กู่สันตรัตน์ จังหวัดมหาสารคาม

ที่ตั้ง บ้านกู่ หมู่ที่ 2 ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
1.กู่สันตรัตน์ ตั้งอยู่ที่ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างจากอำเภอนาดูน ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 4 กิโลเมตร สร้างด้วยศิลาแลงเป็นศิลปะขอมแบบ บายน มีรูปลักษณ์ปราสาทหินที่มีปรางค์ประธานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัตมีมุขด้านหน้ายื่นไปทางทิศตะวันออก มีบรรณาลัยซึ่งเป็นที่เก็บคัมภีร์ทางศาสนา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้หันหน้าเข้าหาปรางค์ประธาน อาคารทั้ง 2 ล้อมด้วยกำแพงศิลาแลง ซึ่งสร้างยังไม่เสร็จเรียบร้อยอีกชั้นหนึ่ง กู่สันตรัตน์สร้างขึ้นมาด้วยมีวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐานรูปเคารพสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และเป็นโรคยาศาล คือเป็นที่พักรักษาพยาบาลคนเจ็บป่วยอีกด้วย
ในบริเวณใกล้เคียงยังมี พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสันตรัตน์ เป็นแหล่งรวบรวมมรดกศิลปวัฒนธรรมที่เป็นโบราณวัตถุ อันทรงคุณค่า ที่มีมาตั้งแต่อดีตให้คงอยู่คู่กับท้องถิ่นและประเทศชาติ เป็นแหล่งค้นคว้าเกี่ยวกับมรดกทางประวัติศาสตร์โบราณสถานและโบราณคดี และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถานและทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งเป็นการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นอย่างไรก็ตามการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกู่สันตรัตน์ยังไม่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากยังขาดงบประมาณที่จะดำเนินการยกระดับให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเป็นแหล่งค้นคว้ามรดกทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นให้กับผู้สนใจ
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
ติดต่อสอบถาม 06 3954 3693
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100008568827155
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก (ห้องน้ำ/ที่จอดรถศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดสุวรรณคูหา จังหวัดพังงา

ที่ตั้ง ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
๑.วัดสุวรรณคูหา ตั้งอยู่ที่ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เป็นวัดที่มีความน่าสนใจและเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพังงา บริเวณที่ตั้งของวัดเป็นภูเขา ซึ่งมีถ้ำขนาดใหญ่และขนาดเล็กจำนวนมาก วัดสุวรรณคูหามีถ้ำใหญ่อยู่ตอนล่างสุด มีพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานอยู่หลายองค์ องค์สำคัญที่สุดคือ พระพุทธไสยาสน์ที่มีความยาว 7 วา 2 ศอก ที่มีความสวยงามสมบูรณ์แบบ ลึกเข้าไปจากถ้ำใหญ่จะเป็นถ้ำแจ้ง ถ้ำมืด และถ้ำแก้ว ซึ่งจะได้พบความงดงามของหินงอกหินย้อย ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินเข้าไปชมความมหัศจรรย์จากธรรมชาตินี้ได้
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
จันทร์ – อาทิตย์ 08:00 – 17:00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 7645 0333
๕.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

เมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๔ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
 ๑.เมืองโบราณยะรัง อายุ 1,000 ปี ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เมืองโบราณยะรัง เป็นเมืองโบราณซ้อนทับกันสามเมือง ตั้งแต่บ้านวัดที่เก่าแก่ที่สุด บ้านจาเละ และบ้านปราแว ในนี้มีโบราณสถานกว่า ๔๐ แห่ง ชุมชนโบราณ ยะรังเป็นชุมชนรัฐโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีอาณาบริเวณติดกับ ๓ ตำบล คือยะรัง วัด และปิตูมุดี นักโบราณคดีสำรวจขุดค้นแหล่งโบราณคดีในเขตตำบลกระโด ตำบลวัด ตำบลระแว้ง และตำบล ปิตูมุดี พบว่าปรากฏซากโบราณสถานจำนวนมาก น่าจะเป็นพื้นที่ศาสนสถานมากกว่าที่อยู่อาศัยของประชาชน อาจเป็นไปได้ว่าที่อยู่อาศัยของชุมชนตั้งอยู่บริเวณแหล่งโบราณคดีบ้าน บราโอ และบ้านกรือเซะ เชื่อว่าแหล่งโบราณคดีทั้งสองเป็นบริเวณที่เคยตั้งอยู่ใกล้ทะเลเดิม (ชะวากทะเลยะรัง) มีร่องรอยคลองขุดของกิจกรรมมนุษย์ปรากฏอยู่ ชุมชนโบราณยะรัง มีความเจริญทางวัฒนธรรมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอมรับนับถือศาสนาพุทธซึ่งได้รับอิทธิพลจากอินเดีย นอกจากการมีความสัมพันธ์กับภายนอกแล้วยังรับวัฒนธรรมใกล้เคียงที่นับถือศาสนาเดียวกัน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลาทำการ จันทร์ – ศุกร์ ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. (วันเวลาราชการ)
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๙๕๙๕ ๑๑๖๙
๕.ช่องทางออนไลน์
FACEBOOK : เมืองโบราณยะรัง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

โบราณสถานสระมรกต จ.ปราจีนบุรี

ที่ตั้ง บ้านสระข่อย ตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ (ห่างจากเมืองศรีมโหสถไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๓ กิโลเมตร)
๑.โบราณสถานสระมรกต เป็นแหล่งโบราณสถานในอำเภอศรีมโหสถ แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม
กลุ่มที่ ๑ เป็นกลุ่มอาคารโบราณสถานที่สร้างขึ้นในสมัยแรก ประกอบด้วย วิหารพระพุทธบาท ลานประทักษิณศิลาแลง อาคารก่ออิฐ อาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า กำแพงแก้วล้อมรอบวิหารพระพุทธบาท และกำแพงแก้วชั้นนอกที่เหลือร่องรอยบางส่วน
กลุ่มที่ ๒ เป็นกลุ่มอาคารโบราณสถานที่สร้างทับบนโบราณสถานกลุ่มแรก ประกอบไปด้วย ซุ้มประตูหน้า ปรางค์ประธานที่มีแผนผังเป็นรูปกากบาทสองอันต่อกัน บรรณาลัยมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยม ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วถัดจากซุ้มด้านหน้า ทำเป็นทางเดินทอดยาวไปทางทิศตะวันออก ลักษณะโบราณสถานกลุ่มที่สองมีแผนผังแบบเดียวกับอโรคยาศาลาที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๓๗๒๗ ๖๐๘๔
๕. ช่องทางออนไลน์
http://www.kokthai.go.th/travel.php?content_id=18
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดสิงห์ – เตาโอ่งอ่าง/ดงตาล จังหวัดปทุมธานี

ที่ตั้ง หมู่ 2 บ้านสามโคก ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
๑. วัดสิงห์เป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งทิศตะวันตก สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา เดิมเป็นวัดร้างต่อมาได้มีชาวมอญอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน และบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นอีกครั้งราวปี พ.ศ. 2212 จนกลายเป็นวัดมอญคู่บ้านคู่เมืองสามโคกมาจนถึงปัจจุบัน ภายในวัดสิงห์มีแหล่งโบราณสถานที่ที่สนใจ เช่น วิหารโถงหรือศาลาดิน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือหลวงพ่อโต และพระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือหลวงพ่อเพชร โกศพระยากราย พระเถระคนสำคัญของเมืองปทุมธานี และนอกจากนี้ยังมีเตาเผาโบราณ ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามวัดสิงห์ เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั่นดินเผาที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวมอญในอดีต ใช้ผลิตเครื่องปั่นดินเผาจำพวกเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น หม้อหวด ตุ่ม โอ่ง อ่าง โดยเฉพาะ “ตุ่มสามโคก” ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน 24 ชั่วโมง
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 06 1879 3951
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook : วัดสิงห์ จ.ปทุมธานี
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ร้านอาหาร 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

ที่ตั้ง บ้านดอนหนองแหน ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
๑.ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว เป็นโบราณสถานเนื่องในอิทธิพลอารยธรรมเขมรโบราณที่มีความงดงาม และมีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยศาสนสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ หนึ่งในสามเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู (ตรีมูรติ) ลัทธิไศวะนิกาย เขาพนมรุ้งและปราสาทบนยอดเขาจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสอันเป็นที่ประทับของพระศิวะ และยังเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาล กลุ่มอาคารบนยอดเขามีการก่อสร้างหลายยุคสมัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 – 18 มีปราสาทประธาน เป็นสถาปัตยกรรมหลักที่สำคัญที่สุด ชื่อ “พนมรุ้ง” มาจากภาษาเขมรว่า “วนํรุง” แปลว่า ภูเขาอันกว้างใหญ่ โดยคำนี้ปรากฎอยู่ในศิลาจารึกอักษรขอมพบที่ปราสาทพนมรุ้ง
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
07.00 – 18.00 นาฬิกา ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (20บาท)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 4466 6251
๕. ช่องทางออนไลน์
http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/phanomrung
https://www.facebook.com/Ensemble.of.Phanom.Rung
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

เมืองโบราณดงละคร จังหวัดนครนายก

ที่ตั้ง หมู่ 5 ตำบลดงละคร อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
๑. เมืองดงละคร เคยเป็นเมืองท่าที่สำคัญในสมัยโบราณช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-เมืองโบราณดงละคร เดิมเรียกว่า “เมืองลับแล” เป็นสถานที่ตั้งเมืองโบราณสมัยทวาราวดีและขอม เนินดินดงละครหรือดงใหญ่มีพื้นที่ 6 ตารางกิโลเมตร ภายในมีเมืองโบราณหรือดงเล็ก ลักษณะเป็นรูปไข่ อยู่ค่อนไปทางทิศตะวันตกของเนินดิน มีคันดินเป็นกำแพง 2 ชั้นเรียกว่า “สันคูเมือง” และมีคูน้ำล้อมรอบภายในเมืองน่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของชนชั้นปกครอง ส่วนประชาชนตั้งบ้านเรือนเรียงรายอยู่ในบริเวณที่ลุ่มรอบเมืองความรุ่งเรืองแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกเริ่มพุทธศตวรรษที่ 14-16 เป็นวัฒนธรรมแบบทวาราวดี ช่วงที่สองพุทธศตวรรษที่ 17-19 เป็นวัฒนธรรมขอม และวัฒนธรรมก่อนอยุธยาพุทธศตวรรษที่ 19 ชาวบ้านดงละครคงจะอพยพไปตั้งถิ่นฐานตามลำน้ำสายหลักในจังหวัดนครนายก สันนิษฐานว่าน่าจะมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเมืองศรีมโหสถที่จังหวัดปราจีนบุรีเพราะเมืองทั้งสองอยู่ห่างกันเพียง 55 กิโลเมตร โบราณวัตถุที่ค้นพบ ได้แก่ เศษภาชนะดินเผา ภาชนะเคลือบสีฟ้า ลูกปัด แก้วลูกปัดหิน เบี้ยดินเผาแผ่นตะกั่วตุ้มหูแหวนและกำไลสัมฤทธิ์แผ่นทองคำ เศียรพระพุทธรูปกะไหล่ทอง และสถูปศิลาแลง ตามตำนานกล่าวว่า “เมืองโบราณดงละคร” เคยเป็นเมืองของราชินีขอมซึ่งเป็นที่รโหฐาน และบริเวณเมืองมีต้นไม้สูงขึ้นอยู่ทั่วไปหากคนนอกเข้าไปแล้วจะหาทางออกไม่ได้ในวันโกน และวันพระจะได้ยินเสียงกระจับปี่ ซอ ปี่พาทย์มโหรีขับกล่อมคล้ายกับมีการเล่นละครในวังจึงเรียกกันว่า “ดงละคร” หรือคำว่า “ดงละคร” อาจเพี้ยนมาจาก “ดงนคร” ก็ได้ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เมืองโบราณดงละครเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น.

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

จวนเรซิดังกัมปอร์ต จังหวัดตราด

ที่ตั้ง 198 ถนนหลักเมือง ตำบลบางพระ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด 23000
๑.ตามบันทึกช่วยจำของหลวงสาครคชเขตต์ (ประทวน สาคริกานนท์) ซึ่งเป็นอดีตนายอำเภอเกาะช้าง และอำเภอบางพระ ระหว่าง พ.ศ.2453-2464 กล่าวว่าอาคารจวนเรซิดังฯ ใช้เป็นที่พำนักของข้าหลวงฝรั่งเศส ผู้ได้รับการมอบหมายจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้ปกครองจังหวัดตราด ระหว่าง พ.ศ. 2447-2450 ก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2436-2446 ฝรั่งเศสได้ยึดเมืองจันทบุรี ไทยต้องเอาดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง คือหลวงพระบางฝั่งขวา มโนไพร และจำปาศักดิ์ ไปแลกเปลี่ยน แต่หลังจากที่ฝรั่งเศสถอนตัวจากจันทบุรีก็หันมายึดเมืองตราดอีก ต่อมาฝรั่งเศสได้คืนเมืองตราดให้แก่ไทย โดยฝ่ายไทยต้องยกเลิกดินแดนส่วนนอก คือ เมืองเสียมราฐ เมืองพระตะบอง และเมืองศรีโสภณ เป็นการแลกเปลี่ยน ตั้งแต่ พ.ศ. 2450-2471 อาคารหลังนี้ได้ใช้เป็นที่พักผู้ว่าราชการเมืองตราดตลอดมา โบราณสถานแห่งนี้เป็นสิ่งยืนยันถึงพระมหากรุณาธิคุณในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 และความเสียสละของบรรพบุรุษที่ได้ใช้ความวิริยะ อุตสาหะทุกวิถีทาง บางคราวยอมสละแม้ชีวิตที่ปกป้องผืนแผ่นดินไทยไว้ให้ลูกหลาน และในปัจจุบัน ไทยกับฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น. (พักเที่ยงเวลา 12.00 – 13.00 น.) หยุดวันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 3959 7259
๕.ช่องทางออนไลน์ – 
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎ์ (วัดเมือง พระอารามหลวง) จังหวัดฉะเชิงเทรา

ที่ตั้ง ๑๕๖ ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

๑. ความสำคัญ วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์หรือวัดเมืองเป็นโบราณสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่สร้างขึ้นเมื่อเกิดการสร้างบ้านแปลงเมืองของฉะเชิงเทราใน พ.ศ. 2377 พร้อม ๆ กับการสร้างป้อมและกำแพงเมืองเพื่อกำหนดขอบเขตของแปดริ้ว เป็นปราการรักษาพระนคร และชาวบ้านชาวเมืองให้ปลอดภัยจากข้าศึกศัตรูโดยช่างฝีมือจากเมืองหลวงมีรูปแบบสถาปัตยกรรม ใกล้เคียงกับพระปรางค์วัดพระศรีรัตนศาสดารามที่กรุงเทพมหานคร ต่างกันที่รายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น นอกจากนี้ชาวบ้านที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ทำให้มีการสร้างวัดขึ้นมาด้วย เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองและเป็นที่พึ่งทางใจในยามสงคราม เนื่องจากวัดนี้ ตั้งอยู่ในเมือง ชาวบ้านจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ” วัดเมือง ” ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสฉะเชิงเทรา จึงได้พระราชทานนามวัดว่า ” วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ ” ซึ่งมีความหมายว่า วัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินสร้าง”
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 6.00–21.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐ ๓๘๕๑ ๕๑๔๒
๕. ช่องทางออนไลน์ –
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา

ที่ตั้ง ตำบล หน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา

๑.เยี่ยมชมตำหนักกรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ซึ่งปัจจุบัน คือ พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นเรือนไม้สองชั้น เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นที่ตั้งของที่ว่าการมณฑลปราจีน และกรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ สมุหเทศาภิบาล ผู้ทรงพระปรีชาชาญในวิชาการปกครองก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง และตำหนักแห่งนี้เคยเป็นที่ประทับพักแรมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวที่เสด็จประพาสฉะเชิงเทรา ถึง 2 ครั้ง
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทำการทุกวัน เวลา 07.00 – 1๗.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐๙ ๘๕๓๑ ๖๕๑๙
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.chachoengsaomuseum.com/?page=home
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม