ชุมชนคุณธรรมบ้านไทรน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ชุมชนคุณธรรมบ้านไทรน้อยเป็นชุมชนบ้านมอญในอดีต ชาวบ้านส่วนใหญ่จะทำการเกษตร ทำนา ปลูกข้าวโพด ที่นี่ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่บริหารจัดการโดยชุมชนที่ยังคงอนุรักษ์วิถีถิ่น ศิลปะ งานฝีมือ ภูมิปัญญา อาหาร การแสดง ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงภูมินิเวศน์ที่เป็นแหล่งบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติได้อย่างดี
ชุมชนแห่งนี้ดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย ยังคงรักษาวิถีวัฒนธรรมชาวมอญที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมภาคกลางเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชน และสืบทอดประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาแฝงอยู่ในทุกเทศกาลสำคัญของชุมชน รวมทั้งนำความสมบูรณ์ทางธรรมชาติมาเป็นจุดเด่นในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดไทรน้อย
หลวงพ่อใหญ่ พระประธานในโบสถ์เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ตั้งแต่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ราวปีพ.ศ. 2313 เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านในท้องถิ่น เสาในโบสถ์ทำด้วยไม้ตะเคียนทุกต้น

วัดท่าสุทธาวาส
เดิมเรียกว่า “วัดผีมด” สร้างสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ.๒๓๑๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ.๒๓๒๐ มีประธานในพระอุโบสถคือ หลวงพ่อเศียรและหลวงพ่อเฒ่า มีคำขวัญของวัดคือ”หลวงพ่อเศียรคุ้มเกล้า หลวงพ่อเฒ่าคุ้มภัย”
วัดบุญกันนาวาส
วัดบุญกันนาวาส สร้างเมื่อปีพ.ศ.๒๓๕๖ โดยมีนางบุญมี และนายแจ่ม บริจาคที่ดินสร้างวัด มีหลวงพ่อเพชร ที่พบใต้ฐานโบถส์ เมื่อคราวดีดโบสถ์ขึ้น ประชาชนทั่วไปนิยมไปกราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคล
วัดปราสาททอง
วัดปราสาททอง สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวปีพ.ศ. ๒๒๐๐ ต่อมากลายเป็นวัดร้าง มีซากฐานเจดีย์ใหญ่ปรากฎอยู่ และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ประมาณ พ.ศ.๒๔๕๒ เดิมชาวบ้านเรียกชื่อวัดหลายชื่อ เช่น ชาวบ้านทางเหนือ เรียก “วัดใต้” ชาวบ้านทางใต้ เรียก”วัดเหนือ” ชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่รอบวัด เรียก “วัดเจดีย์” เมื่อคราวมีผู้ดูแลวัด ชื่อ”ตาบูน” ก็เรียก”วัดตาบูน” มีหลวงพ่อศิลานาเวงประดิษฐานอยู่ในวิหาร สร้างด้วยศิลาแลงปางสมาธิ ผู้คนทั่วไปจะไปกราบไหว้ขอให้ช่วยเหลือต่าง ๆ ตามแต่ปรารถนา หากสำเร็จจะจุดพลุถวายท่าน
วัดเก้าห้อง
เดิมชื่อวัดท้ายตลาด ตั้งอยู่บ้านเก้าห้อง สร้างเป็นวัดตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๓๘๐ พระประธานในโบสถ์สร้างด้วยหินทรายปิดทองทั้งองค์ ใบเสมาคู่ทำด้วยศิลาแลงสลักลวดลายเครือเถาวัลย์เป็นของเก่าแก่ มีวัตถุมงคล คือเหรียญ , แหวนหลวงพ่อพระครูสุมนเมธากร (หลวงพ่อโก๊ะ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเก้าห้อง ซึ่งเป็นเหรียญที่แปลก นั่นคือ หลวงพ่อนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ลูกศิษย์เมื่อยามได้รับนิมนต์ไปในงานต่าง ๆ

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

บึงบัว
บึงบัวใกล้โฮมสเตย์ไทรน้อย ที่ตั้งใจปลูกบัวไว้เพื่อให้คนในชุมชนได้เก็บดอกบัวไปใช้ในวันพระและวันสำคัญทางศาสนา ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถลงไปพายเรือและเก็บบัวในบึงได้

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ศูนย์การเรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้มงคล และ การขยายพันธุ์มะนาวหลากหลายสายพันธุ์พร้อมชมการทำไร่ข้าวโพดและสวนกล้วยหอมทอง การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
เมื่อมาที่ศูนย์ จะได้เรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้มงคล และ การขยายพันธุ์มะนาวหลากหลายสายพันธุ์ พร้อมชมการทำไร่ข้าวโพด และสวนกล้วยหอมทองที่สวยงามและมีรสชาติดี ตั้งแต่การเพาะเลี้ยงต้นกล้า การดูแล การปลูก ตลอดจนเก็บเกี่ยวผลผลิต และยังมีกิจกรรมการปั่นจักรยานชมบ้านเรือนไทย ทุ่งนา และสวนเกษตรของชาวบ้านในชุมชนตามแนววิถีเกษตรแบบพอเพียง ให้นักท่องเที่ยวได้เพลินเพลินกับบรรยากาศวิถีเกษตรของชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยว
เรียนรู้การทำขนมไทยมงคล

หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โฮมสเตย์ไทรน้อย เรียนรู้การทำขนมไทยมงคล อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน จ่ามงกุฎ ทองเอก เสน่ห์จันทร์ ขนมชั้น
เรียนรู้การทำอิฐมอญโบราณ
หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โฮมสเตย์ไทรน้อย เรียนรู้การทำอิฐมอญโบราณที่ทำด้วยมือทั้งหมด ตั้งแต่กระบวนการเตรียมดิน การขึ้นรูปอิฐ ตากอิฐ ไปจนถึงขั้นตอนการเผา
เรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้มงคล การขยายพันธุ์มะนาวหลากหลายสายพันธุ์พร้อมชมการทำไร่ข้าวโพดและสวนกล้วยหอมทอง การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โฮมสเตย์ไทรน้อย เมื่อมาที่ศูนย์ จะได้เรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้มงคล และ การขยายพันธุ์มะนาวหลากหลายสายพันธุ์ พร้อมชมการทำไร่ข้าวโพด และสวนกล้วยหอมทองที่สวยงามและมีรสชาติดี ตั้งแต่การเพาะเลี้ยงต้นกล้า การดูแล การปลูก ตลอดจนเก็บเกี่ยวผลผลิต และยังมีกิจกรรมการปั่นจักรยานชมบ้านเรือนไทย ทุ่งนา และสวนเกษตรของชาวบ้านในชุมชนตามแนววิถีเกษตรแบบพอเพียง ให้นักท่องเที่ยวได้เพลินเพลินกับบรรยากาศวิถีเกษตรของชุมชน
เรียนรู้การทำ ยาหม่องสมุนไพร
หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โฮมสเตย์ไทรน้อย นักท่องเที่ยวจะได้ทดลองทำยาหม่องสมุนไพรจากต้นตำรับของ “แม่อบเชย” สินค้าโอทอปขายดีประจำหมู่บ้าน เริ่มตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ ไพร อบเชย กานพลู พิมเสน การบูร วาสลีน พาราฟิน น้ำมันระกำ เมนทอล ไปจนถึงการเคี่ยวสมุนไพรรวมกันจนได้ยาหม่อง ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถนำยาหม่องที่ทำด้วยตัวเองกลับไปเป็นของที่ระลึกได้

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น