แม่อร วิลเลจ รีสอร์ท จังหวัดร้อยเอ็ด

ที่ตั้ง อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด
๑.ประเภทของที่พัก รีสอร์ท
๒.จำนวนห้อง ๔๐ ห้อง
๓.ประเภทห้องพัก/ราคา ราคา ๗๕๐ บาท
๔.สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ ชมธรรมชาติแบบท้องทุ่ง ผืนนาเขียวขจี
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐๙ ๘๕๖๔ ๕๖๕๔
๖.ช่องทางออนไลน์
Page : Diva House Cafe’& Restauran

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านอาหารต้นค้อ จังหวัดร้อยเอ็ด

ที่ตั้ง ตำบล จังหาร อำเภอ จังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด
๑. ร้านอาหารไทย อีสาน บรรยากาศร่มรื่น ปกคลุมด้วยต้นไม้นานาชนิด บริการอาหาร และทำข้าวกล่อง
2.เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1ผัดเผ็ดหมูป่า
2.2.ผัดไทยกุ้งสด
2.3ลาบเป็ด.
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
ทุกวัน ๐๙.๐๐ น. – ๒๒.๐๐ น.
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๔๓๕๐ ๗๑๗๓
๕.ช่องทางออนไลน์
facebook.com/297021017149808

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

บึงพลาญชัย จังหวัดร้อยเอ็ด 

ที่ตั้ง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด 
๑.บึงพลาญชัย ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด บึงพลาญชัย มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำ ขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ตารางเมตร บึงพลาญชัยเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งประดับประดาเป็นสวนไม้ดอก ขนาดใหญ่ รวมทั้งมีการประดับตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ จึงเกิดความร่มรื่นสบายตา และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่างๆ หลากหลายพันธุ์ อีกทั้งยังมีเรือจักรยานน้ำและเรือพายไว้บริการประชาชนให้พายเล่นในบึงแห่งนี้นอกจากนี้ บึงพลาญชัย ยังใช้เป็นสถานที่จัดงาน เทศกาลของจังหวัด รวมไปถึงการจัดมหรสพต่างๆ ภายในจังหวัดอีกด้วย อาจกล่าวได้ว่า บึงพลาญชัย เป็นสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ ของจังหวัดร้อยเอ็ด
ภายในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพนับถือและเชื่อว่า เจ้าพ่อจะช่วยดลบันดาลให้ชาวเมืองร้อยเอ็ด มีความสุขความเจริญ คิดสิ่งใดให้สมปรารถนา จึงเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ชาวเมือง ร้อยเอ็ด และนักท่องเที่ยวต่างก็มากราบนมัสการขอพรกันเป็นประจำ พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่กลางสวนดอกไม้ พานรัฐธรรมนูญ และนาฬิกาดอกไม้ ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นน้ำตกจำลองและรูปปั้นสัตว์ต่าง ๆ คล้ายสวนสัตว์ สนามเด็กเล่นและสวนสุขภาพเป็นสวน ออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้างพลานามัยแก่ชาวร้อยเอ็ด
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ ๐๔.๐๐ น. – ๒๑.๐๐ น
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)ตลอดทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ ศึกษาธรรมชาติ ออกกำลังกาย กิจกรรมกลางแจ้ง
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม –
๗.ช่องทางออนไลน์ –
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ปรางค์กู่ จังหวัดร้อยเอ็ด

ที่ตั้ง ต.มะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
๑.ปรางค์กู่ เป็นปราสาทขอม ตั้งอยู่ที่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด สร้างด้วยศิลาแลง มีลักษณะเป็นกลุ่มอาคารที่มีลักษณะแบบเดียวกับอาคารที่เชื่อกันว่าคืออโรคยาศาล ตามที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหม อันประกอบด้วย ปรางค์ประธาน บรรณาลัย กำแพง พร้อมซุ้มประตูและสระน้ำนอกกำแพง โดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควร โดยเฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ ๓ ชั้น และมีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบน อาคารอื่นๆ แม้หักพังแต่ทางวัดก็ได้จัดบริเวณให้ดูร่มรื่นสะอาดตา นอกจากนี้ภายในกำแพงด้านหน้าที่มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บรักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ ทับหลังหินทราย สลักเป็นภาพบุคคลนั่งบนหลังช้างหรือวัว เป็นทับหลังหน้าประตูมุขของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป และชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูก ดัดแปลงเป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้นกำหนดอายุว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ในพ.ศ. ๒๕๓๔ กรมศิลปากรได้บูรณะ และประกาศขึ้นทะเบียนปรางค์กู่เป็นโบราณสถานวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ ทุกวัน ๐๘.๐๐ น. -๑๘.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม ๐๖ ๒๕๙๒ ๖๐๒๙
๕.ช่องทางออนไลน์ เฟสบุค พลังบวรบ้านปรางค์กู่
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดสว่างอารมณ์กู่ จังหวัดร้อยเอ็ด

ชุมชนคุณธรรมฯ วัดสว่างอารมณ์กู่ เป็นชุมชนที่มีวิถีวัฒนธรรมของชาวอีสาน คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นสังคมแบบเครือญาติ มีคติความเชื่อที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่บรรพบุรุษ สภาพหมู่บ้าน/ชุมชน นิยมตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มตามสายเครือญาติ เรียกว่าคุ้ม หลาย ๆ คุ้มรวมกันเป็นหมู่บ้าน

ชุมชนมีการแต่งกายที่เป็นอัตลักษณ์ โดยจะสวมใส่ชุดผ้าไหมลายเต่าทอง เป็นลวดลายผ้าไหมพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านกู่กาสิงห์ นอกจากนี้คนในชุมชนยังมีความรัก ความสามัคคีกัน โอบอ้อมอารีย์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน มีมิตรไมตรีแก่ผู้มาเยือน เป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

โบราณสถาน กู่กาสิงห์
ปราสาทกู่กาสิงห์ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดบูรพากู่กาสิงห์น้อยลักษณะเป็นปราสาทอิฐสามหลังตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ ๘ มี.ค. ๒๔๓๘

โบราณสถาน กู่โพนระฆัง
กู่โพนระฆัง ตั้งอยู่ห่างจากกู่กาสิงห์ประมาณ ๕๐๐ เมตร ปรางค์ประธานก่อด้วยหินศิลาแลง ล้อมรอบด้วยกำแพงสี่เหลี่ยม ซึ่งมีซุ้มประตู หรือโคปุระอยู่ด้านหน้าเพียงด้านเดียว มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กรุด้วยศิลาแลง

โบราณสถาน กู่โพนวิจ
กู่โพนวิจ ตั้งอยู่ห่างจากกู่กาสิงห์ประมาณ ๓๐๐ เมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ๓ งาน สภาพเป็นเนินดินขนาดใหญ่ ฐานก่อด้วยหินศิลาแลง 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

แปลงนาข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้
ทุ่งกุลาร้องไห้คือแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในประเทศ เป็นที่ราบอันมีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน เป็นข้าวหอมมะลิที่อร่อยที่สุดของไทย คือมีลักษณะความนุ่มของข้าวและกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ มีพื้นที่ทั้งหมด ๒๖ ไร่ ๓ งาน โดยจัดทำเป็นแปลงนาข้าวหอมมะลิ จำนวน ๑๐ ไร่ ทำสวน ปลูกผัก สร้างบ้าน บ่อเลี้ยงปลา โรงสีข้าว จำนวน ๑๖ ไร่ ๓ งาน 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การบายศรีสู่ขวัญ
โบราณสถาน กู่กาสิงห์ เมื่อนักท่องเที่ยวเข้าไปถึงยังชุมชน จะมีมัคคุเทศก์แนะนำกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชน โดยหนึ่งในกิจกรรมการท่องเที่ยวก็จะมีการบายศรีสู่ขวัญให้กับนักท่องเที่ยว

การรำต้อนรับ นักท่องเที่ยว
โบราณสถาน กู่กาสิงห์ การแสดงทางศิลปะวัฒนธรรม ที่ทางชุมชนจัดไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมก็คือ การรำซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวชุมชนกู่กาสิงห์ เป็นการแสดงความยินดีที่นักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนชุมชน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านเหล่างิ้ว จังหวัดร้อยเอ็ด

ชุมชนคุณธรรมฯ วัดบ้านเหล่างิ้ว เป็นชุมชนเมือง แต่ก็ยังอาชีพหลัก คือ การทำนา อาชีพเสริม คือ การทำหัตถกรรมทอผ้า, จักสาน, ทำไร่นาส่วนผสม ฯลฯ คนในชุมชนได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยการทำไร่นาสวนผสมในที่ดินของตนเอง ปลูกถั่วลิสง จนสามารถแปรรูปถั่วลิสงให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ ที่มีชื่อเสียงในชื่อ ถั่วป่านทอง จนสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืน

ชุมชนบ้านเหล่างิ้วจะมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างกัน เช่น การแต่งกายโดยนุ่งผ้าถุง ห่มสะไบ การแต่งกายด้วยชุดซึ่งมีลักษณะคล้ายชนเผ่าภูไท นอกจากนี้คนในชุมชนจะใช้ชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ภายในบริเวณวัด ปลูกพืชผักสวนครัวต่าง ๆ ช่วยลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

เจดีย์มหามงคลบัว
เจดีย์สีทองโดดเด่นกลางสวนสวย มีสระน้ำไว้ด้านหน้าและด้านข้างเจดีย์ อยู่บริเวณกลางทุ่งนาทำให้สามารถมองเห็นมาจากที่ไกล ๆ

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

พุทธสถานบึงไทรทอง
พุทธสถานบึงไทรทอง มีเนื้อที่ประมาณ ๗๕ ไร่ เป็นวัดสาขาของ วัดเขาสุกิม ภายในบริเวณวัดมีการสร้างวิหารต่าง ๆ และมีพระพุทธรูปใหญ่จำนวน ๕ องค์ สถานที่แห่งนี้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามมีหนองน้ำล้อมรอบ 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนเศรษฐกิจพอเพียง
สวนเศรษฐกิจพอเพียงแห่งนี้ แบ่งพื้นที่ออกเป็นสัดส่วนต่าง ๆ ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูก พื้นที่เลี้ยงสัตว์ ทุ่งนา แหล่งกักเก็บน้ำ พื้นที่พักอาศัย และปลูกพืชผักต่าง ๆ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ชมพุทธสถาน บึงไทรทอง
พุทธสถาน บึงไทรทอง เมื่อนักท่องเที่ยวไปถึงยังพุทธสถานบึงไทรทอง จะได้พบกับวิหารขนาดใหญ่ สูงตระหง่านตาท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่บนวิหารให้นักท่องเที่ยวได้กราบไหว้

ชมการสาธิต การทอเสื่อกก
กลุ่มทอเสื่อกก ชมการสาธิตการทอเสื่อกก ซึ่งเป็นอาชีพเสริมที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน จะมีการสาธิตอยู่ที่กลุ่มทอเสื่อกกซึ่งตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านเหล่างิ้ว

ชมสวนเศรษฐกิจพอเพียง
สวนเศรษฐกิจพอเพียง พักผ่อนหย่อนใจไปพร้อม ๆ กับเรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียง นักท่องเที่ยวจะได้ศึกษาเกี่ยวกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะกับการทำกิจกรรมเป็นครอบครัว

กราบไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์
เจดีย์มหา มงคลบัว จุดท่องเที่ยวสุดฮิตแห่งชุมชนบ้านเหล่างิ้ว ถือได้ว่าเป็นสถานที่ทางธรรมชาติ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง นักท่องเที่ยวจะได้ชมความสวยงามของเจดีย์มหาบัว ซึ่งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ พร้อมสัมผัสกับอากาศบริสุทธิ์และเงียบสงบ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านปรางค์กู่ จังหวัดร้อยเอ็ด

บ้านยางกู่ หรือ ปรางค์กู่ เดิมบริเวณเนื้อที่ประมาณ 500 กว่าไร่ มีลักษณะเป็นดงใหญ่ จากการเล่าขานสืบทอดตำนานประวัติการก่อตั้งชุมชน จนถึงการค้นพบปรางค์กู่ที่ถูกปกปิดซุกซ่อนอยู่ในดงกู่ ที่มีต้นยางขนาดใหญ่ขึ้นอย่างหนาแน่นในลักษณะป่ายาง จึงเกิดตำนานซึ่งถือเป็นความเชื่อของชาวบ้านในพื้นที่ โดยคำบอกเล่าของผู้สูงอายุว่า อภินิหารของปรางค์กู่ได้ดลบันดาลให้ชาวบ้านมาอยู่อาศัย

ชุมชนบ้านยางกู่ หรือ บ้านปรางค์กู่ เป็นที่ตั้งของกลุ่มโบราณสถานปรางค์กู่ และกู่น้อย ที่สามารถดึงดูดและเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยือนได้เป็นอย่างดี ที่ตั้งของหมู่บ้านอยู่ในเขตพื้นที่ใกล้กับสนามบินจังหวัดร้อยเอ็ด และไม่ห่างจากตัวจังหวัดร้อยเอ็ดมากนัก นอกจากนี้ยังมีอาหารพื้นถิ่นที่แสนอร่อยน่ารับประทานอีกด้วย

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

โบราณสถานปรางค์กู่
ปรางค์กู่ เป็นสถาปัตยกรรมแบบปาปวน ในลัทธิไศวนิกาย สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนปรางค์กู่เป็นโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

อ่างเก็บน้ำธวัชชัย
อ่างเก็บน้ำธวัชชัย เดิมชื่อหนอง จอกเจี้ย มีเนื้อที่ ๑,๘๑๒ ไร่ มีน้ำขังตลอดปี เป็นหนองน้ำที่อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งใหม่ของจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางผ่าน จะพบกับภูมิทัศน์ของตะวันลับขอบฟ้า 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์
แหล่งเรียนรู้แห่งนี้ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะข้าวไรซ์เบอร์รี่ ด้วยการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปลอดสารเคมี มีลักษณะเป็นข้าว สีม่วงเข้ม เมล็ดเรียวยาว ผิวมันวาว มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ชมแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์
นักท่องเที่ยวที่สนใจเรียนรู้   วิถีชุมชนเกษตรพอเพียงก็สามารถศึกษาเรื่องของเกษตรวิถีพอเพียงที่นี่ได้ทั้งด้านการเพาะปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ไปจนถึงการปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ

ชมโบราณสถานปรางค์กู่
โบราณสถานปรางค์กู่ ฟังนักเล่าเรื่อง พร้อมชมโบราณสถาน โบราณวัตถุในปรางค์กู่  ซึ่งมีการเก็บกรุอายุกว่า ๘๐๐ ปี และมีวัตถุโบราณอื่น ๆ ต่างก็มีเรื่องราวมากมาย

ชมศูนย์เรียนรู้กลุ่มผลิตภัณฑ์ CPOT และ OTOP
นักท่องเที่ยวที่สนใจอยากจะเรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ CPOT และ OTOP เช่น ทอเสื่อกก ผ้าสไบขิด หมอนขิด ผ้าพันคอ งานฝีมือเหล่านี้จะมีการเปิดสาธิตและทดลองให้ทำด้วย นอกจากนี้ยังมีการร้องรำให้นักท่องเที่ยวได้สนุกสนานและเพลิดเพลินอีกด้วย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม