Warning: Constant WP_DEBUG already defined in /home2/cp962929/public_html/jk.tours/wp-config.php on line 41
โบราณสถาน Archives - JK.TOURS

วัดเขาพระนิ่ม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑. กำหนดอายุสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๔๘๐เขาพระนิ่มเป็นภูเขาหินปูนขนาดเล็กอยู่ใกล้กับปากน้ำท่าทอง ทางขึ้นถ้ำมีบันไดนาคที่ทางวัดจัดสร้างไว้ สุดปลายบันไดมีถ้ำ ปากถ้ำกว้างประมาณ ๖ เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในถ้ำลักษณะเป็นคูหามี
๒ คูหาอยู่ชิดกัน ชื่อเขาพระนิ่ม มาจากความเชื่อของชาวบ้านเล่ากันว่า พระพุทธรูปภายในถ้ำแต่ก่อนเวลาเอามือไปแตะหรือกด จะรู้สึกนิ่มมือ ชาวบ้านจึงเรียกว่า “พระนิ่ม” ซึ่งอาจเป็นเพราะพระพุทธรูปภายในถ้ำมีความชื้นมาก เนื้อปูนจึงอ่อนยุ่ย หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธรูปปูนปั้นจำนวนทั้งสิ้น
๒๒ องค์ พระพุทธรูปไสยาสน์ ๒ องค์ พระพุทธรูปปางป่าเลไลย์
๑ องค์ นอกนั้นเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด – ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. สิ่งอำนวยความสะดวก (ห้องน้ำ/ที่จอดรถ)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ที่ตั้ง ตำบลตลาด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑. วัดพระบรมธาตุไชยาเป็นวัดโบราณไม่ปรากฎหลักฐานทางเอกสารแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมเคยปรักหักพังรกร้างมาระยะหนึ่ง จนกระทั่งได้มีการบูรณะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๔๕๓ มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญคือ “พระบรมธาตุไชยา” พระบรมธาตุไชยาเป็นเจดีย์ทรงปราสาทเรือนธาตุมีฐานเป็นรูปกากบาท มีมุขทั้ง ๔ ด้าน สูงจากฐานถึงยอดประมาณ ๒๔ เมตร ตั้งอยู่บนฐานบัวลูกแก้วรูปสี่เหลี่ยม ตกแต่งด้วยเสาติดผนัง ขนาดทางด้านทิศตะวันนออกถึงทิศตะวันตก ยาว ๑๓ เมตร ขนาดทางด้านทิศเหนือถึงทิศใต้ ยาว ๑๘ เมตร ส่วนฐานอยู่ต่ำกว่าผิวดิน ปัจจุบันทางวัดได้ขุดบริเวณฐานโดยรอบกว้าง และลึกประมาณ ๑ เมตร เพื่อให้เห็นฐานเดิม ส่วนบนของบัวลูกแก้วสี่เหลี่ยม มีลักษณะเป็นฐานทักษิณ ที่มุมทั้ง ๔ ประดับด้วยสถูปจำลอง ตรงกลางฐานเป็นรูปบัวลูกแก้วอีกชั้นหนึ่งรองรับเรือนธาตุทรงจตุรมุข มุขด้านหน้าทางด้านทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูปภายในองค์เจดีย์ได้
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด – ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๑๘๙๕ ๐๑๕๙
๕. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ทางลาด/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ที่ตั้ง 249 ถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
๑. วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี เป็นวัดเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมือง จ.สุพรรณบุรี วัดป่าเลไลยก์ สร้างขึ้นในระหว่างช่วงสมัยอู่ทอง และอาจเก่าจนเลยถึงสมัยลพบุรี โดยไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด แต่จากหลักฐานทางศิลปะ และจารึกในพงศาวดาร ทำให้เชื่อได้ว่ามีอายุไม่น้อยกว่า 1200 ปี จึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปีพ.ศ. 2478 โดยวัดป่าเลไลยมีโบราณสถาน สำคัญคือ วิหารหลวงพ่อโต เป็นองค์ประธานของวัด ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อโต บริเวณระเบียงคต ยังมีจิตรกรรมฝาผนัง วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ให้ได้ชมกันอีกด้วย นอกจากนี้ ด้านทิศใต้ของวัดป่าเลไลยก์ ยังมีศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยสุพรรณบุรี เป็นวิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียง อนุรักษ์พันธุ์กล้วยหายากในประเทศไทย และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวสุพรรณบุรีอีกด้วย
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
 09 2590 9595
๕. ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/Watpalalaiworawihan/
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก
 ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

ที่ตั้ง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
๑. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยอยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ห่างจากตัวจังหวัดสุโขทัยไปทางทิศตะวันตกประมาณ
๑๒ กิโลเมตร ถนนจรดวิถีถ่อง ทางหลวงหมายเลข 12 สายสุโขทัย-ตาก ในอดีตเมืองสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทยมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครองศาสนาและเศรษฐกิจ ภายในอุทยานฯ มีสถานที่สำคัญที่เป็นพระราชวัง ศาสนสถาน โบราณสถาน โดยมีคูเมือง กำแพงเมือง และประตูเมืองโบราณล้อมรอบอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
09.00 – 18.30 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
คนไทย 30 บาท
นักท่องเที่ยวต่างชาติ 150 บาท
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 5569 7241
๕. ช่องทางออนไลน์
http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/sukhothai/index.php/th/
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก 
ห้องน้ำ /ทางลาด /ที่จอดรถ / ศูนย์บริการ
นักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ปราสาทเขาน้อยสีชมพู

ที่ตั้ง ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
๑. สันนิษฐานว่า ปราสาทนี้สร้างในพุทธศตวรรษที่ 12 และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในพุทธศตวรรษที่ 15 และคงความสำคัญจนถึงพุทธศตวรรษที่ 16 เชื่อว่าเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูตัวปราสาทเป็นโบราณสถานก่ออิฐไม่ผสมปูน ประกอบด้วยปราสาทก่อด้วยอิฐ 3 หลังคือ ปรางค์ทิศเหนือ ปรางค์องค์กลาง และวิหารทิศใต้ แต่คงเหลือเพียงปรางค์องค์กลางเท่านั้นที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ส่วนปรางค์ทางทิศเหนือ และวิหารทิศใต้เหลือเพียงฐานเท่านั้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2478 ปราสาทเขาน้อยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติจากกรมศิลปากร และมีการสำรวจ ขุดพบโบราณวัตถุจำนวนมาก ปราสาทหลังนี้เป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดูแต่ยังไม่อาจระบุได้ว่าเป็นลัทธิใด เป็นอาคารก่ออิฐไม่ผสมปูน 3 หลัง พังทลายเหลือแต่ปรางค์องค์กลาง กับเนินดินอีก 2 เนิน พบโบราณวัตถุหลายชิ้นบริเวณบริเวณโบราณสถาน ได้แก่ ทับหลัง ศิลปะเขมรแบบสมโบร์ไพรกุก (พุทธศตวรรษที่ 12-13) ติดอยู่เหนือกรอบประตูทางเข้าองค์กลาง พบจารึก อยู่บนแผ่นวงกบประตูปรางค์องค์กลาง ระบุมหาศักราช 559 ตรงกับ พ.ศ. 1180 นอกจากนี้เสา ประดับกรอบประตูเป็นศิลปะเขมรแบบกุเลน (พุทธศตวรรษที่ 14-15) ประติมากรรมรูปบุคคลมี 4 กร แต่โบราณวัตถุเหล่านี้สูญหายและบางส่วน ถูกย้ายไปเก็บรักษาจนหมดสิ้น นอกจากนี้ยังพบทับหลัง4 ชิ้นที่ปราสาทองค์ทิศเหนือบริเวณหน้าซุ้มประตูเป็นศิลปะเขมรแบบต่าง ๆ และพบโบราณวัตถุ ทำจากหินทรายจำนวนมาก อาทิ ศิวลึงค์ ฐานรูปเคารพศิลาฤกษ์ ธรณีประตู ประติมากรรมบุคคุล ชิ้นส่วนประติมากรรม หินลับ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ เช่น หม้อ ไห จานมีเชิงสังข์ดินเผา เครื่องโลหะและชิ้นส่วนเครื่องโลหะ เช่น ตราประทับทำจากเหล็กหุ้มด้วยสำริด มีจารึกอยู่ที่ดวงตราเป็นตัวอักษรในพุทธศตวรรษที่ 16 ด้ามมีดทำด้วยเหล็ก ห่วงเหล็ก เชิงเทียน เป็นต้น ที่หน้าเขาน้อยมีการสร้างศาลไว้ เรียกว่า ศาลเจ้าพ่อเขาน้อย หรือ เจ้าพ่อขุนดาบ และมีการเซ่นไหว้ทุกเดือน 6 และเดือน 12 ของทุกปี และยังมีประเพณีขึ้นเขาเป็นการนมัสการเจ้าพ่อทุกปี
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 08.30 – 16.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม –
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา

ที่ตั้ง เลขที่ ๑๓ ถนนวิเชียรชม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
๑. เป็นสถานที่จัดแสดงศิลปวัตถุที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ตอนล่าง ภายในอาคารจัดแสดงมี ๒ ชั้นชั้นล่าง แบ่งการจัดแสดงเป็น ๘ ส่วน ได้แก่ วิถีชีวิตสงขลาภูมิลักษณ์คาบสมุทรสงขลาสงขลายุคก่อนประวัติศาสตร์สงขลาสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เมืองสงขลาหัวเขาแดงเมืองสงขลาแหลมสนเมืองสงขลาบ่อยางสงขลาย้อนยุค ชั้นที่ ๒ มีห้องจัดแสดง ๕ ห้อง ได้แก่ความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศ บันทึกสงขลาศิลปกรรมสงขลา ประวัติศาสตร์โบราณคดีภาคใต้ตอนล่างสุนทรียภาพในวิถีชีวิตของชาวภาคใต้ตอนล่าง อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา เป็นโบราณสถานของชาติ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมตะวันตก อายุกว่า ๑๐๐ ปีเดิมเป็นคฤหาสน์ของผู้ช่วยเจ้าเมืองสงขลา พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) และเป็นที่พำนักและว่าราชการของพระยาวิจิตรวรศาสตร์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลาซึ่งต่อมาก็คือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) หลังจากนั้นได้ใช้เป็นศาลาว่าการมณฑล นครศรีธรรมราช และเป็นศาลากลางจังหวัดตามลำดับ ต่อมากรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑสถานของชาติสงขลา
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
– เปิดให้เข้าชมวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
ชาวไทย ๓๐ บาท
ชาวต่างประเทศ ๑๕๐ บาท
นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : ๐ ๗๔๓๑ ๑๗๒๘
โทรสาร : ๐ ๗๔๓๑ ๑๘๘๑
๕.ช่องทางออนไลน์
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/songkhlamuseum/
อีเมล : songkhlamuseum@gmail.com
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ ศูนย์บริการ
นักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

ชุมชนคุณธรรมวัดพะโคะ (เที่ยวชุมชน ยลวิถี) จังหวัดสงขลา

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๖ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
๑. วัดพะโคะหรือชื่อเป็นทางราชการว่าวัดราชประดิษฐาน ตั้งอยู่บนเขาพะโคะ หรือเขาพิพัทสิงห์ เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสนา โบราณคดี ศาสนา และเกี่ยวข้องกับประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ความสำคัญของวัดพะโคะ
๑) เคยใช้เป็นสถานที่กระทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
๒) เป็นที่ประดิษฐานพระเมาลิกเจดีย์ (พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ)
๓) เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ หรือที่เรียกว่า พระโคตมะ (พะโคะ)
๔) เป็นวัดที่มีความสำคัญเกี่ยวโยงกับประวัติหลวงปู่ทวด ที่หลวงปู่ทวดได้บูรณะวัดและพระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ
๕) เป็นวัดที่มี่ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ศาสนา และโบราณคดี มีทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุ และมีจิตรกรรมฝาผนังซึ่งเป็นภาพเขียนรุ่นใหม่ (พ.ศ. ๒๕๑๘ – ๒๕๑๙) เกี่ยวกับปริศนาธรรม นอกจากนี้ยังมีสิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ ,ศาลาตัดสินความหรือวิหารที่เคยใช้ที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา,เจดีย์องค์เล็ก,พระพุทธรูปที่ระเบียงคต,ช้างล่อหัวที่ฐานพระเจดีย์,พระพุทธรูปทรงเครื่องทวดยายหฺมฺลี,รอยเท้าหลวงปู่ทวด ,บ่อน้ำซักจีวรหลวงปู่ทวด และลูกแก้วคู่บารมี เป็นต้น
กิจกรรม
– กราบนมัสการรูปเหมือนหลวงปู่ทวด
– เยี่ยมชมโบราณสถาน /สถานที่สำคัญ
– สวดมนต์หมู่เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อชีวิต
– สนทนาธรรมะกับเจ้าอาวาสหรือพระภิกษุสงฆ์ที่เจ้าอาวาสมอบหมาย รับวัตถุมงคล/ของที่ระลึก
– ถ่ายภาพเป็นทีระลึก หรือพักผ่อนตามอัธยาศัย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมฯ ชุมชนท่ามะโอ

ที่ตั้ง ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง
๑.จุดตั้งชุมชนมีความเชื่อมโยงกับเมืองลำปางทั้งยุคที่ ๑ ยุคที่ ๒ และยุคที่ ๓ จึงทำให้มีสถานที่สำคัญๆ ตั้งอยู่ในย่านชุมชนเป็นจำนวนมาก มีโบราณสถานที่มีความสำคัญคือ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม วัดปงสนุก วัดประตูป่อง ซุ้มประตูโขงโบราณวัดกากแก้ว แนวกำแพงเมืองโบราณ รวมถึงสัญลักษณ์สถานของความเฟื่องฟูในยุคของการสัมปทานป่าไม้ ซึ่งย่านชุมชนท่ามะโอเป็นศูนย์กลาง เช่น บ้านเสานัก บ้านหลุยส์ ที ลีโอโนแวนส์ บ้านเลขที่ ๑ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วชุมชน ยังเป็นมีกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม โฮมสเตย์ และรถรางไว้คอยบริการอีกด้วย
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 1495 6820
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/TamaoTravel
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วิหารพระนางจามเทวี วัดปงยางคก จ.ลำปาง

ที่ตั้ง ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
๑.เป็นโบราณสถานที่สำคัญมีการเขียนลายคำที่เป็นอัตลักษณ์ โดดเด่นที่สุดในภาคเหนือ สันนิษฐานว่าวัดปงยางคก สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1243 มีตำนานเล่าว่า ครั้งเมื่อพระนางจามเทวี ผู้ครองนครหริภุญชัย มาเยี่ยมเจ้าอนันตยศ ราชบุตร ผู้มาครองนครเขลางค์ลำปาง ระหว่างเดินทางนำฉัตรทองไปบูชาที่พระธาตุลำปางหลวง ช้างพระที่นั่งย่อตัวหมอบชูงวงคารวะ พระนางเห็นเป็นอัศจรรย์ จึงพักพล ณ ที่นั้น ตกกลางคืน พระนางอธิษฐานว่าอธิษฐานว่า หากมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ปรากฏขึ้น จากนั้นมีแสงพุ่งออกมาจากจอมปลวก จากนั้นพระนางจามเทวีจึงทรงให้ปลูกมณฑปปราสาท ครอบจอมปลวกไว้ ตลอดจนสร้างสิงห์คาบนาง สร้าง กู่จ๊างนบ แต่ต่อมาเพี้ยนมาเป็น “วัดปงยางคก”
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 6921 3068
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ปรางค์กู่ จังหวัดร้อยเอ็ด

ที่ตั้ง ต.มะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
๑.ปรางค์กู่ เป็นปราสาทขอม ตั้งอยู่ที่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด สร้างด้วยศิลาแลง มีลักษณะเป็นกลุ่มอาคารที่มีลักษณะแบบเดียวกับอาคารที่เชื่อกันว่าคืออโรคยาศาล ตามที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหม อันประกอบด้วย ปรางค์ประธาน บรรณาลัย กำแพง พร้อมซุ้มประตูและสระน้ำนอกกำแพง โดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควร โดยเฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ ๓ ชั้น และมีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบน อาคารอื่นๆ แม้หักพังแต่ทางวัดก็ได้จัดบริเวณให้ดูร่มรื่นสะอาดตา นอกจากนี้ภายในกำแพงด้านหน้าที่มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บรักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ ทับหลังหินทราย สลักเป็นภาพบุคคลนั่งบนหลังช้างหรือวัว เป็นทับหลังหน้าประตูมุขของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป และชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูก ดัดแปลงเป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้นกำหนดอายุว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ในพ.ศ. ๒๕๓๔ กรมศิลปากรได้บูรณะ และประกาศขึ้นทะเบียนปรางค์กู่เป็นโบราณสถานวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ ทุกวัน ๐๘.๐๐ น. -๑๘.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม ๐๖ ๒๕๙๒ ๖๐๒๙
๕.ช่องทางออนไลน์ เฟสบุค พลังบวรบ้านปรางค์กู่
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม