ชุมชนคุณธรรมบ้านสามช่องเหนือ จังหวัดพังงา

ตั้งอยู่แนวชายฝั่งอ่าวพังงานานกว่าศตวรรษ เป็นหมู่บ้านสองฝั่งคลอง (ฝั่งเกาะและฝั่งหัวถนน) ห่างกัน ๕๐๐ เมตร ฝั่งหัวถนนเชื่อมต่อกับถนนเพชรเกษม 2 กิโลเมตร มีท่าเทียบเรือบริการนำเที่ยวอ่าวพังงา เป็นชุมชนมุสลิม ทำการเกษตรและประมงชายฝั่งพื้นบ้าน ฝั่งเกาะมีพื้นที่ทำการเกษตร 4,800 ไร่ ประชากร 950 คน จาก 245 ครัวเรือน 

เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ป่าชายเลนขนาดใหญ่ มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม พร้อมเส้นทางกิจกรรมและโปรแกรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ขึ้นชื่อเรื่องอาหารทะเลสด ๆ ประกอบด้วยวิถีวัฒนธรรมมุสลิมแบบดั้งเดิม เรียบง่าย ผู้คนพร้อมต้อนรับผู้มาเยือนด้วยรอยยิ้ม และมิตรภาพอย่างอบอุ่น 

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

เตาถ่านโบราณโกมิ้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ บ้านสามช่องเหนือ ฝั่งหัวถนน ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เป็นเตาถ่านโบราณอายุราวร้อยกว่าปี  

บ้านจำลองวิถีทับเหนือ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ บ้านสามช่องเหนือ ฝั่งเกาะ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา   เป็นทับยกสูงหลังคามุงจากกันด้วยไม้ไผ่สาน เป็นที่พักชั่วคราวของคนที่มาทำเกษตร ทำประมง ในสมัยก่อน

Street Art จิตรกรรมฝาผนัง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ บ้านสามช่องเหนือ ฝั่งเกาะ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เล่าเรื่องราววิถีชีวิตบ้านสามช่องเหนือ สร้างความสวยงามตลอดเส้นทางภายในชุมชน เป็นจุดถ่ายรูปสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชม

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ บ้านสามช่องเหนือ ฝั่งเกาะ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เป็นศาลาหมู่บ้านไว้ประชุม ทำกิจกรรม เป็นศูนย์จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนของฝากของที่ระลึก และเป็นที่ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวและคณะศึกษาดูงาน

จุดสาธิตการทำผ้ามัดย้อม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ บ้านสามช่องเหนือ ฝั่งเกาะ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เป็นสถานที่สำหรับให้นักท่องเที่ยวและผู้มาศึกษาดูงานได้เรียนรู้วิธีการขั้นตอนต่าง ๆ ของการทำผ้ามัดย้อม

จุดสาธิตการทำกะปิ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ บ้านสามช่องเหนือ ฝั่งเกาะ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงาเป็นสถานที่สำหรับให้นักท่องเที่ยว และผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงาน ได้ศึกษาเรียนรู้วิธีการทำกะปิจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน โดยการนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปสร้างรายได้แก่ชุมชน

จุดสาธิตการทำเรือจำลอง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ บ้านสามช่องเหนือ ฝั่งเกาะ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เป็นสถานที่สำหรับให้นักท่องเที่ยว และผู้เข้ามาศึกษาดูงาน ได้เรียนรู้วิธีการทำเรือหัวโทงจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น 

จุดสาธิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรเหงือกปลาหมอ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ บ้านสามช่องเหนือ ฝั่งเกาะ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เป็นจุดเรียนรู้ สาธิต และฝึกปฏิบัติในการทำสบู่ ยาสระผม จากสมุนไพรเหงือกปลาหมอ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

เขาตะปู เขาพิงกัน เขาตะปูตั้งอยู่บริเวณด้านนอกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา รูปร่างคล้ายตะปู นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นได้ระยะไกลจากเรือหรือสันดอนของเขาพิงกัน เขาพิงกันมีลักษณะเป็นแผ่นหินราบเรียบแผ่นใหญ่สองแผ่นพิงกันอยู่ ซึ่งเกิดจากการเลื่อนตัวของหินตามรอยแยกของภูเขา 

ถ้ำเพชรปะการัง ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เป็นถ้ำที่มีหินงอดหินย้อยที่สวยงาม   ภายในถ้ำมีจุดชมวิว ๒ ชั้น ชั้นที่ ๑ สูงจากระดับน้ำทะเล ๓๐ม. ขั้นที่ ๒ สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐๐ เมตร  

ต้นไม้แสมดำคู่ (ปีปี) มหัศจรรย์แห่งรัก ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา  อยู่ห่างจากบ้านสามช่องเหนือ ประมาณ ๗๐๐ เมตร 

ถ้ำแก้ว อยู่ในพื้นที่ของเกาะลานาอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ห่างจากบ้านสามช่องเหนือประมาณ ๑๐ ก.ม.   

เกาะพนัก อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ห่างจากชุมชนบ้านสามช่องเหนือ ประมาณ ๓๐ กิโลเมตร  

เกาะห้อง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แปลงสาธิตเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ บ้านสามช่องเหนือ ฝ่ายเกาะ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา  

แปลงสาธิตการเลี้ยงหอยหลักควาย ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ บ้านสามช่องเหนือฝ่ายเกาะ ตำบล กะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา   

ศูนย์เรียนรู้ทำประมงพื้นบ้าน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา บริเวณหน้าศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านสามช่องเหนือ 

ธนาคารหอยแครง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ บ้านสามช่องเหนือ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา บริเวณด้านหน้าป่าชายเลนหน้าศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านสามช่อง    

กิจกรรมการท่องเที่ยว
ชมระบบนิเวศ ป่าชายเลน/ ปลูกป่าชายเลน
– เส้นทางพายเรือแคนู
– แปลงปลูกป่าชายเลน
-นั่งเรือแคนูชมระบบนิเวศของป่าโกงกาง
-ร่วมปลูกป่าชายเลน

การทำผ้ามัดย้อม สีธรรมชาติ
จุดสาธิตการทำผ้ามัดย้อม
-มัดผ้าให้เป็นรูปต่าง ๆ ตามที่ต้องการ
-ต้มผ้าในน้ำเปลือกไม้
-นำผ้าที่ต้มมาล้างน้ำ
-นำไปพึ่งแดด      

ชมวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน/หาหอย
– รอบหมู่บ้าน
– โหนหอย
-เดินชมวิถีชีวิตชาวประมงบนฝั่งฝ่ายเกาะ
-ชมการเลี้ยงปลากระชัง
-หาหอยแครง หอยหลักควาย 

ประกอบอาหารพื้นถิ่น โฮมสเตย์ 
-ทำอาหารพื้นบ้านกินเองโดยใช้วัตถุดิบจากชุมชน เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ผักพื้นบ้าน

ล่องเรือหัวโทง ดินเนอร์ ชมแสงสุดท้ายอ่าวพังงา
อ่าวพังงา
-นั่งเรือหัวโทงชมธรรมชาติป่าโกงกางสองฝั่งคลอง
-ทานอาหารพื้นบ้านบนเรือหัวโทง
-ชมแสงสุดท้ายของพระอาทิตย์ ณ อ่าวพังงา 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านคุรอด จังหวัดพังงา

ตั้งอยู่ที่ราบระหว่างหุบเขาและทะเลอันดามัน มีแม่น้ำสายสั้น ๆ ไหลผ่าน พื้นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้ต่าง ๆ เคยเป็นที่ตั้งเหมืองแร่โบราณ “ขุมคลา” จนเป็นที่เล่าลือแห่ง “เหมืองแร่ทองคำ” ปัจจุบันเป็นพื้นที่โครงการศึกษาทดลองการเพาะปลูกพันธุ์ปาล์มน้ำมันและเกษตรผสมผสานในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเทือกเขานมสาว (โครงการมูลนิธิชัยพัฒนา)  

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ มีโฮมสเตย์รองรับนักท่องเที่ยว เพื่อสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนที่มีความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย พอเพียง รักสงบ และร่วมกิจกรรมหลากหลาย เช่น การร่อนแร่ การตักบาตรเช้า เที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชน พร้อมรับประทานอาหารเมนูท้องถิ่น และซื้อของฝาก ของที่ระลึกที่ร่วมทดลองทำได้ 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดบางครั่ง ตั้งอยู่เลขที่ ๘/๘ หมู่ที่ ๓ บ้าน บางครั่ง ตำบลบางวัน อำเภอ คุระบุรี จังหวัดพังงา ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (สายเพชรเกษม)อยู่ห่างจากอำเภอคุระบุรีมาทางทิศใต้ ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร โดยมีพระมหานครินทร์อนาลโย เจ้าคณะอำเภอคุระบุรี  เป็นเจ้าอาวาส 

วัดตำหนัง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๐ หมู่ที่ ๒ บ้านตำหนัง  ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๔๔๗  โดยมีกำนันเอียดเป็นผู้อุปการะ และมีเจ้าอาวาสปกครองวัด ดังนี้ พระท้วม พระชุม พระนุ้ย พระพันธ์ พระสวาสดิ์พระดำ พระเซียม พระเปีย และปัจจุบันมีพระสมุห์วิเชียร เตชวโร เป็นเจ้าอาวาส 

วัดป่าสวนงาม ตั้งอยู่เลขที่ ๒๑๕ หมู่ที่ ๕ บ้านคุรอด ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา วัดตั้งขึ้นเมื่อ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งนายตี๋ – นางเสาวนีย์ บางเหลือง ถวายที่ดินให้สร้างวัด โดยมีพระครูไพโรจน์ วุฒิธรรม  เป็นเจ้าอาวาส

เหมืองแร่ขุมคลา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ บ้านคุรอด ซอยเหมืองแร่ศรีพิพัฒน์ ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีพังงา และป่าเทือกเขานมสาว ลาดลงสู่แอ่งสระเก็บน้ำหนองขุมคลา และโครงการศึกษาทดลองการเพาะปลูกพันธุ์ปาล์มน้ำมันและเกษตรผสมผสานในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขานมสาว

อุทยานแห่งชาติ ศรีพังงา (น้ำตก ตำหนัง) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านตำหนัง ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงาในเขตอุทยานแห่งชาติศรีพังงาเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๖๐ เมตร จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติจะมีทางรถยนต์ ต่อเข้าไปอีกราว ๑.๕ กิโลเมตร จากนั้นเดินเท้าผ่านแอ่งปลาพลวงและผืนป่าร่มรื่นไปอีก ๕๐๐ เมตร ก็จะถึงน้ำตกตำหนัง ระหว่างทางมีนกหลายชนิดให้ชม เช่น นกหัวขวานสีน้ำตาล นกปรอดเล็กตาขาว นกปรอดโอ่งท้องสีน้ำตาล ฯลฯ 

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ป่าชายเลนลัดหินเพิง /เกาะโจรสลัด หมู่ที่ ๑ บ้านบางวัน เป็นเกาะโจรสลัด หาหอยหยำ ลูกปูมดแดง ล่องแพเปียดท่องเที่ยวทางทะเล หาหอย

ศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์พลับพลึงธาร และสมุนไพรบ้าน แหล่งอนุรักษ์พลับพลึงธาร ของกลุ่มอนุรักษ์พลับพลึงธารหมู่ที่ ๑ บ้านบางวัน  ติดกับลำคลองผาแรด

อุทยานแห่งชาติศรีพังงา หมู่ที่ ๒ บ้านตำหนัง เขตอุทยานแห่งชาติศรีพังงา เหมาะแก่การเล่นน้ำ ชมนกหัวขวานสีน้ำตาล นกปรอดเล็กตาขาว นกปรอดโอ่ง ท้องสีน้ำตาล ระยะทาง ๔.๗ กิโลเมตร

ป่าชายเลนหัวท่าบางครั่ง หมู่ที่ ๓ บ้านบางครั่ง  ทางเข้าซอยเตาถ่าน ระยะทาง ๘๕๐ เมตร

ป่าชายเลนบ้านทุ่งละออง หมู่ที่ ๔ บ้านทุ่งละออง  เส้นทางลงทางท่าเรือทุ่งละออง สถานที่เที่ยวเกาะผี  หาหอยชักตีน ดูปะการัง   ระยะทาง ๑๗ กิโลเมตร

เขายา หมู่ที่ ๕ บ้านคุรอด ทางเข้าถนนซอยสวนงาม เป็นป่าเทือกเขานมสาว ชมบัวผุด และส่องนก ระยะทาง ๒ กิโลเมตร

บ่าชุมชนบ้านไทรทอง หมู่ที่ ๘ หลังฝายบ้านไทรทอง  ป่าเทือกเขานมสาว  ระยะทาง ๒ กิโลเมตร

น้ำตกหินล้านปี หมู่ที่ ๙ บ้านบางเอียง  ทางเข้าปากทางบางติบ ถึงเข้าซอยมัสยิด ระยะทาง ๘ กิโลเมตร ต่อถึงน้ำตก หินล้านปี ๑ กิโลเมตร

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์มกุ้งก้ามกราม หมู่ที่ ๑ บ้านบางวัน เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามติดกับศาลาประชุมหมู่บ้าน และโรงเรียนบ้านบางวัน

สวนลุงวุฒิออร์แกนิคฟาร์ม หมู่ที่ ๒ บ้านตำหนัง เป็นศูนย์เรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทางเข้าถนนซอยอุทยานแห่งชาติศรีพังงา ระยะทาง๔ กิโลเมตร

โคกหนองนาโมเดล หมู่ที่ ๓ บ้านบางครั่ง(ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน)เป็นแหล่งท่องเที่ยวเกษตรพอเพียง ติดถนน เพชรเกษม

ไร่ลิ่มเจริญ หมู่ที่ ๓ บ้านบางครั่ง เป็นศูนย์เรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ปากทางเข้าถนนทุ่งละออง ระยะทาง ๔ กิโลเมตร

บางครั่งฟาร์มสเตย์ หมู่ที่ ๓ บ้านบางครั่ง  แหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  ทางเข้าซอยเตาถ่าน ระยะทาง ๘๕๐ กิโลเมตร

โครงการศึกษาทดลองการเพาะปลูกพันธุ์ปาล์มน้ำมันและเกษตรผสมผสานในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเทือกเขานมสาว หมู่ที่ ๕ บ้านคุรอด  แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร  ทางเข้าซอยถนนเหมืองแร่ศรีพิพัฒน์  ระยะทาง ๒ กิโลเมตร

คุรอดฟาร์มสเตย์ หมู่ที่ ๕ บ้านคุรอด แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร อยู่ติดถนนเพชรเกษม ระยะทางห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางวัน ๕๐๐  เมตร

ศูนย์พัฒนาเพิ่มผลผลิตการเกษตรตำบลบางวัน หมู่ที่ ๖ บ้านบางติบ  เป็นศูนย์เรียนรู้ผลผลิตการเกษตรตำบลบางวัน ทางเข้าบางติบ  ระยะทาง ๑.๕ กิโลเมตร

ไร่บ้านเราเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ ๘ บ้านไทรทอง  ศูนย์เรียนรู้ชีวภัณฑ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทางเข้าถนนสายไทรทอง-ฝายน้ำล้น ระยะทาง  ๑.๕ กิโลเมตร  อยู่ในเขตพื้นที่ สปก.โดยนายปัญญา พูลขาว เป็นเจ้าของ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ล่องแพเปียก คลองลัดหินเพิงหมู่ที่ ๑ ล่องแพเปียก หาหอยหยำ หาลูกปูมดแดง  ชมป่าชายเลน อาหารทะเล

ถ่ายทอดความรู้และทดลองปลูกพลับพลึงธาร คลองผาแรดเลขที่ ๔๐/๕ หมู่ที่ ๑ ศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์พลับพลึงธารและสมุนไพรพื้นบ้าน

วิถีเกษตรอินทรีย์ สวนลุงวุฒิออร์แกนิคฟาร์ม หมู่ที่ ๒ เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ แปรรูปผลิตภัณฑ์

ตักบาตร บนสะพาน หัวท่าบางครั่งหมู่ที่ ๓ ตักบาตรเช้า

ล่องแพ กินปู บางครั่ง หมู่ที่ ๓ ล่องแพเปียก ชมป่าชายเลน

เดินป่า และ ส่องนก อุทยานแห่งชาติ ศรีพังงา/ป่าเทือกเขานมสาว (หมู่ที่ ๒, ๓, ๕, ๗ และ ๘) เส้นทางศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติและกิจกรรมส่องนก

เรียนรู้วิถีร่อนแร่ บ้านคุรอด หมู่ที่ ๕ ปัจจุบันเป็นสถานที่ของมูลนิธิชัยพัฒนา โครงการทดลอง ปาล์มน้ำมันฯ และวิธีร่อนแร่คลองน้ำแดง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดประเวศน์ภูผา (วัดบ้านตรัง) จังหวัดปัตตานี

