Magic Mountain Cafe’ จังหวัดพะเยา

ที่ตั้ง ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา
๑. ประเภทของที่พัก
เกสท์เฮาส์
๒. จำนวนห้อง ๒ ห้อง
๓. ประเภทห้องพัก/ราคา หรืออื่น ๆ โปรดระบุ
สำหรับ ๒ ท่าน / ๔,๘๐๐ บาท
สำหรับ ๓ ท่าน / ๗,๕๐๐ บาท
สำหรับ ๔ ท่าน / ๙,๐๐๐ บาท
รวมอาหาร ๒ มื้อ : อาหารเย็น (หมูกระทะ) | อาหารเช้า


๔. สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ
เตียงนอนขนาด ๕ ฟุต/พัดลม/อ่างอาบน้ำ บาธโฟม/ห้องน้ำ เครื่องทำน้ำอุ่น สบู่ แชมพู/ตู้เย็น ฯลฯ
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๖ ๕๕๐๒ ๕๔๙๙
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook : Magic Mountain Cafe’

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์การเรียนรู้เครื่องปั้นดินเผา จังหวัดพะเยา

ที่ตั้ง 66หมู่ 10 ต.แม่ปืม อ.เมือง จ.พะเยา
1.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ เฮือนปฏิมา เซรามิค
2.ชื่อผู้ประกอบการ นายอุเทน รินฟอง
3.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
3.1 ชื่อผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผา
เฮือนปฏิมาเซรามิก ผลิตงานเครื่องปั้นดินเผาที่ขึ้นรูปด้วยมือในแบบง่ายๆ เป็นธรรมชาติ แต่เอกลักษณ์ด้านการขึ้นรูปและเทคนิคการเคลือบทำให้เป็นที่สนใจของลูกค้า เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ รูปทรงการออกแบบมีความแปลกใหม่อยู่เสมอ ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นจึง “เป็นชิ้นเดียวในโลก” แต่สิ่งที่เหมือนกันทุกชิ้น คือ “ลายก้นหอย” นิ้วมือ สื่อให้รู้ว่าเป็นงานฝีมือขึ้นรูปและตกแต่งด้วยมือทุกชิ้น แม้การขึ้นรูปจะเหมือนกันบ้าง แต่การตกแต่งลวดลายไม่มีการซ้ำแบบหรือลวดลายอย่างเด็ดขาดโดยลูกค้าจะสั่งตามความชอบ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องทำให้ได้รับรางวัลสำคัญมากมาย
4.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 18.00 น.
และวันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 15.00 น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 1960 9859
6.ช่องทางออนไลน์
Facebook : เฮือนปฏิมา อาร์ท แกลอรี่

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักตบชวาบ้านสันป่าม่วง (ชวาวาด) จังหวัดพะเยา

ที่ตั้ง เลขที่ 13 หมู่ 8 ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
1.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ ชวาวาด
2.ชื่อผู้ประกอบการ นางวาด ยาเย็น
3.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
3.1 ชื่อผลิตภัณฑ์ กะเป๋าผักตบชวา
กระเป๋าผักตบชวา สีธรรมชาติ และสีย้อมจากวัสดุธรรมชาติ ที่มีรูปแบบน่าใช้ และตกแต่งให้มีความทันสมัย
3.2 ชื่อผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ สานผักตบชวา
เครี่องใช้ในบ้านสานจากผักตบชวา สีธรรมชาติ และสีย้อมจากวัสดุธรรมชาติ เช่น กล่องใส่ทิชชู่ กล่องดินสอ รองเท้า เป็นต้น
3.3 กระเป๋าผักตบชวาทอผสมกับฝ้าย- สีด้านบนย้อมจากสีธรรมชาติ สามารถใส่สัมภาระต่างๆ ได้ หลายอย่าง มีความคงทน
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 08.00 – 17.00 น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 6115 7615
6.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ผักตบชวา ชวาวาดพะเยา

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านศรีสกุล จังหวัดพะเยา

ที่ตั้ง 522 ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
๑.ร้านอาหารศรีสกุลเป็นร้านอาหารเก่าแก่ที่สุดของจังหวัดพะเยา ก่อตั้งโดย นายชาญ ชาญวนังกูร ก่อตั้งแต่เมื่อ ปี พ.ศ.2489 โดยเริ่มจากเป็นร้านอาหารห้องแถวไม้เล็กๆ และในวันที่ 5 มีนาคม 2515 เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ตลาดเมืองพะเยา อาคารบ้านเรือนเสียหายอย่างมาก ทำให้มีการสร้างตึกใหม่และขยายร้านให้ใหญ่ขึ้น และพัฒนามาเป็นร้านอาหารที่หรูหราขึ้น ภายหลังก่อนปี พ.ศ. 2520 ได้เริ่มพัฒนามาเป็นอาหารโต๊ะจีน เนื่องจากร้านอาหารเพิ่มจำนวนมากขึ้น ร้านอาหารศรีสกุลจึงมีการปรับปรุงการให้บริการหน้าร้านลง และเน้นการจัดอาหารโต๊ะจีนเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันรายได้หลักของร้านมาจากการให้บริการอาหารโต๊ะจีน
ปัจจุบันมีนายมานะ ชาญวนังกูร (ทายาทรุ่นที่ 2) เป็นเจ้าของร้าน และนายวัชระ ชาญวนังกูร (ทายาทรุ่นที่ 3) เป็นผู้บริหารร้าน
2.เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 แฮ่กึ้น
2.2 เห็ดหอมยัดไส้
2.3 กระเพาะปลาผัดแห้ง
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดเวลา 09.00 น. – 18.00 น.
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 9838 7068 , 0 5443 1096
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ศรีสกุล – โต๊ะจีนพะเยา

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดตุ่นใต้ จังหวัดพะเยา

ที่ตั้ง หมู่ 1 ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
๑.ชุมชนคุณธรรมวัดตุ่นใต้ เป็นชุมชนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม บนพื้นฐานการอนุรักษ์วัฒนธรรม มีความเชื่อในการทำพิธีกรรมต่างๆ ที่ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เช่น การเลี้ยงผีปู่ย่า การทำคันข้าวแฮก การแห่ช้างเผือก เป็นต้น เป็นชุมชนที่มีความพร้อมในการถ่ายทอดการเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง และการอนุรักษ์ ชุมชนรักสงบ รักความสามัคคี ใช้ภาษาเมืองในการสื่อสาร และเป็นภาษาเอกลักษณ์ประจำถิ่น
ชุมชนคุณธรรมวัดตุ่นใต้ เป็นชุมชนเกษตรกรรม และอนุรักษ์วัฒนธรรมการใช้วิถีชีวิต จึงได้จัดการการท่องเที่ยวแบบวิถีเศรษฐกิจพอเพียง มีการจัดการที่พักอย่างเป็นระบบ มีโฮมสเตย์ในชุมชนซึ่งชาวบ้านในชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกครั้งมีเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชน และนอกชุมชน มีรถนำเที่ยวและ มัคคุเทศ มีอาหารที่โดดเด่นที่นักท่องเที่ยวเข้ามาจะต้องได้รับประทานอาทิ แกงแค ไข่ป่าม แอ๊บปลา เป็นต้น มีศิลปะการแสดงที่น่าสนใจ เช่น ฟ้อนปาดแน วงดนตรีพื้นเมือง สะล้อ ซอ นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ชุมชน ของฝากของที่ระลึกอีกมากมาย เช่น โคมล้านนา ตุงล้านนา สมุดปกผักตบชวา กระเป๋าย่าม ฯลฯ
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่

๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ช่วงปลายฝนต้นหนาว ตุลาคม – กุมภาพันธ์
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
มาเป็นคณะศึกษาดูงานตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป คิดค่าบริการ 3,000 บาท พร้อมบรรยาย 5 ฐาน
บ้านพักโฮมสเตย์ 5 หลัง คิดค่าบริการ 120 บาท/คน/คืน คิดค่าอาหารมื้อละ 50 – 70 บาท/คน/มื้อ แล้วแต่อาหารที่สั่ง
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๙๘๘๗ ๘๗๙๖ พระจิรพงศ์ วรลาโภ ,๐๙ ๒๕๐๖ ๕๒๑๕ (ผู้ใหญ่บ้าน)
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook : บวร On Tour ชุมชนคุณธรรมวัดตุ่นใต้
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ ที่จอดรถ จุดบริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วนอุทยานภูลังกา จังหวัดพะเยา

๑.วนอุทยานภูลังกา คือ อีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงของอำเภอเชียงคำ และอำเภอปง จังหวัดพะเยา อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหยวนและป่าน้ำลาว และป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยม มีเนื้อที่ประมาณ 7,800 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2545
ภูลังกาเป็นภูเขาสูงชันอยู่ในเทือกเขาสันปันน้ำ วางตัวอยู่ในแนวตะวันออก – ตะวันตก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900 – 1,720 เมตร มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่
– ภูเทวดา เป็นจุดชมทะเลเมฆหมอก ดวงอาทิตย์ขึ้นลงและดอกไม้ป่าสวยงาม โดยเฉพาะในช่วงปลายฝนต้นหนาว
– ดอยภูนม เป็นสันเขาแคบ ๆ ทอดตัวต่อลดหลั่นมาจากดอยภูลังกา เป็นยอดดอยมีหญ้าปกคลุมและลมพัดแรงบนยอดสามารถชมทิวทัศน์ได้รอบโดย เฉพาะทะเลหมอก พระอาทิตย์ขึ้นและตก และสามารถมองเห็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
– ดอยภูลังกา เป็นสันเขาแคบ ๆ ด้านตะวันตกเป็นป่าดงดิบเขาด้านทิศตะวันออกเป็นหน้าผาสูงชันมีหญ้าปกคลุมและ ลมพัดแรง เมื่อขึ้นไปบนยอดดอยชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกยามเช้าได้สวยงาม และสามารถมองเห็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นต้น
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ –
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ช่วงเวลาแนะนำ ชมทะเลหมอกในฤดูฤดูหนาว ตุลาคม-กุมภาพันธ์
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
ไม่มี
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
ศึกษาธรรมชาติหลากหลาย เช่น พิชิตยอดดอยต่าง ๆ ของวนอุทยานฯ ได้แก่ ยอดดอยภูลังกา ยอดดอยภูนม ชุ่มฉ่ำกับน้ำตกภูลังกา ชมลานหินล้านปี หินแยงฟ้า ชื่นชมป่าก่อโบราณ
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
วนอุทยานภูลังกา 08 1883 0307,0 5371 1402
อบต.ผาช้างน้อย โทร.0 5440 1100,
๗.ช่องทางออนไลน์ –
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก (ระบุเครื่องหมาย /)
ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ จุดบริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พระธาตุจอมทอง จังหวัดพะเยา

ที่ตั้ง ม.๑๗ ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
๑.องค์พระธาตุสีทองเหลืองอร่ามตั้งเด่นตระหง่านอยู่บนดอยจอมทองคือ “พระธาตุจอมทอง” ตั้งอยู่ภายในวัดพระธาตุจอมทอง เป็นปูชนียสถานโบราณคู่เมืองพะเยา อันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวเมืองพะเยามาตั้งแต่โบราณ พระธาตุจอมทองเป็นเจดีย์ทรงล้านนาสูง ๓๐ เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง ๙ เมตร ซ้อนกันสามชั้น รองรับองค์ระฆัง ส่วนยอดสุดเป็นฉัตรสีทอง ฐานโดยรอบข้างล่างบุด้วยแผ่นโลหะ ดุนลายเป็นรูป ๑๒ นักษัตร และลายไทยอันงดงาม พระธาตุองค์นี้ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่าสร้างตั้งแต่สมัยใดเพียงแต่มีประวัติเกี่ยวกับพระธาตุจอมกิตติที่เชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ความเป็นมาขององค์พระธาตุจอมทองนั้นเล่ากันว่า ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เมืองภูกามยาว และได้ทรงประทับแรมบนดอยซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งหนองเอี้ยงทางทิศเหนือ ก็คือดอยจอมทองซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุจอมทองแห่งนี้ พระองค์ได้มอบพระเกศาธาตุ ให้แก่พระเจ้าอโศก แต่พระเจ้าอโศกได้ทรงมอบแก่นายช่างทอง ผู้ซึ่งได้ถวายภัตตาหารแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เส้นพระเกศาธาตุที่ได้มานั้น นายช่างทองจึงได้นาไปฝังลงในบ่อลึกกว่า ๗๐ เมตร แล้วสร้างเจดีย์อำพรางไว้ ต่อมาครูบาศรีวิชัย ครูบาแก้ว และครูบาปัญญา ทั้ง ๓ ท่าน ได้ร่วมกันบูรณะพระธาตุขึ้นใหม่ ตราบจนทุกวันนี้
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวันเวลา 07.00 – 18.30 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
ไม่มี
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
094 791 4116
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : วัดพระธาตุจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก (ระบุเครื่องหมาย /)
ห้องน้ำ ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดนันตาราม จังหวัดพะเยา

ชุมชนคุณธรรมวัดนันตาราม เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายชาติพันธุ์มีการอาศัยอยู่ของคนหลากหลายชาติพันธุ์ ประกอบด้วย ชาติพันธุ์ปะโอ ไทใหญ่  ไทลื้อ ไทยจีน ไทยวน (คนพื้นเมือง) มีการขยายตัวของชุมชน และในปี พ.ศ.252๐ มีวัดนันตารามเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน มีวิหารไม้ที่มีรูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบพม่าตอนล่าง สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลังพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยแกะสลักจากไม้สักทองทั้งต้น ประดิษฐานบนสีหบัลลังก์ไม้ประดับลวดลายและกระจกสี หลังคายกเป็นช่อชั้น ลดหลั่นกันสวยงามมุงหลังคาด้วยแป้นเกล็ด เพดานภายในประดับตกแต่งด้วยกระจกลวดลายวิจิตร
ชุมชนคุณธรรมวัดนันตาราม มีวัดนันตารามเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของชุมชน วิหารไม้สักทองที่งดงาม รูปทรงสถาปัตยกรรมแบบพม่าตอนล่าง พระพุทธปฏิมาประธานไม้สักทอง พระพุทธรูปปางมารวิชัยทรงเครื่องแบบมัณฑะเลย์แกะสลักด้วยไม้สักทองขนาดใหญ่ทั้งองค์ภายในวัดนันตารามมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชม ทั้งที่จอดรถสุขาสะอาดจุดถ่ายรูป และทุกวันเสาร์-อาทิตย์ มีการแสดงศิลปวัฒนธรรม อาทิ การตีกลองสะบัดชัย การแสดงดนตรีพื้นบ้านของเยาวชน นอกจากนี้ชุมชนยังมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นของฝาก ของที่ระลึกได้แก่  ชาสมุนไพร ยาหม่อง เครื่องแกงฮังเล พวงกุญแจ ฯลฯ ขนม/อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ได้แก่ น้ำพริกคั่วซอมยาคู ขนมปิ้งปะโอ แกงฮังเล

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดนันตาราม
ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ ๑๓ ต.หย่วน อ.เชียงคำ จ.พะเยา เดิมเรียกจองคาหรือจองม่านหรือจองเหนือ โดยพ่อหม่องโพธิ์ชิต อริยภา บริจาคที่ดินเนื้อที่ ๓ ไร่ เศษ เป็นสถานที่ก่อสร้างร่วมกับพ่อเฒ่าอุบล บุญเจริญ มีฐานะเป็นอาราม(ขึ้นตรงต่อคณะสงฆ์พม่าในขณะนั้น) ประชาชนทั่วไปเรียก “วัดม่าน” หรือจองเหนือ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗  พ่อเฒ่าตะก่าจองนันตา (อู๋) วงศ์อนันต์ คหบดีชาวปะโอ (ตองสู้) ผู้รับสัมปทานทำไม้ให้กับบริษัทค้าไม้ต่างชาติ เป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ได้เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันบูรณะปรับปรุงเสนาสนะให้มีสภาพมั่นคงแข็งแรง

หออูเตงหม่อง (พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน)
เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จัดแสดงวัตถุโบราณ สร้างถวายโดยพ่อวิเชียร เนตรประสิทธิ์ เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๑โดยพระครูปริยัติธุราทร (จำนง อินทวิโร) ขณะที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนันตาราม (พ.ศ.๒๕๑๘-๒๕๕๕) ได้รวบรวมวัตถุโบราณ พระพุทธรูปเก่าโบราณเครื่องมือเครื่องใช้ในอดีต ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์สกุลต่าง ๆ คัมภีร์โบราณหลากหลาย ภาษา ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักของพระพุทธศาสนา และจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านขึ้นเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชนที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมาของชุมชนที่มีประวัติศาสตร์และความเจริญทางด้านวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ชมการแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยว
เป็นการแสดงนางนกสิงโต โดยกลุ่ม บัวระวงค์ ซึ่งการแสดงอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

ชมวิหารไม้สักทอง
ชมวิหารไม้สักทอง รูปแบบสถาปัตยกรรมพม่าตอนล่าง หลังคายกเป็นช่อชั้นลดหลั่นกันสวยงาม
มุงหลังคาด้วยแป้นเกล็ด

สักการะพระพุทธปฏิมา
สักการะพระพุทธปฏิมา พระพุทธรูปปางมารวิชัยแกะสลักจากไม้สักทองทั้งต้น ประดิษฐานบนสีหบัลลังก์ไม้

สักการะพระเจ้าแสนแซ่
สักการะพระเจ้าแสนแซ่ (พระพุทธรูปที่มีสลักหรือลั่นกลอนไว้นับจำนวนไม่ถ้วนสามารถถอดประกอบได้เกือบทุกชิ้นส่วน) เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ สมัยเชียงแสน ปางมารวิชัย นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่พุทธศาสนิกชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวมักจะกราบไหว้สักการะขอพร
เสริมความเป็นสิริมงคล

ชมหออูเตงหม่อง (พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน)
ชมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดนันตารามที่ได้จัดแสดงวัตถุทางพระพุทธศาสนา และเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

วิถีชน คนปะโอ (ดริปชา,กาแฟ)
คนปะโอที่นี่มีความเชื่อเรื่องการต้อนรับผู้มาเยือนจะต้องมีการต้อนรับด้วยชาสมุนไพรพื้นถิ่นหรือลิ้มลองกาแฟดริปสูตรเฉพาะของชาวปะโอ

กิจกรรมฐานหัตถกรรมพื้นถิ่น
มีปราชญ์ชาวบ้านที่ได้นำภูมิปัญญามาสร้างสรรค์เป็นงานประดิษฐ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ประดับตกแต่งอีกทั้งจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน อีกทั้งเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะงานประดิษฐ์เชื่อมโยงคุณค่า ภูมิปัญญาของอดีตกับกับปัจจุบันให้แก่เด็ก เยาวชน ประชาชน นักท่องเที่ยว

ฐานขนมปิ้งปะโอ
ขนมปิ้งปะโอ ทำจากแป้งข้าวเหนียว คล้ายคลึงกับขนมใบจากเพียงแต่เปลี่ยนเป็นห่อด้วยใบตอง โดยมีเครื่องปรุง ได้แก่ แป้งข้าวเหนียว มะพร้าวขูดหัวกะทิเข้มข้น น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลอ้อยผง เนยเค็ม น้ำตาลปี๊บ เกลือ นำส่วนผสมมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน ตักใส่ใบตอง ใช้ไม้กลัดบน-ล่าง นำไปปิ้งบนเตาถ่านไฟปานกลางจนสุก จะได้ขนมปิ้งที่มีความหอมของใบตอง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดพระธาตุขิงแกง จังหวัดพะเยา

ชุมชนคุณธรรมวัดพระธาตุขิงแกง เป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรม ประเพณีที่โดดเด่น คือ ประเพณีสรงน้ำพระธาตุขิงแกง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (เดือน 7 เป็ง) ของทุกปี โดยมีขบวนแห่ผ้าห่มพระธาตุที่ยาวที่สุดในจังหวัดพะเยา และขบวนอัญเชิญเครื่องสักการะที่ยิ่งใหญ่ มีวัฒนธรรมการฟ้อนที่เป็นเอกลักษณ์ คือ การฟ้อนเล็บ มีผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมมากมาย เช่น ตะกร้าสานลายดาวที่มีอายุความเป็นมามากกว่า ๑๐๐ ปี มีลายสานที่เป็นเอกลักษณ์สวยงาม, ผ้าทอพระธาตุขิงแกง, งานสล่าริบบิ้น และผลิตภัณฑ์ขิงแกงดองนอกจากนี้ยังมีภูมิปัญญาพื้นบ้าน การนวดแผนไทย (ยาหมอเมือง) มีศูนย์การเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเป็นของชุมชน

ชุมชนคุณธรรมวัดพระธาตุขิงแกง มีคณะทำงานชุมชนคุณธรรมที่เข้มแข็ง บุคลากรมีคุณภาพ และมีความสามารถในการทำงาน มีมัคคุเทศก์น้อย และพระธรรมวิทยากร นักเล่าเรื่องชุมชน มีการให้บริการที่พักโฮมสเตย์ของชุมชน ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่/เศรษฐกิจพอเพียง “แอนนา ชุง ฟาร์ม สเตย์” รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่นักท่องเที่ยว มีศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่โดดเด่น ได้แก่ การแสดงตีกลองสะบัดชัย และการฟ้อนเล็บ มีการให้บริการนวดแผนไทยโดยปราชญ์ชาวบ้านของชุมชน นอกจากนั้นยังมีผลิตภัณฑ์ชุมชนอาทิ กล้วยฉาบพระธาตุ  ผ้าทอมือพระธาตุขิงแกง และตะกร้าลายดาวผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม (CPOT) ที่มีความสวยงามโดดเด่น บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนคุณธรรมวัดพระธาตุขิงแกง

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดพระธาตุขิงแกง
เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของอำเภอจุน ดินแดนที่ครั้งหนึ่งเป็นเมืองโบราณสมัยเดียวกับเมืองพะเยา พระธาตุขิงแกงแห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอจุน องค์พระธาตุได้บรรจุพระเกศาธาตุและพระธาตุกระดูกเท้าข้างขวาของพระพุทธเจ้าไว้

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ผาสะโตก
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สามารถชมความงามทะเลหมอก 360 องศา ดุจแดนสวรรค์ ยอดเขาในพื้นที่เขตติดต่อหมู่ที่ 1 และ 2 ต.พระธาตุขิงแกง อ.จุน จ.พะเยา

อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ทะลาย
เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ป่า เขา อยู่ก่อนถึงทางที่จะเข้าไปใน ป่าใหญ่ตะเคียนงาม เหมาะสำหรับเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และตกปลา

ป่าตะเคียนงาม
เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษุ์ธรรมชาติ อยู่ติดกับบริเวณอ่างแม่ทะลาย (วังมัจฉา) เหมาะสำหรับเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและสำรวจระบบนิเวศ

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

วิถีเกษตรพุทธ “บ้านสวน ชวนฝัน”
ตั้งอยู่ที่ 2/2 หมู่ 2 ต.พระธาตุขิงแกง อ.จุน จ.พะเยา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรผสมผสาน มีทั้งองุ่น พืชสวนนาข้าวสาธิต 

บ้านสวนพ่อกำนันทวี
มีการบริหารจัดการพื้นที่เป็น 4 ส่วน ส่วนที่ 1 แปลงนาปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้านส่วนที่ 2 สวนผัก ส่วนที่ 3 ทำไร่ และส่วนที่ 4 สวนผลไม้ และมีการเลี้ยงปลา กบ กุ้งก้ามแดง (กุ้งล็อบสเตอร์) มีสถานที่จัดอบรมด้านการเกษตร

แอนนา ชุง ฟาร์มสเตย์
“แอนนา ชุง ฟาร์มสเตย์”Anna Chung Farm Stay เป็นสถานที่ทำเกษตรแนวผสมผสานบนพื้นที่กว่า 30
ไร่เลขที่ 123/2 หมู่ที่5 ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกข้าวหอมมะลิข้าวก่ำล้านนา ทำสวนผักเกษตรอินทรีย์ เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตรให้กับชุมชนในพื้นที่นอกจากนั้นยังเปิดเป็นร้านอาหาร นำเมนูอาหารที่เป็นพื้นบ้านของชุมชนมาให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

กิจกรรมการท่องเที่ยว

สานตะกร้าลายดาว
วัดพระธาตุขิงแกง สาธิตและทดลองสานตะกร้าลายดาวซึ่งเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมของชุมชนวัดพระธาตุขิงแกง ได้รับการรับรองเป็นสินค้า CPOT ของกระทรวงวัฒนธรรม

เรียนรู้การทำนา ศูนย์การเรียนรู้การเกษตร Anna Chung Farm Stay
แอนนา ชุง ฟาร์มสเตย์ เรียนรู้การทำนา ณ ศูนย์การเรียนรู้การเกษตร Anna Chung Farm Stay

ทำกรวยดอกไม้ ไหว้พระธาตุขิงแกง
วัดพระธาตุขิงแกง สาธิตและทดลองทำกรวยดอกไม้เพื่อนำไปไหว้พระธาตุขิงแกง 

เก็บพืชผักสวนครัว ตกกุ้ง ณ สวนพ่อกำนันทวี
บ้านพ่อกำนันทวี เก็บพืชผักสวนครัว สวนพ่อกำนันทวี บ่อตกกุ้ง

ให้อาหารปลาวังมัจฉา
อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ทะลาย ให้อาหารปลา ณ อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ทะลาย

เก็บองุ่น บ้านสวน ชวนฝัน
วิถีเกษตรพุทธ “บ้านสวน ชวนฝัน”  เก็บองุ่นและศึกษาการเรียนรู้ด้านการเกษตรผสมผสาน มีทั้งพืชสวนนาข้าวสาธิต

เดินสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวธรรมชาติ ป่าตะเคียนงาม
ป่าตะเคียนงาม เดินสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวธรรมชาติ ป่าตะเคียนงาม

ชมวิว 360 องศา ผาสะโตก
ผาสะโตก ชมความงามทะเลหมอก 360 องศา ดุจแดนสวรรค์ ยอดเขาในพื้นที่เขตติดต่อหมู่ที่ 1 และ 2 ต.พระธาตุขิงแกง อ.จุน จ.พะเยา

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม