ร้านข้าวแกงหม้อเขียว จังหวัดปัตตานี

ที่ตั้ง หมู่ ๖ ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
 1. ร้านข้าวแกงหม้อเขียว นาประดู่ ตำนานอาหารอร่อย ด้วยเอกลักษณ์หม้อแกงสังกะสี สีเขียวแบบโบราณโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ รสชาติแกงใต้ กับข้าวอร่อยมัดใจผู้คนทั้งในนาประดู่และนักเดินทางมานานกว่า 50 ปี (ที่ตั้งร้านริมถนนสาย 409 ในชุนชนนาประดู่) โดยมีป้าสมบูรณ์ ลิ่มสุวรรณ์ เจ้าของตำรับความอร่อยของร้านข้าวแกงหม้อเขียวที่กำลังขมักเขม้นกับการเอาใจใส่ลูกค้าที่เดินทางมาทานอาหารมื้อเที่ยงในทุกวันกันแบบคึกคึก
ป้าสมบูรณ์ กล่าวว่า ที่มาของหม้อเขียวนั้นมาจากคำพูดของคนโบราณ เวลาไปวัดไปวา ไปทำบุญก็จะใช้หม้อที่มีหูหิ้ว มีฝาปิด เรียกว่าหม้อเขียวถึงแม้หม้อจะเป็นสีน้ำเงินหรือบางคนก็บอกว่าสีฟ้าก็จะเรียกว่าหม้อเขียวเช่นเดียวกัน โดยเรียกกันมาอย่างนี้ตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน ส่วนร้านข้างแกงหม้อเขียวนั้นเริ่มต้นมาจากคุณยายซึ่งเปิดร้านมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2512 และใช้หม้อเขียวในการใส่เมนูอาหารต่างๆ เวลาลูกค้ามาทานอาหารก็จะบอกว่ามาทานที่ร้านหม้อเขียว หลังจากนั้นก็เรียกร้านคุณยายว่าร้านหม้อเขียวมาโดยตลอดจนมาถึงปัจจุบันนี้
1.2 เมนูเด่น/เมนูแนะนำ ไก่ หมู ทอดน้ำผึ้ง แกงส้ม คั่วกลิ้ง พะโล้ ผัดเผ็ด พะแนง
1.3 วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน ๐๖.๐๐ น. – เมื่อข้าวแกงหมด
1.4 เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 08 1478 7579


2. ร้านขนมเปี้ยะนาประดู่ เอกลักษณ์สำคัญของ “ขนมเปี๊ยะ” บ้านนาประดู่ ซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษชาวจีนที่เดินทางมายัง จังหวัดปัตตานี เมื่อครั้งในอดีตยุคการค้าทางเรือในพื้นที่รุ่งเรือง คือ “ความสดใหม่และสูตรลับความอร่อยที่ไม่เหมือนใคร ยี่ห้อ “ตั๋นโฮ่ฮวด” จะเน้นสินค้าที่ออกจากเตาร้อนๆ และวางขายชนิดวันต่อวัน อีกทั้งกรรมวิธียังเป็นสูตรลับที่รู้เฉพาะคนในตระกูลเท่านั้น โดยเฉพาะแป้งที่หอมนุ่ม ไม่ว่าจะเป็นไส้ถั่ว หรือฟัก จะมีกลิ่นหอมกรุ่น ถูกใจนักชิมทุกคน ปัจจุบันจะผลิตขนมเปี๊ยะ โดยมีให้เลือกหลายไส้ คือ ไส้ถั่วล้วนและไส้ถั่วผสมฟัก ไส้ถั่วแดง ไส้เผือก มีหลายราคา ตั้งแต่ 10 บาท20 บาท 35 บาท 55 บาท และ105 บาทหากใส่กล่องกระดาษ เพิ่มอีก 5 บาท
2.1 เมนูเด่น/เมนูแนะนำ ขนมเปี๊ยะ ไส้ถั่วล้วน และไส้ถั่วผสมฟัก ไส้ถั่วแดง ไส้เผือก
2.3 วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน ๐๖.๓๐ น. – ๑๗.๓๐ น.
2.4 เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 081 599 2670
2.5 ช่องทางออนไลน์
Facebook : ขนมเปี๊ยะ ตั๋นโฮ่ฮวดนาประดู่

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงมะพร้าวน้ำหอม จังหวัดปัตตานี

ที่ตั้ง หมู่ ๕ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
๑.ไร่น้องขันแก้ว เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สวนมะพร้าวน้ำหอม เจ้าของสวน ชื่อ นายฉลอง เพชรยอดศรี สวนแห่งนี้มีนักเรียน นักศึกษาและก็ประชาขนได้มาเยี่ยมชม เป็นแหล่งเรียนรู้เพราะแปลงมะพร้าวน้ำหอมแปลงนี้ใช้เกลือจืด ซึ่งปลอดสารเคมี แมงดำหนามที่มาทำลายต้นมะพร้าว เจ้าของสวนนำแตงเบียนมาปล่อย เพื่อกำจัด โดยที่ไม่ต้องใช้สารเคมี ทำให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมสามารถรับประทานผลไม้ที่ปลอดภัยไร้สารพิษอย่างแน่นอน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
กุมภาพันธ์ – มิถุนายน
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ ไม่มี
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๖๙๖๙ ๖๑๓๙
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ฉลอง เพชรยอดศรี มะพร้าวน้ำหอม
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ ที่จอดรถ ร้านอาหาร จุดบริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

เมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๔ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
 ๑.เมืองโบราณยะรัง อายุ 1,000 ปี ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เมืองโบราณยะรัง เป็นเมืองโบราณซ้อนทับกันสามเมือง ตั้งแต่บ้านวัดที่เก่าแก่ที่สุด บ้านจาเละ และบ้านปราแว ในนี้มีโบราณสถานกว่า ๔๐ แห่ง ชุมชนโบราณ ยะรังเป็นชุมชนรัฐโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีอาณาบริเวณติดกับ ๓ ตำบล คือยะรัง วัด และปิตูมุดี นักโบราณคดีสำรวจขุดค้นแหล่งโบราณคดีในเขตตำบลกระโด ตำบลวัด ตำบลระแว้ง และตำบล ปิตูมุดี พบว่าปรากฏซากโบราณสถานจำนวนมาก น่าจะเป็นพื้นที่ศาสนสถานมากกว่าที่อยู่อาศัยของประชาชน อาจเป็นไปได้ว่าที่อยู่อาศัยของชุมชนตั้งอยู่บริเวณแหล่งโบราณคดีบ้าน บราโอ และบ้านกรือเซะ เชื่อว่าแหล่งโบราณคดีทั้งสองเป็นบริเวณที่เคยตั้งอยู่ใกล้ทะเลเดิม (ชะวากทะเลยะรัง) มีร่องรอยคลองขุดของกิจกรรมมนุษย์ปรากฏอยู่ ชุมชนโบราณยะรัง มีความเจริญทางวัฒนธรรมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอมรับนับถือศาสนาพุทธซึ่งได้รับอิทธิพลจากอินเดีย นอกจากการมีความสัมพันธ์กับภายนอกแล้วยังรับวัฒนธรรมใกล้เคียงที่นับถือศาสนาเดียวกัน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลาทำการ จันทร์ – ศุกร์ ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. (วันเวลาราชการ)
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๙๕๙๕ ๑๑๖๙
๕.ช่องทางออนไลน์
FACEBOOK : เมืองโบราณยะรัง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดประเวศน์ภูผา (วัดบ้านตรัง) จังหวัดปัตตานี

ชุมชนบ้านตรัง เป็นแหล่งชุมชนโบราณ เกิดขึ้นสมัยต้นรัตนโกสินทร์ปกครองแบบหัวเมือง มีภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย อีกทั้งยังเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง คนในชุมชนยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรแบบผสมผสาน มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งสามารถแก้ไขปัญหาภายในชุมชน 

เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืน โดยการใช้พลังบวร คือ วัด เป็นศูนย์รวมของชุมชน ส่งเสริมคุณธรรมให้ชาวบ้าน บ้านคือแหล่งภูมิปัญญาความรู้ และถ่ายทอดสู่โรงเรียน บ้านตรังจึงเป็นชุมชนที่มีเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวโดยนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และขนบธรรมเนียมประเพณียังคงอนุรักษ์มาตั้งแต่อดีต คือ ประเพณีลากพระลงนาหลังจากออกพรรษา 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดประเวศน์ภูผา (วัดบ้านตรัง) เป็นวัดเก่าแก่ สร้างเมื่อปีพ.ศ. ๒๒๔๐ มีอายุราว ๓๐๐ ปี เป็นโบราณสถานที่มากด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์และความศรัทธาของคนในชุมชน

หอประไตรปิฎก หอไตร เป็นอาคารไม้ยกพื้นสูงหลังคาทรงจัตุรมุข สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ สร้างโดยพ่อแก่เจ้าแสง (อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านตรัง)

พิพิธภัณฑ์เครื่องมือเครื่องใช้โบราณ

พิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ วิถีชีวิตชุมชน “คนบ้านตรัง” พิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ วิถีชีวิตชุมชน “คนบ้านตรัง” แสดงเครื่องมือเครื่องใช้ครัวเรือนสมัยโบราณ

ต้นตะเคียนแกะสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติ ต้นตะเคียนความยาว ๒๕ เมตร อายุ ๓๐๐ ปี แกะสลักเล่าเรื่องราวพุทธประวัติ ๑๔ ตอน และเล่าเรื่องราววิถีชีวิตชาวชุมชนบ้านตรัง

วิหารหลวงพ่อสุข หลวงพ่อปลอด วิหารหลวงพ่อสุข หลวงพ่อปลอด (อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านตรัง)

อาคารเก็บสรีระสังขาร พ่อแก่เจ้าแสง อาคารเก็บสรีระสังขารพ่อแก่เจ้าแสง หรือพระครูมงคลประภาส อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านตรัง ซึ่งมรภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ด้วยอายุ ๑๐๑ ปี ท่านได้สร้างวัตถุมงคล คือ ควายธนู และหน้ากากพรานบุญ เชื่อกันว่าหน้ากากพรานบุญเป็นสุดยอดเครื่องรางของขลังแห่งสายเมตตามหานิยมโภคทรัพย์ ที่มีชื่อเสียงไปถึงต่างแดน 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดเช็คอินบ้านตรัง จุดเช็คอินบ้านตรังตั้งอยู่บริเวณนาข้าวในช่วงฤดูการทำนา บริเวณนี้จะมีความสวยงามมีความอุดมสมบูรณ์ของนาข้าวและเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกดินของชุมชน

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านตรัง เป็นแหล่งเรียนรู้ โคกหนองนา ของหมู่บ้าน อีกทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การทำน้ำหมักชีวภาพ

ศูนย์สมุนไพรเพื่อการศึกษาบ้านตรัง แหล่งเรียนรู้สมุนไพรรักษาโรค โดย นายเน จิตมณี ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรที่มีความเชียวชาญสมุนไพรรักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต 

แหล่งเรียนรู้การทำสวนไผ่ในชุมชน แหล่งเรียนรู้ด้านการทำสวนไผ่ และน้ำเยื่อไผ่

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ประเพณีลากพระลงนา วัดประเวศน์ภูผา ประเพณีลากพระลงนาหลังจากออกพรรษา ประเพณียังคงอนุรักษ์มาตั้งแต่อดีต ตั้งแต่เช้าตรู่ชาวบ้านในชุมชนจะช่วยกันลากเรือพระออกจากวัด และลากไปลงในนาข้าวบริเวณใกล้ ๆ วัด และลากกลับวัดในตอนใกล้พระอาทิตย์ตกดิน โดยมีความเชื่อว่าหากได้ลากเรือพระลงในทุ่งนาแล้ว จะทำให้การทำนาในฤดูกาลนั้น ๆ มีความอุดมสมบูรณ์ได้ผลผลิตมาก

กิจกรรมเรียนรู้การปลูกข้าว นาข้าวในชุมชนบ้านตรัง เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เยาวชนในชุมชนได้เรียนรู้การทำนาข้าว

นักท่องเที่ยวทำขนมทองม้วน กลุ่มทำขนมบ้านตรัง ตั้งอยู่ในวัดประเวศน์ภูผา กลุ่มทำขนมบ้านตรัง เป็นแหล่งเรียนรู้การทำขนมพื้นบ้าน อาทิ การทำขนมทองม้วน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมในการทำขนม

นักท่องเที่ยวทอผ้า ศูนย์ศิลปาชีพกลุ่มทอผ้าบ้านตรัง ตั้งอยู่ในวัดประเวศน์ภูผา ศูนย์ศิลปาชีพกลุ่มทอผ้าบ้านตรัง เป็นแหล่งผลิตผ้าทอลายจวนตานี เอกลักษณ์ของจังหวัดปัตตานี นอกจากเป็นแหล่งจำหน่ายผ้าทอลายจวนตานี ยังเป็นแหล่งเรียนรู้การทอผ้าโดยภูมิปัญญาที่มีความชำนาญด้านการทอผ้า โดยกลุ่มสตรีชุมชนบ้านตรัง ที่ยังคงอนุรักษ์ รักษา และต่อยอดลวดลายต่าง ๆ ประยุกต์ให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรม ที่นำรายได้มาสู่ชุมชน

ศิลปะการแสดงกลองยาว คนในชุมชนบ้านตรัง ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มกลองยาวบ้านตรังเพื่อร่วมกันอนุรักษ์ศิลปะการแสดงกลองยาว และเป็นการแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนชุมชนอีกด้วย

ทำอาหารพื้นถิ่น แกงคั่วลูกโหนด น้ำพริกผักสด

ศิลปะการแสดงมโนราห์ ศิลปะการแสดงมโนราห์ การแสดงพื้นบ้านที่คนในชุมชนบ้านตรัง อนุรักษ์เพื่อส่งต่อให้ลูกหลานในชุมชนได้เรียนรู้และร่วมกันสืบสานให้คงอยู่สืบไป

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดทรายขาว จังหวัดปัตตานี

บ้านทรายขาวเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ อันเงียบสงบ อยู่ติดกับเชิงเขาสันกาลาคีรี  อยู่ใกล้กับอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ด้วยธรรมชาติกับภูมิอากาศที่เย็นสบาย และวัฒนธรรมสองศาสนาระหว่าง พุทธ-มุสลิม ที่โดดเด่นซึ่งอยู่ร่วมกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนและตำนานจนถึงปัจจุบัน  

ชุมชนวัดทรายขาว มีคำขวัญที่แสดงถึงความโดดเด่น และเชิญชวนให้ผู้คนได้มาเยี่ยมเยือน ดังนี้ “น้ำตกงาม ลือนามอาจารย์นอง ชุมชนสองศาสน์สามัคคี ประเพณีลากพระขึ้นเขา มัสยิดเก่าโบราณ อร่อยหวานลองกอง ทุเรียนหมอนทองหวานมัน”

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดทรายขาว
วัดทรายขาวเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สร้างขึ้นเป็นวัดเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๐๐ โดยท่านภักดีชุมพล (นายเพ็ง) ที่ได้อพยพพรรคพวกมาจากเมืองไทรบุรี (รัฐเคดะห์) ประเทศมาเลเซีย ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นี่ ต่อมาได้บริจาคที่ดินสร้างเป็นวัดแล้วนิมนต์พระสงฆ์มาอยู่จำพรรษา วัดทรายขาวได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๒

มัสยิดนัจมุดดีน เป็นมัสยิดเก่าแก่อายุประมาณ ๓๐๐ กว่าปี เป็นศาสนสถานในศาสนาอิสลามที่มีการก่อสร้างแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมมุสลิม ซึ่งทำให้มัสยิดแห่งนี้มีลักษณะคล้ายศาลาการเปรียญของไทย 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว น้ำตกทรายขาวเดิมชาวบ้านเรียกว่า “น้ำตกกระโถน” มีต้นกำเนิดจากยอดเขานางจันทร์บนเทือกเขาทรายขาว ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ ๕ ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผาสูงประมาณ ๔๐ เมตร น้ำตกแห่งนี้มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมมาท่องเที่ยวของประชาชน ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

จุดชมวิวอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว จุดชมวิวทะเลหมอก ขอพรถ้ำวิปัสสนาเขารังเกียบ สักการะพระพุทธมหามุนินโลกนาถ ชมหินสลักพระนามาภิไธย และหินผาพญางู (มีลักษณะคล้ายหัวงู) ที่มีความโดดเด่น

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ ม.๓ ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เป็นสถานที่เพาะพันธุ์กล้าไม้ เช่น ไม้ตะเคียน ไม้สะเดา เป็นต้น

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ร่วมประกอบอาหารพื้นบ้าน (คาว/หวาน) โฮมสเตย์บ้านทรายขาว นักท่องเที่ยวที่เข้ามาร่วมทำอาหารพื้นบ้าน กับเจ้าของบ้าน เช่น ทำ ขนมข้าวต้มใบกะพ้อ ไข่แม่เฒ่า แกงหยวกกล้วย เป็นต้น

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม