ชุมชนคุณธรรมวัดสรรพยาวัฒนาราม จังหวัดชัยนาท

ชุมชนสรรพยา เป็นชุมชนเก่าแก่ย่านตลาดโรงพักเก่าสรรพยา ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลสรรพยา พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มชุมชนมีการทำการเกษตรกรรม  การทำประมงพื้นบ้านหาปลาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและค้าขายในย่านตลาดเก่าสรรพยา 

ชุมชนสรรพยา เป็นชุมชนที่มีความโดดเด่นที่ยังคงมีความเรียบง่ายของวิถีเจ้าพระยา ชุมชนมีความเข้มแข็งมีทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ปัจจุบันพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีการบริหารจัดการ โดย”ชมรมฟื้นฟูตลาดเก่าสรรพยา” มีอาคารโรงพักเก่าสรรพยา อายุกว่า 100 ปี ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสภาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคาร จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2561

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดสรรพยาวัฒนาราม

วัดสรรพยาวัฒนารามตั้งอยู่ในตลาด ต.สรรพยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ภายในวัดปรากฏร่องรอยศิลปะสมัยอยุธยาหลายแห่ง อาทิ พระอุโบสถหลังเก่า วิหาร พระพุทธรูปปางกราบพระบรมศพซึ่งหาชมยาก พบเพียงไม่กี่วัดในประเทศไทย อยู่ในสภาพสมบูรณ์และครบถ้วนตามหลักพระรัตนตรัย กล่าวคือ มีพระพุทธเจ้าประทับนอนในหีบพระบรมศพ มีพระสงฆ์ ได้แก่ พระมหากัสสปะ (องค์สีทอง) พระอริยสงฆ์ นั่งสมาธิปลงสังเวช และพระสมมติสงฆ์นั่งชันเข่าในอาการเศร้าโศกเป็นตัวแทนของปุถุชนทั้งหมด ประกอบรวมเป็นหลักคำสอนหรือพระธรรม

สถานีตำรวจภูธรสรรพยา อาคาร 100 ปี

โรงพักเก่าสรรพยา ตั้งอยู่บริเวณตลาดเก่าสรรพยา หมู่ 4 ตำบลสรรพยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท อาคารโรงพักของตำรวจ เป็นอาคารสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีอายุกว่า 100 ปี และถือว่าเก่าแก่ที่สุดในประเทศ เป็นสถานที่แสดงเรื่องราวประวัติศาตร์ท้องถิ่น เพื่อให้คนรุ่นใหม่และนักท่องเที่ยวได้เข้าชมและศึกษา และได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2561 (เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2561) โดยคณะกรรมการได้คัดเลือกอาคารที่ทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ที่ได้รับการบำรุงรักษา และอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี

ตลาดโรงพักเก่า สรรพยา

เป็นชุมชนตลาดเก่าแก่ริมน้ำเจ้าพระยา และในทุกๆ สุดสัปดาห์แรกของเดือน ถนนเลียบริมน้ำเจ้าพระยา จะจัดจำหน่ายสินค้าจากชุมชนทั้งของกิน ของใช้ เป็นตลาดกรีนดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นฐานการเรียนรู้กิจกรรมต่างๆที่หลากหลาย

กลุ่มหัตถกรรมผักตบชวาบ้านอ้อย

กลุ่มได้นำแนวคิดโดยนำภูมิปัญญาดั้งเดิมของปู่ย่าตายายที่นำไม้ไผ่มาสานเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน แต่ประยุกต์เปลี่ยนมาสานด้วยผักตบชวาแทน นอกจากจะไม่ต้องลงทุนซื้อวัตถุดิบแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาวัชพืชในแม่น้ำได้ด้วย 

ชุมชนคุณธรรมบ้านแพรกศรีราชา จังหวัดชัยนาท

บ้านแพรกศรีราชา คือชื่อโบราณในสมัยอยุธยาตอนต้น บ้านแพรกศรีราชาเป็นชุมชนเก่าแก่ มีแม่น้ำน้อยที่แยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน เป็นชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่ม ชุมชนบ้านแพรกศรีราชายังเป็นที่ตั้งของตลาดอำเภอสรรคบุรีอีกด้วย 

บ้านแพรกศรีราชา เดิมเป็นเมืองเก่าที่ประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานมากมีความเจริญมาแต่อดีต เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดชัยนาท ปัจจุบันมีโบราณสถานล้ำค่าหลงเหลืออยู่ให้ได้ศึกษาเรียนรู้หลายแห่ง เช่น วัดมหาธาตุ วัดพระยาแพรก (ร้าง) วัดสองพี่น้อง วัดโตนดหลาย (ร้าง) วัดพระแก้ว เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดมหาธาตุ มีโบราณสถานและโบราณวัตถุ ที่สำคัญ เช่น พระธาตุ พระปรางค์ทรงกลีบมะเฟือง หลวงพ่อหมอ พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อพระปลัดฉ่อง

วัดพระยาแพรก (ร้าง) เป็นวัดร้างเป็นแหล่งโบราณสถาน ที่สำคัญ คือเจดีย์ก่ออิฐถือปูน แปดเหลี่ยมทรงสูง สมัยอยุธยาตอนต้น

วัดสองพี่น้อง เป็นวัดเก่ากำหนดอายุการสร้างวัดนี้ในสมัยอยุธยาตอนต้น หรือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ภายในวัดมีสิ่งสำคัญ ได้แก่ ปรางค์เป็นประธาน

วัดโตนดหลาย (ร้าง) เป็นวัดร้างมีสถาปัตยกรรม ที่สำคัญคือ เจดีย์ประธาน ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ศิลปะสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 20

วัดพระแก้ว เป็นวัดเก่า ภายในวัดมี “ราชินี แห่งเจดีย์ในเอเชียอาคเนย์” ซึ่งเป็นเจดีย์แบบละโว้ทรงสูงผสมกับศิลปะทวารวดี บริเวณหน้าเจดีย์ มีวิหารหลวงพ่อฉาย ซึ่งที่ด้านหลังของพระพุทธรูปมีทับหลังติดอยู่

อนุสาวรีย์ ขุนสรรค์ ตั้งอยู่ที่ว่าการอำเภอสรรคบุรี “ขุนสรรค์” เป็นหนึ่งในผู้นำชาวบ้านบางระจันที่ต่อสู้กับพม่าด้วยความกล้าหาญ เพื่อรักษาแผ่นดินไทยรบชนะพม่าถึง 7 ครั้ง เป็นไทยอาสาป้องกันชาติคนแรกของอำเภอสรรคบุรี

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนเกษตรอินทรีย์ (Ch.Organic Chainat Farm) เป็นศูนย์การเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตเกษตรแบบอินทรีย์จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หนึ่งใน 3 แห่งของจังหวัดชัยนาท โดยมี นายชรินทร์ ยิ้มศรี เป็นผู้ดูแลกระบวนการผลิตพืชผัก แบบอินทรีย์แบบร้อยเปอร์เซ็นต์

สวนส้มลุงแหวน นายแหวน เอี่ยมฉ่ำ เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาจังหวัดชัยนาท จนได้รับการรับรองว่าเป็นสวนส้มโอขาวแตงกวาที่มีคุณภาพและมีรสชาติที่ยอดเยี่ยม ในระดับจังหวัด นอกจากนั้นที่สวนส้มโอลุงแหวนยังได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการปลูกส้มโอ โดยเริ่มตั้งแต่การขยายพันธุ์ ไปจนถึงการดูแล และเก็บเกี่ยวผลผลิต

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

ชมตลาดย้อนยุคเมืองสรรค์ และร่วมประกอบอาหารพื้นบ้าน คาว หวาน ตลาดย้อนยุค เมืองสรรค์ (วัดพระยาแพรก) ร่วมกิจกรรมทำอาหารคาวหวาน เช่นขนมจีนโบราณ แกงสาวพรหมจารี ผัดไทยโบราณ ข้าวเหนียวหน้าควายลุย

นั่งรถสกายแลปเยี่ยมชมโบราณสถาน แหล่งประวัติศาสตร์เมืองสรรค์ เยี่ยมชมโบราณสถานแหล่งประวัติศาสตร์เมืองสรรค์ วัดมหาธาตุวัดพระยาแพรก (ร้าง) วัดสองพี่น้องวัดโตนดหลาย (ร้าง)วัดพระแก้ว อนุสาวรีย์ขุนสรรค์

ชมการแสดงต้อนรับจากตลาดย้อนยุคเมืองสรรค์ ตลาดย้อนยุคเมืองสรรค์ (วัดพระยาแพรก) ชมการแสดงต้อนรับ จากชาวตลาดย้อนยุคเมืองสรรค์

ชุมชนคุณธรรมวัดเนินขาม จังหวัดชัยนาท

ลาวเวียงบ้านเนินขาม เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่บรรพบุรุษอพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาวเมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 ประชากรส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มในระบบเครือญาติ อยู่รวมกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพทอผ้า จักสานไม้ไผ่ ทำนา ทำไร่อ้อย ทำไร่มัน และรับจ้างทั่วไป

ชุมชนลาวเวียงบ้านเนินขาม มีวัฒนธรรมประเพณีที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น เช่น ประเพณีสงกรานต์  การบายศรีสู่ขวัญ ตลอดจนการแต่งกายมีอัตลักษณ์ เพราะได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองมาจากบรรพบุรุษเชื้อสายลาว ทั้งผ้าทอพื้นเมืองลายโบราณ ผ้าซิ่นตีนจก ผ้าขาวม้า 5 สี พูดภาษาถิ่น  

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมการทอผ้าพื้นเมืองลาวเวียง บ้านเนินขาม (ตั้งอยู่ ณ วัดเนินขาม ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม)

ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมการทอผ้าพื้นเมืองลาวเวียงบ้านเนินขามได้จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นศูนย์ศึกษา เรียนรู้
และส่งเสริมการทอผ้าพื้นเมืองลาวเวียง บ้านเนินขาม ซึ่งเป็นการ สืบทอดมรดกภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ
เช่น การทำเสื้อ จุกหม้อ ผ้าซิ่นตีนจก และผ้าขาวม้า 5 สี

กลุ่มทอผ้าโบราณ หมู่ 1 ตำบลเนินขาม

การรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มทอผ้าโบราณ หมู่ 1 ตำบลเนินขามตั้งอยู่เลขที่ 2 หมู่ที่ 1 ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท โดยมี นางอุษา บุญสาพิพัฒน์ เป็นประธานกลุ่ม

กลุ่มทอผ้าบ้านทุ่ง รังกระโดน หมู่ 14 ตำบลเนินขาม

การรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มทอผ้าบ้านทุ่งรังกระโดน หมู่ 14 ตำบลเนินขาม ตั้งอยู่ หมู่ที่ 14 ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท โดยมี นางฉวี ศรีเดช ประธานกลุ่ม

บ้านไม้โบราณ 100 ปี

เป็นบ้านไม้โบราณของชาว   เนินขาม และยังเป็นบ้านเพียงหลังเดียวภายในชุมชนบ้าน  เนินขามที่ยังคงเสน่ห์ของความดั้งเดิม ภายในบ้านประกอบไปด้วยห้องโถงขนาดใหญ่ มีการจำลองวัฒนธรรมวิถีชีวิตของชาวเนินขามไว้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

สปามือ สปาเท้า กลุ่มหมู่บ้านท่องเที่ยว หมู่ 9 บ้านทุ่ง ตำบลเนินขาม

เป็นสถานที่ไว้บริการสปามือ สปาเท้าให้แก่นักท่องเที่ยว

โรงเรียนชาวนา หมู่ที่ 6 ตำบลเนินขาม

แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนชาวนาและศูนย์ข้าวชุมชนโดยกิจกรรมประกอบ    ไปด้วย การสอนทำนา การเลี้ยงปลา การปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง การแปรรูปสัตว์น้ำ การสีข้าว และการทอผ้าไหมเนินขาม

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ป่าชุมชน บ้านเขาราวเทียนทอง

พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขาราวเทียนทอง อำเภอเนินขาม และอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท มีพื้นที่มากกว่า 22,000 ไร่ สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณที่มีไผ่รวกเป็นพืชเด่นมีต้นไม้ขึ้นกระจัดกระจาย
และหนาแน่นบางบริเวณ ส่วนไม้พื้นล่าง มีหนาแน่น เช่น กระเจียว ข่า และเหล่าสมุนไพรนานาชนิด เหมาะกับกิจกรรมการเดินป่าศึกษาธรรมชาติและการปลูกป่า

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

โรงเรียนชาวนา หมู่ที่ 6 ตำบลเนินขาม

แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนชาวนาและศูนย์เรียนรู้ชุมชนโดยกิจกรรมประกอบไปด้วยการสอนทำนา การเลี้ยงปลา การปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง การแปรรูปสัตว์น้ำ การสีข้าว และการทอผ้าไหม  เนินขาม

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การบายศรีสู่ขวัญและผูกแขนเอิ้นขวัญ ศูนย์การเรียนผ้าทอพื้นเมืองลาวเวียงบ้านเนินขาม บายศรีสู่ขวัญต้อนรับผู้มาเยือน

การสปามือและเท้าด้วยสมุนไพร กลุ่มหมู่บ้านท่องเที่ยว หมู่ 9 บ้านทุ่ง ตำบลเนินขามมีบริการสปามือและเท้าด้วยสมุนไพร ไว้บริการนักท่องเที่ยว และมีบริการสินค้าของชุมชน

ชุมชนคุณธรรมชุมชนพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

ชุมชนคุณธรรมฯ ชุมชนพนัสนิคม  เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม (จำนวน ๑๒ ชุมชนย่อย) มีนายวิจัย  อัมราลิขิต นายกเทศมนตรีเมืองพนัสนิคม เป็นผู้นำชุมชนฯ สามารถพัฒนาเมืองพนัสนิคมซึ่งมีประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ส่งเสริมคนในชุมชนโดยใช้พลังบวร ให้มีความรัก ความสามัคคี เห็นคุณค่าในอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของวิถีชีวิตคนไทย จีน ลาว และร่วมมือ ร่วมใจที่จะรักษา สืบทอดเอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นงานฝีมือจักสาน อาหารพื้นถิ่น แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน เป็นการเพิ่มคุณค่าทางทางสังคม และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

เป็นชุมชนในเขตเทศบาลเมืองแต่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเมืองน่าอยู่อันดับ 1 ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ซึ่งความดั้งเดิมในวัฒนธรรมประเพณี อัตลักษณ์ที่โดดเด่น ได้แก่ เป็นแหล่งจักสานใหญ่ที่สุดในโลก มีประเพณีบุญกลางบ้าน ซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญของจังหวัดชลบุรี  เป็นเมืองแห่งตำนานพระรถเมรี มีศิลปะการแสดงเอ็งกอ การทายโจ๊กปริศนา และอาหารพื้นบ้านที่โดดเด่น ได้แก่ ขนมก้นถั่ว หมี่แดงแกงลาว ขนมเทียนแก้ว ก๋วยเตี๋ยวเป็ด หมูเย็น ฯลฯ ดังคำขวัญชุมชน คือ “พระพนัสบดีคู่บ้าน จักสานคู่เมือง ลือเลื่องบุญกลางบ้าน ตำนานพระรถ-เมรี ศักดิ์ศรีเมืองสะอาด เก่งกาจการทายโจ๊ก”

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

หอพระพนัสบดี พระพนัสบดีเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มีอายุประมาณ 1,200 – 1,300 ปี แกะสลักจากหินดำเนื้อละเอียดมาจากอินเดีย ประทับยืนบนหลัง  สัตว์ประหลาดที่สร้างขึ้นจากจินตนาการ รูปร่างคล้ายนก 

ศาลเจ้าขอเล่ง ฉื่อปุยเนี้ยว สถานที่เคารพสักการะและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของคนไทยเชื้อสายจีน

พระพุทธมิ่งเมือง พระพุทธรูปปางมารวิชัย  (พระพุทธรูปมิ่งเมือง) (พนัสนิคม) เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย แกะสลักด้วยไม้ประดู่ ลักษณะเป็นศิลปะของชาวลาว สร้างในราว พ.ศ. 2371 เป็นการสร้างขึ้นของชาวลาวอพยพที่เข้ามาอาศัยอยู่ในแถบนี้ เดิมประดิษฐานอยู่ในวัดร้าง วัดผ้าขาวใหญ่ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นก่อนเป็นวัดแรกในเขตตำบลพนัสนิคม ต่อมาเทศบาลเมืองพนัสนิคม ได้ปรับปรุงสถานที่และบริเวณวัดร้างนั้น พร้อมทั้งดำเนินการก่อสร้างหอพระเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธาน ณ ที่ตั้งพระอุโบสถเดิม

ศูนย์จักสานใหญ่ที่สุดในโลก เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานจักสานด้วยไม้ไผ่ โดยเฉพาะการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งมีปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้ถ่ายทอดข้อมูล และมีผลงานจักสานใหญ่ที่สุดในโลกจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์

ถนนสายวัฒนธรรม “บ้าน สาน ใจ” กิจกรรมสืบทอดภูมิปัญญาการจักสาน  กิจกรรม “บ้าน สาน ใจ”  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สำคัญของชุมชนคุณธรรมฯ ชุมชนพนัสนิคม ที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการคิด และดำเนินกิจกรรม ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์

งานประเพณีบุญกลางบ้าน งานประเพณีบุญกลางบ้าน  เป็นงานประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านานของชาวอำเภอพนัสนิคม ซึ่งจะจัดขึ้นในราวเดือน ๓ – ๖ โดยผู้เฒ่าหรือผู้นำชุมชนจะเป็นผู้กำหนดวันทำบุญและทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของชาวบ้าน

สตรีทอาร์ท ถนนศิลปะ สตรีทอาร์ทถนนศิลปะ ที่กลุ่มศิลปินพนัสนิคมได้สร้างสรรค์ขึ้นบนกำแพงริมถนนให้เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่

ศูนย์ฝึกการเรียนรู้เอ็งกอ (โรงเรียนเทศบาล 2) ศูนย์ฝึกการเรียนรู้เอ็งกอ (โรงเรียนเทศบาล 2) คณะเอ็งกอ เทศบาลเมืองพนัสนิคม คอยฝึกฝนเยาวชนหรือผู้ที่สนใจ ให้แสดงศิลปะเอ็งกอ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ถ้ำนางสิบสอง นางสิบสอง อยู่ห่างจากชุมชนพนัสนิคมประมาณ 5 กิโลเมตร สมัยก่อนบริเวณนี้มีหินขนาดใหญ่หลายก้อนวางกองกันอยู่ภายในมีอุโมงค์ หรือหลุมลึกลงไป ด้วยกาลเวลาหินที่มีอยู่มากมาย (ตามตำนานพระรถเมรีเชื่อว่าคือหมอนของนางสิบสอง) ได้ถูกชาวบ้านเอาไปใช้ประโยชน์ อีกส่วนหนึ่งอยู่วัดเนินหลังเต่า ปัจจุบันปากถ้ำได้ปิดไปแล้ว

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนย่อยที่ 8 พนัสนิคม ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนย่อยที่ 8 พนัสนิคม เป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ให้นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้ถึงวิถีการใช้ชีวิตแบบพอเพียง การปลูกผักสวนครัว  และการสร้างรายได้จากการเกษตร ให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาเรียนรู้และทดลองการปลูกผัก

นักท่องเที่ยวร่วมฝึกจักสานไม้ไผ่กับชุมชนและสามารถนำผลงานกลับบ้านได้ ศูนย์เครื่องจักสานที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานจักสานด้วยไม้ไผ่ โดยเฉพาะการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งมีปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้ถ่ายทอดข้อมูล และมีผลงานจักสานใหญ่ที่สุดในโลกจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์

นักท่องเที่ยวร่วมทำกิจกรรมเปเปอร์มาเช่ เป็นตุ๊กตาหรือกระปุกออมสินเอ็งกอ บ้านรัตนศิลป์ การนำกระดาษเหลือใช้มาต่อยอดเป็นตุ๊กตา หุ่น หรือกระปุกออมสิน ที่ใส่เอกลักษณ์ของพนัสนิคมเข้าไป คือ การแสดงเอ็งกอ

นักท่องเที่ยวร่วมฝึกพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากสมุนไพรไทยหรือวัตถุดิบในท้องถิ่น ของพนัสนิคม “ศูนย์การเรียนรู้เมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่” “ศูนย์การเรียนรู้เมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่” ตั้งอยู่ ณ ชุมชนย่อยที่ ๑๐ ขับเคลื่อนโดย กลุ่มเซฟเดอะเอิร์ท     ชุมสิบรักษ์โลก ดำเนินการโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จากสมุนไพรไทย ด้วยเทคโนโลยี   จุนลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ (EM) สืบสานแนวทางพระราชดำริ ปิดทองหลังพระ 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดช่องแสมสาร จังหวัดชลบุรี

“แสมสาร” เป็นหมู่บ้านชาวประมงของสัตหีบ ชุมชนแห่งนี้มีบริเวณชายฝั่งกับหมู่เกาะเล็ก ๆ ที่นั่นจะมีช่องเล็ก ๆ สำหรับให้เรือเข้ามาเทียบชายฝั่ง เรียกว่า ช่องแสมสาร เป็นที่อยู่อาศัยของปลานานาชนิด จึงเป็นหมู่บ้านชาวประมงที่น่าสนใจ

หมู่บ้านชาวประมง วิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นชุมชน ที่อยู่ติดกับทะเล และเป็นหมู่บ้านชาวประมงของอำเภอสัตหีบ เป็นที่ที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบวิถีชีวิตของชาวประมง/ชาวบ้าน รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ตกปลา ตกหมึก ดำน้ำ และการจัดกิจกรรมดำน้ำเชิงอนุรักษ์

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองชุมชนช่องแสมสารประดิษฐานบนยอดเขาเจดีย์ ซึ่งชาวประมงฝั่งตะวันออก เลื่อมใสศรัทธา ทุกครั้งที่ออกทะเลมักจะไปนมัสการและขอพร ชาวประมงทุกคนจะกลับมาโดยสวัสดิภาพ มีโชคได้สินทรัพย์จากทะเลเป็นกอบเป็นกำ หลวงพ่อดำ ประดิษฐานในพระวิหารวัดช่องแสมสารเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิสูง ๕ เมตร

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

อุทยานใต้ทะเล เกาะขาม

ห่างออกไปจากฝั่งประมาณ ๙ กม. เกาะขามจะพบแนวปะการังอันอุดมสมบูรณ์กระจายตัวอยู่รอบ ๆ เกาะ บริเวณที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์ของปะการังจะอยู่ทางทิศใต้จะเป็นปะการังเขากวาง ปะการังโต๊ะ และปะการังสมอง นอกจากนี้ยังพบปลาทะเลที่สวยงาม ได้แก่ ปลาผีเสื้อ ปลาสลิดหิน ปลาอมไข่ ปลากะรัง และ ปลารวมฝูงอีกด้วย

เกาะแสมสาร

บนเกาะแสมสารมีชายหาดที่สามารถเล่นน้ำและดำน้ำได้ ๒ ชายหาด คือหาดเทียน และหาดลูกลม หาดเทียน คือ หาดซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือ ส่วนหาดลูกลมจะอยู่อีกฝั่งซึ่งต้องนั่งรถไปอีก โดยมีรถรับส่งฟรีระหว่างสองเกาะ หาดลูกลมเป็นชายหาดที่สวยที่สุดของเกาะมีทรายขาวละเอียดและน้ำทะเลสีฟ้าใส มีจุดชมวิวที่สามารถเห็นวิวทะเลในมุมสูงได้อย่างงดงาม

หาดน้ำใส

หาดน้ำใส ตั้งอยู่ในตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เป็นชายหาดที่มีทรายขาวสะอาด และมีน้ำทะเลสีฟ้าใสอีกด้วย หาดแห่งนี้ จะอยู่ภายในเขตความรับผิดชอบของกองทัพเรือ แต่จะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชม เล่นน้ำ และพักผ่อนได้ ตัวชายหาดจะมีความยาวประมาณ ๖๐๐ เมตร และค่อย ๆ ไล่ระดับความลึกลงไป ทรายค่อนข้างละเอียด ที่สำคัญคือมีบรรยากาศเงียบสงบ และมีต้นสนริมหาดคอยให้ความร่มเงา

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และทะเลไทย

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย ก่อตั้งขึ้นโดยกองทัพเรือเพื่อเป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงด้านธรณีวิทยา พฤกษศาสตร์สัตว์ศาสตร์ทางทะเลแห่งแรกในประเทศไทย อันเป็นส่วนหนึ่งในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชต่าง ๆ ในประเทศไทย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ แบ่งออกเป็นทั้งหมด ๕ อาคาร ตั้งเรียงรายอยู่เนินเขา โดยมีจุดชมวิวอยู่ที่อาคาร ๕ ซึ่งเป็นไฮไลท์ของการมาชมพิพิธภัณฑ์ฯ สามารถมองเห็นวิวทางทะเลที่สวยงามในมุมสูง ของท้องทะเลสัตหีบ และเกาะชื่อดัง 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

นำไหว้พระในอุโบสถ

วัดช่องแสมสาร ไหว้พระในอุโบสถ และลอดโบสถ์พระราหู

ไหว้หลวงพ่อดำ

วิหารหลวงพ่อดำ ไหว้หลวงพ่อดำ บูชาพระบรมสารีริกธาตุ

ข้ามเรือไปเกาะ

เกาะแสมสาร นำเก็บขยะรอบชายฝั่ง และบนเกาะ ทุกวันพุธที่ ๒ ของเดือน และทริปท่องเที่ยววันเสาร์หรืออาทิตย์ดำน้ำดูปะการัง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมตะเคียนเตี้ย จังหวัดชลบุรี

“ตะเคียนเตี้ย” เป็นชุมชนที่มีเรื่องราว วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่น่าสนใจให้ค้นหา ให้ความสำคัญกับธรรมชาติ ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น ทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงไม่ว่าจะเป็นการนวดกัวซา งานฝีมือทำพวงมโหตร ปั่นจักรยานชมสวนเกษตรอินทรีย์ สวนมะพร้าว การทำขนมไทยจากมะพร้าว ชิมกาแฟมะพร้าว เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์บ้านร้อยเสา ที่ถ่ายทอดตัวอย่างวิถีชีวิตที่เรียบง่าย

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

บ้านไทย ๑๐๐ เสา

บ้านเสาไทย ๑๐๐ เสา เป็นบ้านแฝดขนาดใหญ่ที่เปิดฝาทะลุถึงกัน ได้หมด ใช้ต้นเสาปูน ๑๐๒ ต้น อายุประมาณ ๘๐ ปี มองจากภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยที่สวยงามควรค่าแก่การอนุรักษ์  ภายในเป็นที่พักและจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันในอดีต มีสมุดข่อยอายุ กว่า ๒๐๐ ปี ซึ่งในสมุดข่อยจดบันทึกเรื่องราวในอดีต การตัดสินคดีความ ตำราทำนายโหราศาสตร์ การเขียนยันต์ป้องกันภัย ตำราแพทย์แผนโบราณ และตำรายาสมุนไพรรักษาโรค ฯลฯ   

วัดนาลิกานาราม

วัดตะเคียนเตี้ย (มหานิกาย)  เป็นวัดแรกของชุมชนตะเคียนเตี้ย เริ่มสร้างวัดตั้งแต่ปี  ๒๓๘๓ ถือเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของอำเภอบางละมุง ในสมัยก่อนเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้าน หากกล่าวถึงวัดตะเคียนเตี้ย ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงหลวงพ่อนิยมด้วย ซึ่งก่อนเป็นเจ้าอาวาสวัดกว่า ๒๐ ปี ก่อนจะละสังขารไปเมื่อปี ๒๕๕๒ แต่ยังมีชาวบ้านมาสักการะบูชาสรีระสังขารบนกุฏิของท่านอยู่เสมอ ชาวบ้านยังบูชานับถือมาถึงปัจจุบัน

วัดเวฬุวนาราม

หรือวัดกอไผ่  (ธรรมยุติกนิกาย) เดิมทีพื้นที่บริเวณนี้เป็นป่าละเมาะ มีกอไม้ไผ่ป่ามากถึง ๑๖ กอ เป็นที่ดินของนายหนูและนางแดง คำแจ่ม  หลังจากนั้นได้มีพระภิกษุรูปหนึ่ง นามว่า พระปล้อง วรญาโน ได้ธุดงค์มาพักที่ป่าไม้ไผ่แห่งนี้ และได้มีการแสดงธรรมสอนชาวบ้านหนองพลับ จนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา เจ้าของที่ดินทั้งสองจึงได้มอบที่ดินให้กับสงฆ์จำนวน ๑๓  ไร่ เพื่อทำเป็นที่พักสงฆ์ใน ปี ๒๕๐๐  เรียกว่า “สำนักสงฆ์กอไผ่” ต่อมาในปี ๒๕๐๘  วัดจึงถูกจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย โดยใช้ชื่อว่า “วัดเวฬุวนาราม”

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สวนมะพร้าว ตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

สวนฟ้าใสไอโกะ เจ้าของสวนมะพร้าวชื่อ คุณถาวร เปลี่ยนสี หรือคุณโกะ โดยได้ดูแลสวนมะพร้าวแห่งนี้มากว่า ๕๐ ปี ให้มีความสะอาดมองแล้วสบายตาจึงทำให้มีผู้คนเริ่มมาแวะเวียนมาถ่ายรูป จึงทำให้เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของตำบลตะเคียนเตี้ย

สวนป่าสาโรช กะแหวว สวนป่าสาโรชกะแหวว เป็นบ้านของคุณสาโรชกับคุณแหวว ซึ่งเป็นที่สวนมะพร้าว มีพื้นที่ทั้งหมด ๗ ไร่ ปลูกมะพร้าวเป็นหลัก มีพืชผสมผสาน พืชกินได้ ไม้ผลต่าง ๆรวมอยู่ด้วย โดยทำการเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมีทำให้เกิดเป็นป่าธรรมชาติขนาดเล็กขึ้นมา สร้างความร่มรื่นและความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ จึงได้เรียกสวนป่านี้ว่า “สวนป่าสาโรชกะแหวว”

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ดื่มสมุนไพรพร้อมเล่าประวัติบ้านร้อยเสา
– กิจกรรมสาธิตถังขยะรักษ์โลก เพื่อลดขยะเปียกในครัวเรือน
– เยี่ยมพิพิธภัณฑ์บ้านร้อยเสา
– ฐานกิจกรรมพับกุหลาบ
– ฐานกิจกรรมพับพวงมโหตร
– ฐานกิจกรรมตกแต่งลายผ้าถุงผ้าด้วยวัตถุดิบรอบบ้าน
– กิจกรรมขูดกัวซา
-กิจกรรมเชฟชุมชน

กิจกรรมรู้จักกับเส้นทางมะพร้าว สวนมะพร้าวของชุมชนที่ไม่ได้ปลูกเพื่อส่งโรงงาน แต่ปลูกสำหรับส่งขายเพื่อการบริโภค
– กิจกรรมรู้จักศัตรูของมะพร้าวด้วงหัวดำ กับผู้ที่จัดการมันได้กับแตนเบียน
สาธิตการชง “กาแฟมะพร้าว” ที่พร้อมให้ลิ้มลองพร้อมกับขนมต้มอร่อย ๆ
-ผลิตภัณฑ์มะพร้าว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์“น้ำมันมะพร้าวสดเย็น”

ปั่นจักรยานชมวิถีมะพร้าวของชาวตะเคียนเตี้ย
– กิจกรรมปล่อยแตนเบียน

แวะคุยกับป้าชื่นชาวชุมชนรุ่นบุกเบิกของชาวตะเคียนเตี้ย
– การสาธิตการปอกมะพร้าว

ชมสวนมะพร้าว
– ทานน้ำมะพร้าวอ่อน และมะพร้าวน้ำหอมตามฤดูกาล
– กิจกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นอื่น ๆ

บ้านมะพร้าวกะทิ
โซนที่ ๑ เกษตรตามพระราชดำริ (การปลูกพืชไว้รับประทานในครัวเรือนและการจำหน่าย)
โซนที่ ๒ การปลูกพันธุ์ไม้เพื่อลมหายใจมีสุข การมีชีวิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการปลูกพืชแวดล้อม การปลูกผักต่าง ๆ ในครัวเรือน นำมาประกอบอาหารและมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
– บ้านคุณยายไล้ พับใบเตย กิจกรรม
– ชมวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมลานวัฒนธรรมอุปกรณ์เครื่องใช้ของชีวิตคนในชุมชน
-ลานวัฒนธรรม ชมการสาธิตการ แสดงศิลปวัฒนธรรม การแสดงลำตัด รำวงย้อนยุค รำโทน การสาธิตการตัดพวงมโหตร การพับใบเตย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมตลาดบ้านใหม่

ชุมชนคุณธรรมตลาดบ้านใหม่ ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำบางปะกง ริมถนนศุภกิจ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นตลาดที่อยู่คู่กับชาวแปดริ้วมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นย่านเศรษฐกิจเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 150 ปี แต่เดิมเรียกกันว่า “ตลาดริมน้ำ” เดิมเป็นชุมชนที่มีชาวไทย – จีน อาศัยอยู่ 

ตลาดริมน้ำ 100 ปี (ตลาดบ้านใหม่) มีอาคารบ้านเรือนที่ยังคงสภาพบ้านไม้โบราณปลูกเป็นตึกแถว 2 ชั้นติดต่อกันจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งมีมานานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยยังรักษาสภาพและความเป็นเอกลักษณ์ไว้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาหารอร่อย ขนมและของขบเคี้ยวนานาชนิด รวมถึงอาหารคาวหวานโบราณหลากหลายชนิด

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดเทพนิมิตร

เริ่มสร้างพระอุโบสถขึ้นใน พ.ศ.2418 แล้วเสร็จใน พ.ศ.2422 เมื่อพระอุโบสถแล้วเสร็จได้เรียกชื่อวัดว่า “วัดเทพนิมิตร” และมอบให้พระ อาจารย์ท้วมเป็นผู้ปกครองวัด

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง)

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง)  ปัจจุบันเป็นพุทธสถานมหายานแบบอานัมนิกาย (ญวน) ตามประวัติกล่าวว่า ขุนอัษฎาริวานุวัตร  (จีนฮี้) กับขุนพิพิธพาณิชย์กรรม  (จีนแดง ) คหบดีชาวจีนพ่อลูกแซ่เล้าเจ้าของ ตลาดล่าง มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างขึ้นในพ.ศ.2449 เพื่อประดิษฐานหลวงพ่อซําปอกง ซึ่งจําลองมาจากวัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จประพาสวัดอุภัยภาติการาม เมื่อ พ.ศ.2450 ในคราวเสด็จพระราชดําเนินเมืองฉะเชิงเทรา

วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่)

วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่) ตั้งอยู่ถนนศุภกิจตรงข้ามตลาดบนของ ย่านตลาดบ้านใหม่ เป็นพุทธสถานจีนฝ่ายมหายาน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2449 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยนายเทียนอิง     แซ่ลี้ และพระอาจารย์จีน วังส์ สมาธิวัตร หรือหลวงจีนสกเหง ศิษย์ของวัด มังกรกมลาวาส  (เล่งเน่ยยี่) กรุงเทพมหานคร ที่ตั้ง ของวัดเป็นไปตามหลักความเชื่อ เรื่องฮวงจุ้ยมังกร

ตลาดริมน้ำ 100 ปี (ตลาดบ้านใหม่)

ตลาดริมน้ำ 100 ปี (ตลาดบ้านใหม่) ตั้งอยู่ริมน้ำ มีอาคารบ้านเรือนที่ยังคงสภาพบ้านไม้โบราณปลูกเป็นตึกแถว 2 ชั้นติดต่อกันจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งมีมานานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยยังรักษาสภาพและความเป็นเอกลักษณ์ไว้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาหารอร่อย ขนมและของขบเคี้ยวนานาชนิด รวมถึงอาหารคาวหวานโบราณหลากหลายชนิด

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

รับประทานอาหาร/เครื่องดื่มในพื้นที่ตลาดริมน้ำ ๑๐๐ ปี (ตลาดบ้านใหม่) ซึ่งมีให้เลือกหลายร้านที่มีพื้นที่ริมน้ำ  โดยรับประทานอาหาร/เครื่องดื่มและสามารถชมบรรยากาศสายน้ำ และวิถีชีวิตริมน้ำที่สวยงามได้ 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน “เล่าขานตำนาน ๑๐๐ ปี ชุมชนไทยจีนตลาดบ้านใหม่”

ชุดการแสดงที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนคุณธรรมตลาดบ้านใหม่  ชื่อชุด “เล่าขานตำนาน ๑๐๐ ปี ชุมชนไทยจีนตลาดบ้านใหม่” การแสดงชุด..เล่าขานตำนาน ๑๐๐ ปี ชุมชนไทย – จีน ตลาดบ้านใหม่ เมืองแปดริ้ว เป็นการแสดงที่สื่อให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวแปดริ้วรวมถึงคนไทยเชื้อสายไทยจีนในชุมชน

ล่องเรือชมวิถีชีวิตริมน้ำ

ตลาดริมน้ำ 100 ปี (ตลาดบ้านใหม่) นั่งเรือชมวิถีชีวิตริมน้ำ ตลาดริมน้ำ 100 ปี (ตลาดบ้านใหม่) บ้านเรือนแบบโบราณดั้งเดิม และป่าชายเลน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านบางปรง (วัดบางปรงโชติการาม)

ชุมชนบ้านบางปรงเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ประชาชนอาศัยอยู่ริมคลองบางปรง ต่อมามีถนนตัดผ่านกลางหมู่บ้านทำให้ประชาชนนิยมปลูกสร้างบ้านเรือนริมถนนกันมาก ประชาชนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรและรับจ้างทั่วไป โดยมีวัดบางปรงธรรมโชติการาม เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของคนในชุมชน

เป็นชุมชนมีความเข้มแข็งด้านคุณธรรม มีวัดบางปรงธรรมโชติการามเป็นศูนย์รวมจิตใจ และจัดกิจกรรมต่าง ๆ สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ คือ หลวงพ่ออู่ทองพระพุทธรูปโบราณ โบราณสถานวิหาร (อุโบสถหลังเก่า) อายุ ๒๐๐ กว่าปี ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และพระมหาเจดีย์ศรีพุทธวรญาณสร้างแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดบางปรงธรรม โชติการาม

ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ชื่อร้าน “หมูสะเต๊ะผู้ใหญ่ศรี” นักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของชุมชนเป็นของฝากของที่ระลึก ได้แก่ หมูสะเต๊ะผู้ใหญ่ศรี เครื่องดื่มสมุนไพรผู้ใหญ่ต้อย ขนมไทยป้าน้อย ขนมเปี๊ยะบางปรง ขนมกงบางปรง กระยาสารท ของบ้านบางปรง

วัดนาคูโมทนามัยปุญญาราม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  เดิมตั้งเป็นสำนักสงฆ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2442 ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. 2482 ซึ่งเป็นสมัยรัชกาลที่ 5 มีหลวงพ่อทันใจ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปนิยมเข้ากราบสักการะขอพร

วัดบ้านนาเทพธาราม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒

วัดบ้านนาเทพธาราม สักการะพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรหน้าหลวงพ่อโสธร พระนามหลวงพ่อโต สูง ๑๙ เมตร โดยสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๘๔ พรรษา และกราบขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ภายในวัด

ตลาดนัดชุมชนบ้านบางปรง

ตลาดนัดตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่วัดบางปรงโชติการาม เป็นแหล่งจำหน่ายพืชผักทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของชุมชนที่มีความสด สะอาด ราคาย่อมเยา ตลาดนัดชุมชนบ้านบาง เป็นวิถีชีวิต ของชุมชน บริหารจัดการโดยชุมชน โดยมีจิตอาสาดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย เปิดให้บริการทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา ๑๔.๐๐ น. เป็นต้นไป

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

คลองบางพระ เป็นคลองธรรมชาติขนาดใหญ่ เชื่อมต่อแม่น้ำบางปะกง เมื่ออดีตเป็นคลองที่ใช้ในการสัญจรของคนในชุมชน ในปัจจุบันคลองดังกล่าวใช้ในการอุปโภคบริโภค เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของชุมชน ซึ่งมีวัดบางปรงธรรมโชติการามตั้งอยู่ริมคลอง โดยวัดใช้คลองบางพระจัดกิจกรรมประเพณีลอยกระทงและมีการสร้างศาลาริมน้ำเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนวิริยภูมิ แหล่งเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรผสมผสาน และให้บริการนักท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น สถานที่จัดประชุม อบรม ให้บริการร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ให้บริการที่พักค้าง และร้านจำหน่ายของฝากของที่ระลึก ซึ่งมีทั้งผลิตภัณฑ์ในชุมชน และนอกชุมชน และมีการจัดสถานที่ ทัศนียภาพให้สวยงาม เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และจัดจุดถ่ายภาพเป็นที่ระลึกของนักท่องเที่ยว

กิจกรรมการท่องเที่ยว

แห่ผ้าห่มพระธาตุ

วัดบางปรงโชติการาม

กิจกรรมแห่ผ้าห่มพระธาตุ จัดขึ้นช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ห่มพระธาตุมาถวายห่มพระเจดีย์ เป็นการรักษาให้พระเจดีย์ยังคงอยู่สืบทอดต่อไป และเพื่อแสดงปณิธานเจตนารมณ์ ที่จะยึดมั่นในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยพระสงฆ์จะนำคำกล่าวบูชาและเดินนำขบวนแห่ผ้ารอบพระธาตุเพื่อเป็นเครื่องสักการะบูชา โดยผู้ร่วมงานจะเข้าร่วมขบวนด้วย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

“บางคล้า” เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยนาไร่ และสวนผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น สับปะรด มะพร้าว มะม่วง ฯลฯ ซึ่งแต่ละชนิดก็มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่ว แผ่นดินผืนนี้เป็นที่ตั้งรกรากของบรรพบุรุษชาวบางคล้า ซึ่งมีทั้งชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนสืบทอดกันมาช้านาน วิถีชีวิตของชุมชนเก่าแก่แห่งนี้มีความเป็นอยู่อย่างสงบ เรียบง่าย ต่างทำมาหากิน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทุกคนมีความรักใคร่ปรองดองให้ความนับถือดุจพี่น้อง ดั่งเครือญาติ

– อนุสรณ์สถานพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

– ศาลอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

– ตลาดน้ำบางคล้า

– อุโบสถวัดแจ้ง อำเภอบางคล้า

– ค้างคาวแม่ไก่ วัดโพธิ์บางคล้า 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดโพธิ์บางคล้า สร้างขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๒๕ สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นศิลปสมัยรัตนโกสินทร์กับอยุธยา มีวิหารโบราณ และค้างคาวนับแสนตัวมาอาศัย เกาะต้นไม้ในบริเวณวัด โดยไม่อพยพไปอยู่ไหน

วัดแจ้ง สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อุโบสถประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ ๘ ภายในวัดมีรูปปั้นยักษ์ตั้งอยู่ และมีพระอุโบสถเป็นศิลปะไทยปนกับจีน

อนุสรณ์สถานพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จยกทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทราไปเมืองจันทบูร (จันทบุรี) เพื่อสั่งสมกำลังพลในการ  กอบกู้เอกราช  ได้ปะทะกับพม่าบริเวณปากน้ำ

ศาลอนุสาวรีย์สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๓๐ พิธีอัญเชิญพระรูปขึ้นแท่นสักการะ  เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๑สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งที่สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชได้ฝ่าวงล้อมของข้าศึกที่ล้อมกรุงศรีอยุธยา

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ตลาดน้ำบางคล้า ตลาดน้ำบางคล้ามีลักษณะเป็นโป๊ะที่ยื่นลงสู่แม่น้ำบาง ปะกง  และมีการค้าขายสินค้าทางเรือโดยส่วนมาก  โดยมีการจัดจำหน่ายสินค้าอย่างหลากหลายทั้งยังเป็นสินค้าที่ผสมผสานความเป็นไทยในอดีตกับปัจจุบันได้อย่างลงตัว  ไม่ว่าจะเป็นหีบห่อของอาหารที่ทำจากใบตอง  ภาชนะใส่เครื่องดื่มทำจากดินปั้น  เป็นต้น ตลาดน้ำบางคล้ายังมีความพิเศษในเรื่องทัศนียภาพที่สวยงามริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เป็นป่าชายเลนที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มากมาย หรือแม้แต่วิถีชีวิตของชาวบ้านริมฝั่งแม่น้ำที่มีการดักลอบปลา  หรือพายเรือจับปลา จับกุ้ง

ค้างคาวแม่ไก่ วัดโพธิ์ บางคล้า ฝูงค้างคาวแม่ไก่หน้าวัดโพธิ์บางคล้า  ใช้เวลาไม่กี่นาทีเรือก็มาอยู่ที่หน้าวัดโพธิ์บางคล้า (สมัยที่ใช้เรือในการเดินทางท่าน้ำนับเป็นหน้าวัด แต่ทุกวันนี้คงจะต้องเรียกว่าหลังวัด) เรือยังไม่ทันเทียบท่าดีเราก็มองเห็นฝูงค้างคาวแม่ไก่ ขนาดของค้างคาวเท่าแม่ไก่จริงๆ ห้อยหัวอยู่บนต้นไม้ แต่ละต้นน่าจะมีจำนวนนับร้อยตัว จำนวนมากมายแบบนี้จึงทำให้ค้างคาวแม่ไก่เป็นจุดเด่นของวัด คนก็มาเที่ยวกันเป็นประจำค้างคาวเหล่านี้ก็ไม่ได้ตื่นกลัวคน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ชุมชนบ้านครัว

ชื่อผู้ประกอบการ นางอัจฉราวรรณ์ ตันฮะเส่ง

ประธานชุมชนบ้านครัว

เบอร์โทรศัพท์ ๐๘ ๖๘๒๓ ๑๗๗๔

ศูนย์เรียนรู้และฝึกอาชีพชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ท่าเรือตลาดน้ำบางคล้า ล่องเรือชมธรรมชาติรอบเกาะลัด ชมวิถีชีวิตริมน้ำ บ้านเรือนที่ปลูกสร้างอย่างสวยงาม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดตะปอนใหญ่ จังหวัดจันทบุรี

เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 400 ปี ชาวบ้านที่เข้ามาอาศัยอยู่ในรุ่นแรก ๆ นั้น เป็นชาวจีน   เป็นที่ราบลุ่ม ประชาชนส่วนมากทำนา บางส่วนจะทำสวนผลไม้ เงาะ มังคุด ทุเรียน เป็นที่ราบลุ่มลักษณะ อากาศโดยทั่วไปมีอากาศ ไม่ร้อนจัด  ไม่หนาวจัด  และเป็นเขตพื้นที่ที่มีฝนตกเกือบตลอดปี หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ฝนแปดแดดสี่”

จุดเด่นของชุมชนคือ มีตลาดสายวัฒนธรรมที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจกันของคนในชุมชน คือ ตลาดโบราณ 270 ปี ซึ่งเน้นขายเฉพาะพืชผัก ขนม อาหารพื้นบ้าน มีประเพณีที่โดดเด่นจนได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญา งานประเพณีการชักพระบาท (วัดตะปอนใหญ่)  เพื่อเป็นสิริมงคล และความสนุกสนานเพลิดเพลิน จะทำกันในช่วงหลังจากวันสงกรานต์ 1 เดือน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

โพธิ์หุ้มเจดีย์เก่า (วัดตะปอนใหญ่) ต้นโพธิ์อายุเกินร้อยปีที่ขึ้นรัดเจดีย์เก่าจนหุ้มไม่เห็นโครงสร้างของเจดีย์ มีขนาดประมาณ 10 – 11 คนโอบ (ปัจจุบันมองเห็นเจดีย์แล้ว)

โบสถ์เก่า (วัดตะปอนใหญ่) เป็นโบสถ์ที่ประดิษฐานประธานที่มีชื่อว่า หลวงพ่อสัมฤทธิ์ผล ซึ่งมีความเชื่อว่าพระประทานที่โบสถ์แห่งนี้จะสามารถขอพรเพื่อช่วยให้สัมฤทธิ์ผลตามสิ่งที่ตนปรารถนาได้ตามชื่อของท่าน อีกทั้งยังได้ประดิษฐาน รูปหล่อของหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังและเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดที่ชาวบ้านให้การเคารพนับถือเป็นอย่างมาก

โบสถ์ใหม่ (วัดตะปอนใหญ่) สร้างด้วยศิลาแลงทั้งหลัง พระประธานประดิษฐานอยู่ถึง 3 องค์ ซึ่งมีการสร้างในรูปแบบของ 3 สมัย ได้แก่ สมัยเชียงแสน สมัยอู่ทอง และสมัยสุโขทัย

ตลาดโบราณ ๒๗๐ ปี ตั้ง ตลาดโบราณ 270 ปี ของดีบ้านตะปอนใหญ่ เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ให้ชาวบ้านนำสินค้า อาหารพื้นเมืองมาจำหน่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ยึดหลักคุณธรรมขายสินค้าคุณภาพ ราคายุติธรรม นอกจากนี้ในตลาดยังมีการสาธิต ชักเย่อเกวียนพระบาท การทำเมนูอาหาร การแสดงโชว์วิถีชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การชักเย่อเกวียนพระบาท

วัดตะปอนใหญ่

เป็นประเพณีดั้งเดิมเป็นของหมู่บ้านตะปอนชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธารอยพระพุทธบาทกันมากจึงให้มีการสืบทอดประเพณีติดต่อกันมากทุกปี ภายหลังเปลี่ยนจากการแห่เกวียนพระบาทมาเป็นการชักเย่อแทน แบ่งเป็น 2 ฝ่าย ชาย-หญิง อยู่คนละข้าง นำเชือกผูกติดกับเกวียนขณะที่2 ฝ่ายออกแรงดึงเชือก คนตีกลองที่อยู่บนเกวียนจะตีกลองรัวจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ ใครชนะก็ถือว่าลากพระบาทได้ ฝ่ายแพ้ก็จะขอแก้ลำเป็นที่สนุกสนานมาก

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม