปตท. แห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม เพื่อรวบรวมคนก่อนเดินทางไปยังจังหวัดกาญจนบุรี

ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ตั้งแต่ 6 โมงเช้าเพื่อไปจังหวัดกาญจนบุรีมุ่งหน้าไปที่ แพชัยมารีน โดยเราต้องไปที่ท่าขนานยนต์ชื่อ ท่าองสิต ตาม Map ที่ได้ปักไว้ให้ด้านล่าง

ภาพของแพขนานยนต์ที่ใช้ข้ามไปอีกฝั่ง บอกเลยว่าห้องน้ำค่อนข้างสกปรกไม่สะอาดและประตูล๊อกห้องน้ำไม่ค่อยดี ถ้าปิดไม่ดีอาจจะโดนคนอื่นเปิดเอาได้ง่าย ๆ เลย

ลำเลียงรถ และรอเดินทางข้ามไปอีกฝั่ง ทั้งที่ไม่ไกลแต่ก็ใช้เวลาเกือบ 20 นาที บนเรือมีล๊อตเตอร์รี่ขาย มีน้ำอาหาร ลูกชิ้นไม่ต้องกลัวหิว ของขายเยอะหลากหลาย นั่งชิวๆ ดูธรรมชาติกินอะไรไประหว่างรอข้ามฝั่ง

บรรยากาศเมื่อมองออกไปจากแพขนานยนต์ ชั่งสวยงามจริง ๆ กับบรรยากาศตอนเช้า ๆ

ทริปนี้ขี่เจ้า R1200 มา บอกเลยสบายมาก ๆ ความเร็วก็ไม่ต้องใช้เยอะ แต่ช่วงล่างดีสุด ๆ นิ่ม ๆ สบายเลยในการเดินทาง

สภาพเมื่อข้ามแพขนานยนต์แล้วกำลังจะไปลงแพ เพื่อเดินทางต่ออีกไม่ไกลไปลงแพ

ตำแหน่งที่ตั้ง Google Map ของแพชัยมารีน เพื่อทำการขึ้นแพ

ขนของ ขนอาหาร และน้ำมันลงเรือ ร่วมด้วยช่วยกัน เพราะของเยอะมาก ๆ โดยเราไม่มีมาแต่รถมอเตอร์ไซต์แต่ยังมีรถกระบะเพื่อใช้ขนของอีกด้วย

บรรยากาศในการล่องแพ เพื่อไปนอนในเขื่อน
เรือลำน้อย ๆ กำลังลากไปอย่างช้า ๆ

เรือลากลำเล็กมาก ๆ คอยลากแพขนาดใหญ่ที่เสมือนบ้านลอยน้ำไปยังตำแหน่งที่จอด ใช้เวลาพักใหญ่ ๆ ไปแบบช้ามาก ๆ ระหว่างที่ลากไปก็คงไม่พ้นเข้าดลกออนไลน์เช็ค Facebook อัปเดตสเตตัสกันต่างๆ โพสรูปที่ถ่าย ๆ กันมาอย่างสนุกสนาน

นี้คือชั้นล่างที่เอาไว้กินข้าว ทำสันทนาการต่าง ๆ ได้ตามใจเราเลย

เมื่อได้กินข้าวกลางวันแล้วก็ลงเล่นน้ำกับเพื่อน ๆ ในเขื่อ น้ำลึกหน้าดูเลย ต่อให้กระโดดจากแพ ขาก็ไม่เคยถึงพื้น และเวลาจะเดินกลับแพก็ดูยากลำบากถ้าไม่ใส่รองเท้า เพราะพื้นเต็มไปด้วยหินกรวด หรือดินที่ค่อนข้างนิ่มทำให้เท้าอาจจะรู้สึกไม่ค่อยดี ไม่สบายเท้า

บรรยากาศตอนกลางคืน เริ่มจะมืดแล้ว พอมืดแล้วเท่านั้นแหละ อะไรๆ ก็ดูหน้ากลัวไปซะหมด มันมืดจริง ๆจนมองเห็นดาวบนฟ้าได้ชัดแจ๋ว

สิ่งหนึ่งที่อยากมองข้ามไปบ้างคือเรื่องของที่พัก ที่เตียงนอนเป็นฟูกแข็งๆ เหมือนมานอนเข้าค่ายลูกเสือ ด้านบนมี 8 ห้องนอน ก็แบ่ง ๆ กันนอนไป ทุกห้องมีแอร์เย็นอยู่ แต่เสียงของเครื่องปั่นไฟค่อนข้างเสียงดัง ถ้าไม่เมาจริงๆ คงนอนไม่หลับ เพราะมันดังเหลือเกิน แนะนำว่าใครที่จะมาเที่ยวแพควรตกลงกับเจ้าของแพดี ๆ ว่าจะซื้ออาหารมาเอง หรือซื้อน้ำมันมาเอง เพราะทุกอย่างบนนี้ถ้าขาดอะไรไปต้องโทรแจ้งเจ้าของเรือแล้วเค้าจะขับเรือลำเล็ก ๆ มาซึ่งคิดค่าบริการค่อนข้างแพงอยู่ เป็นไปได้แนะนำให้เตรียมมาให้ครบจะดีกว่าครับ

มุมนี้สวยมาก ๆ เห็นเมฆอยู่บนสันเขา

บรรยากาศตอนเช้าออกมาจิบกาแฟแก้ง่วงและมองบรรยากาศรอบๆ ตัวอากาศไม่ร้อนเลย ส่วนใหญ่แพลำอื่น ๆ จะมาตกปลากัน แต่ไม่รู้ว่ามีใครได้ปลากลับไปทำอาหารบ้าง ชอบจริงๆ บรรยากาศบนเขื่อนมันชิวมากๆ ชิวจนสโลไลฟ์ เหมือนไม่มีอะไรทำ ถ้าไม่เปิดเพลงละก็ เล่าเรื่องผีสยองขวัญแน่นอน

เก็บภาพความประทับใจก่อนกลับบ้าน ถ่ายรูปหมู่

ต่อจากนั้นเราก็เดินทางกลับตามเส้นทางเดิมทุกประการ รถค่อนข้างเยอะและติดเป็นอย่างมาก ดีนะที่ขับมอเตอร์ไซต์เลยใช้เวลาเดินทางกลับ กรุงเทพฯ ไม่นานประมาณ 3 ชั่วโมง มีคนมาออกทริปจำนวนมาก