โรงแรมเฮือนนานา จังหวัดแพร่

ที่ตั้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
๑.ประเภทของที่พัก
โรงแรม
๒.จำนวนห้อง 28 ห้อง
๓.ประเภทห้องพัก/ราคา
Deluxe 2,600
Suit 5,000-5,500
๔.สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษสปา
: สระว่ายน้ำกลางแจ้ง
: ห้องอาหาร
: แผนกต้อนรับ (24 ชั่วโมง)
: บริการรับส่งสนามบินฟรี
: Wi-Fi ทุกห้อง (ฟรี)
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
: 05 4524 800
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook
: https://www.facebook.com/Huernnanaboutiquehotelphrae

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านบายศรี จังหวัดแพร่

ที่ตั้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ : บายศรี
๒.ชื่อผู้ประกอบการ : อาจารย์ช้าง-ศักดิ์จิระ เวียงเก่า
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
3.1 ผลิตภัณฑ์ผ้าร่วมสมัย
อาจารย์ช้าง-ศักดิ์จิระ เวียงเก่า ผู้ก่อตั้งแบรนด์บายศรี นักออกแบบชั้นครู นำลายผ้าพื้นเมืองและสีจากธรรมชาติจากวัสดุต่างๆ มาใช้ เทคนิคการมัด ย้อม วาด พิมพ์ เย็บ เพ้นฺท์ มาออกแบบเป็นสินค้ามากมายหลายชนิดรูปแบบร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวันเวลา 08.00 – 16.30 น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร 09 0236 9615
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook : บายศรีแพร่ ออนไลน์

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์เรียนรู้หม้อห้อม ป้าเหงี่ยม

ที่ตั้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ : หม้อห้อม ป้าเหงี่ยม
๒.ชื่อผู้ประกอบการ : นางประภาพรรณ ศรีตรัย
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ : ผ้าหม้อห้อม
3.2 ผ้ามัดย้อมห้อม
3.3 ผ้าเพ้นท์สีห้อม
3.4 กระเป๋าถือ พวงกุญแจ ของที่ระลึกจากผ้าหม้อห้อม
แหล่งเรียนรู้การย้อมผ้าด้วยห้อมธรรมชาติ มัดย้อมห้อม เพ้นท์ลายด้วยห้อม และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าหม้อห้อมของดีเมืองแพร่
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวันเวลา 08.00 – 16.30 น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร 08 9851 3048
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ศูนย์เรียนรู้หม้อห้อมป้าเหงี่ยม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ขนมเส้นดวงเนตร จังหวัดแพร่

ที่ตั้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ (ร้านอาหาร ๑๐๐ ปี)
๑.ร้านขนมเส้นน้ำใสเมืองแป้เป็นอาชีพดั้งเดิมที่มีการขายจากรุ่นสู่รุ่น คือขายขนมเส้นแรกเริ่มโดย ยายดำ จันทร์คง (เสียชีวิต อายุ ๗๘ ปี) ขายสมัยเป็นสาว ต่อมามีผู้สืบทอด คือ ยายป้อง สำลีราช (เสียชีวิตอายุ ๘๒ ปี พ.ศ.๒๕๓๗) ต่อมาผู้สืบทอดคือ นางดวงเนตร สำลีราช (ยาย) เสียชีวิตอายุ ๗๓ ปี เริ่มขายขนมเส้นอายุ ๒0 ปี ขายเป็นระยะเวลา ๔๐ ปี จากเดิมขายขนมเส้นน้ำใส ราคาถ้วยละ ๒ บาท ผู้สืบทอดต่อมาคือ นางโชติกา หอมขจร (แม่) อายุ ๖๗ ปีขายเป็นระยะเวลา ๒๐ ปี ปัจจุบันผู้สืบทอดขายขนมเส้นน้ำใสเมืองแป้ คือ นางสาวชนิดา หอมขจร อายุ ๔๒ ปี ขายเป็นระยะเวลา ๒๐ ปี โดยขายน้ำหมูหม้อเบอร์ ๔๕ วันละ ๔ หม้อ ขนมจีน (ขนมเส้น)วันละ ๗ กิโลกรัม ราคาขายยังเป็นราคาเดิมเกือบ ๑0 ปีมาแล้ว รายได้วันละ 6,000 – 7,000 บาท ซึ่งอาชีพขายขนมเส้นเป็นมรดกตกทอดมาของตระกูล
2.เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 ขนมเส้นน้ำหมู
2.2 ซุปกระดูกหมู
2.3 ส้มตำ (ตำร่วง)
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.30 – 14.00 น.
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร 05 4106 5720
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ขนมเส้นดวงเนตร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

บ้านทุ่งศรี จังหวัดแพร่

ที่ตั้ง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
๑.บ้านทุ่งศรี หมู่ 3 เป็นหมู่บ้านเล็กๆ บรรยากาศสงบรายล้อมด้วยธรรมชาติ มีพื้นที่ประมาณ 11,200 ตรม. ภูมิประเทศโดยรวมเป็นที่ราบลุ่ม สภาพภูมิอากาศค่อนข้างเย็นสบายตลอดทั้งปี ผู้คนในชุมชนบ้านทุ่งศรีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ เช่น ทำนาข้าว ไร่ข้าวโพด ปลูกถั่วฝักยาว ไร่องุ่น ฟาร์มเมล่อน ฟาร์มเลี้ยงวัว ฯลฯ วิถีชีวิตของคนในชุมชนทุ่งศรีมีความสัมพันธ์กับการเกษตรมายาวนาน จึงมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกษตร
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 08.00 – 16.30 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
พฤษภาคม – ธันวาคม
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร : 08 4040 1050 ผญ.แบ็ก
โทร : 08 6190 4499 ผช.เก่ง
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook : หมู่3 บ้านทุ่งศรี อ.ร้องกวาง จ.แพร่
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ถ้ำผานางคอย จังหวัดแพร่

ที่ตั้ง ทางหลวงหมายเลข 101ถึงกิโลเมตร ที่ 58 – 59 อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
๑.ถ้ำผานางคอย เป็นภูเขาหินปูน ถ้ำและหินงอกหินย้อยสวยวิจิตร อลังการ เป็นประติมากรรมที่ธรรมชาติสรรค์สร้าง เมื่อร้อยเรียงเข้ากับตำนานพื้นบ้านบอกเล่าถึงที่มาของเสาหิน รูปทรงผู้หญิงกำลัง อุ้มลูกน้อยเพื่อรอคอยการกลับมาของชายอันเป็นที่รักนั้น ซึ่งได้กลายเป็นที่มาของชื่อ “ถ้ำผานางคอย”ตัวถ้ำอยู่บนหน้าผาสูง 50 เมตร เป็นอุโมงค์ลึกยาว 150 เมตร กว้าง 10 เมตร ลักษณะของถ้ำโค้งงอเป็นข้อศอกไปทางซ้าย และทางขวาเป็น 3 ตอนด้วยกัน ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อยลักษณะต่างๆ ทั้งที่เป็นเกล็ดหินประกายระยิบระยับ จุดสำคัญของถ้ำ คือ หินนางคอย เป็นหินปูนที่หยดย้อยลงมาก่อเกิดรูปทรงเหมือนหญิงสาวกำลังก้มหน้าโอบอุ้มลูกน้อยนั่งอยู่บนแท่นหิน และต้องยืนอยู่ห่างออกมาประมาณ 10 เมตร จึงจะมองเห็นรูปร่างได้ชัด
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน8.30-17.00 น
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ตลอดปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ –
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 5453 2485 ต่อ 102 ฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวและการพาณิชย์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่
๗.ช่องทางออนไลน์
https://www.phraepao.go.th
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านปางงุ้น จังหวัดแพร่

เดิมบ้านปางงุ้นเป็นส่วนหนึ่งของบ้านม่วงคำ หมู่ที่ ๑ ตำบลสรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ปางงุ้นเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ตั้งอยู่บนถนนเส้นทางสัญจรหลักจากอำเภอวังชิ้นไปยังอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง รายล้อมด้วยทัศนียภาพป่าเขา ธรรมชาติที่สวยงาม ปัจจุบันได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบพักค้างคืนแบบกางเต็นท์ และโฮมสเตย์วิถีชุมชน 

ปางงุ้น เป็นชุมชนที่มีทิวทัศน์ภูเขาอันสวยงามล้อมรอบอาหารพื้นถิ่นรสเยี่ยมเสริมด้วยกาแฟโรบัสต้ารสเข้ม ชุมชนต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยมิตรไมตรีมี “ประเพณีขึ้นโด่ฟังธรรม”จัดขึ้นทุกวันวิสาขบูชาของทุกปี  โดยชาวบ้านจะพากันขึ้นโด่ (เขา) นำตุงขาว (เขียนชื่อ-สกุล) และภัตตาหาร ขึ้นไปถวายพระ ณ ถ้ำผาเขียว โด่แม่อางซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน มีความเชื่อว่าจะส่งผลให้หน้าที่การงาน ยศถาบรรดาศักดิ์สูงส่งขึ้นดังตุง

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดปางงุ้น
วัดปางงุ้น ศูนย์รวมความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชุมชนปางงุ้นบนยอดเขาที่มองเห็นโด่แม่อางได้

ต้นสักใหญ่อายุ 200 ปี
ต้นสักทองเก่าแก่ อายุกว่า 200 ปี 

โฮงผีเจ้าบ้าน
ศาลผีเจ้าบ้าน ตามตำนานท่านได้ปกปักรักษาต้นไม้ใหญ่ และปกป้องคุ้มครองคนในหมู่บ้าน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

อ่างแม่อาง
อ่างเก็บน้ำสำคัญของชุมชน ที่มองเห็น โด่แม่อาง (ยอดเขาแหลมสูง) เป็นจุดเช็กอินถ่ายรูป เขียนป้ายไม้ขอพร และกางเต็นท์ค้างคืนได้

ร้าน หมอนไม้ไออุ่น
รีสอร์ท ร้านอาหารและคาเฟ่ บรรยากาศดี ชมวิวทิวเขา ทุ่งนา แปลงผักอินทรีย์ ทิวดอกทองอุไร ตั้งอยู่บนถนนสายแพร่-เถิน มีบริการอาหารพื้นบ้าน กาแฟเครื่องดื่ม และมีห้องพักสำหรับรองรับนักท่องเที่ยว และจัดเลี้ยงได้ 

ร้าน สวนกนกกร
ร้านอาหารบรรยากาศดี ชมวิวเขา ไร่ดอกทองอุไร ไร่องุ่น มีร้านอาหารรสเยี่ยมบริการ มีจุดบริการกางเต็นท์ พร้อมห้องน้ำ และมีห้องพักราคาหลักร้อยวิวหลักล้านไว้รองรับนักท่องเที่ยว  

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

วิสาหกิจชุมชนผักอินทรีย์ ปางงุ้นสีเขียว
แหล่งปลูกผักอินทรีย์ ปลอดสารพิษ  ผลิตและจำหน่ายผักสลัด หลากหลายชนิด เช่น สลัด กรีนคอส กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน
วัดปางงุ้น  สักการะพระประธานในวิหารวัดปางงุ้น เพื่อเป็นสิริมงคล ต้นสักทองเก่าแก่ อายุกว่า 200 ปี โฮงผีเจ้าบ้าน ไหว้ศาลผีเจ้าบ้าน ปกปักรักษาต้นไม้ใหญ่ และปกป้องคุ้มครองคนในหมู่บ้าน

ชมและร่วมปลูกผักอินทรีย์ กลุ่มวิสาหกิจปางงุ้นสีเขียว
วิสาหกิจชุมชนปางงุ้นสีเขียว ชมและร่วมปลูกผักสลัดอินทรีย์ปลอดสารพิษ หลากหลายชนิด เช่น สลัด กรีนคอส กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค

ชิมกาแฟปางงุ้น (กาแฟโรบัสต้า แพร่)
ปูกะปังคาเฟ่ เรียนรู้เกี่ยวกับกาแฟโรบัสต้าปางงุ้น  ที่นักท่องเที่ยวได้ลงมือคั่ว บด และดริปด้วยตัวเอง เป็นเมล็ดกาแฟที่ปลูกขึ้นในชุมชนบ้านปางงุ้น รสชาติเข้ม หอมกรุ่น

เรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้าน
บ้านสมุนไพรพ่อหลวงแก้ว เรียนรู้สรรพคุณทางยาของสมุนไพรพื้นบ้าน ตามตำราแผนโบราณ

รับประทานอาหาร
ร้าน สวนกนกกร ร้านอาหารบรรยากาศดี ชมวิวเขาจากระเบียงชั้น 2 มีบริการอาหารไทย จีน พื้นบ้าน รับประกันความอร่อยทุกเมนู โดยฝีมือพ่อครัวมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์ทำงานภัตตาคารต่างประเทศ และพลาดไม่ได้กับเมนูน้ำฝรั่งคั้นสด ๆ

ขี่ซาเล้ง ชมอ่างแม่อาง โด่แม่อาง
อ่างแม่อาง  อ่างเก็บน้ำสำคัญของชุมชน ที่มองเห็น โด่แม่อาง (ยอดเขาแหลมสูง) เป็นจุดเช็คอินถ่ายรูป และเขียนป้ายไม้ขอพร

ชมสาธิตการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ และศูนย์จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก และเฟอร์นิเจอร์รากไม้
ร้าน หมอนไม้ไออุ่น ชมสาธิตการมัดย้อมผ้าด้วยสีจากเปลือกไม้ชนิดต่าง ๆ ให้เกิดลวดลาย ร่วมมัด และย้อมผ้า เป็นของที่ระลึก

ร้าน หมอนไม้ไออุ่น ชมสาธิตการมัดย้อมผ้าด้วยสีจากเปลือกไม้ชนิดต่าง ๆ
ให้เกิดลวดลาย ร่วมมัด และย้อมผ้า เป็นของที่ระลึก

ร้าน หมอนไม้ไออุ่น รับประทานอาหาร พื้นบ้านตามฤดูกาล  ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมของเยาวชน

อบสมุนไพร นวดสมุนไพร ประคบร้อน และสปาผิวเพื่อความงาม
โรงอบสมุนไพรปางงุ้น โรงอบสมุนไพรตามตำรับยาแผนโบราณ  นวดแผนโบราณ ประคบร้อน สมุนไพร และขัดสปาผิวเพื่อความงาม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดสูงเม่น จังหวัดแพร่

ชุมชนคุณธรรม “วัดสูงเม่น” ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 ตำบลสูงเม่น อำเภอสูงเม่น ถนนยันตรกิจโกศล ห่างจากตัวเมืองแพร่ 10 กิโลเมตร ปัจจุบันถูกยกให้เป็นวัดที่มีคัมภีร์ใบลานมากที่สุด และมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดในโลก และเป็นวัดบ้านเกิดของ ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ครูบามหาเถรปฐมสังฆครูบาแห่งล้านนาไทย ผู้สร้างคัมภีร์ใบลานล้านนามากที่สุดในโลก จึงทำให้ชุมชนบ้านสูงเม่น เป็นเมืองพระธัมม์ของโลก เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์สำคัญของโลก หรือที่มีชื่อในปัจจุบันว่า เมืองคัมภีร์ธัมม์โบราณ

ชุมชนคุณธรรมวัดสูงเม่น เป็นชุมชนที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น เรื่องเมืองคัมภีร์ธัมม์โบราณ ที่มีคัมภีร์ใบลานมากที่สุดในโลก โดยพระมหาเถระนักปราชญ์ของล้านนา คือ หลวงปู่ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร ปฐมสังฆครูบาแห่งล้านนา เป็นผู้สร้างและรวบรวมคัมภีร์ใบลานล้านนามากที่สุดในโลก ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่แฝงด้วยคติธรรมล้านนามากมาย ชุมชนมีประเพณีที่สำคัญ ซึ่งเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์คัมภีร์ธรรมใบลาน คือ “ประเพณีตากธัมม์ ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า” จัดขึ้นในวันขึ้น ๑๓ – ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ ไทยภาคกลาง หรือเดือน ๔ เหนือเป็นประเพณีที่มีแห่งเดียวในโลก

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วิหารเมืองคัมภีร์
วิหารเมืองคัมภีร์ ไม่ปรากฏปีที่สร้างชัดเจน แต่มีการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙ โดยเจ้าหลวงที่ครองเมืองแพร่ในสมัยนั้นเป็นผู้บูรณะ หน้าวิหาร มีพญานาคและช้างสามเศียร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทย ซึ่งร่วมกันบูรณะวิหารหลังนี้ ที่เรียกว่า วิหารเมืองคัมภีร์ เพราะในอดีตเมื่อสร้างคัมภีร์ และมีพิธีเกี่ยวกับคัมภีร์จะมีการสมโภชคัมภีร์ ณ
วิหารนี้

หอธัมม์เจ้าเมือง (หอนิพพาน หรือ หอธัมม์แห่งความรักษ์)
ชื่อหอธัมม์เจ้าเมือง มาจากคัมภีร์ธัมม์ของเจ้าเมืองทั้งหมดจะเก็บอยู่ที่ภายในหอแห่งนี้ หอธัมม์เจ้าเมืองหลังนี้นับเป็นรุ่นที่ ๒ โดยรุ่นแรกนั้นชำรุดไปตามกาลเวลา เมื่อครั้งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ  สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ วัดสูงเม่น ได้เสด็จพระราชดำเนินเข้าไปในหอธัมม์เจ้าเมืองด้วย สิ่งสำคัญภายในหอธัมม์นี้คือ “ตู้เจ้าหลวง”

หอฟ้าหรือ หอพระไตรปิฎกอักขระภาษาล้านนา
เป็นอาคารสร้างใหม่เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๕๓  ในอดีตมีหอนิพพานเพียงหอเดียวที่เป็นหอพระไตรปิฎก
ภายหลังจึงได้สร้างหอฟ้าขึ้นมาอีกหอหนึ่ง หอฟ้าหลังนี้สร้างเป็นอนุสรณ์ถึงครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร เนื่องจากเมื่อครั้งหลวงปู่ครูบามหาเถรเป็นเจ้าอาวาสที่วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ ได้เป็นประธานสร้างหอไตร วัดสูงเม่นจึงได้สร้างหอฟ้าตามแบบจำลองหอไตรหลังนั้นขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงท่าน ภายในบรรจุคัมภีร์ใบลานที่เป็นพระไตรปิฎกทั้งหมด

หอมนุษย์ หรือ พิพิธภัณฑ์คัมภีร์ ใบลาน
เป็นหอประวัติครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร จัดแสดงประวัติและเครื่องอัฏฐบริขารของท่าน ที่สำคัญ ยังนับเป็นส่วนจัดแสดงคัมภีร์ธัมม์ใบลาน องค์ความรู้เกี่ยวกับธัมม์ใบลานและอักษรล้านนา นับเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการด้านการท่องเที่ยวเมื่อนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมวัดสูงเม่นจะมาเยี่ยมชมและศึกษาประวัติท่านในหอมนุษย์นี้ 

สัญลักษณ์สถาน
ตั้งอยู่บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอ สูงเม่น เป็นสถานที่บอกเล่าเรื่องราวพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรชาวแพร่ ระหว่าง ปี ๒๕๐๑– ๒๕๒๕ รวม ๘ ครั้ง โดยจัดสร้างเป็นสถาปัตยกรรมผ่านงานศิลปะ รูปปูนปั้นที่ประดับอยู่โดยรอบสัญลักษณ์สถาน  รูป ๘ เหลี่ยม เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

พลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร
ตั้งอยู่กลางสระน้ำภายในที่ว่าการอำเภอสูงเม่น สร้างขึ้นด้วยไม้สักทองทั้งหลังเป็นอาคารจตุรมุข
เพื่อใช้ถวายการรับเสด็จของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร รัชกาล ที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรอำเภอสูงเม่น เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๗ มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๐๑

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ไร่นา สวนผสม “น้ำครึ่งแก้ว”
ไร่นาสวนผสม “น้ำครึ่งแก้ว” เป็นของนายชณภพ ไกรศักดิ์ ได้น้อมนำเอาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ มาเป็นแนวทางโดยนำภูมิปัญญาพื้นบ้านและเทคโนโลยีต่าง ๆที่เหมาะสม และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้กับพื้นที่ไร่นาสวนผสมของตนเอง เพื่อการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ฐานกิจกรรมสำหรับเด็ก เยาวชน ประชาชนและผู้ที่สนใจ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

“เวียนธัมม์”
– หอมนุษย์ คือ พิพิธภัณฑ์ คัมภีร์ใบลานนักท่องเที่ยวนำคัมภีร์ธัมม์ มาทำประทักษิณเวียนรอบกลองโบราณ หรือ กลองบูชาธัมม์ ๓ รอบ จะมีมัคคุเทศก์น้อยช่วยแนะนำการเลือกธัมม์ให้เหมาะกับวันเกิด (เลือกสีผ้าห่อคัมภีร์ให้ตรงกับสีวันเกิด) ปีเกิด (เลือกธัมม์ที่มีเนื้อหาตรงกับปีเกิด) การถวายคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา สมัยก่อนจะถวายคัมภีร์ตามวันเกิด เพื่อเสริมกัน เช่น  หากประสงค์เป็นเจ้าเมืองจะต้องถวายธรรม “กรรมวาจา” เพราะจะส่งเสริมเรื่องตำแหน่ง ซึ่งรายละเอียดจะถูกระบุอยู่ในคัมภีร์ โดยธัมม์แต่ละเรื่องจะมีอานิสงส์ที่แตกต่างกัน

– หอฟ้า คือ หอพระไตร ปิฎกหลังใหม่ หอฟ้าเป็นที่ประดิษฐานพระไตรปิฎกอักษรธรรมล้านนา มัคคุเทศก์จะให้นักท่องเที่ยวเลือกสีผ้าห่อคัมภีร์พระไตรปิฎก ตามปีเกิดที่อยู่ในตู้ธรรมรอบนอก
จากนั้นจะนำนักท่องเที่ยวเวียนธัมม์ประทักษิณ ๓ รอบ เรียนว่า “เวียนธัมม์ พระไตรปิฎก” รอบตู้
พระธรรมไม้สักทอง ซึ่งเป็นประธานของหอฟ้า ระหว่างเวียนธัมม์นิยมให้สวดมนต์ระลึก ถึงคุณพระศรีรัตนตรัยรอบแรกสวดบทสรรเสริญพระพุทธคุณ รอบสองสวดบทสรรเสริญพระธรรมคุณ
และรอบสามสวดบทสรรเสริญพระสังฆคุณ

– หอนิพพาน คือ หอพระไตรปิฎกหลังเดิม จุดดั้งเดิมที่นักท่องเที่ยวจะมาเวียนธัมม์รอบตู้เจ้าหลวง เรียกว่า “เวียนธัมม์เจ้าเมือง” ระหว่างเวียนธัมม์นิยมสวดมนต์ระลึก ถึงคุณพระศรีรัตนตรัย รอบแรกสวดบทสรรเสริญพระพุทธคุณ รอบสองสวดบทสรรเสริญพระธรรมคุณ และรอบสามสวดบทสรรเสริญพระสังฆคุณ

การห่อ คัมภีร์ธัมม์
หอมนุษย์คือพิพิธภัณฑ์คัมภีร์ใบลาน นักท่องเที่ยวจะได้ฝึกห่อคัมภีร์ด้วยตนเอง โดยมีชาวบ้านอาสาสมัครเป็นพี่เลี้ยง เมื่อนักท่องเที่ยวห่อคัมภีร์เสร็จจะได้มาทำประทักษิณเวียนรอบกลองโบราณ หรือ กลองบูชาธัมม์ ๓ รอบแล้ว จะนำธัมม์คัมภีร์ ไปถวายเบื้องหน้าพระประธาน และรูปเหมือนครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร พร้อมกล่าวคำบูชา

การจารธัมม์
หอมนุษย์คือพิพิธภัณฑ์คัมภีร์ใบลาน นักท่องเที่ยวจะได้ฝึกจารธัมม์ด้วยตนเอง โดยมีชาวบ้านอาสาสมัครเป็นพี่เลี้ยง เมื่อนักท่องเที่ยวจารธัมม์เสร็จจะได้มาทำประทักษิณเวียนรอบกลองโบราณ หรือกลองบูชาธัมม์ ๓ รอบแล้ว จะนำธัมม์คัมภีร์ ไปถวายเบื้องหน้าพระประธานและรูปเหมือนครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร พร้อมกล่าวคำบูชา

การทำเฟอร์นิเจอร์ ไม้สักทองแพร่
ร้านศักดิ์สิทธิ์เฟอร์นิเจอร์ ไม้สักทองแพร่   ศักดิ์สิทธิ์เฟอร์นิเจอร์ไม้สักทองแพร่ เป็นผู้นำด้านไม้สักในจังหวัดแพร่ มีประสบการณ์มากกว่า ๓๐ ปี มีใบอนุญาตที่ถูกต้อง ผลิตโดยสล่าพื้นบ้านคนสูงเม่น เป็นแหล่งเรียนรู้  ศึกษาดูงาน ด้านไม้สักที่ครบวงจรสามารถทำตามแบบที่ลูกค้าสั่ง การซื้อสินค้า เช่น ประตู หน้าต่าง โต๊ะ ตู้ รวมถึงอุปกรณ์

ผ้าด้นมือ กลุ่มแม่บ้าน เม่นทองพัฒนา
กลุ่มแม่บ้าน เม่นทองพัฒนา ผ้าด้นมือกลุ่มแม่บ้านเม่นทองพัฒนา มีกระบวนการผลิตและจำหน่ายครบวงจร เป็นแหล่งเรียนรู้  ศึกษาดูงาน และสามารถทำตามแบบที่ลูกค้าสั่ง เพียงแค่ส่งแบบฟอร์ม ขนาดงานที่สั่งทำ รวมถึงอุปกรณ์ตกแต่งบ้านทุกชนิด ผ่านช่องทางไลน์หรือเฟซบุ๊ก

ไร่นาสวนผสม “น้ำครึ่งแก้ว”
ไร่นาสวนผสม “น้ำครึ่งแก้ว” ไร่นาสวนผสม “น้ำครึ่งแก้ว” ของนายชณภพ ไกรศักดิ์ ได้น้อมนำเอาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาปฏิบัติตาม โดยนำภูมิปัญญาและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เหมาะสมและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้กับพื้นที่ของตนเอง เพื่อการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นแหล่งเรียนรู้  ศึกษาดูงาน ฐานกิจกรรมสำหรับเด็ก เยาวชน ประชาชนและผู้ที่สนใจ 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดศรีดอนคำ จังหวัดแพร่

ชุมชนคุณธรรมวัดศรีดอนคำ (ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลห้วยอ้อ) เป็นชุมชนที่มีทรัพยากรวัฒนธรรมที่มีคุณค่าหลาย ๆ ด้านของเมืองลอง อาทิ คุณค่าทางประวัติศาสตร์คุณค่าในด้านการเป็นแหล่งเรียนรู้ คุณค่าด้านความงามและสุนทรียศาสตร์สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ พัฒนาให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวมีปราชญ์ชาวบ้าน และมีการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วมโดยคนในชุมชน

เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของเมืองลองได้แก่ พระธาตุห้วยอ้อ พิพิธภัณฑ์วัดศรีดอนคำ พิพิธภัณฑ์พระเจ้าพร้าโต้ซึ่งเป็นพระพุทธรูปไม้ศิลปะล้านนา สร้างโดยการใช้มีดพร้า หรือมีดโต้ซึ่งสร้างเสร็จภายใน 1 วัน ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน และนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พระเจ้าทันใจ”  พระเจ้าไม้ ๑,๐๐๐ องค์ พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปสำคัญ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จุดถ่ายภาพระฆังลูกระเบิดเหตุเกิดที่เมืองลองห้องภาพฉลองศิลป์โฮงซึงหลวง

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พระธาตุห้วยอ้อ
เมื่อครั้งพระนางจามเทวีได้เสด็จจากเมืองละโว้ (ลพบุรี) มาครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) เรือพระที่นั่งจะขึ้นไปตามลำน้ำปิง แต่ได้หลงขึ้นมาตามลำน้ำยมพระนางจามเทวีจึงตรัสว่า “ไหน ๆ ก็ลงมาแล้ว ลองขึ้นไปดูก่อน” จึงเป็นที่มาของชื่อ “เมืองลอง” หรืออำเภอลอง และก่อนที่จะเสด็จกลับ ได้ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนกระดูกอก ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ พระธาตุห้วยอ้อเมื่อปี พ.ศ. 1078 เป็นบันทึกตำนานเก่าจาก พระมหาสังฆราชา วัดฟ่อนสร้อยเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2142 พระธาตุห้วยอ้อองค์ปัจจุบัน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2167 โดยพระสังฆราชาเจ้า วัดยอดใจ เมืองแพล (แพร่) แต่สร้างได้เพียงฐาน 3 ชั้น ต่อมาถึงปี พ.ศ. 2193 พระสังฆราชาเจ้าวัดร่องน้อย เมืองแพล (แพร่) และพระหลวงเจ้า วัดดอนไฟ เมืองนครลำปาง ได้สร้างต่อจนถึง พ.ศ. 2202 แต่ก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2215 พระมหาเถรเจ้าสุทธนะ วัดนาหลวง เมืองลอง (ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีดอนคำ) ได้สร้างต่อจนสำเร็จ

พิพิธภัณฑ์พระเจ้าพร้าโต้
พระเจ้าพร้าโต้ แกะสลักด้วยไม้สัก เป็นพระพุทธรูปไม้ศิลปะล้านนาประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์ศรีดอนคำ ขนาด หน้าตัก 74 ซม. ฐานกว้าง 34 ซม. สูง 8.84 ซม. สร้างโดย การใช้มีดพร้า หรือ มีดโต้ ซึ่งสร้างเสร็จภายใน 1 วัน ก่อนพระอาทิตย์ตกดินและนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พระเจ้าทันใจ” สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2236 เป็นศิลปะแบบพื้นบ้านโดยฝีมือช่างท้องถิ่นชาวเมืองลองมีทั้งหมด 5 องค์ (องค์ใหญ่ 1 องค์ องค์เล็ก 4 องค์) ปัจจุบันเหลือประดิษฐานที่วัด 3 องค์ (องค์ใหญ่ 1 องค์ องค์เล็ก 2 องค์) ส่วนองค์เล็กได้นำทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จย่า 1 องค์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ไร่แม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย อีก 1 องค์ ถูกโจรกรรมไป และยังมีพระพุทธรูปองค์เล็กที่แกะจากไม้อีกจำนวนมากกว่า 1,000 องค์ ประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปสำคัญ
เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นโดยปรับปรุงจากกุฏิของพระครูเกษมรัตคุณอดีตเจ้าอาวาส ภายในจัดแสดงพุทธรูปที่สำคัญต่าง ๆ ของทางวัดที่ได้รวบรวมจัดแสดงไว้ เช่น “พระเจ้าเงินพระเจ้าทอง” พระพุทธรูปที่บุด้วยทองคำ และพระพุทธรูปที่บุด้วยเงิน “พระเจ้าแก้วเมืองลอง” พระพุทธรูปที่แกะสลักจากแก้วโป่งข่าม “พระเจ้าเชียงตุง” พระพุทธรูปที่สร้างจากดินเผา “พระเจ้าหน้าคำ” พระพุทธรูปที่บุพระพักตร์ด้วยทองคำ พระเจ้าแกะสลักจากงาช้างตลอดจนพระพุทธรูปอีกมากมาย และที่น่าสนใจคือภาพวาดพระธาตุประจำปีเกิดที่วาดบนกระจกด้วยเทคนิคการวาดจากด้านหลังของกระจก

หอไตร
สร้างเมื่อปี 2540 เป็นที่เก็บคัมภีร์พระพุทธศาสนา ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมเรียกว่า “พระธรรม” หอไตรครึ่งตึกครึ่งไม้ฝาและบานประตูหน้าต่างแกะลายจำหลัก และมีรอยเขียนลายรดน้ำดำฝีมือสร้างแสดงถึงความประณีตวิจิตรบรรจงงดงาม

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดศรีดอนคำ
เป็นแหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชนจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นแหล่งรวบรวมกิจกรรมที่เกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่ควรแก่การอนุรักษ์สืบทอด

ระฆังลูกระเบิด
ระฆังลูกระเบิด หรือชาวแพร่แห่ระเบิด เป็นกรณีประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดที่เมืองลองระฆังลูกระเบิดนี้ ทำจากลูกระเบิดสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้นำติดเครื่องบินมาทิ้งทำลายสะพานรถไฟห้วยแม่ต้าเพื่อจะสกัดกั้นการเดินทางของกองทัพทหารญี่ปุ่น
ที่เดินทางขึ้นสู่ภาคเหนือแต่ลูกระเบิดไม่แตก สันนิษฐานว่า ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตัดส่วนหาง นำดินปืนด้านในทิ้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 นายชาญณรงค์ อินปันดี และนายมา สุภาแก้ว ได้ขุดพบ จึงนำมาไว้ที่บ้านจนถึงปี พ.ศ. 2516 ได้นำมาถวายวัดศรีดอนคำเพื่อทำเป็นระฆัง โดยนำเข้าร่วมกับขบวนแห่กระทง บ้านดอนทราย หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยอ้อ

โฮงซึงหลวง
“โฮงซึงหลวง” แหล่งอนุรักษ์เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของอำเภอลองเกิดขึ้นมาจากการผลักดันของคุณจีระศักดิ์ ธนูมาศ ที่เริ่มจากความชื่นชอบ และฝึกเล่นดนตรีพื้นเมืองมาแต่เล็กฝึกฝนกับคนเฒ่าคนแก่จนตั้งเป็นวงดนตรีขึ้นไปเล่นตามโรงเรียน แต่เพราะเครื่องดนตรีมีราคาแพง จึงรวมกลุ่มกับครูทำดนตรีมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน รวมถึงตระเวนหาความรู้จากผู้รู้เรื่องเครื่องดนตรีล้านนา 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนเกษตรอินทรีย์
พืชผักสวนครัวในชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การนั่งรถรางนำเที่ยว
นั่งรถรางชมสถานที่ท่องเที่ยวตามเส้นทางที่กำหนด

การทอผ้าตีนจก

ศาลเจ้าแม่ทับทิม ศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเชื้อสายจีน บ้านวังส้มซ่า เรียนรู้ประวัติและประเพณีลอยเรือสำเภากราบไหว้ขอพรเจ้าแม่ทับทิม ตามความเชื่อของคนไทย เชื้อสายจีน ในเรื่องของความรู้ สติ ปัญญา ความเจริญรุ่งเรือง นำไปสู่การดำเนินชีวิตอันประสบความสำเร็จในทุกด้านประกอบกิจการค้าชมการสาธิตกระบวนการทอผ้าตีนจก ศูนย์เรียนรู้การทอผ้าจกเมืองลองบ้านศิลปินแห่งชาติ (นางประนอม ทาแปง)
หมายเหตุ : สถานที่ท่องเที่ยวเชื่อมโยงก็จะเจริญรุ่งเรือง พบแต่ความสุข และเป็นสิริมงคล

การทำเครื่องดนตรีพื้นเมือง (สะล้อ ซึง พิณเปี๊ยะ)
ชมการสาธิตขั้นตอนการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน (สะล้อ ซึง พิณเปี๊ยะ) โฮงซึงหลวง (นายจีรศักดิ์ ธนูมาศ)

การแกะสลักไม้
ชมการสาธิตการแกะสลักไม้สัก กลุ่มอาชีพ (นายสุรพันธ์ หลวงตุมมา)

การทำข้าวปัน
ชมการสาธิตการทำข้าวปัน ร้านข้าวพันผัก (นางสุมาลี ปุ๋มปัญญา)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม