Retro Car Shop อู่ซ่อมรถยนต์ ลาดกระบัง

Retro Car Shop อู่ซ่อมรถยนต์ ลาดกระบัง

วันนี้ JK แวะไปดูอู่รถที่มีชื่อเสียง ที่นึงย่านลาดกระบัง ชื่อว่า “Retro Car Shop อู่ซ่อมรถยนต์ ลาดกระบัง” ซึ่งที่นี้ มีความชำนาญรถคลาสสิคเป็นอย่างมาก มีรถลูกค้ามากมายเข้าไปให้ช่างเหลิมทำ มีทั้งคนธรรมดาและคนดังในวงการบันเทิง จะบอกว่าอู่นี้ดูแลทุกคันเป็นอย่างดี มีความเชี่ยวชาญและชำนาญ ด้วยประสบการณ์ที่มี ทำให้ลูกค้าไว้วางใจ เข้าใช้บริการจำนวนมาก วันนี้ JK เอารถ Celica ta23 เข้าไปตรวจเช็คนิดหน่อย ช่างเหลิมก็รีบดูและจัดการให้ทันที ไม่ต้องรีรอ

สำหรับเพื่อน ๆ ที่มีรถคลาสสิคอยากได้อู่ที่ไว้วางใจได้ JK แนะนำอู่นี้เลยถ้าสะดวกก็อย่างลืมแวะมานะ อยู่ถนนคุ้มเกล้า ปากซอย 42/1 ติดถนนเลย หาไม่ยาก
#อู่รถ #รถคลาสสิค #retrocarshop #JK

ตำแหน่งที่ตั้งของอู่

https://www.facebook.com/Changthong59/

แฟนเพจของอู่ Retro Car Shop อู่ซ่อมรถยนต์ ลาดกระบัง

ร้านกาแฟ Tale Cafe สายไหม

ร้านกาแฟ Tale Cafe สายไหม

วันนี้แวะไปร้านคาเฟ่ชิว ๆ บรรยากาศชิก ๆ ย่านสายไหม ชื่อร้านว่าเทลคาเฟ่ เป็นร้านที่รีโนเวท ตึกแถวเก่าให้กลับมาสวยงามมีชีวิตชีวา ขายกาแฟคุณภาพ กลิ่นหอมรถชาติอร่อย มีที่นั่งชิว ๆ เป็นร้านขวัญใจทหารอากาศ แวะเวียนมาจิบกาแฟช่วงพักกลางวัน แถมยังมีห้องประชุมด้านบนปล่อยให้เช่า อยู่ติดถนนสายไหมเลย จอดรถริมถนนได้#cafe #coffee #ร้านกาแฟ #สายไหม

หน้าร้าน Tale Cafe
ร้านกาแฟ Tale Cafe สายไหม
ร้านกาแฟ Tale Cafe สายไหม

ตำแหน่งที่ตั้งร้าน Tale Cafe ถนนสายไหม ปากซอยสายไหม 8

TOYOTA COROLLA KE17

TOYOTA COROLLA KE17

วันนี้แวะไปดูรถที่กำลังจัดทรง ซึ่งเป็นรถ ke 17 ของโตโยต้า โคโรลล่า เลยถ่ายวีดีโอ เพื่อเอามาทำลองตัดต่อ ทดลองมือซะหน่อย ไม่ได้ตัดนานมากๆ ความคืบหน้าของ ke17 ที่กำลังจัดทรง เพื่อความสวยงาม และใกล้เคียงรถเดิมมากที่สุด อาจจะใช้เวลานานไปซักหน่อย แต่ต้องบอกเลยว่าไม่รีบ หาอะไหล่ก็ยาก และใช้เวลา เป็นอะไรที่ต้องใจเย็น #toyota #corolla #ke17 #โตโยต้า #โคโรลล่า

รวมตัว KE10 – KE25 และ Celica Ta23

รวมพล KE10-KE25 และ Celica TA23

วันนี้ได้มาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องรถ ของพี่ ๆ เพื่อน ๆ และน้อง ๆ มีรถ #ke25 #ke17 #ke15 #ke10 #celicata23 มารวมตัวกันน้อย ๆ เพื่อปลอดภัยจากโควิด

สำหรับคนที่รักรถคลาสสิกแล้วละก็ รถ KE10 KE 15-17 KE25 เป็นอะไรที่เชื่อได้ว่าต้องเป็นที่รู้จักดีในเมืองไทย เพราะว่าในสมัยก่อนมีให้เห็นกันทั่วไป แต่ในปัจจุบันอาจจะหาชมได้ยาก ต้องมีการจัดรวมตัวกันทีถึงจะได้เห็นกัน โดยในคราวนี้เราก็แวะเติมน้ำมันแล้วนั่งพูดคุยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องรถกันอย่างสนุกสนาน เพราะการเล่นรถเราเล่นคนเดียวไม่ได้มันเหนื่อย มันจะไม่มีที่ปรึกษา และก็เหงาด้วย

รวมตัว KE10 – KE25 และ Celica Ta23

BMW 2002 CLUB THAILAND เที่ยวนครปฐม

bmw 2002 เที่ยว นครปฐม

ชาวบีมเมอร์ 2002 CLUB THAILAND ไปเที่ยวจังหวัดนครปฐม เป็นการรวมตัวกันของคนที่ชื่นชอบรถ BMW รุ่น 2002 ที่นับว่าหาได้ยากในประเทศไทย ด้วยรูปทรงที่คลาสสิก และมีเอกลักษณ์ ใครเห็นก็ชอบ และมายืนถ่ายรูปด้วย เราชาวคณะแวะไปร้านอาหารและร้านกาแฟ เพื่อถ่ายรูปและดื่มด่ำกับความคลาสสิกของตัวรถ ขับไปอาจมีเสียบ้าง เราก็ช่วยกันซ่อม เราไม่ทิ้งกันอยู่แล้ว เพราะเราไม่ช่างไปด้วย ด้วยเวลาที่ผ่านไปเกือบ 50 ของตัวรถการดัดแปลง และสายเดิม ที่ยังเดิม ๆ สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในรถคลาสสิกทุกรุ่น เพราะอะไหล่บางอย่างก็แทบหาไม่ได้ในปัจจุบัน #BMW2002 #BMW2002CLUBTHAILAND #BMW

ร้านที่เราแวะไป

Hangar Cafe’

ร้านกาแฟที่สระน้ำใสเป็นสีฟ้า มีน้ำตกขนาดใหญ่ มีที่จอดรถเยอะ บรรยากาศดี มีที่จอดรถพอสมควร แต่ว่าตอนที่ไปอากาศค่อนข้างร้อน ต้องไปหาที่นั่งหลบแดด มีมุมสวย ๆ ให้ถ่ายรูปเยอะ เหมาะกับคนที่อยากได้บรรยากาสสวนมีน้ำตก

Junkyard Car’fe

ร้านนี้บอกเลยว่า หมอโดมออกแบบได้ดีมาก ๆ มีซากรถจอดซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ดูอาร์ท ๆ หน่อย มีต้นไม้มากมาย มีที่นั่งชิว ๆ ดูรถคลาสสิก มีร้านอาหารให้เลือก มีโซนขายน้ำ ขายกาแฟให้เลือกทาน เหมาะกับการมาถ่ายรูป

พระราชวังพญาไท

ประวัติพระราชวังพญาไท

เมื่อครั้งเป็นโรงนา

ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ซื้อที่ดินบริเวณถนน“ซางฮี้” (ปัจจุบันเรียก ซังฮี้) * ซึ่งเป็นที่สวนและนาบริเวณริมคลองสามเสนติดกับทุ่งพญาไท เนื้อที่ประมาณ ๑๐๐ ไร่เศษ เป็นที่แปรพระราชฐาน เพื่อทรงพักผ่อนพระอิริยาบท แล้วโปรดให้สร้างพระตำหนักเพื่อเสด็จประพาส พระราชทานนามว่า "พระตำหนักพญาไท" แต่ชาวบ้านเรียกกันต่อมาว่า “วังพญาไท ”

ที่ตำหนักพญาไทแห่งนี้เอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดใช้เป็นที่ทดลองปลูกธัญพืชต่าง ๆ และทรงย้ายพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจากทุ่งพระเมรุมาจัดที่นาหลวงคลองพญาไทแห่งนี้ เมื่อถึงฤดูทำนา สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงนำเจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จลงดำนาด้วยพระองค์เอง

ณ ตำหนักพญาไทแห่งนี้เอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ โปรดให้สร้างโรงเรือนหลังแรกขึ้นคือ "โรงนา" และพระราชทานนามว่า “โรงนาหลวงคลองพญาไท ”

หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จมาประทับที่วังพญาไท บ่อยครั้ง ครั้งสุดท้ายที่เสด็จประพาสตรงกับวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๔๕๓ ก่อนเสด็จสวรรคตเพียง ๑ สัปดาห์เท่านั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต เป็นผลให้สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี ทรงพระประชวร พระอนามัยทรุดโทรมลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กราบบังคมทูลให้แปรพระราชฐาน จากในพระบรมมหาราชวังมาประทับที่วังพญาไทเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมให้ทรงสำราญและเพื่อความสะดวกของแพทย์ ที่จะถวายการรักษาตลอดจนพระประยูรญาติจะได้มีโอกาสเฝ้าเยี่ยมได้โดยง่าย

เมื่อเสด็จมาประทับนั้นปรากฏว่ามีผู้ติดตามมาอยู่ในพระราชสำนักของสมเด็จพระพันปีหลวงวังพญาไท เป็นจำนวนร่วม ๕๐๐ คน มีทั้งพระประยูรญาติที่ใกล้ชิด ข้าหลวง โขลน จ่า ข้าราชบริพารน้อยใหญ่ ซึ่งทุกคนจะได้รับเบี้ยหวัดเงินเดือน เงินปี ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน ตลอดจนเครื่องนุ่งห่มอย่างอุดมสมบูรณ์ ตามสมควรแก่ฐานะโดยทั่วถึง

พ.ศ.๒๔๖๒ หลังจากที่สมเด็จ ฯ ประทับอยู่เป็นเวลาร่วม ๑๐ ปี ก็สวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีพระราชดำริที่จะสร้างพระราชมณเฑียรสถานขึ้นใหม่ เพื่อเป็นที่ประทับในวังพญาไท และได้โปรดเกล้าฯให้ยกวังพญาไทเป็นพระราชวังพญาไทเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบรมชนกนาถ และพระบรมราชชนนี

เป็นพระราชฐานที่ประทับ

เมื่อทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระราชมณเฑียรสถานขึ้นใหม่เพื่อเป็นที่ประทับ จึงโปรดให้รื้อย้ายพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถไปปลูกสร้างเป็นหอเรียนวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน คงเหลือแต่เพียงท้องพระโรงหน้า ซึ่งโปรดให้สร้างถวายสมเด็จพระบรมราชชนนีในตอนต้นรัชกาลเพียงองค์เดียว

ในกลางปีพุทธศักราช ๒๔๖๓ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระตำหนักอุดมวนาภรณ์จากพระราชวังดุสิต มาสร้างใหม่ที่ริมคลองพญาไท เป็นเรือนไม้สักสองชั้น พระราชทานนามว่า “พระตำหนักเมขลารูจี ” และเสด็จมาประทับเป็นครั้งคราวตั้งแต่วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ เป็นต้นมา ขณะเดียวกันทรงวางโครงการสร้างพระราชมณเฑียรสถานสำหรับประทับถาวรขึ้นใหม่

“พระตำหนักเมขลารูจี”

การสร้างพระที่นั่งกลุ่มใหม่นี้ใช้เวลาประมาณ ๙ เดือนจึงแล้วเสร็จ โดยมีลักษณะเรียงกันและเชื่อมต่อกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อให้คล้องจองกันดังนี้ คือ

พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน

พระที่นั่งพิมานจักรี

พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส

พระที่นั่งเทวราชสภารมย์

พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์

พระราชมณเฑียรที่สร้างขึ้นใหม่นี้เป็นหมู่พระที่นั่ง ๓ องค์ ได้แก่

พระที่นั่งพิมานจักรี

 พระที่นั่งพิมานจักรี  เป็นพระที่นั่งองค์ประธานสูง ๒ ชั้น ลักษณะสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างโรมาเนสก์กับโกธิค  ลักษณะพิเศษ  คือ  มียอดโดมสูงสำหรับชักธงมหาราช ( ธงครุฑ ) ธงจะถูกชักขึ้นเมื่อพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ภายในพระที่นั่งชั้นล่างประกอบด้วยห้องต่างๆ อาทิ ห้องเสวยร่วมกับฝ่ายใน ห้องรับแขก ห้องพักเครื่อง ห้องธารกำนัล  ส่วนที่ประทับบริเวณชั้นสองเป็นห้องเสด็จออกให้เฝ้าส่วนพระองค์หรือท้องพระโรงกลาง ภายในตกแต่งแบบยุโรป

ห้องธารกำนัล

ห้องธารกำนัล

ท้องพระโรงชั้น ๒

     ห้องต่อมาเป็น “ ห้องพระบรรทมพร้อมห้องสรง”ภายในตกแต่งลวดลายบนเพดานอย่างงดงามด้วยจิตรกรรมเขียนด้วยเทคนิคสีปูนแห้ง เป็นภาพคัมภีร์ในศาสนาพุทธเขียนบนใบลาน และภาพพญามังกร ซึ่งหมายถึงสัญลักษณ์ของความเป็นพระราชา และปีพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ห้องพระบรรทม

ห้องพระบรรทม

ภาพพญามังกร

ภาพพญามังกร

      อีกห้องที่น่าสนใจของชั้นนี้คือ ห้องประทับสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ภายในตกแต่งด้วยลายดอกไม้ บัวฝ้าเพดานเป็นลายหางนกยูงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี และห้องใต้โดมซึ่งคงเป็นห้องทรงพระอักษร เพราะยังปรากฏตู้หนังสือแบบติดผนัง เป็นตู้ขาวลายทองมีอักษรพระปรมาภิไธย ร.ร.๖ อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎทุกตู้

ตู้ขาวลายทองมีอักษรพระปรมาภิไธย ร.ร.๖ อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ

พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน

พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน  มีลักษณะศิลปะแบบโรมาเนสก์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งพิมานจักรี เป็นพระที่นั่งสูง ๒ ชั้น แต่ได้มีการต่อเติมชั้นที่ ๓ ขึ้นภายหลัง เพื่อจัดเป็นห้องพระบรรทม ที่นี่เคยเป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุกระจายเสียง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓  สิ่งน่าสนใจของพระที่นั่งองค์นี้อยู่ที่ “ ห้องพระบรรทม ” ภายในมีภาพจิตรกรรมเขียนด้วยเทคนิคสีปูนแห้ง (Fresco Secco) บนฝ้าเพดาน เป็นรูปเทพน้อย ๔ องค์ พร้อมเครื่องดนตรีลอยอยู่ในท้องฟ้าเป็นวงกลม วาดด้วยฝีมือที่งดงามมาก   นอกจากนี้ในพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถานยังมีห้องทรงพระอักษร ห้องพระสมุด และห้องพระภูษา

ห้องสมุด

ห้องสมุด

ห้องพระบรรทม

ห้องพระบรรทม

พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส

            พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส    เดิมมีนามว่าพระที่นั่งลักษมีพิลาส ตามพระนามของพระนางเธอลักษมีลาวัณ พระชายา อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งพิมานจักรีเป็นพระที่นั่งสูง ๒ ชั้น มีทางเชื่อมต่อกับพระที่นั่งพิมานจักรีในระดับชั้น ๒ ใช้เป็นที่รับรองของเจ้านายฝ่ายใน ที่ฝาผนังใกล้เพดานและบนเพดาน มีจิตรกรรมเป็นลายดอกไม้ ภาพชาย หญิง และแกะ ลักษณะเป็นภาพเขียนสีแบบตะวันตก

ภาพเขียนสีแบบตะวันตก บนเพดานห้องชั้น ๒

พระที่นั่งเทวราชสภารมย์

พระที่นั่งเทวราชสภารมย์

 พระที่นั่งอีกองค์ที่น่าสนใจคือ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ซึ่งเป็นท้องพระโรงเดิมในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตั้งอยู่ด้านหน้าของพระที่นั่งของพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน ลักษณะท้องพระโรงได้รับอิทธิพลจากศิลปะไบเซนไทน์ คือ มีโดมอยู่ตรงกลางรองรับด้วยหลังคาโค้งประทุนทั้ง 4 ด้าน บนผนังมีจิตรกรรมรูปคนและลายพรรณพฤกษา และมีอักษร “ สผ ” ซึ่งเป็นพระนามย่อของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีที่สำคัญๆ เช่น งานเฉลิมพระชนมพรรษา บางครั้งก็ใช้เป็นโรงละครหรือโรงภาพยนตร์

พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์

พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์

                  พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ สันนิษฐานว่าเป็นอาคารที่เรียกว่า ตึกคลัง และน่าจะสร้างขึ้นในภายหลังจึงมีลักษณะแตกต่างไปจากพระที่นั่งองค์อื่นๆ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน เป็นอาคารสูง ๒ ชั้น แบบเรียบง่าย หลังคาชันน้อยกว่าและไม่มีการตกแต่งด้วยจิตรกรรมเขียนสี แต่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว ชั้นล่างเป็นห้องโถงกว้าง ต่อมาได้เป็นที่ประทับของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และพระสุจริตสุดา พระสนมเอก จึงได้ต่อสะพานเชื่อมระหว่างพระที่นั่งองค์นี้กับพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถานในระดับชั้นที่ ๒

พระตำหนักเมขลารูจี

พระตำหนักเมขลารูจี

 พระตำหนักเมขลารูจี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สร้างพระตำหนักองค์นี้ขึ้นก่อนเพื่อเป็นที่ทรงงานวางโครงการสร้างพระราชมณเฑียร และพระราชทานนามพระตำหนักองค์นี้ว่า พระตำหนักอุดมวนาภรณ์ เป็นเรือนไม้สัก ๒ ชั้น หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ภายในมีภาพเขียนสีลายนกและมีสระสรง ใช้เป็นที่สรงน้ำหลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ต่อมา เมื่อการสร้างพระราชมณเฑียรแล้วเสร็จ และมีพระราชประสงค์ให้พระที่นั่งซึ่งอยู่ด้านตะวันออกที่เชื่อมต่อกับพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน ใช้นามว่า พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ จึงให้เปลี่ยนนามพระตำหนักแห่งนี้เป็น พระตำหนักเมขลารูจี

อาคารเทียบรถพระที่นั่ง

อาคารเทียบรถพระที่นั่ง

                       อาคารเทียบรถพระที่นั่ง ได้สร้างภายหลังจากการสร้าง พระราชวังพญาไท เรียบร้อยแล้ว อยู่ด้านหน้าพระที่นั่งพิมานจักรี สำหรับเป็นลานเทียบรถพระที่นั่ง และเป็นห้องพักคอยของผู้รอเข้าเฝ้า 

สวนโรมัน

สวนโรมัน

นอกจากที่นี่จะมีพระที่นั่งที่งดงามหลายองค์แล้ว ก็ยังมี สวนโรมัน”   ซึ่งเป็นที่พักผ่อนอิริยาบถของ ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ โดยจัดแต่งสวนเป็นแบบเรขาคณิต ประกอบด้วยศาลาในสวนที่ใช้รูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบโรมัน คือ มีศาลาทรงกลมตรงกลาง มีหลังคาโดมรับด้วยเสาแบบคอรินเธียน ขนาบด้วยศาลาทรงสี่เหลี่ยมโปร่ง ไม่มีหลังคา บริเวณบันไดทางขึ้น ประดับด้วยตุ๊กตาหินอ่อนแบบโรมัน ที่ด้านหน้าของทางขึ้นนี้ จะมีสระน้ำขนาดใหญ่ ตรงกลางมีรูปพระพิรุณอยู่บนฐานซึ่งมีรูปมังกร อันเป็นสัญลักษณ์ของพระองค์ท่าน  

เป็นโฮเต็ลพญาไท

โฮเต็ลพญาไท

                กว่าจะมาเป็น พระราชวังพญาไท ดังที่ได้เห็นในปัจจุบันก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกมากมายในสถานที่แห่งนี้ ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า การที่จะดูแลรักษาพระราชวังแห่งนี้ให้ดำรงสภาพที่งดงามอยู่ตลอดไปนั้นจะต้องสิ้นเปลืองพระราชทรัพย์เป็นจำนวนมาก จึงทรงมีพระราชปรารภเป็นการส่วนพระองค์กับพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงในเวลานั้น ว่าเห็นสมควรปรับปรุงพระราชวังให้เป็นโรงแรมชั้นหนึ่งเพื่อให้ชาวต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อกับประเทศสยามได้ใช้เป็นที่พักอาศัย อันจะนำมาซึ่งรายได้สำหรับการบำรุงสถานที่ แต่ยังไม่ทันที่จะดำเนินการแต่ประการได พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสวรรคตก่อน เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงปรับปรุงพระราชวังพญาไท เป็นโรงแรมชั้นหนึ่งชื่อโฮเต็ลพญาไท (Phya Thai Palace Hotel) เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๘

                 โฮเต็ลพญาไทจัดว่าเป็นโรงแรมที่หรูหรา และได้รับการยกย่องว่ายอดเยี่ยมที่สุดในภาคตะวันออกไกล มีวงดนตรีสากลชนิดออเคสตร้า มีนักดนตรีประมาณ ๒๐ คน คัดมาจากวงดนตรีของกองดุริยางค์ทหารบก และดนตรีวงนี้จะบรรเลงให้ลีลาศกันในวันสุดสัปดาห์ สลับกับการแสดงโชว์กับคณะนักร้องจากยุโรป และเมื่อหลวงสุขุมนับประดิษฐ์ จบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกาก็ได้นำวงดนตรีแจ๊ส เข้ามาบรรเลงที่โฮเต็ลแห่งนี้

            โฮเต็ลพญาไทได้รับเกียรติเป็นสถานที่จัดประชุมก่อตั้งสโมสรโรตารี่กรุงเทพ ฯ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๔๗๓

เป็นสถานีวิทยุกระจายเสียง

ในปีเดียวกันนั้นเอง พระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ได้ทรงเปิดการส่งวิทยุกระจายเสียงจาก “สถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพ ฯ ที่พญาไท” ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่พระที่นั่งไวกูณฑเทพยสถาน ในบริเวณโฮเต็ลพญาไท โดยได้อัญเชิญกระแสพระราชดำรัสตอบ เนื่องในการพระราชพิธีฉัตรมงคลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถ่ายทอดจากท้องพระโรงพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย มาตามสายแล้วเข้าเครื่องส่งกระจายเสียงสู่ประชาชนเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๓ นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในประเทศไทย

เป็นโรงพยาบาล

                  ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ โฮเต็ลพญาไทต้องประสบภาวะการขาดทุนอย่างมาก ประกอบกับกระทรวงกลาโหมกำลังหาที่ตั้งกองเสนารักษ์ คณะกรรมการราษฎร์ จึงมีมติให้เลิกกิจการโฮเต็ลพญาไทและให้ย้ายสถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพฯ ไปตั้งที่ศาลาแดง และย้ายกองเสนารักษ์จังหวัดทหารบก เข้ามาอยู่ที่พระราชวังพญาไทเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕  ต่อมาในปี ๒๔๘๙ ได้มีการพัฒนากองเสนารักษ์ มณฑลทหารบกที่ ๑ เป็นโรงพยาบาลทหารบก โดยใช้เขตพระราชฐานพระราชวังพญาไทเป็นที่ตั้ง ดังนั้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กองทัพบกจึงได้ขอพระราชทานนามโรงพยาบาลทหารบกว่า “โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า”

                 ต่อมาโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้สร้างอาคารใหม่และย้ายไปอยู่อาคารใหม่ ส่วนกรมแพทย์ทหารบกยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่ของพระราชวังจนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๓๒ จึงย้ายไปอยู่ที่บริเวณถนนพญาไท เขตราชเทวี และปรับปรุงพระราชวังพญาไทจนงดงามเพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับประชาชนให้เข้าชม

เป็นโบราณสถาน

กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียน พระราชวังพญาไท เป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๒๒

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพระราชวังพญาไท

ท้าวหิรันยพนาสูร

 ในปีพุทธศักราช  ๒๔๔๙  ขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร  ได้เสด็จประพาสมณฑลพายัพ  เมื่อจะออกเดินทางไปในป่า  ผู้ที่ตามเสด็จพากันกลัวว่าจะเกิดภยันตรายต่างๆ  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  จึงได้ทรงพระกรุณาดำรัสชี้แจงเพื่อให้คลายกังวลว่า  เจ้าใหญ่นายโตเมื่อจะเสด็จที่ใดคงจะมีทั้งเทวดาและอสูรอันเป็นสัมมาทิษฐิคอยติดตามป้องกันภยันตรายมิให้มากล้ำกรายพระองค์และบริพารผู้โดยเสด็จฯ

ผู้ตามเสด็จผู้หนึ่งกล่าวว่า  ฝันเห็นชายรูปร่างล่ำสันใหญ่โต  แจ้งว่าชื่อ “หิรันย์” เป็นอสูรชาวป่าจะมาตามเสด็จเพื่อคอยดูแลและระวังมิให้ภยันตรายทั้งปวงมากล้ำกราย  เมื่อทรงทราบความพระองค์จึงมีพระราชดำรัสให้จัดธูปเทียนและอาหารไปเซ่นที่ในป่าริมพลับพลา  เวลาเสวยค่ำทุกวัน  และโปรดเกล้าฯให้แบ่งพระกระยาหารจากเครื่องเสวยไปตั้งเซ่นเสมอ  หลังจากเสด็จประพาสมณฑลพายัพแล้ว  ข้าราชบริพารก็พร้อมกันเชิญหิรันยอสูรให้ตามเสด็จ  เมื่อเสด็จอออกจากกรุงเทพฯด้วยเสมอ  และโปรดให้เซ่นหิรันยอสูรเป็นธรรมเนียมตลอดมา

                  เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้วจึงโปรดเกล้าฯให้ช่างหล่อรูปหิรันยอสูรด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดสูง  ๒๐  เซนติเมตร และพระราชทานนามใหม่ว่า  ท้าวหิรันยพนาสูร ( สะกดตามลายพระราชหัตถเลขา )  มีชฎาเทริดอย่างไทยโบราณและไม้เท้าเป็นเครื่องประดับยศ

แรกสร้างมี ๔ องค์  องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ข้างพระที่ในห้องพระบรรทม  ปัจจุบันอยู่ที่วังรื่นฤดี  ซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ  เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา  สิริโสภาพัณณวดี  ยังคงให้มีการถวายเครื่องเซ่นเป็นประจำทุกวัน  องค์ที่ ๒  โปรดให้อัญเชิญไว้หน้ารถยนต์พระที่นั่ง  ปัจจุบันอยู่ที่หมวดรถยนต์หลวง  โดยอัญเชิญไว้บนหิ้งบูชา  องค์ที่ ๓  โปรดให้อัญเชิญไว้ที่กรมมหาดเล็กหลวง  ปัจจุบันอยู่ที่พระที่นั่งราชกรัญยสภา  ในพระบรมมหาราชวัง  และองค์สุดท้ายอยู่ที่บ้านพระยาอนิรุทธเทวา  อดีตอธิบดีกรมมหาดเล็กหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๖

ในพ.ศ. ๒๔๖๕  เมื่อได้สร้างพระราชวังพญาไทเป็นที่ประทับถาวรเรียบร้อยแล้ว  ได้โปรดเกล้าฯให้ช่างหล่อรูปท้าวหิรันยพนาสูรขนาดใหญ่ด้วยทองสัมฤทธิ์มีชฎาเทริดอย่างไทยโบราณและไม้เท้าเป็นเครื่องประดับยศ  มีพระราชพิธีบวงสรวง อัญเชิญท้าวหิรันยพนาสูรเข้าสิงสถิตในรูปสัมฤทธิ์ เพื่อเป็นศาลเทพารักษ์ประจำพระราชวังพญาไทสืบไป

JK – เลย เชียงคาน ด้วย 1400 GTR

สวัสดีคะเพื่อน ๆ ชาว JK ทริปนี้เราออกเดินทางด้วยรถ 1400GTR ไปจังหวัดเลยกัน โดยเดินทางไปยังเชียงคาน สถานที่ ที่ใคร ๆ ก็นิยมมากัน เป็นเมืองที่เงียบสงบ โดยเราได้เข้าพักที่โรงแรม ชิกค์เชียงคาน เป็นโรงแรมริมสุด บรรยากาศดีมาก ๆ เห็นแม่น้ำโขงชัดเจน เดินถนนคนเดินชิว ๆ วันที่ 2 เราไปพักที่ม่าน เมฆ ทะเลหมอก รีสอร์ท ใกล้ ๆ กับ กุ๊ยหลินเมืองไทย อากาศตอนที่ไปค่อยข้างร้อน และมีฝนตก ขอให้มีความสุขกับการชมวีดีโอนะคะ #JK

JK – เชียงดาว (Chiang Dao) ด้วย 1400 GTR

เราจะไปตะลุยเชียงดาวกันครับ โดยเดินทางจากเชียงใหม่ไปเชียงดาว ใกล้ ๆ แค่นี้เองนะครับ การเดินทางก็แสนจะสะดวกสบายเส้นทางดีมาก ๆ เลยครับ อาจจะมีช่วงที่ไม่ดี แต่เป็นเพียงส่วนน้อยจริง ๆ ทางที่ดีผมคิดว่าไปเช้าเย็นกลับก็ได้นะครับ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่คนที่อยากจะดูหมู่ดาวยามค่ำคืน ก็แนะนำว่าให้ไปนอนค้าง ที่ผมพักชื่อวิวดอยหลวง ราคาห้องละ 750 บาท มีอาหาร 2 มื้อ ตอนเย็นและตอนเช้า เป็นอาหารพื้นบ้านทานง่าย แต่ไม่เหมาะกับคนไม่ทานผัก เพราะส่วนใหญ่จะมีฝักแม้วผสม ตอนกลางคืนดาวเต็มท้องฟ้าจริง ๆ ครับ

JK – Flight of the Gibbon (เชียงใหม่, ประเทศไทย)

ทัวร์เที่ยวบินชะนีเส้นทาง 5 กม. อยู่ในป่าฝนของประเทศไทยหนึ่งในเส้นทางยาวที่ยาวที่สุดในเอเชียด้วยระยะทาง 800 ไมโครเมตร (1/2 เอเชีย) สถานีรถไฟ 30 เวทีฝึกซ้อม 3 จุดและจุดโรยตัว 2 จุดความรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่าและพันธุ์ไม้ รวมตลอดการเดินทางสกายเรนเนอสองคนดูแลกลุ่มทัวร์ทุกกลุ่มที่มีสมาชิก 9 คนขึ้นไปการบรรยายเรื่องความปลอดภัยอย่างละเอียดและการสวมอุปกรณ์ป้องกันการเติบโตน้ำตกแม่กำปองงามทั้ง 7 ชั้นชมชะนีตาม ธรรมชาติ! ราคารวมอาหารไทยและน้ำดื่มแล้วรถตู้คุณภาพเยี่ยม 9 ที่นั่งรับส่งจากเชียงใหม่พร้อมเครื่องเดินเที่ยวละ 55 นาทีราคา 3,999 บาท / คน