ชุมชนบ้านตรัง เป็นแหล่งชุมชนโบราณ เกิดขึ้นสมัยต้นรัตนโกสินทร์ปกครองแบบหัวเมือง มีภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย อีกทั้งยังเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง คนในชุมชนยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรแบบผสมผสาน มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งสามารถแก้ไขปัญหาภายในชุมชน 

เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืน โดยการใช้พลังบวร คือ วัด เป็นศูนย์รวมของชุมชน ส่งเสริมคุณธรรมให้ชาวบ้าน บ้านคือแหล่งภูมิปัญญาความรู้ และถ่ายทอดสู่โรงเรียน บ้านตรังจึงเป็นชุมชนที่มีเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวโดยนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และขนบธรรมเนียมประเพณียังคงอนุรักษ์มาตั้งแต่อดีต คือ ประเพณีลากพระลงนาหลังจากออกพรรษา 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดประเวศน์ภูผา (วัดบ้านตรัง) เป็นวัดเก่าแก่ สร้างเมื่อปีพ.ศ. ๒๒๔๐ มีอายุราว ๓๐๐ ปี เป็นโบราณสถานที่มากด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์และความศรัทธาของคนในชุมชน

หอประไตรปิฎก หอไตร เป็นอาคารไม้ยกพื้นสูงหลังคาทรงจัตุรมุข สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ สร้างโดยพ่อแก่เจ้าแสง (อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านตรัง)

พิพิธภัณฑ์เครื่องมือเครื่องใช้โบราณ

พิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ วิถีชีวิตชุมชน “คนบ้านตรัง” พิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ วิถีชีวิตชุมชน “คนบ้านตรัง” แสดงเครื่องมือเครื่องใช้ครัวเรือนสมัยโบราณ

ต้นตะเคียนแกะสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติ ต้นตะเคียนความยาว ๒๕ เมตร อายุ ๓๐๐ ปี แกะสลักเล่าเรื่องราวพุทธประวัติ ๑๔ ตอน และเล่าเรื่องราววิถีชีวิตชาวชุมชนบ้านตรัง

วิหารหลวงพ่อสุข หลวงพ่อปลอด วิหารหลวงพ่อสุข หลวงพ่อปลอด (อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านตรัง)

อาคารเก็บสรีระสังขาร พ่อแก่เจ้าแสง อาคารเก็บสรีระสังขารพ่อแก่เจ้าแสง หรือพระครูมงคลประภาส อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านตรัง ซึ่งมรภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ด้วยอายุ ๑๐๑ ปี ท่านได้สร้างวัตถุมงคล คือ ควายธนู และหน้ากากพรานบุญ เชื่อกันว่าหน้ากากพรานบุญเป็นสุดยอดเครื่องรางของขลังแห่งสายเมตตามหานิยมโภคทรัพย์ ที่มีชื่อเสียงไปถึงต่างแดน 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดเช็คอินบ้านตรัง จุดเช็คอินบ้านตรังตั้งอยู่บริเวณนาข้าวในช่วงฤดูการทำนา บริเวณนี้จะมีความสวยงามมีความอุดมสมบูรณ์ของนาข้าวและเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกดินของชุมชน

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านตรัง เป็นแหล่งเรียนรู้ โคกหนองนา ของหมู่บ้าน อีกทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การทำน้ำหมักชีวภาพ

ศูนย์สมุนไพรเพื่อการศึกษาบ้านตรัง แหล่งเรียนรู้สมุนไพรรักษาโรค โดย นายเน จิตมณี ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรที่มีความเชียวชาญสมุนไพรรักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต 

แหล่งเรียนรู้การทำสวนไผ่ในชุมชน แหล่งเรียนรู้ด้านการทำสวนไผ่ และน้ำเยื่อไผ่

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ประเพณีลากพระลงนา วัดประเวศน์ภูผา ประเพณีลากพระลงนาหลังจากออกพรรษา ประเพณียังคงอนุรักษ์มาตั้งแต่อดีต ตั้งแต่เช้าตรู่ชาวบ้านในชุมชนจะช่วยกันลากเรือพระออกจากวัด และลากไปลงในนาข้าวบริเวณใกล้ ๆ วัด และลากกลับวัดในตอนใกล้พระอาทิตย์ตกดิน โดยมีความเชื่อว่าหากได้ลากเรือพระลงในทุ่งนาแล้ว จะทำให้การทำนาในฤดูกาลนั้น ๆ มีความอุดมสมบูรณ์ได้ผลผลิตมาก

กิจกรรมเรียนรู้การปลูกข้าว นาข้าวในชุมชนบ้านตรัง เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เยาวชนในชุมชนได้เรียนรู้การทำนาข้าว

นักท่องเที่ยวทำขนมทองม้วน กลุ่มทำขนมบ้านตรัง ตั้งอยู่ในวัดประเวศน์ภูผา กลุ่มทำขนมบ้านตรัง เป็นแหล่งเรียนรู้การทำขนมพื้นบ้าน อาทิ การทำขนมทองม้วน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมในการทำขนม

นักท่องเที่ยวทอผ้า ศูนย์ศิลปาชีพกลุ่มทอผ้าบ้านตรัง ตั้งอยู่ในวัดประเวศน์ภูผา ศูนย์ศิลปาชีพกลุ่มทอผ้าบ้านตรัง เป็นแหล่งผลิตผ้าทอลายจวนตานี เอกลักษณ์ของจังหวัดปัตตานี นอกจากเป็นแหล่งจำหน่ายผ้าทอลายจวนตานี ยังเป็นแหล่งเรียนรู้การทอผ้าโดยภูมิปัญญาที่มีความชำนาญด้านการทอผ้า โดยกลุ่มสตรีชุมชนบ้านตรัง ที่ยังคงอนุรักษ์ รักษา และต่อยอดลวดลายต่าง ๆ ประยุกต์ให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรม ที่นำรายได้มาสู่ชุมชน

ศิลปะการแสดงกลองยาว คนในชุมชนบ้านตรัง ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มกลองยาวบ้านตรังเพื่อร่วมกันอนุรักษ์ศิลปะการแสดงกลองยาว และเป็นการแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนชุมชนอีกด้วย

ทำอาหารพื้นถิ่น แกงคั่วลูกโหนด น้ำพริกผักสด

ศิลปะการแสดงมโนราห์ ศิลปะการแสดงมโนราห์ การแสดงพื้นบ้านที่คนในชุมชนบ้านตรัง อนุรักษ์เพื่อส่งต่อให้ลูกหลานในชุมชนได้เรียนรู้และร่วมกันสืบสานให้คงอยู่สืบไป

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมมัสยิดบาราโหม จังหวัดปัตตานี

ชุมชนคุณธรรมมัสยิดบาราโหม เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ มีแหล่งโบราณสถานที่เก่าแก่ร่วม ๕๐๐ ปี ในยุคที่สมัยที่ปัตตานีเป็นเมืองท่าที่รุ่งเรือง มีชาวต่างชาติทั้งอาหรับ เปอร์เซีย ยุโรป เข้ามาค้าขายเป็นจำนวนมาก ปรากฏได้จากโบราณวัตถุจำพวกเศษเครื่องถ้วยจีน อยุธยา และนานาประเทศ เป็นจุดสนใจของประชาชนทั้งในและต่างประเทศที่อยากเข้ามาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศึกษาร่องรอยอารยธรรม

ชุมชนคุณธรรมมัสยิดบาราโหมมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพที่ดี ด้านสถานที่สะอาด สวย และร่มรื่น  ชุมชนมีภูมิทัศน์สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม สุสานพญาอินทิรา พระองค์สืบราชวงค์ โกตามัหลิฆัย แห่งราชอาณาจักรลังกาสุกะ มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมาเยือน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

สุสานพญาอินทิรา หรือสุสานสุลต่าน อิสมาอีล ซาห์ เป็นสถานที่ฝั่งพระศพของพญาอินทรา หรือสุลต่าน อิสมาอิล ซาห์ เจ้าเมืองปัตตานีองค์แรกที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นเจ้าเมืองปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๔๓ – ๒๐๗๓ ได้ทรงสถาปนาเมืองปัตตานีเป็นนครปัตตานีดารุลสลาม และพัฒนาบ้านเมืองปัตตานีให้เข้มแข็ง มีการหล่อปืนใหญ่ขึ้นเป็นครั้งแรก  เพื่อใช้ในการป้องกันเมืองตามแบบฉบับของเมืองขนาดใหญ่ในยุคนั้น ในสมัยของพระองค์ เมืองปัตตานีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปกว้างไกล ทั้งการเป็นศูนย์กลางการค้าและเผยแผ่ศาสนาอิสลาม มีพ่อค้าชาติต่าง ๆ เข้ามาค้าขายเป็นจำนวนมากอย่างสม่ำเสมอ สุลต่านอิสมาอิล ซาห์ สิ้นพระชนในปี พ.ศ.๒๐๗๓ พระศพของพระองค์ถูกฝั่งไว้ในสุสานแห่งนี้คู่กับพระศพชายาของพระองค์ จุดเด่นของสุสานคือแนแซ หินเหนือหลุมฝั่งศพที่สร้างด้วยหินทรายสลักลวดลายที่ประดับไว้อย่างสวยงาม

สุสานราชินีสามพี่น้อง (รายาฮีเยา) เป็นที่ฝังพระศพของเจ้าเมืองปัตตานี ๓ พระองค์ ได้แก่ รายาฮีเยา (พ.ศ.๒๑๒๗ – ๒๑๒๙) รายาบีรู (พ.ศ.๒๑๕๙ – ๒๑๖๗) และรายาอูงู (พ.ศ.๒๑๖๗ – ๒๑๗๘) ทั้งสามเป็นธิดาของสุลต่านมันศูร ชาห์ หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ โอรสของพระองค์มีนามว่า ปาฮาดูร์ชาห์ ขึ้นครองราชย์แต่ไม่นานพระองค์ก็สิ้นพระชนม์โดยไม่มีโอรสสืบทายาท ธิดาทั้งสามของสุลต่านมันศูร ชาห์ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองปัตตานีต่อเนื่องกันถึง ๓ พระองค์

แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาการแกะสลักไม้กระต่ายขูดมะพร้าว การแกะสลักกระต่ายขูดมะพร้าวจากไม้เนื้ออ่อนให้มีลวดลายมลายูจนเป็นที่โด่งดังทำให้มีคนจากต่างจังหวัดและต่างประเทศ เช่น อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น มาดูงานศิลปหัตถกรรมที่คุณตาอาลีได้ตั้งใจสร้างขึ้นมา และมีคนสนใจซื้องานแกะสลักของท่านไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมในที่ต่าง ๆ หรือตั้งไว้เป็นเครื่องประดับบ้าน

กิจกรรมล่องเรือชมวิถีชีวิตรอบอ่าวปัตตานีและชมอุโมงค์ป่าโกงกาง เป็นกิจกรรมล่องเรือชมวิถีชีวิตชาวประมงเรือเล็ก แล้วล่องเรือชมอุโมงค์ป่าโกงกาง และวัดดวงกับกิจกรรมการหาเศษกระเบื้องเครื่องถ้วยชามโบราณ สามารถซื้อโปรแกรมการท่องเที่ยวและลงเรือได้ที่ Barahom Bazaar

ท่าเสด็จ เป็นจุด check in ชมฝูงนกและจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกยามเย็น

กิจกรรมการทำผ้าบาติกด้วยบล็อกไม้ เป็นกิจกรรมทำผ้าบาติกด้วยบล็อกไม้ของกลุ่ม Barahom Bazaar

ภูมิปัญญาว่าวบูลัน ว่าววงเดือน หรือเรียกว่า“วาบูแลหรือวาบูลัน” บูลันแปลว่าดวงจันทร์ เป็นว่าวที่มีรูปดวงเดือนเป็นส่วนประกอบอยู่ตรงกลางลำตัว ส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ปีก เขา (คล้ายเขาควาย) และดวงเดือนซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างปีกและเขาและตอนกลางของลำตัว ว่าววงเดือน มี ๒ แบบคือ แบบมีแอก และแบบไม่มีแอก ความเป็นมาของว่าวบางคนบอกว่าว่าวมาจากประเทศมาเลเซีย และบางคนบอกว่ามาจากจังหวัดปัตตานี จึงสรุปไม่ได้ว่าว่าวมาจากที่ไหน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

กลุ่มเพาะเลี้ยงปูดำ เป็นกิจกรรมการรวมกลุ่มของชาวประมงพื้นบ้านเล็ก ใช้เวลาว่างจากการทำประมง มาเพาะเลี้ยงอนุบาลปูดำ เพื่อปล่อยลงสู่ทะเล สร้างรายได้  สู่ชุมชน และส่งผลทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งต่อไป

อุโมงค์ป่าโกงกาง เป็นจุดที่มีป่าโกงกางอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของตำบลบาราโหม มีลักษณะของโกงกางโค้งบรรจบกัน เลยเรียกว่า อุโมงค์ป่าโกงกาง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียง เป็นศูนย์การเรียนเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมการท่องเที่ยว

กิจกรรมการเรียนรู้ปฏิบัติการ ทดลอง สาธิต เพื่อการพัฒนาคุณภาพของอาหารพื้นบ้านสู่การเพิ่มมูลค่าและการต่อยอด ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน กิจกรรมการเรียนรู้ปฏิบัติการ ทดลอง สาธิต เพื่อการพัฒนาคุณภาพของอาหารพื้นบ้านสู่การเพิ่มมูลค่าและการต่อยอด ผ่านตัวแทนผู้หญิง ปราชญ์ ผู้รู้ด้านอาหารพื้นบ้านชายแดนใต้ ในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ ภายใต้โครงการ : อาหารพื้นบ้านชายแดนใต้ : วิถีแห่งความเชื่อภูมิปัญญาและบทบาทของผู้หญิงในการมีส่วนร่วมเพื่อสืบสานมรดกวัฒนธรรม

กิจกรรมล่องเรือชมวิถีชีวิตรอบอ่าวปัตตานีและชมอุโมงค์ป่าโกงกาง Barahom Bazaar เป็นกิจกรรมล่องเรือชมวิถีชิตชาวประมงเรือเล็ก แล้วล่องเรือชมอุโมงค์ป่าโกงกาง และวัดดวงกับกิจกรรมการหาเศษกระเบื้องเครื่องถ้วยชามโบราณ สามารถซื้อโปรแกรมการท่องเที่ยวและลงเรือได้ที่ Barahom Bazaar

การทานอาหารพื้นบ้าน “นาสิอิแดกำปง” เปิบด้วยมือ Barahom Bazaar “นาสิอีแดกําปง” เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวจังหวัดปัตตานี นิยมกินกับแกงเหลืองกะทิ ปลาทอด น้ำพริก บูดูและผักลวกชนิดต่าง ๆ ที่สามารถหากินได้ง่ายในชุมชน และทางผู้ปะกอบการต้องการให้กินบนใบตอง แทนการใช้จาน ถ้วย และเปิบด้วยมือแทนการกินด้วยช้อนส้อม เพื่อเพิ่มอรรถรสในการกิน สําหรับที่เดินทางไปลิ้มลองต้องกลับมาอุดหนุนและกินกันอีกครั้ง “นาสิอีแดกําปง” ซึ่งทางร้าน BARAZAAZ BAZAAZ จัดราคาเซตตั้งโต๊ะอยู่ที่หัวละ ๙๙ บาท เป็นบุฟเฟต์สามารถเติม กับข้าว ผักลวก ไม้อั้น (ยกเว้นปลาทอด)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดทรายขาว จังหวัดปัตตานี

บ้านทรายขาวเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ อันเงียบสงบ อยู่ติดกับเชิงเขาสันกาลาคีรี  อยู่ใกล้กับอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ด้วยธรรมชาติกับภูมิอากาศที่เย็นสบาย และวัฒนธรรมสองศาสนาระหว่าง พุทธ-มุสลิม ที่โดดเด่นซึ่งอยู่ร่วมกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนและตำนานจนถึงปัจจุบัน  

ชุมชนวัดทรายขาว มีคำขวัญที่แสดงถึงความโดดเด่น และเชิญชวนให้ผู้คนได้มาเยี่ยมเยือน ดังนี้ “น้ำตกงาม ลือนามอาจารย์นอง ชุมชนสองศาสน์สามัคคี ประเพณีลากพระขึ้นเขา มัสยิดเก่าโบราณ อร่อยหวานลองกอง ทุเรียนหมอนทองหวานมัน”

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดทรายขาว
วัดทรายขาวเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สร้างขึ้นเป็นวัดเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๐๐ โดยท่านภักดีชุมพล (นายเพ็ง) ที่ได้อพยพพรรคพวกมาจากเมืองไทรบุรี (รัฐเคดะห์) ประเทศมาเลเซีย ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นี่ ต่อมาได้บริจาคที่ดินสร้างเป็นวัดแล้วนิมนต์พระสงฆ์มาอยู่จำพรรษา วัดทรายขาวได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๒

มัสยิดนัจมุดดีน เป็นมัสยิดเก่าแก่อายุประมาณ ๓๐๐ กว่าปี เป็นศาสนสถานในศาสนาอิสลามที่มีการก่อสร้างแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมมุสลิม ซึ่งทำให้มัสยิดแห่งนี้มีลักษณะคล้ายศาลาการเปรียญของไทย 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว น้ำตกทรายขาวเดิมชาวบ้านเรียกว่า “น้ำตกกระโถน” มีต้นกำเนิดจากยอดเขานางจันทร์บนเทือกเขาทรายขาว ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ ๕ ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผาสูงประมาณ ๔๐ เมตร น้ำตกแห่งนี้มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมมาท่องเที่ยวของประชาชน ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

จุดชมวิวอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว จุดชมวิวทะเลหมอก ขอพรถ้ำวิปัสสนาเขารังเกียบ สักการะพระพุทธมหามุนินโลกนาถ ชมหินสลักพระนามาภิไธย และหินผาพญางู (มีลักษณะคล้ายหัวงู) ที่มีความโดดเด่น

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ ม.๓ ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เป็นสถานที่เพาะพันธุ์กล้าไม้ เช่น ไม้ตะเคียน ไม้สะเดา เป็นต้น

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ร่วมประกอบอาหารพื้นบ้าน (คาว/หวาน) โฮมสเตย์บ้านทรายขาว นักท่องเที่ยวที่เข้ามาร่วมทำอาหารพื้นบ้าน กับเจ้าของบ้าน เช่น ทำ ขนมข้าวต้มใบกะพ้อ ไข่แม่เฒ่า แกงหยวกกล้วย เป็นต้น

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านตะปัง จังหวัดนราธิวาส

บ้านตะปัง มีจำนวนประชากร ๔๐๑ คน ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ชุมชนมีเนื้อที่ ๒,๖๒๖ ไร่ ห่างจากอำเภอตากใบไปทางทิศเหนือประมาณ ๔ กิโลเมตร เรียงไปตามถนน และกระจุกตัวเป็นกลุ่มบ้าน เป็นที่ราบทุ่งนา ทุ่งหญ้า ร้อนชื้น ฝนตกชุก ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๔๐๘๔ สายนราธิวาส – ตาบา

บ้านตะปัง เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปฏิบัติตนตามหลักศาสนา รู้รักสามัคคี หลอมรวมใจให้มีความสุขร่วมกัน ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อแบ่งปัน ความนอบน้อมถ่อมตน เคารพนับถือผู้สูงวัยกว่าความกตัญญู และร่วมกันสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเป็นเสน่ห์ของคนในชุมชนบ้านตะปัง

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดปิบผลิวัน (ตะปัง) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นวัดที่มีความสำคัญวัดหนึ่งของอำเภอตากใบ มีสิ่งที่น่าสนใจ คือ อุโบสถ ภาพจิตรกรรมภายในอุโบสถ และกุฏิเจ้าอาวาสที่สวยงาม

วัดโคกมะเฟือง
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นวัดที่มีการขึ้นทะเบียน เป็นแหล่งโบราณสถานเป็นแหล่งโบราณสถานเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีสิ่งที่น่าสนใจคือ อุโบสถ และกุฏิเจ้าอาวาสที่สวยงาม 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ริมฝั่งแม่น้ำบางนราและจุดชมหิ่งห้อย เป็นจุดชมวิวและบรรยากาศริมฝั่งแม่น้ำบางนรา และชมหิ่งห้อยบริเวณแม่น้ำในช่วงกลางคืน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพคุณภาพสูง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นแหล่งเยี่ยมชมและเรียนรู้ การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เพื่อนำไปปรับใช้ในครัวเรือน

ศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตรบ้านตะปัง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นแหล่งเยี่ยมชมการสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษแบบครบวงจร

กลุ่มบูดูทรงเครื่อง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นแหล่งเยี่ยมชมและเลือกซื้อบูดูทรงเครื่องสูตรพิเศษของชุมชนบ้านตะปัง

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านตะปัง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นแหล่งเยี่ยมชมและเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์แม่บ้านโคกมะเฟือง ไข่เค็มโคกมะเฟือง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นแหล่งเยี่ยมชมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไข่เค็มสูตรเฉพาะของกลุ่มแม่บ้านโคกมะเฟือง

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ทำบุญตักบาตรยามเช้า วัดปิบผลิวัน สัมผัสบรรยากาศสดชื่นยามเช้าและ ร่วมทำบุญตักบาตรกับชาวบ้านตะปัง

ปลูกข้าวหอมกระดังงา ทุ่งนาบ้านตะปัง ร่วมกิจกรรมปลูกข้าวหอมกระดังงา ข้าวพื้นถิ่นของอำเภอตากใบกับชาวบ้านตะปัง ในช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม

ร่วมทำบูดูทรงเครื่อง กลุ่มบูดูทรงเครื่อง เข้าเยี่ยมชมการทำบูดูทรงเครื่องและร่วมทำบูดูทรงเครื่องสูตรพิเศษของชุมชนบ้านตะปัง

ปั่นจักรยานเยี่ยมชมหมู่บ้าน บ้านตะปัง ปั่นจักรยานเยี่ยมชมวิถีการดำเนินชีวิตและบรรยากาศภายในหมู่บ้านตะปังและพื้นที่ใกล้เคียง

ร่วมประเพณีลาซัง ทุ่งนาบ้านตะปัง เข้าร่วมประเพณีลาซังซึ่งจัดหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีพิธีกรรมและการละเล่นให้เข้าร่วมจำนวนมาก เช่น พิธีบูชาพระแม่โพสพ การทำขนมจีนแบบโบราณ ชมการแสดงมโนราห์ การแข่งขันจับปลาไหล การแข่งขันมวยทะเล เป็นต้น

เยี่ยมชมอุโบสถ และภาพจิตรกรรม วัดปิบผลิวัน (ตะปัง) วัดปิบผลิวัน (ตะปัง) เยี่ยมชมอุโบสถ ภาพจิตรกรรมในอุโบสถ และกุฏิเจ้าอาวาสที่มีความสวยงาม

เยี่ยมชมอุโบสถ และกุฏิเจ้าอาวาสวัดโคกมะเฟือง
วัดโคกมะเฟือง เยี่ยมชมอุโบสถ และกุฏิเจ้าอาวาส วัดโคกมะเฟืองที่มีความสวยงาม และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านทอนอามาน จังหวัดนราธิวาส

ชุมชนบ้านทอนอามาน เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลในเขตตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีลักษณะเป็นหมู่บ้านชาวประมง ชาวบ้านส่วนใหญ่ มีอาชีพทำการประมงเป็นหลักและมีการทำสวนมะพร้าวควบคู่ไปด้วย

ชุมชนบ้านทอนอามาน เป็นชุมชนมุสลิม ดำรงชีวิตตามวิถีชาวประมง ภายในชุมชนมีการสืบทอดภูมิปัญญาการสานกระจูด การสร้างสรรค์เรือกอและจำลองเพื่อเป็นของที่ระลึก การต่อเรือกอและหาปลา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว และการทำประมงพื้นบ้านเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

กลุ่มผลิตภัณฑ์กระจูดบ้านทอนอามาน เป็นกลุ่มสตรีที่รวมตัวกันทำการจักสานกระจูดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งรูปแบบดั้งเดิมและแบบร่วมสมัย อาทิ เสื่อ กระเป๋า ตะกร้าใส่ของ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก 

ศูนย์ทำเรือกอและจำลองบ้านทอน เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชนบ้านทอนในการผลิต     เรือกอและจำลองจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้แก่ครอบครัว โดยผลิตภัณฑ์เรือกอและจำลองของกลุ่มมีความละเอียด ลวดลายงดงามอ่อนช้อย มีสีสันที่จัดจ้าน เป็นหนึ่งในของฝากของที่ระลึกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนราธิวาส

อู่ต่อเรือกอและ บ้านทอนนาอีม อู่ต่อเรือกอและบ้านทอนเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ ภูมิปัญญาการต่อเรืออันยาวนานของช่างฝีมือท้องถิ่นบ้านทอน ด้วยผลงานที่ได้รับการยอมรับทำให้มีลูกค้ามาสั่งต่อเรือกอและอย่างต่อเนื่อง 

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะพร้าว บ้านทอนอามาน เป็นกลุ่มที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มแม่บ้านบ้านทอนและบริเวณใกล้เคียง เพื่อนำมะพร้าวซึ่งมีจำนวนมากในพื้นที่มาทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

หาดบ้านทอน หาดบ้านทอน เป็นชายหาดที่ ทอดยาวริมฝั่งอ่าวไทย บรรยากาศเงียบสงบ น้ำทะเลสีฟ้าใส มีความร่มรื่นจากเงาต้นมะพร้าวที่ปลูกเรียงรายตามแนวชายหาด และเรือประมงชายฝั่งขนาดเล็กที่จอดเรียงรายเพื่อเตรียมออกจากฝั่ง 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

เยี่ยมชมและเรียนรู้ภูมิปัญญาการสานกระจูด การผลิตผลิตภัณฑ์จากกระจูด กลุ่มผลิตภัณฑ์กระจูดบ้านทอนอามาน เยี่ยมชมและเรียนรู้ภูมิปัญญาการสานกระจูด การผลิตผลิตภัณฑ์จากกระจูด และเลือกซื้อของฝากผลิตภัณฑ์กระจูด

เยี่ยมชมศูนย์ทำเรือกอและจำลอง บ้านทอน ศูนย์ทำเรือกอและจำลองบ้านทอน เยี่ยมชมศูนย์ทำเรือกอและจำลอง งานฝีมือจากกลุ่มเยาวชนบ้านทอน และเลือกซื้อเรือกอและจำลองเป็นของฝาก

เยี่ยมชมการ แปรรูปผลิตภัณฑ์ จากมะพร้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะพร้าวบ้านทอนอามาน เยี่ยมชมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว ได้แก่ การผลิตถ่านจากกะลามะพร้าว การทำมะพร้าวคั่ว การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เป็นต้น  และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวเป็นของฝาก

เยี่ยมชมการต่อเรือกอและหาปลา อู่ต่อเรือกอและบ้านทอนนาอีม เยี่ยมชมและศึกษาการทำเรือกอและหาปลาขนาดใหญ่ หากเป็นช่วงที่มีการต่อเรือ จะได้สัมผัสกับเรือกอและขนาดใหญ่ที่มีการวาดลวดลายสีสันสวยงาม 

ชมหาดบ้านทอน หาดบ้านทอน พักผ่อนรับลมที่หาดบ้านทอน และเดินชมวิถีชาวประมงตลอดแนวหาด

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 จังหวัดนราธิวาส

ชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 เป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีเชื้อชาติมลายู ทำให้สามารถใช้ภาษามลายูกลาง    ในการสื่อสารได้ นอกจากนั้นแล้วยังมีวัฒนธรรมด้านอาหาร การแพทย์แผนจีน และร่องรอยของเรื่องราว     เมื่อครั้งยังเป็นพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ถือได้ว่าเป็นตำนานที่ยังคงมีชีวิตอยู่ ซ่อนตัวอยู่ในขุนเขาที่น่าค้นหา

ชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 มีวิถีการดำเนินชีวิตเมื่อครั้งยังเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา กรม 10 ที่น่าสนใจ มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ คือ พิพิธภัณฑ์ชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมภาพถ่าย อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในอดีต และยังสามารถล่องแก่งชมความความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติได้อย่างใกล้ชิด

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พิพิธภัณฑ์บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ เป็นอาคารที่จัดแสดงประวัติความเป็นมาของวิถีการดำเนินชีวิต เมื่อสมัยยังเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา กรม 10 โดยมีการจัดแสดงภาพถ่ายบุคคลสำคัญของกรม เครื่องมือ   ทางการแพทย์และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ 

ร่องรอยประวัติศาสตร์และอุโมงค์ที่ตั้งคอมมิวนิสต์มาลายา กรม 10 เป็นจุดศึกษาร่องรอยประวัติศาสตร์และเรียนรู้เรื่องราวจากการถ่ายทอด การใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา กรม ๑๐ ในอดีต และยังเป็นสถานที่รำลึกถึงวีรชนผู้ร่วมกันสร้างสันติสุขและเอกภาพของกรม ๑๐  ซึ่งตั้งอยู่ภายในป่าชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดล่องแก่ง บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ เป็นจุดที่สามารถล่องแก่งและสัมผัสความอุดมสมบูรณ์ของต้นน้ำแม่น้ำสายบุรี สองข้างทางล่องแก่งถูกปกคลุมด้วย    ร่มไม้ที่ให้ความเย็นสบาย ตลอดระยะทาง ประมาณ ๗ กิโลเมตร หากโชคดีในระหว่างการล่องแก่งอาจจะได้ชมวิถีการร่อนทองจากชาวบ้านด้วย

ป่าชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ ป่าชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ อยู่ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลาบาลา และเชื่อมต่อกับผืนป่าของประเทศมาเลเซีย ซึ่งบริเวณนี้เป็นป่าฝนเขตร้อนที่ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรมลายู ถูกขนานนามว่า “อเมซอนแห่งเอเชีย” เหมาะเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ

สวนไม้ดอกสุคิรินและจุดชมทะเลหมอก ตั้งอยู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ บนเนื้อที่ 2 ไร่ ที่มีลักษณะ  สันเขาลาดชัน ภายในสวน       มีการตกแต่งสถานที่ด้วยไม้ดอกนานาชนิด และยังเป็นจุดชมทะเลหมอกในช่วงเช้าด้วย

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แปลงเกษตรสวนผสม พื้นที่ของบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ ส่วนใหญ่เป็นภูเขา แต่จะมีพื้นที่ราบขนาดเล็กอยู่ใกล้ทางน้ำไหล ทำให้เป็นพื้นที่เหมาะแก่กาแปลงเกษตรสวนผสมรทำแปลงเกษตร มีการเพาะปลูกพืชผักผลไม้สวนผสมได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ สามารถที่จะนำชุมชนมาปรุงเป็นอาหาร สำหรับให้บริการ แก่นักท่องเที่ยวได้ 

ฟาร์มไก่บ้าน ฟาร์มไก่บ้านภายในชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ เป็นฟาร์มที่เลี้ยงไก่ท่ามกลางธรรมชาติ   มีบรรยากาศที่เหมาะสม ทำให้ไก่อยู่ในสภาวะไม่เครียด สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และในกระบวนการเลี้ยงจะไม่ใช้สารเร่งการเจริญเติบโต เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่รักสุขภาพ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ เยี่ยมชมเรื่องราว ประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ ในสมัยที่ยังเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา กรม ๑๐ ภายในพิพิธภัณฑ์จะได้ชมภาพถ่ายบุคคลสำคัญของกรม ๑๐ เครื่องมือทางการแพทย์ และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ

ล่องแก่งต้นน้ำสายบุรี (จุดล่องแก่งบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒) จุดล่องแก่งบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ ล่องแก่งสัมผัสความอุดมสมบูรณ์ของต้นน้ำแม่น้ำสายบุรี สองข้างทางล่องแก่งถูกปกคลุมด้วยร่มไม้ที่ให้ความเย็นสบาย ตลอดระยะทาง ประมาณ ๗ กิโลเมตร

ศึกษาเส้นทางธรรมชาติ (ป่าชุมชน บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒) ป่าชุมชน    บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ ศึกษาธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ “อเมซอนแห่งเอเชีย” ระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร

ศึกษาร่องรอยประวัติศาสตร์ และอุโมงค์ที่ตั้ง ฐานคอมมิวนิสต์มาลายา กรม 10 ร่องรอยประวัติศาสตร์และอุโมงค์ที่ตั้งฐานคอมมิวนิสต์มาลายา กรม 10เป็นการศึกษาร่องรอยทางประวัติศาสตร์และเรียนรู้เรื่องราวจากการถ่ายทอด      การใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์  มาลายา กรม ๑๐ ในอดีต และร่วมถ่ายรูปกับอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรชนผู้ร่วมกันสร้างสันติสุข และเอกภาพ ให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์มาลายา กรม ๑๐

ชมทะเลหมอก จุดชมทะเลหมอกสวนไม้ดอกสุคิริน สัมผัสกับทะเลหมอกยามเช้า ท่ามกลางหุบเขา และสวนไม้ดอกสุคิริน

Floating Lunch รับประทานอาหารกลางวันลอยน้ำ จุดบริการFloating Lunch รับประทานอาหารกลางวัน ลอยน้ำ รับประทานอาหาร Floating Lunch สำรับอาหารกลางวันลอยน้ำ ด้วยการแช่ขาหรือทานข้าวในน้ำที่เย็นฉ่ำ คลายร้อนช่วงกลางวัน เป็นมิติใหม่ของการรับประทานอาหารกลางวัน

ชมการแสดง รำพัดของเยาวชน ลานการแสดงอาคารอเนกประสงค์ของหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ รับชมการแสดงต้อนรับ การรำพัดของเยาวชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ ซึ่งเป็นการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านที่ได้รับอิทธิพลสมัยที่เข้าร่วมเข้าพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อสายจีน นักท่องเที่ยวสามารถร่วมแสดงรำพัดกับเยาวชนได้

เยี่ยมชมการฝังเข็ม จุดให้บริการฝังเข็ม  เยี่ยมชมการสาธิตและใช้บริการฝังเข็ม ฉบับแพทย์จีน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสมัยที่ยังเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา กรม ๑๐ 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดพรหมโลก จังหวัดนครศรีธรรมราช

ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพรหมโลก เป็นชุมชนที่ก่อตั้งมาประมาณ ๒๕๐ ปี ชื่อเดิมเรียกว่า “เหนือปากหราม” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “พรหมโลก” ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และประกอบอาชีพทำสวน  ประเพณีที่โดดเด่น ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีให้ทานไฟ ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ และประเพณีวันชาวสวน

ความโดดเด่น ของชุมชน คือ มีผู้นำบวรที่มีความเข้มเข็ง มีวัดเป็นศูนย์รวมในทุกกิจกรรมของชุมชน   มีมรดกภูมิปัญญาที่หลากหลาย และมีทุนด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมหลายแห่งมีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และมีโฮมสเตย์ต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติ

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดพรหมโลก สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ภายในวัดมีรูปภาพฝาผนังตั้งแต่เริ่มสร้างวัด  มีรูปปูนปั้นหลวงปู่พรหมโลกศักดิ์สิทธิ์  ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่ผู้คนเคารพนับถือ ปัจจุบันมีพระครูบรรหารวุฒิชัย เป็นเจ้าอาวาสวัดพรหมโลก และเจ้าคณะอำเภอพรหมคีรี ภายในวัด มีบริการรักษาพยาบาลผู้ถูกงูพิษโดยการใช้ยาสมุนไพร ณ อาคารบ้านกาชาดอุทิศ  โดยพระใบฎีกาบุญช่วย  เตชธมฺโม (สัมภาษณ์ ๕ เมษายน ๒๕๖๐) ผู้สืบทอดและอนุรักษ์วิชาการรักษาพิษงูด้วยสมุนไพรในปัจจุบัน  

พระตำหนักเมืองนคร พระตำหนักเมืองนครสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมวงศานุวงศ์ในคราวที่เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงงาน ณ เมืองนครศรีธรรมราช โดยตั้งอยู่ในสวนผลไม้เก่าแก่ของตระกูลทองสมัคร ผู้สร้างเรือนรับรองถวายในนามของชาวเมืองนครศรีธรรมราช และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ได้เสด็จมาเปิดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2541 และกลายเป็นที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของนครศรีธรรมราช

วัดเขาขุนพนม (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)
เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีถ้ำซึ่งมีกำแพงก่ออิฐถือปูน และใบเสมาเช่นเดียวกับกำแพงเมือง ในถ้ำมีพระพุทธรูปสำริดประมาณ 30 องค์และมีหลายถ้ำทะลุถึงกันอย่างไรก็ตามเป็นที่เชื่อกันในหมู่คนท้องถิ่นว่าเป็นที่ประทับของพระเจ้าตากสินมหาราชขณะทรงผนวช

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

น้ำตกพรหมโลก น้ำตกขนาดใหญ่ที่มีลานหินกว้างและสวยงาม  มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีต้นน้ำที่เกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราชไหลลงมาบนแผ่นหิน ๔ ชั้น (หนาน) ได้แก่ หนานบ่อน้ำวน  หนานวังไม้ปัก  หนานวังหัวบัว  หนาน วังอ้ายเล  สายน้ำไหลผ่านหมู่ไม้นานาพันธุ์  ริมเชิงเขา แล้วไหลไปเป็นคลองท่าแพ และลงสู่อ่าวไทยที่ตำบลปากพูน  น้ำตกพรหมโลกเป็นสถานที่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้า       สิริกิตติ์  พระบรมราชินีพันปีหลวงได้เสด็จมาเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๐๒ ในครั้งเสด็จจังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่ ๑

เขาหลวง “ยอดเขาหลวง” แนวเทือกเขานครศรีธรรมราช นับเป็นเทือกเขาที่ใหญ่ที่สุดและยาวที่สุดในภาคใต้ โดยมียอดเขาหลวงสูงที่สุดของแนวเทือกเขา ซึ่งมีความสูงประมาณ 1,835 เมตร จากระดับน้ำทะเล  และสูงที่สุดในเขตภาคใต้ ตั้งอยู่อยู่ในพื้นที่อำเภอลานสกา และอำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราชเปรียบเสมือน เป็นหลังคาสีเขียวของภาคใต้ เพราะมีสภาพเป็นป่าดงดิบชื้นและป่าดิบเขา ที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย และของโลก

วังปลาแงะ เป็นธารน้ำที่ไหลมาจากเทือกเขาหลวงน้ำตกพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี มีการจัดการพื้นที่ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ เป็นธารน้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลาแหวกว่ายไป มา บรรยากาศดีมาก เหมาะสำหรับการพาครอบครัวไปพักผ่อน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง ชาวสวนสมรม สวนผลไม้ สวนยางพารา สวนสมรม  หรือสมลม ซึ่งเป็นคำภาษาถิ่น หมายถึง สวนขนาดเล็ก ที่ปลูกผสมปนเปกันของผลไม้นานาชนิด ไม่มีการแยกแปลงแยกชนิด อาศัยธรรมชาติให้เกื้อกูลกันเอง นับเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านอย่างแท้จริง  เพราะผลไม้แต่ละชนิดออกผลผลิตไม่พร้อมกัน ทำให้เจ้าของสวนสามารถจำหน่ายผลผลิตได้ทั้งปี 

ศูนย์เรียนรู้ชมรมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านพรหมโลก ตั้งอยู่เลขที่ 119 หมู่ที่ 1 ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช   มีบริการ    ที่พักแบบโฮมสเตย์ พักบ้านชาวบ้านในชุมชน มีบริการรถรับ – ส่งนักท่องเที่ยวด้วยรถสองแถวในหมู่บ้าน   และมีรถจักรยานของชมรมให้เช่าปั่นเที่ยวภายในชุมชน มีบริการอาหารพื้นถิ่นภาคใต้ มีมัคคุเทศก์ท้องถิ่น นำเที่ยวภายในชุมชน  ทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ คือ น้ำตก  ถ้ำ  สวนผลไม้ (สวนสมรม) การทำสวนยาง  และแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน 

กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยเล็บมือนาง กลุ่มวิสาหกิจชุมชน “สวนจันทร์ศรี” นำโดยนางทิพย์วิภา  อิทธิกุลเศรษฐ์ ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน  อำเภอพรหมคีรี  และคณะได้รวมกลุ่มกันผลิตกล้วยแปรรูปเป็นกล้วยอบ  กล้วยฉาบ โดยกระทรวงพลังงานสนับสนุนโรงเรือนพลังงานแสงอาทิตย์  โดยใช้กล้วยเล็บมือนางหรือกล้วยกินดิบ  พันธุ์พื้นเมืองของอำเภอพรหมคีรี  มีชื่อเสียงโดดเด่น  พันธุ์แท้ดั้งเดิมมีต้นกำเนิดที่อำเภอพรหมคีรีโดยเฉพาะ ผลสุกใช้รับประทาน  ใช้แปรรูปเป็นกล้วยอบแห้งที่มีรสชาติหวานเฉพาะไม่เหมือนกล้วยที่ปลูกพื้นที่อื่นแม้เป็นพันธุ์เดียวกัน

กลุ่มหัตถกรรมไม้กวาดดอกหญ้า ในชุมชนพรหมโลก รวมทั้งหมู่บ้านใกล้เคียงมีการรวมกลุ่มทำไม้กวาดดอกหญ้าส่งขายในชุมชน และนอกพื้นที่ โดยนางอำพันธ์  ชูประสูติ และคณะ นำวัสดุดอกหญ้าและไม้ไผ่จากชุมชน และพื้นที่อำเภอใกล้เคียงมาผลิตเป็นไม้กวาด สามารถส่งออกเป็นสินค้า มีรายได้เข้าชุมชนตลอดปี

กลุ่มการทำฟาร์มเห็ด กลุ่มการทำฟาร์มเห็ดโดย นางจิรารัตน์  อินทร์แก้ว ทำการเพาะเห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดฟาง ฯลฯ  ในชุมชนพรหมโลก  สามารถส่งออกจำหน่ายทั้งในพื้นที่อำเภอพรหมคีรี  และต่างพื้นที่ ทั้งจำหน่ายเห็ดชนิดต่าง ๆ และรวมถึงจำหน่ายพันธุ์  จำนวนวัสดุ  อุปกรณ์การปลูกเห็ด  นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมเรียนรู้วิธีการเพาะเห็ด การบำรุงรักษาเห็ดชนิดต่าง ๆ และประโยชน์จากเห็ดได้ตามความสนใจ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การทำผ้าบาติก ที่ทำการชมรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนพรหมโลก การจัดกิจกรรมการจัดทำผ้าบาติกให้กับนักท่องเที่ยว  ในช่วงกลางคืน  เวลาหลังอาหารเย็น โดยเริ่มตั้งแต่การออกแบบลาย การวาดลายลงบนผืนผ้า การเขียนเทียน และการลงสี ทุกขั้นตอน  ซึ่งเช้าขึ้นมานักท่องเที่ยวสามารถนำชิ้นงานผ้ากลับไปเป็นของฝากได้

ตลาดนัดสุขภาพ วัดพรหมโลก ตลาดนัดสุขภาพทุกเช้าของวันเสาร์ โดยชาวบ้านในชุมชนจะนำผลิตภัณฑ์สินค้า พืช ผัก ทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษมาจำหน่ายในวัดพรหมโลก ซึ่งมีอาหาร ขนมปรุงสุกใหม่ ๆ บริการให้นักท่องเที่ยวได้ชิม ช้อป เป็นของฝากได้ มีศิลปะการแสดงทางวัฒนธรรมของเด็กเยาวชนและผู้สูงอายุ เป็นบรรยากาศที่อบอุ่น เรียบง่าย รักสุขภาพของชาวพรหมโลก

กิจกรรมทำอาหารพื้นบ้าน บ้านพักโฮมสเตย์ อาหารมื้อเย็นเจ้าของบ้านพักโฮมสเตย์จะจัดเตรียมวัตถุดิบในการประกอบอาหารไว้สำหรับปรุงร่วมกับนักท่องเที่ยว ซึ่งอาหารจะเป็นอาหารพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อของพรหมโลก เช่น น้ำพริกลูกประ แกงส้มมังคุดคัด ผัดผักเหลียงกับไข่ ฯลฯ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านแหลม-หน้าทัพ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ชุมชนคุณธรรมฯ หน้าทัพ-บ้านแหลม เป็นชุมชนขนาดเล็กที่คนในชุมชนกว่าร้อยละ 90 นับถือศาสนาอิสลาม ทำอาชีพประมงขนาดเล็กเป็นอาชีพหลัก วิถีชีวิตของชาวชุมชนที่ปรากฏออกมาเป็นอาชีพที่ผู้มาเยือนพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน จนเกิดเป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน 

ชุมชนบ้านแหลม-หน้าทัพเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมที่เหนียวแน่น และเป็นที่รวมแหล่งศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมและศาสนา ผู้คนในชุมชนก็มีความรักใคร่กันดี กลมเกลียว วิถีการเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายและร่มเย็น ล้อมรอบด้วยป่าชายเลน และท้องทะเลอ่าวทองคำที่เป็นแหล่งธรรมชาติที่มีค่าของชุมชน 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชน เป็นการเที่ยวชมวิถีชุมชนหน้าทัพ หมู่ 7 ที่มีความ เป็นอยู่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะ มีเสน่ห์ความเป็นมุสลิม ทั้งด้านวัฒนธรรมการแต่งกาย อาหาร  ศาสนสถานที่เป็นจุดเด่นของชุมชน คือ มัสยิดดารุลอามาน (มัสยิดสีชมพู) มัสยิดดารุลอามานบ้านหน้าทัพ เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติศาสนกิจ ของศาสนาอิสลาม ของชุมชนหมู่ 7 บ้านหน้าทัพ ความโดดเด่นของตัวอาคารเป็นสีชมพู นั่งรถซาเล้ง ชมวิถีชีวิตวัฒนธรรม

กลุ่มผลิตภัณฑ์ทอหางอวนบ้านหน้าทัพ 251 หมู่ที่ 15 บ้านบางตง เป็นการนำ “หางอวน” หรือยอดใบลานที่มีอยู่ใน ท้องถิ่นมาทำ เป็นเส้นตากแห้งและทอเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการหาปลา โดยใช้ติดที่ปลายอวน   ได้นำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หมวก กระเป๋า พวงกุญแจ กล่องทิชชู และกล่องใส่ของอเนกประสงค์ เป็นต้น จากคุณสมบัติของเส้นหางอวนที่มีความแข็งแรง คงทน เหนียว ไม่เปื่อยยุ่ยง่าย และไม่เป็นเชื้อรา ทำให้ได้รับความนิยมของผู้คนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มเครื่องแกงแม่บ้านมุสลีมะฮ์บ้านแหลม หมู่ 14 เป็นการเรียนรู้การ ทำเครื่องแกงกับกลุ่มแม่บ้าน  ที่รวมตัวกันทำพริกแกงโดยใช้วัตถุดิบที่ปลูกเองในชุมชนซึ่งสามารถส่งไป ขายที่ประเทศสิงคโปร์ เครื่องแกงที่นิยมคือ เครื่องแกงแพะ รับประทานข้าวมันทะเลเป็นอาหารของชาวประมงที่ทำกินง่าย ๆ ชุมชนบ้านหน้าทัพได้ประดิษฐ์ทำอาหารข้าวมันทะเลโคลน เพื่อสอดรับกับการเที่ยวชุมชน ข้าวหมกปลากะพง ขนมปะดา ทอดเทมปุระ  

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สวรรค์ป่าชายเลน ป่าอเมซอนภาคใต้แห่งอ่าวทองคำ เป็นป่าโกงกางที่มีขนาดใหญ่และมีความ อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชน  ล่องเรือจิบกาแฟแลตะวัน เรือประมงนำเที่ยว นำนักท่องเที่ยว ไปพักในแพกลางทะเลเพื่อชมดวงอาทิตย์ยามเช้า จิบกาแฟ ทานปาท่องโก๋ ข้าวมันแกง และปลูกต้นกล้าโกงกางป่าชายเลน เป็นกิจกรรมสร้างจิตสำนึกด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติ และการท่องเที่ยวที่สร้างความประทับใจและยั่งยืนตลอดไป

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

กลุ่มวิสาหกิจบ้านสวนเกษตรวัลลีย์ เรียนรู้การทำสวนเกษตรการปลูกมัลเบอร์รี่ เสาวรส ผักสวนครัว ตลอดจนการแปรรูป น้ำผลไม้ การทำแยมมัลเบอร์รี่ การชำกิ่ง ตลอดจนการบำรุงรักษาดูแลเพื่อสามารถให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

กลุ่มวิสาหกิจแปรรูปงานไม้เจะเหลม
เป็นการร่วมกลุ่มกันของกลุ่มผู้ชายสูงวัยที่ร่วมกันแปรรูปจากผลิตภัณฑ์งานไม้จากเศษไม้ภายในชุมชนมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น โคมไฟ ที่วางหนังสือ  ตู้ยาประจำบ้าน

บ้านสวนมะพร้าว บอนไซ เรียนรู้การทำมะพร้าวบอนไซ การทำสบู่น้ำมันมะพร้าว ตลอดจนการร่วมกิจกรรมการทำมะพร้าวสะกัดเย็นซึ่งเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการพัฒนาวัตถุดิบภายในชุมชน

สวนมัลเบอร์รี่ เก็บมัลเบอร์รี่สด ๆ จากต้น พร้อมชิมน้ำมัลเบอร์รี่ปั่นสดจากต้น เรียนรู้กรรมวิธีการปลูกและบำรุงต้นให้ได้รับผลผลิตที่สมบูรณ์และสามารถจัดการให้เพียงพอต่อการจัดจำหน่าย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม